Skip to main content
sharethis


16 ส.ค.51  เครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขงออกแถลงการณ์ต่อกรณีเกิดอุทกภัยริมฝั่งโขง ตั้งแต่ อ.เชียงแสน อ.เชียงของ จ.เชียงราย จนถึง จ.หนองคาย นครพนม และเวียงจัน ตั้งคำถามกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงที่ระบุว่าอุทกภัยนี้เกิดจากพายุคามูริ ไม่ได้เกิดจากการระบายน้ำจากเขื่อนของจีน พร้อมยืนยันข้อมูลบิดเบือน เรียกร้องให้ MRC ตอบคำถาม ว่าปริมาณน้ำจากทางตอนบน โดยเฉพาะจากเขื่อน ๓ แห่งในจีน จะสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ใดบ้าง เพื่อให้มีการเตรียมการป้องกันภัยได้อย่างทันท่วงที


 


รายละเอียดของแถลงการณ์มี ดังนี้


 


 


0 0 0 0 0


 


 


แถลงการณ์


กรณีอุทกภัยแม่น้ำโขง บทบาทของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง


เขื่อนจีน และระบบเตือนภัย


 


อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้สร้างความเสียหายต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงนับตั้งแต่ อ.เชียงแสน  อ.เชียงของ จ.เชียงราย ลงไปจนถึงเวียงจัน จ.หนองคาย และนครพนม เครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขง มีข้อสังเกตและข้อเรียกร้องดังนี้


 


บทบาทหน้าที่ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง


คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม มีเนื้อหาที่ขัดแย้ง โดยระบุว่าอุทกภัยที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากพายุเขตร้อนคามูริ ทำให้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น และน้ำโขงที่เวียงจัน ๕๐ % มาจากจีน ที่เหลือมาจากน้ำสาขา และระบุอย่างชัดเจนว่าระดับน้ำที่เพิ่มสูงขึ้นมิได้เกิดจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนในจีน ซึ่งมีปริมาณกักเก็บน้ำน้อยเกินกว่าจะสร้างผลกระทบต่ออุทกวิทยาในแม่น้ำโขง



 


อนึ่ง การที่ MRC อ้างปริมาณน้ำโขงที่เวียงจันว่าเป็นน้ำที่ไหลมาจากจีน ๕๐ % เป็นการให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน เพราะMRC ไม่ได้ชี้แจงให้ชัดเจนว่าปริมาณน้ำท่วมที่อ.เชียงแสน อ.เชียงของ จ.เชียงราย เป็นน้ำที่มาจากจีนเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ และเกี่ยวข้องอย่างไรกับการปล่อยน้ำของเขื่อนในจีน


 


ทั้งนี้ เขื่อน 3 แห่งในจีนมีความจุอ่างเก็บน้ำรวมกัน 3,043 ล้าน ลบ.ม. คือเขื่อนม่านวาน มีความจุ 920 ล้าน ลบ.ม. ผนวกกับเขื่อนต้าเฉาชานที่มีความจุอ่างเก็บน้ำ 890 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนจิ่งหง 1,233 ล้าน ลบ.ม.


 

นอกจากนี้ แถลงการณ์ฉบับดังกล่าวยังระบุว่ามีการแจ้งเตือนภัยระหว่างสถานีวัดน้ำที่เชียงแสน และจิ่งหง ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงที่ตั้งอยู่ใกล้ที่สุด และมีการประสานงานกันในเครือข่ายสถานีวัดน้ำทั้ง ๑๘ แห่ง ซึ่งน้ำจะใช้เวลาเดินทางจากจิ่งหงลงมาถึงเชียงแสน ๒๑ ชั่วโมง เชียงแสนถึงหลวงพระบาง ๑๗ ชั่วโมง และหลวงพระบางถึงเวียงจัน ๒๔ ชั่วโมง ทำให้ MRC สามารถแจ้งเตือนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันการณ์


 


เครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขง มีข้อสังเกตว่า MRC เป็นตัวแทนของหน่วยงานรัฐบาล ๔ ประเทศลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ไม่มีหน้าที่แก้ตัวแทนเขื่อนจีน แต่ควรประสานงานกับเครือข่ายสถานีวัดน้ำ โดยเฉพาะสถานีจิ่งหง และแจ้งเตือนภัยแก่สาธารณะทันที ตลอดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา MRC ทำเพียงประกาศเตือนภัยทางเว็บไซต์ จึงกล่าวได้ว่า MRC มีข้อมูลระดับน้ำและตระหนักดีว่าน้ำจากแม่น้ำโขงตอนบนในจีนจะหลากท่วมพื้นที่ตอนล่าง แต่กลับไม่ประกาศต่อสาธารณะผ่านสื่อต่างๆ ให้ประชาชนทั่วไปได้เตรียมตัวป้องกันความเสียหาย


 


ระบบเตือนภัย และเขื่อนแม่น้ำโขงในจีน


นับตั้งแต่มีแผนการสร้างเขื่อนแห่งแรกบนแม่น้ำโขงในปี ๒๕๓๙ จีนได้อ้างมาโดยตลอดว่า เขื่อนในจีนจะช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในฤดูแล้ง และป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน แต่อุทกภัยที่เกิดขึ้นชี้ให้เห็นว่าปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่มาจากแม่น้ำโขงสายหลัก มิได้มาจากน้ำสาขาในไทยหรือลาว ตรงกับที่หนังสือพิมพ์เชี่ยงไฮ้เดลี่ วันที่ ๑๓ สิงหาคม รายงานข่าวความเสียหายจากพายุในมณฑลยูนนาน ซึ่งอยู่ทางตอนบนของแม่น้ำโขง รายงานข่าวระบุว่าประชาชนกว่า ๑,๒๕๐,๐๐๐ คน ใน ๑๑ เมือง ได้รับความเดือดร้อน มีผู้เสียชีวิต ๔๐ คน


 


เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงชี้ให้เห็นว่า ปริมาณน้ำจากตอนบนในจีน มีนัยยะสำคัญต่อปริมาณน้ำและอุทกวิทยาในแม่น้ำโขงตอนล่าง โดยเฉพาะที่จ.เชียงราย แต่ระบบเตือนภัยที่มีอยู่นั้นล้มเหลวโดยสิ้นเชิง


 


เครือข่ายประชาสังคมไทยเพื่อแม่น้ำโขง จึงขอเรียกร้องให้ MRC ตอบคำถามของสาธารณะ ว่าปริมาณน้ำจากทางตอนบน โดยเฉพาะจากเขื่อน ๓ แห่งในจีน จะสร้างความเสียหายต่อพื้นที่ใดบ้าง รวมถึงข้อมูลระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำตั้งแต่เขื่อนม่านวาน เขื่อนต้าเฉาชาน และเขื่อนจิ่งหง ทั้งนี้เพื่อให้มีการเตรียมการป้องกันภัยได้อย่างทันท่วงที และเพื่อเป็นการพิสูจน์ข้อกล่าวอ้างของ MRC เรื่องมีการแจ้งเตือนจากจีนมาก่อนหน้า มิเช่นนั้นจะเป็นเพียงการกล่าวอ้างที่ปราศจากหลักฐานข้อเท็จจริงรองรับ


 


แถลงการณ์ของ MRC หลีกเลี่ยงที่จะตอบคำถามว่าเขื่อนในจีนได้มีบทบาทอย่างไรต่อสถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ การกล่าวเพียงว่า อ่างเก็บน้ำของเขื่อนในจีนมีความจุน้อยเกินไปที่จะควบคุมอุทกวิทยาของน้ำโขงตอนล่าง เป็นการพูดที่น่าอับอายมากที่สุด บนความพิบัติและความเดือดร้อนของประชาชนในลุ่มน้ำโขงตอนล่างในขณะนี้


 


000


 


 


Statement


Mekong flood, MRC"s roles, dams in China, and a failed alarm system


 


The severe flood occurring to the Mekong River during the past week has been causing much suffering to people living along the River, all the way from the Chiang Saen and the Chiang Khong district in the Chiang Rai province, Thailand, down to the Vientiane municipality, Lao PDR, as well as to the Nongkhai and the Nakhonpanom province, Thailand. We, the Thai People"s Network on Mekong, who have been closely monitoring the current critical situations in Mekong, would like to pose the following questions and requests to the Mekong River Commission (MRC), as a mechanism to help manage the Mekong River:


 


Contradicting roles played by MRC


Yesterday (15 August 2005), MRC released a statement regarding the massive flood currently occurring in Mekong and said in the statement that the "northern parts" of the Mekong basin had experienced above-average rainfalls, intensified and prolonged by a tropical storm "Kammuri" and that this had led to massively increased water runoffs in the northern river basin. MRC also pointed out that "in the case of the flood water that reached Vientiane, some 50% originated in China". MRC then made contradicting remarks in the end, saying, "The current water levels are entirely the result of the meteorological and hydrological conditions and were not caused by water released from presently operating Chinese dams which have storage volumes far too small to affect the flood hydrology of the Mekong".


MRC has not disclosed complete information, as its statement referred only to the flood that had reached Vientiane, some 50% of which had originated from China, according to the Commision. MRC has avoided providing information on the severe flood happening to Chiang Saen and its link to the water flown from China, conceivably attributable to natural rainfalls as well as the water released from the 3 dams.


 


The total storage capacity of 3 Mekong mainstream dams in China is 3,043 million cubic meters. The Manwan dam has the storage capacity of 920 million cubic meters. The other two upstream dams in China, the Dachaoshan dam and the Jinghong dam, have the storage capacity of 890 million cubic meters and 1,233 million cubic meters, respectively.


 


Apart from having only given such incomplete information, MRC stated that there is an alarm system between a water level measuring station in Chiang Saen in Thailand and a station in Jinghong, where a dam closest to Thailand is located. MRC claimed that all the 18 stations along the Mekong River work together and exchange information with each other. "The time it takes the water to travel from these stations is as follows. Jinghong to Chiang Saen 21 hours; Chiang Saen to Luang Prabang 17 hours; and Luang Prabang to Vientiane/Nong Khai 24 hours. This enables short term flood forecasting which in turn allows the MRC to issue advance notice of extreme water levels to concerned agencies," MRC described.


 


Spotting contradiction in MRC"s statement, we, Thai People"s Network on Mekong, stress that we disagree with MRC"s roles in finding excuses to protect China"s dams. Instead, we insist that MRC should examine the most updated information from China and should immediately alert the countries and communities located in the lower Mekong on potential severe floods. MRC must have been monitoring Mekong and have had all the information available on the water levels from all the stations along the River. MRC must have realized very well that the water from China would flood lower parts of Mekong. That MRC has never alerted people living in its member countries about the current flood through all the channels available to the Commission to prevent disasters is not acceptable. The only channel through which MRC has provided information to the public is its website. When the situations became serious, MRC released a statement only to protect China and itself.


 


The fallacy on dams and alarm systems in China


 


Since the beginning of its plan to build a series of Mekong mainstream dams until the completion of the first dam, Manwan, in 1996, China claimed that Chinese dams upstream would help provide more water to the Mekong River in the dry season, as well as prevent the flood during the rainy season. However, with the presently occurring flood, it has become clear that the water is coming mostly from the Mekong mainstream, not from tributaries in Thailand or Laos. This observation is in line with a news report in "Xianghai Daily" on 13 August, which wrote that Yunnan was experiencing a monsoon and that the monsoon caused the death of 40 people and affected more than 1,250,000 people living in 11 towns. As a matter of fact, since the Manwan dam was completed, the water level in the Mekong mainstream has never decreased during the wet season. Instead, the water keeps increasing, when compared with that prior to the dam construction.


 


We believe that the water in China has significant impact on the water flow and the hydrology of the lower Mekong, especially in the Chiang Rai province, Thailand. Nevertheless, cooperation and a flood alarm system among MRC, China, and the lower Mekong countries have completely failed to protect people living along the Mekong River.


 


We request that MRC should disclose all the relevant information on the current situations in China. MRC must disclose information on how much water from China has affected the lower Mekong, as well as in which parts. We request that MRC should disclose information on the water levels measured at the Manwan, Dachaoshan, and Jinghong dam sites. We believe that only transparent processes can prevent disastrous floods in the lower Mekong. If it is indeed the case that China has installed an effective alarm system and/or established good working relationships with MRC, MRC should prove this to the public in the lower Mekong countries.


 


We believe that MRC"s statement has shown that MRC is trying to avoid pointing out a very key issue, that is, Chinese dams" roles in the severe flood currently occurring to the lower Mekong countries. MRC"s assertion that Chinese dams have storage volumes far too small to affect the Mekong hydrology is shameful, as it misses an issue central to the present disaster and suffering faced by people living in the lower Mekong countries, whom MRC is supposed to serve.


 


Thai People"s Network on Mekong


Foundation for Ecological Recovery


Living River Siam


Chiang Khong Conservation Group


Loei Foundation


Tam Mun Project


Pak Mun Dam Affected People"s Network

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net