Skip to main content
sharethis

วันที่ 19 พ.ย. มูลนิธิ 111 ไทยรักไทย จัดการสัมมนา หัวข้อ การพัฒนากฎหมายสู่มาตรฐานสากล โดยมีนายมานิตย์ จิตจันทร์กลับ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา นานคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาพร่างรัฐธรรมสูญ นายวิบูลย์ แช่มชื่น อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกาฬสินธุ์ นายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นผู้อภิปรายหลัก ดำเนินรายการโดยนายจำลอง ครุฆขุนทด


 


นายมานิตย์ กล่าวว่า หากพิจารณาจากความหมายตามพจนานุกรมแล้ว กฎหมายต้องเป็นกฎที่ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น และอำนาจสูงสุดของรัฐก็คืออำนาจอธิปไตย ซึ่งอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่เดิมอำนาจอธิปไตยไม่ใช่ของปวงชนชาวไทย ในสมัยที่ประเทศไทยยังมีการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการเป็นของกษัตริย์แต่ผู้เดียว แต่เมื่อปี 2475 พระมหากษัตริย์ได้มอบอำนาจให้ปวงชนชาวไทย โดยยอมพระองค์ลงมาอยู่ภายใต้ รธน. ด้วย


 


ดังนั้น อำนาจในการบัญญัติกฎหมาย ต้อง เป็นของปวงชนเท่านั้น ไม่ได้ให้คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ให้ปวงชนชาวไทยทั้งประเทศ


 


สำหรับกฎหมาย รธน. 2550 นั้น ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกฎหมายอื่นๆ ที่ได้บัญญัติขึ้นหลังการรัฐประหาร ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ พลเอกสนธิ บุณยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบอประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ทั้งที่การรัฐประหารเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ชัดเจน


 


โดยนายมานิตอธิบายว่า สภานิติบัญญัติและคณะปฏิรูปการปกครองมิได้มีรากฐานมากจากปวงชนชาวไทย "เมื่อสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นมาจากโจร ของที่ตามหลังมา นั้นใช้ไม่ได้เลย


 


นายมานิตกล่าวต่อไปว่า เวลานี้ผู้คนในบ้านเมืองแบ่งออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายที่รักประชาธิปไตย ใส่เสื้อแดงบอกว่ารัฐธรมนูญและกฎหมาย นั้น ต้องมาจากประชาชนเอง อีกพวกหนึ่งคือพวกที่อยู่ในทำเนียบ ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งต้องแก่ที่เหตุแห่งทุกข์คือ ต้องให้ศาลประชาชนเป็นผู้ตัดสิน ในที่นี้ก็คือปวงชนชาวไทย


 


นายคณิน บุญสุวรรณกล่าวว่า มาตรฐานกฎหมายไทยถ้าผ่านกระบวนการรัฐสภานั้น ถือว่าได้มาตรฐานเช่น แพ่ง หรืออาญา ซึ่งใช้มานานนับร้อยปี เป็นเสาหลักของกระบวนการยุติธรรม แต่สิ่งทีก่ำลังเป็นปัญหาอยู่ในปัจจุบันจนกระทั่งเกิดข้อสงสัย ก็คือกฎหมายอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายทีเกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเหมือนกันแต่เป็นกระบวนการยุติธรรมทางการเมือง ซึ่งกระบวนการยุติธรรมทางการเมืองเพิ่งกำเนิดมาพร้อมๆ รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการปฏิรูปการเมืองครั้งใหญ่ แต่ปัญหาในวันนี้ก็คือกระบวนการยุติธรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นมา แล้วถูกยกเลิกหลังเมื่อเกิดการรัฐประหาร แล้วก็ประกาศใช้กฎหมายและสืบเนื่องมาจนถึง รธน. 2550 มีมาตรฐานเพียงพอหรือไม่ ขณะเดียวกัน กระบวนการบยุติธรรมทางการเมืองนั้น มีความเป็นธรรมเพียงพอหรือไม่


 


ทั่งนี้ ไม่มีใครไปดูหมิ่น หรือลบหลู่ บุคลาการทางศาล ผู้พิพากษา แต่ที่เป็นปัญหามาก และเป็นข้อสงสัยคือ เมื่อบรรดาผู้พิพากษาเหล่านั้นได้ออกมาใช้อำนาจวินิจฉัยกรณีใดๆ ก็ตามภายใต้กฎหมายที่ออกมาบังคับใช้หลังจากยกเลิก รธน. 2540 ไปแล้วนั้น มีข้อควรสงสัยประการใดหรือไม่ และกฎหมายที่เกิดหลังรัฐประหารนั้น ต่ำว่ามาตรฐานสากลหรือไม่


 


นายคณินกล่าวว่า กฎหมายที่ถูกยกเลิกไปโดย ประกาศ คณะปฏิรูปฯ เกิดความเบี่ยงเบนไป เพราะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมที่เคยใช้ตาม 2540


 


"กรุณาแยกให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเรากำลังพูดถึงกฎหมายที่เกิดขึ้นหลังการรัฐประหาร 2549 และเรากำลังพูดถึงกระบวนการยุติธรรมทางการเมืองที่เกิดจากกฎหมายเหล่านั้น และผลกระทบที่เกิดกับสังคมไทยโดยเฉพาะระบบการเมือง และระบบกฎหมายไทย ซึ่งเสียดุลยภาพไปโดยสิ้นชิง หลังการรัฐประหาร"


 


นายคณินระบุว่า ความเบี่ยงเบนไปของกฎหมายมี 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1 กฎหมายที่นำมาใช้บังคับ 2บุคคลหรือคณะบุคคลที่จะเป็นเป้าหมายในการตรวจสอบหรือต้องถูกดำเนินคดี หรือถูกวินิจฉัย หรือตกเป็นจำเลย หรือถูกกล่าวหาก็ตาม และ 3 เป็นกระบวนการทีไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนคือการเอาฝ่ายตุลาการมาจัดการปัญหาความขจัดแย้งทางการเมือง


 


ความเบี่ยงเบนทั้งสามเรื่องนี้นำไปสู่ปัญหา 3 เรื่องหลัก คือ


 


1 เกิดสิ่งที่ ใช้คำว่า ยุติรรมทางเดียว Oneway Justice ที่เรียกว่ายุติธรรมทางเดียวเป็นเพราะว่าผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา เป็นจำเลย เป็นผู้ถูกกล่าวหา ภายหลังจากการปฏิรูปการปกครองล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลซึ่งเคยมีอำนาจ เคยมีตำแหน่ง ในสมัยรัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ถูกโค่นล้มไป โดยไม่ใช้วิถีทางของระบอบประชาธิปไตย


 


2 การขัดกันทางอำนาจ Conflict of Power ซึ่งร้ายแรงกว่า ผลประโยชน์ขัดกัน (Conflict of Interest) ที่บอกว่าเป็นการขัดกันทางอำนาจเพราะเป็นปรากฏการณ์ครั้งใหม่ เพราะศาลได้อกมานอนกอาณาจักรยุติธรรม เพราะว่าไปยกเลิกกระบวนการตาม 2540 แล้วไปดึงเอาศาลมาตรวจสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ถูกยกเลิกไปแล้ว


 


3 เกิดกฎหมายพิเศษออกมาใจหลากหลายรูปแบบ ประการแรก กฎหมายหลายฉบับที่ออกมา เป็นกฎหมายที่มุ่งหมายให้ใช้บังคับต่อกรณีใดกรณีหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งขัดหลักนิติธรรม


 


ประการที่ 2 เป็นการบัญญัติกฎหมายที่กำหนดโทษย้อนหลัง ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกัน ประการที่ 3 อาจจะทำให้ศาลซึ่งมีอำนาจวินิจฉัยไม่มีทางเลือกอื่น จำเป็นต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหากระทำความผิด ซึ่งขัดกับหลักการที่ว่าจำเลยต้อถูกสันนิษฐานไว้ก่อนว่าไม่มีความผิด ซึ่งก็น่าเห็นใจศาล เพราะว่าผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้นถูกรัฐประหาร เพราฉะนั้นคงไม่มีทางเลือกอื่น เว้นเสียแต่ว่าจะมีหลักฐานชัดเจนว่าท่านไมได้เป็นผู้กระทำความผิด


 


ประการที่ 4 มีการบัญญัติกฎหมายขัดต่อหลักนิติธรรม คือมีการเอาผู้มีส่วนได้เสีย เป็นผู้มี่มีส่วจนที่จะได้รับหรือเสียผลประโยชน์จากกการบัญญัติกฎหมาย ไปเป็น กมธ. ยกร่างฯ เป็น สสร. และอีกหลายตำแหน่ง และท่านเหล่านี้ก็มีบทบัญญัติรองรับการได้ประโยชน์ของท่านอย่างชัดเจน กฎหมายพิเศษที่เบี่ยงเบนไป ที่เกิดขึ้นหลังการปฏิรูปการเปกครอง มีที่มา 4 ทางคือ


 


1 รธน. ชั่วคราว 2549 เรียกว่า รธน. ฉบับเช่าเหมาลำ มีบทบัญญัติ 2-3 มาตราซึ่งสะท้อนและเป็นผลผลิตของความเบี่ยงเบนคือมาตรา 35 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราว ให้คณะตุลาการ 9 คน ซึ่งไม่ใช่ศาล มีอำนาจสั่งยุบพรรคการเมือง การวินิจฉัยของ รธน. และการวินิจฉัยยุบพรรคไทยรักไทยครั้งนั้นก็เป็นการวินิจฉัย รธน. ข้ามฉบับ


 


2 บรรดาประกาศ คปค.ซึ่งเป็น One man Law ผิดหลักการบัญญัติกฎหมาย มีการกำหนดโทษขึ้นใหม่ เช่น ในรัฐธรรมนูญ 2540 นั้นคัดสิทธินักการเมืองที่ทึจริตการเลือกตั้งโดยตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคในการดำรงวตำแหน่งบริหารพรรค แต่ม่าตัดสิทธิลงรับสมัครเลือกตั้ง เพราะเป็นเสรีภาพของประชาชน การ


"ประกาศ คปค. เป็นการขัดขวางและบั่นทอนขวัญแหละกำลังใจ และผลกระทบที่จะได้รับจากการวินิจฉัยนั้นจะตกแก่มหาชน เพราะประกาศ คปค. นี้เอามาสืบทอดในรธน. 2550 ด้วย"


 


และสุดท้าย ประกาศ คปค. ตั้ง คตส.(คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน) ให้อำนาจ คตส. ใช้อำนาจของ ปปช. ปปง. และอธิบดีกรมสรรพากร ไม่มีองค์กรไหนในโลกที่ให้อำนาจมากมายมหาศาลเช่นนี้ และเป็นอำนาจที่มาจากการรัฐประหาร ฉะนั้นอย่าไปว่าเขาเลยถ้าจะมีใครสักคนร้องโอดโอยว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม


 


3 บทบัญญัติ รธน. 2550 มาตรา 68 ว.4 และอีกหลายมาตราเป็นมรดกสืบทอดกันมาจากคณะปฏิรูป เป็นการบัญญัติกฎหมายที่เป็นการทำลายเสรีภาพของประชาชนในการจัดตั้งพรรคการเมือง เริ่มจากยุบพรรค มาตรา 68 เดิมทีมีแค่ยุบพรรค แต่เมื่อมี 50 ไปต่อเป็น วรรค 4 ยุบพรรคแล้วยุบคนด้วย


 


มาตรา 237 วรรค 2 การให้ใบแดง วรรค 2 นี้ให้ใบแดงเสร็จแล้วไปโยงถึงคณะกรมการบริหารพรรค เป็นขั้นตอนที่ "เก่งนะครับคนที่เขียนและคิด แต่ใช้ความเก่งกาจของท่านบ่อนทำลายประชาธิปไตย"


 


 


มาตรา 265 วรรค 1-3 เดิม รัฐธรรมนูญ 2540 ห้ามเฉพาะตัว สส. แต่รัฐธรรมนูญ 2550 ห้ามคู่สมรสด้วย คือ ห้ามไปดำรงตำแหน่ง ห้ามไปเป็นลูกจ้าง อย่างไรก็ตาม ไม่ได้ห้ามเฉพาะ รมต. แต่รวม ปปช. ตุลการศาลรัฐธรรมนุญ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญอื่นๆ ด้วยฯ


 


มาตรา 126 ว. 5 ให้ส.ส. เป็นอิสระในการลงมติไม่ไว้วางใจแม้แต่หัวหน้าพรรคตัวเองเป็นการทำลายระบบพรรคการเมืองเป็นการทำลายความเชื่อมั่นความเชื่อถือ


 


4 บทเฉพาะกาล ที่ไม่เฉพาะกาล เป็น รธน. ซ้อน รธน. เช่นกรณี กำหนดให้ผู้ว่าการตรวจเงินแผนดิน ใช้อำนาจคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะเป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหนึ่งในคณะกรรมการสรรหา ส.ว. ซึ่งผลงานนี้ปรากฏชัดแล้ว ส.ว. โดยที่สรรหานี้มีสิทธิที่จะได้รับการสรรหา 9 ปี เนื่องจากในวาระแรกที่ได้รับการแต่งตั้งถูกกำหนดให้ดำรงตำแหน่งเพียง 3 ปี และไม่ถูกตัดสิทธิที่จะได้รับการแต่งตั้งอีก "ถ้าเป็นเช่นนี้ จะมีอดีตกรรมการยกร่างรัฐธรมนูญกลับไปเป็นวุฒิสมาชิก และอาจจะไปเป็นประธานวุฒิสภาด้วย ลายแทงบอกอย่างนี้"


 


"ในอดีตการจัดตั้งสมาชิกวุฒสภา เขาใช้การแต่งตั้ง เพราะแต่งตั้งโดย พระมหากษัตริย์ แต่ ปี 2550 ไปเลี่ยงคำว่าสรรหา คำว่าสรรหา เมื่อไปเปิดพจนานุกรมก็คงไม่รู้ว่าเป็นอะไรแน่ แต่เมื่อสรรหาแล้ว เป็น ส.ว. เลย ได้เงินเดือนแสนกว่าบาท มีอำนาจที่จะถอดถอน นายกฯ"


 


สำหรับ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) จะดำรงตำแหน่งไปถึง 21 ก.ย. 2558


 


มาตรา 309 จะมีผลทำให้บรรดาองค์กรและคณะที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวจะอยู่ในฐานะที่ทำอะไรไม่ผิดไปตลอดอายุการใช้บังคับของ 2550 ฉะนั้นการพยายามที่จะแก้ไข 309 ไม่ใช่ความพยายามที่จะช่วยเหลือคนหนึ่งคนใดตามที่ถูกกล่าวหา แต่เป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรม เท่านั้นเอง


 


นายประสิทธิ ปิวาวัฒนพานิช กล่าวว่า การพัฒนากฎหมายสู้มาตรฐานสากล แยกเป็น 2 ประเด็นคือพัฒนาตัวบท และพัฒนาการใช้การตีความกฎหมาย


 


ในประเด็นรื่องการพัฒนาสู่มาตรฐานสากลนั้น รัฐบาลไทยเป็นภาคี ICCPR (อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง) ซึ่งผูกพันให้ รัฐต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญา มาตรา 14 อนุมาตรา 5 ของอนุสัญญาฯ ระบุว่า บุคคลพึงได้รับการพิจารณาจากศาลที่สูงกว่า แต่เมื่อพิจารณาเรื่องเกี่ยวกับการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มาตรา 278 กลับจบที่ศ่าลเดียว แม้จะมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ แต่เป็นเพียงเงื่อนไขเรื่องการค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ ทั้งนี้ การระบุเหตุผลว่า ปปช. ชี้มูลมาแล้วนั้น ปปช. เป็นเพียงกึ่งพนักงานสอบสวนไม่ใช่องค์กรตุลาการ


 


ประเด็นที่ 2 คือ ปัญหาเรื่อง 190 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการทำหนังสือสัญญาต่างประเทศ มาตรานี้ถ้าไม่แก้ การดำเนินวิเทโศบาย จะเป็นอัมพาต ขณะนี้ก็มีผลแล้ว และรัฐมนตรีกว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะไม่กล้าลงนามเลย


 


และประเด็นที่3 เรื่องกฎหมายว่าด้วยการชุมนุม ในหลายๆ ประเทศแม้แต่ประเทศเล็กๆ ก็มีกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุม คือมีมาตรการทั้งก่อนการชุมนุม ระหว่าง การชุมนุม เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองมีอำนาจยุติการชุมนุม และในบางประเทศต้องห่าง แบะไม่มีการชุมนุมแบบเซเว่นอีเลฟเว่นแบบบ้านเรา บางประเทศบอกว่า แปดโมงเช้า และยุติสามทุ่ม แต่บ้านเรามีการชุมนุมตลอด และง่ายต่อการที่จะเกิดสถานการณ์ลำบาก ในกรณีของเนเธอแลนด์ เจ้าหน้าที่ตำรวจมีอำนาจในการสลายการชุมนุม ได้ โดยสรุป กฎหมายการชุมนุมของต่างประเทศค้องแจ้งล่วงหน้าด้วย เช่น 7 วัน ต้องระบุชื่อแกนนำ และการสัญจร แต่บ้านเรา ไม่มี


 


 


ในส่วนที่ 2 การใช้การตีความกฎหมาย ซึ่งเป็นเรื่องของตุลการภิวัตน์ ไม่ใช่การมุ่งหมายไปแก้ปัญหาทางการเมือง และตุลการภิวัฒน์จริงๆ นั้น เมื่อมีกรณีที่เป็นปัญหาทางการเมือง ศาลจะไม่เข้าไปยุ่ง


 


สำหรับคดียุบพรรคไทยรักไทย คือการใช้กฎหมายย้อนหลัง และในคำประกาศ คปค. ก็ไม่ได้เขียนบอกให้ย้อนหลัง แต่การใช้กฎหมายย้อนหลังเป็นเรื่องของตุลาการเอง ซึ่งก็มีปัญหาในการตีความอีกว่า สิทธิเลือกตั้งมีการตีความว่า หมายถึงการจำกัดสิทธิทางการเมืองทุกประเภทหรือไม่ ต้องมีเหตุผลสมควรและต้องตีความอย่างแคบ เพราะไปกระทบสาระสำคัญของความเป็นพลเมืองแล้ว


 


คดีที่ 2 แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา จะปรากฏว่า หลังๆ คำพิพากษามักจะปรากฏถ้อยคำเชิงตำหนิอบรม ซึ่งไม่ใช่สาระเพราะต้องมุ่งวินิจฉัยข้อกฎหมาย อำนาจตุลการนั้นมีจำกัด จะขยายเกินไปกว่านั้นไมได้ ซึ่งในกรณีแถลงการณ์ร่วม ตุลาการศาลรธน. ไปก้าวล่วง การทำงานของฝ่ายบริหาร ไปตำหนิอบรมการทำงานของฝ่ายรัฐบาล ซึ่งนี่เป็นช่องทางของฝ่ายรัฐบาลที่จะแก้ปํญหา ไปก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ


 


คดีแถลงการณ์ร่วมศาลรธน. ละเลยข้อเท็จจริง 2 เรื่องซึ่งสำคัญมาก ซึ่งคำวินิจฉันยกลางไม่ปรากฏเลย คือ ไม่เรียกกรมแผนที่ทหารมาชี้แจง แต่ทางรัฐบาลก็เสนอแต่ตัวคำวินิจฉัยกลางก็ไม่ได้พูด


 


และการวินิจฉัยที่ว่าการทำแถลงการณ์ณ์ร่วมนี้ไม่ส่งผลต่อการกำหนดเขตแดน ทำไมศาลรธน. รวบรัดในการวินิจฉัย เพราะในการวินิจฉัยนั้นเอง ทำไม่รอบคอบ ควรต้องดูข้อเท็จจริงให้มากกว่านี้


 


 


ศาล รธน. น่าจะให้เหตุผลละเอียดชัดเจนกว่านี้ ทั้งนี้กระบวนการยุติธรรม อย่าไปดูที่ผล แต่ต้องดูที่เหตุผล ถ้ามุ่งที่ผลอย่างเดียวก็จะกระทบต่อความน่าเชื่อถือของคำพากษาเอง


 


สำหรับคดีชิมไปบ่นไปนั้น คำนิยามของคำว่าลูกจ้าง เป็นศัพท์กฎหมายต้องตีความกฎหมายนั้นๆ ไม่ใมช่ไปตีความตามพจนานุกรม ในกรณีที่ไม่มีคำนิยามก็ต้องไปดูตามกฎหมายทั่วไป อย่างกรณีนี้ต้องไปดูกฎหมายแรงงาน ซึ่งมีทั้งพระราชบัญญัติ และคำพิพากษามากมาย ต้องตีความทั้งระบบ และพจนานุกรมที่ศาลรัฐธรรมนุญเอามาอ้างอิงก็ไม่ใช่พจนานุกรมกฎหมายด้วย ทั้งนี้ในต่างประเทศยังมีพจนานุกรมกฎหมายเฉพาะ


 


นายประสิทธิ์กล่าวต่อไปถึงรัฐธรมนูญมาตรา 309 ว่าโดยหลักแล้วการนิรโทษกรรมจะใช้กับสิ่งทีทำแล้วจบลงเพราะความหมายที่แท้จริงของคำว่านิรโทษกรรมคือทำให้ลืม แต่รธน. 2550 เหมือนจ่ายเช็คล่วงหน้า บอกไม่ได้ว่าจะใช้กับใคร และอะไรที่จะได้รับนิรโทษกรรม


 


ประเด็นสุดท้าย มาตรา 237 วรรค 2 การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง จะเขียนอย่างไรก็ได้แต่ตอนตีความต้องตีความอย่างแคบ ต้องเพิกถอนเฉพาะคนที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เพราะขัดกับหลักความได้สัดส่วน กรณีนี้เกิดขึ้นแล้วที่ประเทศตุรกี เพิกถอนกรรมการบริหารพรรค 5 คน แต่อีก 100 กว่คนไม่ได้ถอน เพราะเป็นไปตามหลักการได้สัดส่วน


 


"แต่ความเห็นผมคิดว่าสู้ยากกับตุลาการ และอำมาตยาธิปไตย แต่ทางออกของผมคือ ชื่อการเสวนาคือมาตรฐานสากล ทางเดียวคือการยกระดับกระบวนการยุนิธรรมไทยให้สู้แสงสว่างให้สู้ระดับระหว่างประเทศ คือไทยเป็นภาคี ICPPR จริง แต่ไม่ได้เป็นภาคีของพิธีสารแรกรับ ซึ่งหากไทยลงนาม ประชาชนก็จะสามารถร้องเรียนได้ ซึ่งที่ผ่านมามีหลายคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างปัจเจกชนกับรัฐบาลของตัวเอง แล้วกรรมการสิทธิฯ ของยูเอ็นจะมีคำแนะนำมาว่าต้องเยียวยาอย่างไร"


 


พล.ต.ต. อำนวย นิ่มมะโน กล่าวว่า ไม่ได้เป็นศัตรูกับพธม. และที่ทำอยู่ทุกวันนี้ก็ไม่ได้ทำเพื่อ ครม. หรือนายกฯ แต่ทำเพื่อระบอบ ระบบรัฐสภา เพราะไม่ต้องการให้ระบบรัฐสภาเสียหาย โดยพล.ต.ต. อำนวยกล่าวว่า ประเทศไทยนั้นมีสีเดียวคือสีธงชาติ ใครก็ตามที่คิดเอาสิ่งอื่นมาแบ่งแยกถือว่าผิด และประเทศทไยเป็นประชารัฐ คือรัฐของประชาชน


 


"ประเทศไทยรวมเลือกเนื้อชาติเชื้อไทย เรามีสีเดียวคือสีธงชาติ ใครก็ตามแอบอ้างเอาสิ่งใดมาแยกพวกผิดนะครับ และเป็นประชารัฐ เป็นรัฐของประชาชน ประเทศสวิสเซอแลนด์นั้นมีหลายเชื้อชาติ แต่เขารวมความเป็นชาติกันได้ ไม่แยกว่า ลูกจีนรักชาติ และลูกไทยไม่รักชาติหรือไง หรือสิงคโปร์มีทั้ง แขก จีน ทำไมต้องแยกกัน"


 


ประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับผู้ชุมนุมนั้น พล.ต.ต. อำนวยกล่าวว่าการออกกฎหมายในเชิงป้องกันเมื่อใดก็จะไปละเมิดสิทธิของประชาชน เช่นกฎหมายซ่องโจร ซึ่งขณะนี้ตำรวจไม่กล้าดำเนินการ เพราะมีคณะกรรมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอยู่ แต่ถามกลับว่าการใดก็แล้วแต่เป็นภัยสาธารณะหรือกระทบกระเทือนสิทธิของประชาชน แล้วการชุมนุมทีเพ่นพ่านขวางถนน ปิดเส้นทางเสด็จ เป็นภัยสาธารณะหรือไม่


 


พล.ต.ต.อำนวยกล่าวต่อไปว่า ได้ยินคำถามบ่อยครั้งว่า ทำไมตำรวจจัดการไม่ได้เลย ตอบว่าเนื่องจากไม่มีกฎหมายเฉพาะตำรวจก็ต้องใช้กฎหมายอาญา ซึ่งเป็นยาพาราเซตามอล คือรักษาโรคทั่วไป แต่ไม่มียาเฉพาะทาง


 


"พอออกอาวุธไปหน่อย ก็บอกตำรวจทำร่ายประชาชน แต่สลายการชุมนุม ตำรวจเป็นจำเลยของ ปปช. แต่ต้องถามก่อนว่า ปปช.เป็นองค์กรตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์ไหม และเรื่องนี้ไปฟ้องศาลปกครอง ซึ่งศาลปกครองมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และวินิจฉัยแล้วว่าเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 ต.ค. การไปปิดล้อมรัฐสภา เป็นการข่มขู่ เป็นการชุมนุมที่ไม่สงบ ไม่เป็นการชุมนุมภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ ตร. พึงมีอำนาจสลายการชุมนุมได้ และจะมีการไต่สวนต่อไป เมื่อศาลปกครองรับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว ปปช.จะยังมีอำนาจไต่สวนหรือไม่"


 


นายวิบูลย์ แช่มชื่นกล่าวว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญปัญหาสำคัญ กำลังเข้าสู้สภาวะของกฎหมายเสื่อมทรุดที่สุดแล้ว ทั้งนี้ รธน. ไม่ได้จัดการแบ่งแยกอำนาจให้ชัดเจน ไม่ได้ให้การปกป้องสิทธิเสรีภาพ ไม่ปกป้องสิทธิของประชาชนชาวไทย คงไม่ต้องพัฒนาแล้ว คงต้องปฏิรูปหรือต้องปฏิวัติกันเลยทีเดียว


 


ทั้งนี้ การต่อสู้ทางการเมืองที่เกิดขึ้น คือระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง แต่กินควาสมลึกกว่านั้น คือการต่อสู้ระหว่างคนที่สูญเสียอำนาจไป และคนที่ได้อำนาจใหม่ สัญลักษณ์เสื้อเหลืองวันนี้กลายเป็นฝ่ายที่จะรักษาอำนาจเก่าตั้งแต่โบร่ำโบราณ แต่ฝ่ายเสื้อแดงเป็นฝ่ายที่ต้องการให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง


 


"ในอดีต พ.ศ. 2475 ฝ่ายสีแดงชนะ ต่อมา พ.ศ. 2511 และการปฏิวัติอีกหลายครั้ง สีแดงแพ้ เมื่อวันที่ 14 ตุลา 16 สีแดงชนะ 6 ตุลา 19 แดงแพ้ และการรัฐประหาร 19 ก.ย. สีแดงแพ้ และ 23 ธ.ค. แดงชนะ แต่ไม่ชนะขาด มีฝ่ายหนึ่งบอกว่าไม่ยอมแพ้ ก็ระดมคน บุกรัฐสภา ยึดอำนาจประชาชน นี่คือสัญลักษณ์ของการต่อสู้ ที่รัยกว่าฝ่ายสีเหลือคืออำนาจอำมาตยาธิปไตย ส่วนสีแดงคืออำนาจของประชาชน ถ้าเราแพ้เราจะลำบาก ผมจึงเชิญชวนท่านว่าถ้าเข้าใจปัญหาของชาติ เราต้องไม่แพ้"


 


นายวิบูลย์กล่าวต่อว่า กระบวนการต่อสู้ต่อไปคือ ต้องจัดระเบียบใหม่ ขณะนี้การไขปัญหาของชาติต้องใช้อำนาจรัฐสภา แต่คือรัฐสภาประชาธิปไตยที่สมาชิกกาภาผู้แทนราษฎรมาจากตัวแทนของประชาชน ไม่นับ 74 คน ที่มีที่มาไม่ชอบ แม้จะเป็นคนดี เมื่อเป็นระบอบประชาธิปไตยอำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชนชาวไทย


 


และ เมื่อคนที่จะมาปกครองประเทศไม่ใช่นางฟ้าหรือเทวดา ก็จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ แต่คนที่มาตรวจสอบกลับนั้นจะดำเนินการไปตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 ไม่ได้ เพราะไม่ใช่กติกาประชาธิปไตย และรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ใช่สิ่งที่โลกยอมรับ ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงต้องใช้สภาประชาชน โดยวิธีที่ดีสุดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net