Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis


มีอะไรผิดพลาดไป และยิ่งกว่านั้นสำหรับอนาคต, อะไรที่ไม่ใช่


แปลและเรียบเรียงจาก ดิ อิโคโนมิสต์ เซ็คชั่น Leaders[1] : Capitalism at bay


ที่มา : http://www.siamintelligence.com/wordpress/capitalism-at-bay/


 


ร้อยหกสิบปีก่อน นักธุรกิจชาวสก็อตวางแผนจะทำหนังสือพิมพ์ จุดตั้งต้นของ เจมส์ วิลสัน[2] เกิดจาก "ภาพสะท้อนความหดหู่" : "เมื่อความมั่งคั่งและทุนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว" ในขณะที่วิทยาศาสตร์และศิลปะ "ทำงานได้เป็นที่น่าอัศจรรย์" ทุกชนชั้นถูกกำหนดโดย "รูปลักษณ์ของความไม่มั่นคง และความไม่ปลอดภัย" คำตอบของวิลสันคือเสรีภาพ เขาอุทิศในวิชาชีพ ไม่เพียงเพื่อต่อสู้กับกฎหมายข้าว[3] แต่ยังต่อสู้กับความพยายามยกระดับ การกีดกัน, ความริษยา, ความเป็นปฏิปักษ์ ระหว่างแต่ละบุคคลและแต่ละชนชั้นในประเทศอังกฤษ รวมทั้งระหว่างประเทศนี้และประเทศอื่นทั้งหมด" นับแต่นั้นมา นิตยสาร ดิ อิโคโนมิสต์ ก็ยืนหยัดเคียงข้างเศรษฐกิจเสรี


แต่ ณ เวลานี้ เศรษฐกิจเสรีกำลังตกอยู่ภายใต้การคุกคาม และระบบทุนนิยมประหนึ่งว่าใกล้อวสาน ในสัปดาห์นี้ที่อังกฤษ, จุดกำเนิดของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจสมัยใหม่, กลับทำการโอนกิจการธนาคารส่วนใหญ่กลับเป็นของรัฐ ในขณะที่มีคนพากันพูดกันว่าเรากำลังอยู่ในปลายยุค แธตเชอร์-เรแกน[4] รัฐบาลอเมริกันสัญญาว่าจะใส่เงิน 2.5 แสนล้านเหรียญให้กับธนาคาร รัฐบาลประเทศอื่นกำลังเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ในระบบการเงินของตนเองใหม่ ประเทศในเอเชียพากันชี้ว่าประเทศตะวันตกดูประหนึ่งกำลังกลับไปสู่เศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง : "พวกครูของเรากำลังเจอปัญหาบางอย่าง" นี่เป็นคำกล่าวของผู้นำในจีนเมื่อเร็วๆนี้ , การแทรกแซงกำลังถูกร้องเรียก : "การกำกับดูแลตนเองกำลังสิ้นสุด" นี่เป็นคำกล่าวของ นายนิโกลาส ซาร์โกซี่ "หลักการปล่อยให้รัฐเล็กลง จบไปแล้ว" ไม่ใช่ว่าทุกคำวิพากษ์วิจารณ์เหล่านี้จะไร้นัยยะเอาเสียเลย (บางประเด็นมุ่งเน้นไปยังการเพิ่มบทบาทของรัฐในเรื่องการเงิน) หากแต่ทุกสัญญาณชี้ไปยังทิศทางเดียว : บทบาทของรัฐที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ภาคเอกชนมีบทบาทน้อยลงและถูกจำกัดมากขึ้น

หนังสือพิมพ์ฉบับนี้หวังจากส่วนลึกว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นจริง กว่าศตวรรษครึ่งที่ผ่านมา ระบอบทุนนิยมได้พิสูจน์ตนเองแล้วว่ามันมีคุณค่ากับคนนับพันล้าน ทุนนิยมได้จำเริญขึ้นในที่แห่งใด ที่นั่นมีความเจริญก้าวหน้า ทุนนิยมเหี่ยวเฉาลงในที่ใด ย่อมบันดาลให้เกิดความทุกข์ยากในที่นั้น ระบอบทุนนิยมมักก่อให้เกิดวิกฤติเสมอ และมันก็เกิดวิกฤติขึ้นจริง แต่โลกก็จำต้องใช้ระบบล่าสุด, ก้าวข้ามสิ่งที่มันเป็นอยู่ไป และเรียนรู้ในการจัดการมันให้ดีขึ้น


มาตรการสุดขั้วในการปกป้องเสรีนิยม
ในระยะสั้นการปกป้องระบอบทุนนิยมหมายถึงเรื่องย้อนแย้ง กลับกลายเป็นการเข้าแทรกแซงของรัฐ มันเป็นเรื่องเข้าใจได้ของผู้ลงคะแนนเสียงและนักธุรกิจ (และรวมทั้งนักเศรษฐกิจเสรีด้วย) ว่าเงิน 2.5 ล้านล้านเหรียญของผู้จ่ายภาษี ต้องถูกใช้จ่ายลงไปยังอุตสาหกรรมที่มีผลตอบแทนสูง แต่มาตรการช่วยเหลือทั่วโลกเป็นเรื่องมุ่งสัมฤทธิผล ไม่ใช่เรื่องอุดมการณ์ เมื่อครั้งที่นายฟรังซัวส์ มิตเตอรองด์ ได้โอนธนาคารฝรั่งเศสเข้าเป็นของรัฐในช่วงปี ค.ศ. 1981 เพราะเขาคิดว่ารัฐจะสามารถบริหารธนาคารได้ดีกว่า แต่เวลานี้รัฐบาลกำลังเข้าซื้อธนาคาร (หรือเข้ามาถือหุ้น) เพราะพวกเขาเชื่อว่า, ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ถูก, ว่าทุนสาธารณะต้องการให้มีการหมุนเวียนสินเชื่อ


 


ที่มาของภาพ จากวิกิพีเดีย


การแทรกแซงเพื่อปกป้องวิกฤติธนาคารจากผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจจริงเป็นความเชื่อที่มีมายาวนาน วอลเตอร์ บาเกฮอท[5] ลูกเขยของวิลสัน ได้ให้คำแนะนำว่าธนาคารกลางอังกฤษจะต้องให้กู้ยืมอย่างไม่จำกัด (แต่ด้วยอัตราค่าธรรมเนียมสูง) แก่ธนาคารที่ขาดสภาพคล่อง (แต่ไม่ใช่ธนาคารที่ล้มละลาย) ในช่วงเวลาสมัยใหม่ รัฐบาลที่มีแนวคิดทางการเมืองทุกเฉดล้วนต้องการเข้าไปแทรกแซง โรนัลด์ เรแกน และมาร์กาเรต แธตเชอร์ ต่างก็ตรวจสอบการเข้าไปช่วยเหลือธนาคาร Continental Illinois และธนาคาร Johnson Matthey, ในช่วงทศวรรษ 1990 รัฐบาลฟินแลนด์ และสวีเดนต่างก็โอนกิจการธนาคารเข้าเป็นของรัฐ แล้วก็แปรรูปกิจการออกไปภายหลัง แต่การช่วยเหลือครั้งนี้อยู่ในสัดส่วนที่ต่างกันมาก หากเหตุผลยังคงเดิม : ต้นทุนของการไม่เข้าไปแทรกแซงดูจะมโหฬารกว่ามาก เพราะถ้าความเชื่อมั่นและสินเชื่อยังคงเหือดหาย การซบเซาทางเศรษฐกิจจะกลายเป็นการถดถอยทางเศรษฐกิจ ซึ่งนั่นเป็นหายนะแก่ทุกคน


แม้นว่าสามารถขจัดปัญหาออกไปได้ มาตรการช่วยเหลือก็ยังก่อปัญหาขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นด้วย เพราะมันได้ก่อให้เกิดจรรยาวิบัติ (moral hazard) คือความช่วยเหลือที่เห็นชัดนี้ จะเอื้อให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น มันอาจกลายเป็นการกู้ยืมด้วยเหตุผลทางการเมืองไปได้


รัฐบาลจะต้องจำกัดความเสี่ยงนี้ พวกเขาจะต้องหลีกเลี่ยงการให้รางวัลแก่ผู้บริหารและผู้ถือหุ้นธนาคารที่ได้รับความช่วยเหลือ พวกเขาจะต้องไม่บิดเบือนการปล่อยกู้ลงไปสู่ภาคส่วนที่มีความสำคัญทางการเมือง และพวกเขาจะต้องบริหารงานธนาคารบนพื้นฐานเชิงพาณิชย์ ที่มีความมุ่งมั่นอันเด่นชัดว่าจะออกจากธุรกิจธนาคารให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ (และต้องมีกำไรด้วย) เมื่อมองจากมุมด้านผู้เสียภาษี, มีเหตุผลพอที่จะจำกัดการปันผลให้กับผู้ถือหุ้นจนกว่าหุ้นส่วนที่รัฐบาลเข้าไปถืออยู่นั้นได้รับการชำระปันผลเสียก่อน แต่รัฐบาลจะต้องหลีกเลี่ยงการส่งสัญญาณเพื่อคะแนนนิยม เช่นว่ายกเลิกการให้โบนัส เป็นต้น ซึ่งทำให้ขับคนเก่งออกจากบริษัท ที่ต้องการพวกเขาเป็นอย่างมาก


นักการเมืองทุกคนชอบพูดว่าพวกเขาเข้าใจเรื่องนี้ดีอยู่แล้ว แน่นอน, พวกเขาไม่ต้องการทำผิดซ้ำนายมิตเตอร์รองด์ในการเขาไปทำธุรกิจธนาคารเสียเอง หรือเข้าไปถือหุ้นทุกธนาคารหรอก ตอนนี้ก็มีเสียงเรียกร้อง (รวมทั้งจากทายาทพรรคอนุรักษ์นิยมของนางแธตเชอร์ด้วย) ว่ากำลังมีการผลักดันให้กำหนดเพดานการจ่ายค่าตอบแทนผู้บริหาร คงต้องเป็นประธานาธิบดีที่กล้ามากแน่ๆ ที่บินไปดีทรอยด์แล้วอธิบายผู้คนที่นั่นฟังว่า ทำไมคนที่มอร์แกน แสตนลีย์ที่มีรายอย่างงาม 45,000 คน ควรได้เงินจากผู้เสียภาษี 1 หมื่นล้านเหรียญ แต่คน 266,000 คนที่เจเนรัล มอเตอร์กลับไม่ได้เงินแบบนี้บ้าง และจะต้องเป็นนักการเมืองที่กล้าหาญพอเช่นกันที่จะเสนอการผ่อนคลายกฎระเบียบ เพื่อแก้ปัญหาภาครัฐ


กฏหมายสมู้ท-ฮอว์ลีย์ [6] กำลังปรากฏขึ้น
จากตรงนี้ เป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่เส้นแบ่งระหว่างรัฐและตลาดในระยะสั้นจะเข้าใกล้กันมากกว่าก่อนหน้านี้ ภาครัฐและหนี้ภาครัฐจะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในหลายประเทศ แต่ในระยะยาวก็ขึ้นกับว่าจะแจกจ่ายคำตำหนิในหายนะครั้งนี้ไปได้อย่างไร นี่เป็นพื้นที่ที่สำคัญต่อการประลองปัญญาที่จะต้องเอาชนะกันให้ได้ เหล่าผู้ปกป้องระบอบทุนนิยมจะต้องรับมือกับการวิพากษ์วิจารณ์จากสองกลุ่ม ซึ่งมีกลุ่มหนึ่งสำคัญกว่าอีกกลุ่ม


กลุ่มที่เบากว่า, ซึ่งเป็นข้อโต้แย้งที่เป็นที่นิยมก็คือทุนนิยมแบบแองโกล-แซ็กซอนนั้นล้มเหลว คำวิพากษ์วิจารณ์นั้นชี้ว่า "ฉันทามติวอชิงตัน" ของการผ่อนคลายกฎระเบียบและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ, ที่ถูกเทศน์โดยอเมริกา และอังกฤษ ให้กับรัฐบาลผู้มืดบอดทั่วโลก, แท้จริงแล้วได้นำพาให้เศรษฐกิจเข้าสู่ปากเหวแห่งหายนะ หากความเชื่อนี้มีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อยๆ นักการเมืองจากปักกิ่งจนถึงเบอร์ลิน จะรู้สึกมีความชอบธรรมพอที่ต่อต้านการเคลื่อนย้ายสินค้าและการบริการทั้งภายในและระหว่างเศรษฐกิจของพวกเขาอย่างเสรี ข้อโต้แย้งนิยมกันได้แก่ สุขภาพและการศึกษาจะถูกละเลย และถูกทำลายไปพร้อมกับชะตากรรมของวอลล์สตรีท


ในความเป็นจริง, มันห่างไกลจากการล้มเหลวมาก การลดของอุปสรรคการกีดกัน มากกว่า 25 ปีที่ผ่านมา ได้นำเอาความมั่งคั่งและเสรีภาพในระดับที่น่าทึ่ง ผู้คนนับร้อยล้านคนถูกลากออกจากความยากจนสัมบูรณ์ ต่อให้มีความตึงตัวของสินเชื่อ (credit crunch) ก็ตามที, แต่ทศวรรษนี้ทำให้เราได้เห็นการเติบโตของรายได้ต่อหัวมากที่สุดในประวัติศาสตร์ การเคลื่อนย้ายของสินค้าที่ไม่ใช่การเงิน และการบริการอย่างเสรี ไม่สามารถถูกลากไปเชื่อมโยง เหมือนกับหายนะเมื่อครั้งทศวรรษ 1930[7] ได้


การวิพากษ์จากกลุ่มที่สองมุ่งเน้นในเรื่องการผ่อนกฎระเบียบในภาคการเงิน มากกว่าระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ กรณีนี้ควรได้รับเหรียญรางวัลมากกว่ากรณีแรก ภาคการเงินควรมีการกำกับดูแล เพราะมันมีแนวโน้มที่จะตื่นตระหนก, ล่มสลาย และเกิดฟองสบู่ได้ง่าย (ในช่วงวิคตอเรียน หนังสือพิมพ์ฉบับนี้เคยพร่ำบ่นถึงหุ้นสายการรถไฟ ไม่ใช่ราคาบ้านมาแล้ว) เพราะภาคเศรษฐกิจส่วนที่เหลือไม่สามารถทำงานโดยปราศจากมันได้ รัฐบาลมักเข้าไปเกี่ยวข้องอย่างมากเสมอ


ไม่ต้องเป็นที่สงสัย การเงินสมัยใหม่ย่อมเป็นที่ต้องการอย่างยิ่ง ธนาคารบางแห่งชอบเหมาเอาว่าตลาดมักจะมีสภาพคล่องตลอดไป พฤติกรรมเสี่ยงจึงส่งผลให้ได้รับรางวัลมหาศาล; ส่วนการระมัดระวังกลับกลายเป็นการถูกลงโทษ ทำให้แม้แต่ธนาคารที่ดีที่สุดก็ยังเข้าไปยุ่งกับความเสี่ยงบ้าคลั่ง ตัวอย่างเช่น จนถึงสิ้นปีที่แล้ว โกลด์แมน แซค มีความกล้าแบบไร้เหตุผลที่จะมีสินทรัพย์ 1 ล้านล้าน ตั้งอย่างไม่มั่นคงอยู่บนส่วนผู้ถือหุ้นมูลค่า 4 หมื่น 3 พันล้านเหรียญ การปราศจากการกำกับดูแลจึงเย้ายวนการพนันแบบนี้ นวัตกรรมด้านการเงินในอนุพันธ์ล้ำหน้ากว่าผู้กำหนดกติกา ในที่สุดโลกก็เต็มไปด้วยสัญญาสวอป[8]ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ (credit default swaps : CDSs) มูลค่า 62 ล้านล้านเหรียญ ไม่มีสัญญาใดเลยที่มีการซื้อขายแบบส่งมอบโดยทันที (traded on exchanges) แม้แต่พวกเสรีนิยมที่เสรีสุดๆ ก็ไม่สามารถจินตนาการได้ว่าสิ่งนี้มีเหตุมีผลพอ


แต่ความล้มเหลวของการเงินสมัยใหม่ไม่สามารถกล่าวโทษต่อการกำกับดูแลได้เพียงถ่ายเดียว ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดผ่อนชำระอเมริกันเป็นภาคการเงินที่มีการกำกับดูแลมากที่สุดยิ่งกว่าที่ใด : และถูกครอบงำโดยสองหน่วยงานที่ภาครัฐให้การสนับสนุน คือ เฟนนี่ เม และ เฟร็ดดี แมค แถมยังถูกชี้นำจากการวางแผนของรัฐสภาเพื่อเพิ่มความเป็นเจ้าของบ้าน เศรษฐกิจมหภาคก็เสริมทางเลือกนโยบาย : ธนาคารกลางมองข้ามฟองสบู่บ้านและยังคงกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำเกินไป และนานเกินไป ทั้งความตั้งใจของโลกเพิ่งโผล่ในการดำรงเงินตราสำรอง โดยเฉพาะประเทศจีนที่กดอัตราแลกเปลี่ยนให้ต่ำ ทำให้ส่งการฟอกเงินทุนกลับไปยังอเมริกา และมีบางสิ่งบางอย่างที่เป็นพายุใหญ่ในความผิดพลาดในการกำหนดนโยบายรวมทั้งส่วนเกินในวอลล์สตรีท


การกำกับดูแลอย่างหนัก ไม่ใช่การฉีดวัคซีนป้องกันวิกฤติในอนาคต มีวิกฤติสองครั้งที่เลวร้ายที่สุด ในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เกิดขึ้นจากระบบพันธบัตรที่มีกฎระเบียบมากมาย สิ่งที่ต้องการไม่ใช่บทบาทที่มากขึ้นของภาครัฐ แต่ต้องเป็นประสิทธิภาพที่ดีกว่าของภาครัฐ แต่ในบางส่วนอาจจะหมายถึงกฎเกณฑ์ที่เพิ่มมากขึ้น ความต้องการเงินทุนจะต้องได้รับการซ่อมแซมใหม่เพื่อว่าธนาคารจะได้สะสมเงินทุนสำรองในช่วงเวลาที่ดี และบ่อยครั้งที่หายถึงกติกาที่ต่างกันออกไป : ธนาคารกลางต้องคิดราคาสินทรัพย์เข้าไปในการตัดสินใจด้วย แต่ก็มีหลายครั้งที่มีตัวอย่างปรากฏให้เห็นว่ากฎระเบียบมากเกินไปกลับส่งผลให้ลดผลิตภาพ อย่างเช่นการยกเลิกการขายล่วงหน้า (short-selling) ทำให้ตลาดผันผวนมากขึ้น


ในความเป็นจริงแล้ว ประวัติศาสตร์ได้บ่งชี้ว่า อคติต่อการมีกฎระเบียบมากเกินไปเป็นสิ่งที่ดี บ่อยครั้งที่มันส่งผลที่ไม่ได้ตั้งใจ และทำให้เกิดหายนะครั้งต่อไป และสำหรับระบอบทุนนิยม, ในที่สุดแล้ว, ก็จะสามารถแก้ไขตัวมันเองได้ หลังจากผู้คิดค้นวิกฤติ (อีกชื่อหนึ่งของผู้กำกับดูแล) ไม่ค่อยจะทำผิดพลาดซ้ำสอง ตอนนี้ได้เตรียมแผนตั้งสำนักหักบัญชี (clearing houses) สำหรับสัญญาสวอปความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ เรียบร้อยแล้ว


พลิกฟื้นคืนกระแส
ประวัติศาสตร์สอนให้รู้ว่า เหตุผลทางเศรษฐศาสตร์การเมืองไม่เคยได้รับการเชื่อถือ - โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฉากทัศน์ที่ดีที่สุดของประเทศส่วนใหญ่เป็น การซบเซาระยะสั้น "อุปสรรคที่เพิ่มการกีดกัน, ความริษยา, ความเป็นปฏิปักษ์" เริ่มปรากฏเค้าลางให้เห็นชัดขึ้น


แต่มันก็เป็นเรื่องจำเป็น หากมีการจัดการแผนความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ในที่สุดแล้วผู้ชำระภาษีจะได้รับกำไรจากการเข้าลงทุนในธนาคารอย่างไม่เต็มใจ หากผู้กำกับดูแลเรียนรู้จากวิกฤตินี้ พวกเขาก็จะจัดการการเงินได้ดีขึ้นในอนาคต หากหลีกเลี่ยงสิ่งเลวร้ายที่สุดได้, ผู้คนก็จะไม่นิยมรัฐที่เข้มแข็งมากไป นั่นเป็นความอบอวลของระบอบประชาธิปไตย และมันจะกลับมาอีก หากแม้ระบอบทุนนิยมอาจถึงกาลอวสานก็ตามที แต่ผู้คนที่เชื่อมั่นกับมันจะต้องสู้เพื่อให้มันกลับมาอีกครั้ง แม้จะเต็มไปด้วยช่องโหว่ก็ตาม แต่มันก็เป็นระบบเศรษฐกิจที่ดีที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยคิดค้นมันขึ้นมา.


 


 


เชิงอรรถ



  1. เปรียบเสมือนบทบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ ดิ อิโคโนมิสต์ ซึ่งสะท้อนมุมมองสนับสนุนเสรีนิยม
  2. เจมส์ วิลสัน (James Wilson) บรรณาธิการคนแรกและผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ ดิ อิโคโนมิสต์ (ค.ศ. 1843 - 1857)
  3. กฎหมายข้าว (Corn Law of 1815) เป็นกฎหมายกำหนดกำแพงภาษีส่งออก เพื่อสนับสนุนผู้ปลูกข้าว (หมายถึงข้าวชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพด, ข้าวไรน์) กฎหมายนี้ทำให้ราคาธัญญาหารในประเทศสูงขึ้นมาก หนังสือพิมพ์ดิ อิโคโนมิสต์ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1843 โดยเจมส์ วิลสัน จากการสนับสนุนของสันนิบาตต่อต้านกฎหมายข้าว (Anti-Corn Law League) เพื่อรณรงค์การเปิดเสรี
  4. นางมากาแร็ต แธตเชอร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษได้ฉายาว่านางสิงห์เหล็ก, นายโรแนลด์ เรแกน ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ทั้งสองสนับสนุนเศรษฐกิจเสรี และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
  5. วอลเตอร์ บาเกฮอท (Walter Bagehot) ลูกเขยของเจมส์ วิลสัน และบรรณาธิการคนที่ 3 ของดิ อิโคโนมิสต์ (ค.ศ. 1861 - 1877)
  6. กฎหมายสมู้ท-ฮอว์ลีย์ (Smoot-Hawley Act) - กฎหมายของสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1930 เพิ่มกำแพงภาษีนำเข้า เพื่อปกป้องภาคเกษตรจากสินค้านำเข้าราคาถูก
  7. ช่วงการถดถอยครั้งใหญ่ (Great Depression) เกิดสภาพตกต่ำทางเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1929 และสิ้นสุดเมื่อเกือบปลายทศวรรษ 1930
  8. สัญญาสวอปคือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ที่มีลักษณะของการที่บุคคล 2 ฝ่ายมาตกลงแลกเปลี่ยนกระแสเงินสดระหว่างกันในช่วงเวลาในอนาคต โดยการรับและจ่ายกระแสเงินสดมีการอ้างอิงกับสินทรัพย์อ้างอิง โดยคู่สัญญาทั้ง 2 ฝ่ายสามารถกำหนดลักษณะของสัญญาได้ตามความต้องการ

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net