Skip to main content
sharethis

อาทิตย์  คงมั่น






เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ที่หมู่บ้านหนองหล่ม ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ กลุ่มชาวบ้าน และนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยภูมิปัญญาพื้นบ้านขึ้น


 


ทั้งนี้ตัวแทนชาวบ้านได้อภิปรายถึงเรื่ององค์ความรู้ ภูมิปัญญาในการจัดการป่าของชุมชนปกาเก่อญอ


 


โดยได้แสดงให้เห็นชัดเจนในวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในความรู้สึกสำนึก ความหวงแหน และการอนุรักษ์ในรูปแบบ ในการจัดการป่า การรวมตัวกันปกป้องจากการเข้ามาใช้ประโยชน์จากคนภายนอกในขนาดเดียวกันชุมชนปกาเก่อญอ ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และการแย่งชิงทรัพยากรธรรมชาติ ชุมชนจึงมีการปรับเปลี่ยน วิธีการจัดการทรัพยากรโดยการประยุกต์ใช้ความรู้เก่ามาผสมผสานกับแบบใหม่ แต่ยังคงใช้ กฎจารีต ประเพณีและวัฒนธรรมดั้งเดิมที่มีความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่าง คนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ จึงเกิดมาเป็นพิธีกรรมต่างๆ ที่สื่อให้เห็นถึงความจำเป็นของคนปกาเก่อญอ ไม่ว่าจะเป็นการขอวิงวอน ขอบคุณ ขอขมา ต่อสิ่งเหนือธรรมชาติที่ได้ให้ป่า ได้คุ้มครองทุกคนในครอบครัวหรือในชุมชนและพิธีกรรมบางพิธีกรรมยังเป็นการขอทำการเกษตรหรือระบบการผลิตอย่างไร่หมุนเวียนเมื่อครบรอบในวงของการผลิตที่สำคัญเป็นการสร้างความสัมพันธ์ ความเป็นธรรม ความเคารพ ยำเกรงที่มีมาของคนกับธรรมชาติ


 


การเข้ามาของโครงการในชุมชน ภายใต้นโยบาย ด้านต่างๆ เช่น ด้านการศึกษา ด้านศาสนา การส่งเสริมการผลิตเพื่อการส่งออก ในพื้นที่เป็นการเข้ามาที่ทำให้ระบบความเชื่อ เดิมของคนกับธรรมชาติเริ่มหายไป ดังนั้นคนในชุมชนได้รวมกันพร้อมกับตั้งกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงระหว่างชุมชนเพื่อเป็นที่ยอมรับกันในชุมชนและชุมชนรอบข้างรวมถึงสังคมวงกว้างจึงเป็นการหาแนวทางที่จะร่วมกันในการจัดการทรัพยากรแต่ก็ยังเป็นการผสมผสานกันระหว่าง ความเชื่อในพิธีกรรมแบบดั้งเดิมกับระเบียบกฎเกณฑ์ของการรวมกลุ่มมาใช้ร่วมกันเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงความสัมพันธ์กันที่มีมาก่อนระหว่างคนกับธรรมชาติ


 


อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดในเรื่องของความเชื่อที่มีต่อธรรมชาติเป็นการสื่อสารถึงอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์(สิ่งเหนือธรรมชาติ)ในการควบคุมดูแลรวมทั้งการตอกย้ำในเรื่องของสำนึกของคนที่มีการอนุรักษ์ หวงแหน และการพัฒนาด้านภูมิปัญญาของชุมชนในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การเอาความสัมพันธ์ด้านจิตวิญญาณของคนกับธรรมชาติที่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน การจำแนกความรู้ลงไปในการจัดการให้เป็นระบบในพื้นที่เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชุมชนและการเข้าถึงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์มากที่สุดพร้อมกับการเรียนรู้ด้านฤดูกาลความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์โดยผ่านการเรียนรู้จากทั้งพืชและสัตว์ การตอบสนองทางด้านเศรษฐกิจของชุมชน


 


โดยสังคมส่วนใหญ่แล้วการมองเรื่องเศรษฐกิจจะมองไปที่ตัวเลขหรือจำนวนเงินความสะดวกสบายในด้านต่างๆรวมถึงสถานะทางครอบครัวหรือในชุมชน แต่ยังมีชุมชน ปกาเก่อญอ อีกหลายชุมชนได้มองกลับกันสำหรับการใช้ประโยชน์จากป่าการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติออกมาใช้ในชีวิตประจำวันเมื่อคำนวณโดยตัวเลขแล้วสามารถบ่งบอกถึงสภาพความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่ได้ดี ดังนั้นชุมชนไม่สามารถคำนวณออกมาได้แต่สิ่งที่ชุมชนตอบได้คือความเป็นอยู่ที่อย่างไม่ต้องดิ้นรนหาเงินมากนักเหมือนสังคมทั่วไปที่เป็นคำตอบสำหรับการใช้ประโยชน์หรือการอาศัยทรัพยากรนั้นมันตอบสนองความเป็นอยู่ด้านเศรษฐกิจอย่างไร อย่างไรก็แล้วแต่การเก็บหาหรือการใช้ประโยชน์จะใช้อย่างประหยัดและมีคุณค่ามากที่สุดด้วยสาเหตุที่มีความเชื่อ ว่าทรัพยากรทุกอย่างมีเจ้าของ ดังนั้นคนจะต้อง เคารพ ยำเกรงในสิ่งที่ให้ประโยชน์แก่คน


 


จากความเคารพที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งที่มีการปฏิบัติตามมาคือ พิธีกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นเช่น การเลี้ยงผีป่า ผีไร่ ผีไฟ ผีน้ำ ผีฝายฯลฯ เพราะเมื่อถึงเวลาหรือเป็นการสมควรตามฤดูกาลระบบการผลิตของชุมชน ปกาเก่อญอ จะสำนึกขึ้นเลยว่า จะทำพิธีกรรมอันไหนและแต่ละครั้งในการทำก็จะให้ความหมายในการทำพิธีนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับคำบอกกล่าวหรือคำอธิฐานของผู้ทำพิธีที่เป็นทั้งการให้ การขอ และการอภัย ซึ่งกันและกัน ว่าการกระทำที่ผ่านมานั้นอาจจะไม่พอใจหรือมีการล่วงล้ำกันเกินไป


 


นอกจากพิธีกรรมในระบบการผลิตแล้วชุมชน ยังมีพิธีกรรมระหว่างบุคคลกับสิ่งเหนือธรรมชาติ  เป็นการประกอบพิธีเพื่อขอให้สิ่งเหนือธรรมชาติได้ปกป้องคุ้มครองรักษา ทั้งคนในครอบครัวและเครือญาติให้อยู่อย่างมีสุข "ขวัญ" ที่หนีไปก็ขอให้กลับมาอยู่ กลับมากินน้ำกินข้าวกับเจ้าตัว ตลอดจนเจ้าตัวและครอบครัวมีสุขภาพ ที่แข็งแรงทำมาหากินขึ้นตลอดปีตลอดไป ในพิธีส่วนบุคคลนี้จะแตกต่างกันไปกับพิธีการผลิต เพราะพิธีการผลิตจะใช้คนในครอบครัวทำแต่พิธีส่วนบุคคลจะใช้ผู้รู้แต่ก็ขึ้นอยู่กับคำทำนายของผู้รู้อีกทีหนึ่ง (ผู้รู้คนละคนกัน) การทำพิธีส่วนบุคคลนี้ส่วนใหญ่จะใช้ในการเรียกขวัญและการต่ออายุ (สืบชะตา) โดยการเรียกขวัญและต่ออายุก็จะทำพิธีทั้งในและนอกชุมชนหรือในบ้านและนอกบ้านก็ได้


 


การทำพิธีต่างๆเหล่านี้จะเห็นว่าชุมชนอยู่ได้ด้วยสิ่งเหนือธรรมชาติทุกขั้นตอน ทุกรุ่น ทุกอย่าง ในการดำเนินชีวิต ทั้งระบบการผลิต สุขภาพของคน ดังนั้นคนจะอยู่ได้ด้วยการอาศัยซึ่งกันและกัน ด้วยความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกับจิตวิญญาณระหว่าง คน ธรรมชาติ วิญญาณและสิ่งเหนือธรรมชาติ


 


ข้อเท็จจริงเหล่านี้เป็นเพียงผลประโยชน์ของกลุ่มบางกลุ่มเท่านั้นที่ถือกฎหมายอยู่ในมือ และมองกิจกรรมเหล่านี้เป็นสิ่งงมงายโดยที่ไม่ได้ศึกษา แต่สำหรับชุมชนแล้ว นี่คือสิ่งล้ำค่าที่สุด ในการที่มนุษย์ สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และการดำเนินชีวิตตามวิถี ที่ไม่สามารถตีค่าหรือคำนวณเป็นตัวเลขออกมาได้หากไม่มีการอธิบายออกมาที่เรียกว่าเป็นวาทะกรรมบนพื้นฐานเหตุผลที่ต่างกันแม้จะเป็นวิทยาศาสตร์เหมือนกัน


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net