Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

จรูญ หยูทอง-แสงอุทัย


เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสังคม ภาคใต้


 


หลังจากกระทรวงต่างประเทศของไทยยกเลิกหนังสือเดินทางของ พ...ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ผันตัวเองเป็นผู้ปลุกปั่นประชาชนในประเทศตัวเองให้ลุกขึ้นมาขับไล่รัฐบาลจนนำไปสู่การจลาจลกลางเมือง เปิดแนวรบทุกด้านกับรัฐบาลปัจจุบันในทุกรูปแบบ ก็มีข่าวว่าผู้นำประเทศนิคารากัวได้ออกหนังสือเดินทางในนามทูตพิเศษของนิคารากัวให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีจากประเทศไทย ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไรก็คงเป็นที่ประจักษ์ชัดกันอยู่แล้ว แต่สิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยไปกว่านั้นก็คือ ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการทางการเมืองของประเทศนิคารากัว


 


ประเทศนิคารากัว ชื่อประเทศมาจากชื่อของหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงที่ชื่อ "นิคาริโอ"(Nicario) ได้ชื่อว่าเป็นประเทศต้นแบบของการปฏิวัติประชาชนในประเทศด้อยพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในอเมริกากลาง ในการโค่นล้มอำนาจเผด็จการอย่างน้อยใน 2 ประการ คือ


 


1.     แบบอย่างหรือวิธีการในการต่อสู้เพื่อล้มอำนาจเผด็จการ


2.     แนวทางนโยบายในการสร้างสรรค์สังคมใหม่หลังการปฏิวัติ


 


นิคารากัว เป็นประเทศเล็กๆ 1 ใน 7 ของประเทศในภูมิภาคอเมริกา ซึ่งประกอบด้วย กัวเตมาลา ฮอนดูรัส เอลซัลวาดอร์ คอสตาริกา ปานามา เบไลซ์(บริติช ฮอนดูรัส) และนิคารากัว ตั้งอยู่บริเวณคอคอดของอเมริกากลางพอดี ทิศเหนือจอประเทศฮอนดูรัส ทิศใต้จดประเทศคอสตาริกา ทิศตะวันออกจดทะเลแคริบเบียน ทิศตะวันตกจดมหาสมุทรแปซิฟิก มีเนื้อที่ประมาณ 57,143 ตารางไมล์(ราว 1 ใน 4 ของประเทศไทย) เมืองหลวงชื่อมานากัว ปัจจุบันมีประชากรประมาณ 5,487,000 คน(พ..2548) เป็นอินเดียนแดงและเมสติโซ(ลูกผสมอินเดียนแดงกับสเปน) ประมาณ 80 % และเป็นผิวดำ ประมาณ 7 % เป็นชนชั้นต่ำในสังคม อ่านออกเขียนได้แค่ 30 % เท่านั้น อีกส่วนหนึ่ง ได้แก่ ชาวสเปนที่สืบเชื้อสายจากขุนนางสเปนยุคศักดินา ชาวยุโรปและอเมริการวมกันประมาณ 10 % เป็นชนชั้นสูงในระดับต่างๆกัน โดยเฉพาะตระกูลเจ้าที่ดินสเปนไม่กี่ตระกูล เป็นผู้ผูกขาดตำแหน่งชนชั้นนำของประเทศ โดยผลัดเปลี่ยนขึ้นมาเป็นผู้นำกันเป็นระยะ ตั้งแต่ได้รับเอกราชจนถึงการปฏิวัติในปี ค..1979 (พ..2522)


 


ความเหมือนกับประเทศไทยของนิคารากัวคือมีภูมิอากาศแบบร้อนชื้น มีฝนตกชุก มีทะเลสาบ 2 แห่ง คือทะเลสาบนิคารากัวและทะเลสาบมานากัว สินค้าออกเป็นผลิตผลทางการเกษตร ได้แก่ กาแฟ ข้าวโพด น้ำตาลและผลผลิตทางประมง การเมืองและเศรษฐกิจถูกผูกขาดจากคนไม่กี่ตระกูล ได้แก่ ตระกูลโซโมซาและนายทุนจากอเมริกาซึ่งค้ำจุนระบบการโซโมซา


 


ความเป็นมาทางประวัติศาสตร์และการเมืองของนิคารากัว เดิมเป็นที่อยู่ของอินเดียนแดงเผ่าต่างๆ สมัยอาณาจักรแอชแตคและอาณาจักรอินคา เป็นอาณาจักรอินเดียนแดงโบราณที่พัฒนาจนเป็นสังคมเมือง มีการเกษตรที่เป็นหลักแหล่งและมีศิลปะวิทยาการพอสมควร รุ่งเรืองอยู่ในยุคที่ชาวสเปนเข้ามาในทวีปอเมริกา อาณาจักรทั้งสองต้อนรับชาวสเปนเป็นอย่างดี แต่เนื่องจากในท้องพระคลังของกษัตริย์แอซแตคและอินคามีทองคำมาก จึงถูกสเปนปล้นและทำลายอย่างเหี้ยมโหดโดยการนำของคอร์เตซ(Cortez)และปีซาโร(Pizaro) วีรบุรุษผู้พิชิตตะวันตกของชาวสเปน


 


สเปนยึดครองนิคารากัวตั้งแต่ ค..1522 (พ..2065) โดยการปราบปรามสังหารชาวอินเดียนแดงที่ต่อต้านอย่างเหี้ยมโหด นำระบบการผลิตแบบไร่นาขนาดใหญ่(Plantation) เข้ามาใช้ โดยมีชาวสเปนเป็นเจ้าของที่ดินและเกณฑ์แรงงานชาวพื้นเมือง รวมทั้งนิโกรที่ซื้อมาทำงานในไร่ บังคับชาวพื้นเมืองให้เข้ารีต นับถือพระเจ้าองค์เดียวกับชาวสเปน สเปนครองนิคารากัวเป็นเวลายาวนานนับสามร้อยปีด้วยความขมขื่นยากแค้นของชาวนิคารากัวและชาวลาตินอเมริกา


 


นิคารากัวร่วมก่อตั้งสหพันธรัฐแห่งอเมริกากลาง(Confederal of central America) จนเกิดความแตกแยกและสงครามระหว่างรัฐ จึงแยกตัวออกมาประกาศเอกราชในปี ค..1838 (พ..2381) การเมืองนิคารากัวเต็มไปด้วยความปั่นป่วน เกิดสงครามกลางเมืองสลับกับการสู้รบกับประเทศเพื่อนบ้านเกือบตลอดเวลา


 


สงครามกลางเมืองเกิดจากความขัดแย้งระหว่าง 2 กลุ่มการเมืองใหญ่คือกลุ่มเสรีนิยม ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเลออง(Leon) และกลุ่มอนุรักษ์นิยม ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองกรานาดา(Granada)


 


เกือบตลอด 50 ปีแรกของการมีเอกราช ประชาชนต้องอยู่ท่ามกลางการแย่งชิงอำนาจและสงครามระหว่างเมืองทั้งสอง


 


สหรัฐอเมริกาเข้าครอบครองนิคารากัวจนกระทั่งปี ค..1933(พ..2476) จึงถอนกำลังออกไป หลังจากก่อตั้งกองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ(National Guard) มีอานัสตาริซิโอ โซโมซา กราเซีย(Anastasio Somoza Gracia) เป็นผู้บัญชาการทหาร ระบบนี้มีชาวนิคารากัวชื่อออกัสโต เซซาร์ ซานดิเอโก(Augusto Cecar Sandino) จัดตั้งกองกำลังรักชาตินิคารากัว ต่อต้านการครอบงำของอเมริกา ต่อมาเขาถูกกองทหารรักษาความปลอดภัยแห่งชาติจับประหารชีวิตในปี ค..1934(พ..2477) ขณะมีอายุ 41 ปี แต่เขากลายเป็นวีรบุรุษแห่งชาตินิคารากัวในเวลาต่อมา


 


ปี ค..1936(พ..2479) นายพลอานัว ตาซิโอ โซโมซา กราเซีย ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติก่อการรัฐประหาร สถาปนาตนเองขึ้นเป็นประธานาธิบดี เป็นการเริ่มต้นยุคเผด็จการของตระกูลโซโมซา ล้มเลิกการเลือกตั้ง ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน ปราบปรามนักการเมืองและผู้ต่อต้านนโยบายเผด็จการอย่างเหี้ยมโหด


 


ปี ค..1956(พ..2499) ผู้รักชาติชาวนิคารากัวบุกสังหารนายพลโซโมซา แต่รัฐสภายังเลือกหลุยส์ โซโมซาผู้พี่เป็นประธานาธิบดีและอานัสตาซิโอ ผู้น้องเป็นผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ


 


ปี ค..1959(พ..2502) เกิดการต่อต้านอำนาจของโซโมซาโดยสหภาพแรงงานต่างๆพากันนัดหยุดงาน ต่อมาสมาคมธุรกิจต่างๆเข้าร่วมด้วยเรียกร้องให้หลุยส์ โซโมซา ลาออก แต่กลุ่มผู้ต่อต้านถูกปราบปราม


 


หลุยส์ โซโมซา หลุดจากอำนาจปี ค..1963(พ..2503) เพราะแพ้เลือกตั้งให้แก่เรเน สชิค กูติเรซ(Rene S-chick Gutirez) นโยบายเผด็จการต่างๆถูกยกเลิก ปี ค..1966(พ..2509) สชิคถึงแก่กรรม ลอเรนโซ เกอเรอโร ขึ้นเป็นประธานาธิบดี ปี ค..1967(พ..2510) อานาสตาซิโอ โซโมซา ก่อการรัฐประหาร นักศึกษา ประชาชนต่อต้านแต่ถูกปราบปรามอย่างเหี้ยมโหด มีผู้เสียชีวิตมากมาย โซโมซาประกาศล้มเลิกรัฐธรรมนูญ เลิกการเลือกตั้ง ประกาศกฎอัยการศึก ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ขึ้นรองรับอำนาจของตน ให้อำนาจประธานาธิบดีอย่างล้นฟ้า จนมีคำกล่าวว่า


 


"ทุกสิ่งทุกอย่างในนิคารากัว นอกจากอากาศแล้วเป็นของโซโมซาทั้งสิ้น"


 


ขบวนการซานดินิสต้า(Frente Sandinista de Liberacian National/FSLN) ก่อตั้งขึ้นในปี ค..1962(พ..2505) ของผู้รักชาติที่ต่อต้านโซโมซาด้วยกำลังอาวุธ ผู้ได้รับเลือกให้เป็นผู้แทนคนแรกคือคาร์ลอส ฟอนเซคา อมาเดอร์(Carlos Fonseca Amedor) ได้รับการฝึกฝนจากคิวบา เอาชื่อ ออกัสโต ซีซาร์ ซานดิโน มาเป็นชื่อขบวนการ จุดมุ่งหมายเพื่อโค่นระบบเผด็จการตระกูลโซโมซา ขจัดอิทธิพลการครอบงำของเอมริกาและสร้างเอกราชประชาธิปไตย ยุทธวิธียุคแรกๆใช้สงครามกองโจรแบบการปฏิวัติคิวบา ต่อมามี 3 แนวทางคือ


1.     แนวทางชนบท เน้นการต่อสู้ในชนบทโดยการปลุกระดมประชาชนขึ้นทำ


สงครามกองโจรในรูปแบบเดิม


2. แนวทางกรรมาชีพ มุ่งปลุกระดมและจัดตั้งกรรมาชีพในเมืองและคนยากจนในสลัมเป็น


กำลังสำคัญ


            3. แนวทางแนวร่วมทุกระดับชั้น คือการเน้นการสร้างแนวร่วมอันกว้างใหญ่ เพื่อโดดเดี่ยวเผด็จการ โซโมซาและใช้ปฏิบัติการทางทหารจุดชนวนสงคราม


            เดือน ก..1979(พ..2512) โซโมซา ลาออกและลี้ภัยไปอเมริกา ซานดินิสต้าจัดตั้งรัฐบาลและยกกำลังเข้ากรุงมานากัว วันที่ 19..1979 ชัยชนะของขบวนการซานดินิสต้าเกิดจาก


1.     ได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากประชาชน


2.     การวางยุทธวิธีที่เฉียบแหลม


3.     ประสบความสำเร็จในการสร้างแนวร่วมภายในประเทศอย่างกว้างขวางสามารถดึงมวลชนทุกชั้น


4.     ดำเนินนโยบายโดดเดี่ยวโซโมซาทางสากลในประเด็นละเมิดสิทธิมนุษยชน


 


 ในประเทศไทย อดีตนายกรัฐมนตรีเป็นกล่องดวงใจของคนเสื้อแดง แต่ในนิคารากัวไม่


มั่นใจว่าท่านเป็นแนวร่วมของกลุ่มไหน ระหว่างตระกูลโซโมซากับขบวนการซานดินิสต้า        


                                                                                     

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net