Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis





หมายเหตุ - วันนี้ (29 ก.ย. 51) สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งกระทู้หัวข้อ "ปฏิรูปการเมือง" นี่คือ coded-word (คำแฝงอำพราง) สำหรับเล่นงานนักการเมืองเลือกตั้ง ลงในกระดานข่าวฟ้าเดียวกัน ประชาไทขออนุญาตนำมาเผยแพร่โดยมีเนื้อหาดังนี้


 


 


สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล


ชื่อหัวข้อเดิม ปฏิรูปการเมือง" นี่คือ coded-word (คำแฝงอำพราง) สำหรับเล่นงานนักการเมืองเลือกตั้ง


ที่มา: http://www.sameskybooks.org/board/index.php?showtopic=11544


 


 


คำขวัญ "ปฏิรูปการเมือง" ที่ชูกันในปัจจุบัน แท้จริงเป็นเพียงคำแฝงอำพราง (coded-word)


 


ความหมายที่แท้จริงของคำนี้ คือการพยายามเล่นงาน จำกัดอำนาจนักการเมืองเลือกตั้ง เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับอำนาจที่แตะต้องไม่ได้ (unaccountable) (อำนาจที่แตะต้องไม่ได้นี้ มีอะไรบ้าง ดูข้างล่าง)


 


บรรดานักวิชาการ แอ๊คติวิสต์ เอ็นจีโอ ที่ใช้คำขวัญนี้แบบไม่คิด ที่ "พาซื่อ" หลงตามกระแสไป คิดว่าเป็นเรื่องเหมาะสมแล้วที่ "นักการเมืองเลือกตั้ง" จะถูกถือเป็น "ปัญหา-เป้าหมาย" ของ "การปฏิรูปการเมือง" ขอให้ดูที่ facts (ข้อเท็จจริง) เชิงประจักษ์ ของสิ่งที่เกิดขึ้นในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ดังต่อไปนี้


 


เกิดอะไรขึ้น กับ "นักการเมืองเลือกตั้ง" ที่นักโฆษณาชวนเชื่อเรื่อง "ปฏิรูปการเมือง" พยายาม หลอกว่า "มีอำนาจมากไป", มีความน่ากลัวระดับ "ระบอบ" (ทักษิณ) ฯลฯ


 


- นายกฯนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง 2 คน ถูกโค่นไป คนหนึ่งที่ได้รับการสนับสนุนอย่างมหาศาลจากประชาชนทั่วประเทศในระดับที่ไม่เคยมีมาก่อน ถูกโค่นด้วยกำลังอาวุธ อีกคน ด้วยข้ออ้างและ "บรรทัดฐาน" แบบชวนหัว


 


- พรรคการเมืองใหญ่และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากที่สุดถูกยุบ ด้วยข้ออ้างข้างๆ คู


 


- ผู้บริหารพรรคการเมืองดังกล่าวถูกแบนจากกิจกรรมการเมือง 5 ปี หลายคน ถูก "คดี" เล่นงานอยู่


 


- นักการเมืองที่เป็นรัฐมนตรี 1 คนถูกบีบให้ออกจากตำแหน่ง ด้วยข้ออ้างว่า "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ"


 


- รัฐมนตรี 1 คนถูกบีบให้ออก ด้วยการตัดสินว่าทำสัญญาแบบ"ผิดรัฐธรรมนูญ" ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุไว้


 


(อันที่จริง ถ้าจะนับให้ครบจริงๆ ต้องรวมกรณีต่อไปนี้ด้วย ที่เกิดขึ้นกับอำนาจจากการเลือกตั้งด้วย เช่น: นายกฯที่เพิ่งชนะเลือกตั้งทั่วไป ถูกปฏิเสธ การเป็นนายกฯ (5 เมษา 2548), การเลือกตั้งทั่วไปถูกยกเลิก ด้วยเหตุผลว่า "ตั้งคูหาผิดทิศ" ฯลฯ)


 


ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ


 


ขณะเดียวกัน เกิดอะไรขึ้น กับ อำนาจชนิดที่ "แตะต้องไม่ได้"?


 


ขอให้ถามตัวเองว่า ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา อำนาจต่อไปนี้


 


องคมนตรี - กองทัพ - ตุลาการ


 


ได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในลักษณะที่ไม่มีใครแตะต้องได้ใช่หรือไม่?


 


ลองเปรียบเทียบดู ระหว่าง อำนาจ 2 แบบนี้


 


แล้วดูสิ่งที่เป็น "วาทกรรม" ของบรรดา "ราษฎรอาวุโส", "นักวิชาการอาวุโส", และ ngo อีกจำนวนมาก เวลาพูดเรื่อง "ปฏิรูปการเมือง" มีการ "แตะ" ถึง "3 อำนาจ" นี้ (องคมนตรี-กองทัพ-ตุลาการ) หรือ?


 


ถามตัวเองว่า นี่คือ "ปฏิรูปการเมือง" หรืออะไร?


 


ความจริงคือ ใครก็ตาม ยิ่งถ้าเป็นปัญญาชน นักวิชาการ แอ๊กติวิสต์ "ภาคประชาชน" หากอ้างเรื่อง "ปฏิรูปการเมือง" แต่ปฏิเสธ ไม่ยอมพูดถึง ไม่ยอม "แตะต้อง" "3 อำนาจ" (องคมนตรี-กองทัพ-ตุลาการ) ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลในรอบ 3 ปีนี้ (ในความเป็นจริง อำนาจของกลุ่มนี้ เพิ่มมากที่สุดในรอบ 15 ปี ถึง 30 ปี) ....


 


เขาเหล่านั้น


 


ถ้าไม่ใช่เพราะ "พาซื่อ" อย่างหนัก


 


ก็กำลังร่วมสังฆกรรมในการโฆษณาชวนเชื่อหลอกคน

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net