Skip to main content
sharethis

 


มูลนิธิศักยภาพชุมชน ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 2 กรณีมนุษย์เรือโรฮิงยา ลงวันที่ 3 ก.พ. โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 52  กองทัพเรือภาค 3  จับกุมเรือของประชาชนโรฮิงยา 78 คน ในน่านน้ำทะเลอันดามัน ทาง ตะวันตกเฉียงใต้ของหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นชายอายุระหว่าง 14 ถึง 55 ปี มีบาดแผลถูกทำร้ายจึงนำเรือเข้าฝั่งและให้การรักษา ก่อนควบคุมตัวเพื่อผลักดันกลับต่อไป


 


แถลงการณืระบุว่า เป็นที่แน่ชัดว่าทั้งหมดถูกทำร้ายจากทหารพม่า ในขณะที่หลายเดือนที่ผ่านมาปัญหาของมนุษย์ เรือโรฮิงยายังไม่ได้รับการแก้ไข มีเพียงการกล่าวหาติเตียนกันไปมา


 


อย่างไรก็ตาม มูลนิธิศักยภาพชุมชนได้แสดงความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา ประการแรก ต้นเหตุของปัญหาคือปัญหาประชาธิปไตยในพม่า และความไม่เป็นธรรมในการปฏิบัติต่อประชาชน ชนกลุ่มน้อยโรฮิงยา ประชาคมโลกจึงต้องร่วมกันประนามและกดดันให้พม่าหยุดการกระทำที่ละเมิดชนกลุ่มน้อยอารกันและ อื่นๆในพม่า หยุดการข่มเหงทำร้ายประชาชนของตนเอง หยุดการทำให้ภูมิภาคอาเซียนขาดเสถียรภาพ


 


พม่าเป็นประเทศที่มี ประชาชนหนีภัยต่างๆออกมาสร้างปัญหาภาระให้กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งไทย มาเลย์เซีย อินโดนีเซีย ฯลฯ มากที่สุด โดยที่ พม่าเองไม่มีท่าทีรับรู้ หรือรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น ประชาคมโลกต้องประนาม กดดัน พม่าอย่างรุนแรง จริงจัง ให้พม่ามี การเปลี่ยนแปลง เพื่อยุติปัญหาผู้ลี้ภัย ผู้พลัดถิ่นและการละเมิดสิทธิมนุษนชน หยุดการสร้างปัญหาให้กับภูมิภาคและกับ ประชาคมโลก


 


ประการที่สองบทบาทของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติกล่าวได้ว่าไม่ได้ทำหน้าที่ในการดูแลค่ายผู้ลี้ภัยในบังคลาเทศ และแม้แต่บริเวณชายแดนไทย-พม่าให้มีประสิทธิภาพ ผู้ลี้ภัยถูกทอดทิ้งให้อยู่อย่างยากลำบาก สิ้นหวัง ไม่มี อนาคต


 


บทบาทของข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติต้องมีนโยบายการดูแลผู้ลี้ภัยในค่ายผู้อพยพต่างๆ อย่างชัดเจนมี ประสิทธิภาพ มีการแก้ปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว มีการประสานงาน หารือกับประเทศต่างๆให้ร่วมคลี่คลายปัญหา ด้วยกันไม่ใช่ผลักดันให้ประเทศใดประเทศหนึ่งต้องดูแลผู้ลี้ภัยตามยถากรรม เช่นไทย และบังคลาเทศ ฯลฯ


 


แม้จะมีองค์กร นานาชาติ เช่น หมอไร้พรมแดนและอื่นๆจะช่วยเหลือในการดูแลผู้ลี้ภัยแต่เป็นเพียงการช่วยเหลือทางมนุษยธรรมเท่านั้น  ประเทศที่ให้ที่พักพิงชั่วคราว เช่น ไทยและบังคลาเทศใน


 


ทั้งนี้ กรณีโรฮิงยา ต้องการความชัดเจนจากข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยเช่นกันว่า ผู้ ลี้ภัยเหล่านี้ต้องอยู่ในประเทศไทย นานแค่ไหน ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยมีนโยบายอย่างไรต่อผู้ลี้ภัย เหล่านี้ ไม่ใช่เพียงแค่ตรวจสอบ ว่าแต่ละประเทศไทยปฏิบัติต่อผู้ลี้ภัยเช่นไร ละเมิดอะไร


 


มูลนิธิศักยภาพชุมชนยังเรียกร้องให้ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ทำงานแบบมืออาชีพมากขึ้นและร่วมแก้ปัญหากับรัฐบาลไทย บัง คลาเทศ มาเลย์เซีย พม่า และประชาคมโลกในกรณีโรฮิงยาอย่างสร้างสรรค์มากกว่านี้ ร่วมกันแก้ไขโดยมีเหยื่อมนุษย์โรฮิงยา เป็นเป้าหมายที่ได้จะรับผลประโยชน์จากการทำงานของข้าหลงใหญ่อย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม และต้องการทราบว่าข้าหลวงใหญ่ ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติมีข้อเสนอ ทางออกอย่างไรต่อกรณีนี้ และกรุณาชี้แจงต่อประชาคมโลก


                         


นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้รัฐบาล โอ ไอ ซี ที่เป็นผู้ประสานงานประเทศมุสลิมมีการหารือกันอย่างกว้างขวาง เอาจริง เอาจังว่าจะมีบทบาทแก้ไขปัญหาพี่น้องมุสลิมโรฮิงยาอย่างไร


 


ส่วนบทบาทประชาคมโลก รวมทั้งสื่อต่างประเทศ ทั้งสื่อที่จุดประเด็นนี้และสื่ออื่นๆ ที่รุมประนามประเทศไทยและให้ ข้อมูลผิวเผินเพียงฉากหน้าของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่พยายามศึกษาและให้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงต้นตอและปัจจัยแวดล้อมของ ปัญหาอย่างรอบด้าน ควรต้องตระหนักว่าปัญหาผู้ลี้ภัยเป็นปัญหาที่เรื้อรัง ตราบใดที่โลกยังไม่มีความสงบสุขจะยังมีผู้ พลัดถิ่น ผู้ลี้ภัย คนไร้รัฐ และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย ในฐานะที่โรงฮิงยาเป็นมนุษย์ประชาคมโลกจะมีความ รับผิดชอบร่วมกันอย่างไรในปัญหา ผู้อพยพ ผู้พลัดถิ่น คนไร้รัฐและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง


 


แถลงการณ์ยังอ้างถึงข้อเรียกร้องไปในแถลงการณ์ฉบับที่ 1ว่ารัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานทหารและความมั่นคงที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องต้องออกมาแสดงจุดยืนและชี้แจงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ชัดเจนและโปร่งใส


 


โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีล่าสุด เรืออีกลำขึ้นฝั่งที่อาเจห์ตะวันออกข้อมูลเบื้องต้นแจ้งว่าเรือลำนี้ถูกผลักดันมาจากประเทศไทยและมีผู้เสียชีวิตในเรือ 22คน ท่าทีที่นิ่งเฉยเท่ากับการยอมรับความผิดและข้อกล่าวหาทุกประการ ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้เป็นผู้ก่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้ โดยตรงและเป็นเพียงหนึ่งในประเทศผู้รับแรงงานและทางผ่านของเส้นทางการค้ามนุษย์ แต่ในโอกาสที่ไทยกำลังดำรงตำแหน่ง ประธานของอาเซียน รัฐบาลไทยควรแสดงบทบาทนำในการคุ้มครองและปกป้องสิทธิมนุษยชนและแก้ไขประเด็นปัญหาข้าม พรมแดนในระดับภูมิภาค เช่นปัญหาแรงงานข้ามชาติและการค้ามนุษย์ โดยอาจริเริ่มขอเป็นตัวกลางในการประสานกับประเทศ พม่า มาเลเซีย บังคลาเทศรวมทั้งข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติเพื่อหารือถึงทางออกของการแก้ไขปัญหานี้อย่างยั่งยืน และวังว่าอาเซียนจะให้ความสำคัญต่อกรณีตัวอย่างนี้และจะหารือกันเพื่อทำงานร่วมกับประชาคมโลก และ ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ ในการคลี่คลายปัญหานี้

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net