Skip to main content
sharethis


ไม่บ่อยนักที่จะได้เห็นคู่กรณีนั่งแลกข้อมูลกันอย่างถึงพริกถึงขิง...ผู้บริโภค VS ปตท.... กับประเด็นร้อนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพิ่งโยนหินถามสังคมว่า "ซื้อหุ้น ปตท.คืน" กันไหม พร้อมด้วยมุมมองจากนักลงทุน นักวิชาการสาธารณะ บน "โจทย์" ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า 9 ประเด็น


 


บางส่วนตอบคำถามซึ่งกันและกัน บางส่วนไม่ บางส่วนขัดแย้ง บรรยากาศในเวทีก็มีบางช่วงดุเด็ดเผ็ดร้อนด้วยเช่นกัน น่าเสียดาย นักวิชาการด้านพลังงานอีกท่านหนึ่งที่เจ้าภาพเชิญไม่ได้มาร่วม


 


แม้ยังมีอีกหลายประเด็นที่ต้องถกและเถียงกันต่ออีกหลายยก แต่ยกนี้ก็น่าจะให้ภาพในแต่ละแง่มุมได้มาก (และยาว) พอสมควร


 







ราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 8/2551


"9 คำถามคาใจกรณี ปตท."


สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย


วันที่ 10 สิงหาคม 2551


โดย


 


สรัญ รังคสิริ  ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่สื่อสารองค์กรและกิจการเพื่อสังคม  บมจ. ปตท.


สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


 


ร่วมด้วย


 


บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการ บมจ. หลักทรัพย์ภัทร


สฤณี อาชวานันทกุล นักวิชาการสาธารณะ


 


วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์  บก.นิตยสารสารคดี ดำเนินรายการ


 


 


- - - - - - - - - - - - - - - - - -





คำถามที่ 1  กำไรต่อปีของ ปตท. มีขนาดเท่าไร มีที่มาจากไหน แล้วมีการจ่ายเงินให้รัฐเท่าไร คิดเป็นสัดส่วนเท่าไร กำไรของ ปตท. ต้องแลกมาด้วยภาระของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นหรือไม่ อย่างไร















 


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


 


 


ปตท.


 


ข้อสังเกตเพิ่มเติม


1.ปตท.ได้กำไรเป็นแสนล้าน เพิ่มขึ้น 5 เท่าตัวก่อนการแปรรูป, 90%มาจากกิจการก๊าซธรรมชาติซึ่งผูกขาด อีกส่วนมาจากน้ำมัน


 


กำไรสูงเพราะไม่มีใครกำกับ ไม่มีใครพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน คณะกรรมการแข่งขันทางการค้าน่าจะเข้ามามีบทบาท


 


2.สัมปทานก๊าซธรรมชาติระยะที่ 4 ต่อสัมปทานทั้งที่ยังไม่หมดอายุ โดยรวมได้กำไร 50% ทั้งที่ประเทศควรได้กำไรจากการให้สัมปทานมากกว่านี้เทียบกับประเทศอื่น นอกจากนี้ยังอนุญาตให้สำรวจไม่จำกัดแปลง ต่างจากที่เคยทำมา


 


3.ทำไมสนใจความเป็นเจ้าของเพราะเกี่ยวพันกับความมั่นคงด้านพลังงาน ตัวอย่าง ในสหรัฐเมื่อยูโนแคลจะขายทรัพย์สิน บริษัทซีนุ๊กจากจีนจะซื้อแพงกว่าเชฟรอน แต่รัฐบาลก็บังคับให้ขายกับเชฟรอน


 


4.ในส่วนของน้ำมัน ขณะนี้เราใช้จากแหล่งในประเทศมากขึ้น บางช่วงสูงถึง 45% เชื่อว่า ปตท.สามารถลดราคาน้ำมันได้เลยทันที 5 บาทหากคิดจากโครงสร้างต้นทุนที่แท้จริงที่นำเข้า, รัฐบาลควรเลือกใช้วิธีนี้มากกว่าลดภาษีพลังงาน 2.5 บาท ก่อนหน้านี้รมว.พลังงานเสนอให้ปตท.ลดราคา 1 บาทต่อลิตร (ไทยใช้น้ำมันทั้งหมด 20,000 ล้านลิตรต่อปี) แต่บริษัทกลับลดให้ 3 บาทต่อลิตรในเพดานเพียง 700 ล้านลิตร หรือราว 2,000 ล้านบาทเท่านั้น คิดเป็น10%จากที่ขอ


 


5. กำไรส่งรัฐ เรื่องนี้ดูเฉพาะจุดไม่ได้ ต้องดูมูลค่าทรัพย์สินโดยรวมของรัฐ หลังแปรรูป ทรัพย์สินโดยรวมของรัฐลดลงมาตลอดอย่างมาก ในขณะที่ในส่วนของเอกชนเพิ่มขึ้นสูง นอกจากนี้ปตท.ยังมีการลดพนักงานน้อยมาก ทั้งที่กิจการอื่นเมื่อมีการปรับองค์กรมักมีการปรับลดพนักงาน


 


6.ก่อนเข้าตลาดหุ้นมีการปรับลดมูลค่าทรัพย์สินของปตท. เพื่อให้หุ้นถูก ขายเพียง 35 บาทไม่กี่เดือนขึ้นไป 145 ตอนฟ้องคดีปีที่แล้วอยู่ที่385 และเคยขึ้นไปถึง 440 จนตกมาที่ 240 แทนที่เราจะขายในราคาที่สมเหตุสมผลกลับไม่ทำ ภาระทุกอย่างเป็นของรัฐ แต่กำไรเป็นของเอกชน


 


เรื่องนี้ไม่ควรเป็นผลประโยชน์ของคนในตลาดหุ้นอย่างเดียว กำไรแสนล้านสามารถนำมาดูแลคนในระบบบัตรทองได้ 47 ล้านคน



1.ธุรกิจของ ปตท.มีหลายอย่าง ามีหุ้นในโรงกลั่นทั้งหมดไม่ถึง 35%ของกำลังการผลิตทั้งหมด อย่ามองว่าปตท.คือโรงกลั่น หรือค้าปลีกก็มีแค่ 35%


 


ตั้งแต่แปรรูปมา ส่งเงินให้รัฐไปแล้ว200,000 กว่าล้านบาท ไม่เฉพาะเงินปันผล 30% แต่มีภาษีเงิน 30%ได้ด้วย ซึ่งรัฐวิสาหกิจทั่วไปไม่ได้นำส่งรัฐในส่วนนี้


 


2.กำไร 9 หมื่นกว่าล้าน เทียบแล้วเพียง 6% กับยอดขาย 1.5 ล้านล้านบาท ไม่ถือว่ามากเมื่อเทียบกับการลงทุน, เมื่อเทียบกำไรกับปิโตรนาส หรือบรรษัทข้ามชาติอื่นๆ มากกว่าเป็นสิบเท่า


 


3.ความจำเป็นต้องใช้เงินขยายธุรกิจสูงมาก เพราะธุรกิจชนิดนี้ "ถ้าไม่โตต่อไปก็คือตาย"


 


บริษัทในกลุ่มปตท.ทั้งหมดรวมแล้วต้องใช้เงินลงทุนเพื่อขยายกิจการอีก 900,000 ล้านบาทภายใน 5 ปีข้างหน้า


 


คนไทยใช้น้ำมันทุกชนิด 40,000 กว่าล้านลิตรต่อปี ถ้านำกำไรทั้งหมดส่งคืนให้ผู้ใช้น้ำมันก็คงเฉลี่ยได้เพียงคนละ 1-2 บาท แลกกับการเสียองค์กรนี้ไปไม่คุ้มค่า "ถ้าไม่มีเราใครจะทำแทน"


 


4.การวัดว่าปตท.มีมูลค่าเท่าไร ต้องเอาทรัพย์สินลบกับหนี้สิ้น เราต้องการขายหุ้นแพงที่สุด ไม่ใช่ถูกที่สุด ส่วน ตัวเลขทรัพย์สินเปรียบเทียบที่นำเสนอก็ไม่มีที่มาที่ไป


 


 



บรรยง


1.กำไรของปตท.ถือว่าเป็นไปตามสมควรแล้ว และไม่ใช่กำไรที่ไปปล้นมาจากผู้บริโภค


 


กำไรที่เพิ่มขึ้นมาจาก "ปริมาณ" ที่เพิ่ม ไม่ใช่ "ราคา"


 


ธุรกิจก๊าซแม้ว่าจะเป็นกิจการผูกขาด แต่ก็ยังขายต่ำกว่าราคาตลาด โลก 40%


 


ธุรกิจโรงกลั่น-ปิโตรเคมี ไม่ได้ผูกขาด แต่กำไรที่ได้มาจากกลไกราคาตลาดโลก+ประสิทธิ ภาพการบริหารของปตท.เอง 


 


2.การจ่ายให้รัฐในส่วนเงินปันผล ในแง่นักลงทุนคิดว่าไม่จ่ายคืนรัฐเลยก็ได้ เพราะเห็นว่าการลงทุนโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมต้นทางสำคัญกว่า ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยไม่โตนักเพราะมีการลงทุนไม่มากเท่าที่ควร


 


3.การกำกับดูแลเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ต้องว่ากันไป แต่ไม่ใช่ส่วนที่ ปตท.ต้องรับผิดชอบในการทำสองบทบาทหน้าที่


 


4.ทรัพย์สินที่เป็นของรัฐก็คือหุ้น ปตท. ซึ่งก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นคำว่าทรัพย์สินของรัฐมองที่อะไร ส่วนพนักงาน กิจการใหญ่ขนาดนี้ ไม่เพิ่มพนักงานเป็นเรื่องดี


 


5.การลดมูลค่าทรัพย์สินก่อนปตท.เข้าตลาดหุ้นเป็นการทำตามมาตรฐานบัญชี ปรับให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล เป็นคนละเรื่องกับมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ ที่ผ่านมามีข้อพิสูจน์ยืนยันว่าการขายหุ้นไปตามกระบวน การที่ถูกต้องไม่มีเบื้อง


หลัง


 


สฤนี


1.เรื่องก๊าซที่คุณบรรยงให้ข้อมูลถ้าจะเทียบราคาว่าถูกกว่าตลาด โลก อาจเป็นเฉพาะตัวเนื้อก๊าซ แต่ในกิจการที่ผูกขาดยังมีส่วนค่าผ่านท่อ และ "ค่าหัวคิว" ด้วย


 


2.ส่วนเรื่องความเป็นเจ้าของ คิดว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญเท่าการกำกับดูแลที่เหมาะสม และกำหนดกำไรที่เป็นธรรม


 


3.การแปรรูปให้เอกชนบริหารจัดการเป็นสิ่งที่ทำให้ประสิทธิภาพสูงขึ้น แน่นอน ก่อนแปรรูปรัฐทำทุกอย่างก็ต้องมีทรัพย์สินเยอะ แต่เมื่อแปรรูปทรัพย์สินเอกชนก็เยอะขึ้นเป็นธรรมดา


 


คำถามที่ 2  ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในประเทศไทยเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ส่วนที่มาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกแพงขึ้นมีน้ำหนักความสำคัญเพียงใด และส่วนที่มาจากโครงสร้างการตั้งราคาน้ำมันภายในประเทศมีน้ำหนักความสำคัญเพียงใด 


คำถามที่ 3  ทำไมราคาน้ำมันของไทยต้องอ้างอิงมาจากตลาดสิงคโปร์ การอ้างอิงราคาน้ำมันจากตลาดสิงคโปร์มีข้อดีข้อเสียอย่างไร


 














 


มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค


 


ปตท.


 


 


ข้อสังเกตเพิ่มเติม


1.ปตท.ไม่ได้ใช้ราคาต้นทุนจริงในการคิดราคาน้ำมัน ทำให้ได้กำไรมากกว่าปกติ ผู้บริโภคเสียเปรียบ


 


การอ้างอิงราคาสิงคโปร์มีความหมาย ตัวอย่างเช่น ช่วงที่ราคาที่สิงคโปร์เป็น 30 บาท ต้นทุนปตท.จะอยู่ที่ 31 บาททันที เป็นค่าขนส่ง บวกกับค่าต่างๆ ที่รัฐเรียกเก็บ รวมแล้วราคาจะอยู่ที่ 41 บาทต่อลิตร แต่ในขณะเดียวกันน้ำมันที่นำเข้าจริงนั้นเพียง 28 บาทต่อลิตร เมื่อรวมกับส่วนต่างๆ ที่รัฐเรียกเก็บ ราคาน้ำมันจะอยู่ที่ 36 บาท เรียกได้ว่าสามารถลดได้ทันที 5 บาท


 


2.เดิมก่อนการแปรรูป ปตท.เคยทำหน้าที่ถ่วงดุลในกลไกราคา เมื่อราคาตลาดโลกสูง ปตท.จะช่วยทั้งการอุดหนุนหรือรูปแบบอื่น เช่น เอากำไรจากก๊าซมาช่วย แต่ปัจจุบันไม่มี


 


3.แม้แต่ปั๊มน้ำมันก็ไม่แน่ใจว่าจะแข่งขันกันจริง เพราะเมื่อปี 2005 ปตท.มีการดั๊มราคาเป็นเหตุให้ปั๊มเจ็ทตายไปจากตลาด การผูกขาดน้ำมันจึงเป็นอีกแนวโน้มหนึ่ง เพราะปตท.ถือหุ้นในโรงกลั่นน้ำมันจำนวนมากด้วย


 


4.เมื่อเรามีระบบสำรองน้ำมันถึง 3 เดือน การขึ้นราคาน้ำมันไม่ควรขึ้นทันทีตามราคาตลาดโลก จะให้เป็นธรรมกับผู้บริโภคต้องขึ้นหลังน้ำมันสำรองหมดแล้ว เพราะน้ำมันเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานในกระบวนการผลิตทั้งหมด


 


"ในเกาหลีกลไกในการตัดสินใจว่าวันนี้จะซื้อน้ำมันจากประเทศไหนขึ้นกับองค์กรซึ่งผู้บริโภคนั่งเป็นประธาน"


 


 


1.เรื่องราคาน้ำมัน แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โรงกลั่นกับส่วนค้าปลีก (1) ราคาขายปลีกเป็นราคารับจากโรงกลั่นน้ำมัน+รัฐเรียกเก็บเงินรูปแบบต่างๆ+ค่าการตลาด (ค่าการตลาดไม่ใช่กำไรของผู้ค้าน้ำมัน แต่คือค่าใช้จ่ายที่ยังไม่ได้หัก เช่น ค่าขนส่ง การสร้างปั๊ม ปกติอยู่ที่ 1-1.50 บาทต่อลิตร ปัจจุบันค่าการตลาดต่ำมากอยู่แล้ว ทำให้ปั๊มต่างๆ ต้องปิดกิจการเยอะ) บริษัทน้ำมันไม่ได้เอาเปรียบ จะถูกหรือจะแพงอยู่ที่โครงสร้างภาษีเป็นหลัก ยืนยันว่าปตท.ไม่ได้ผูกขาดตลาดส่วนนี้ มีผู้ค้าเป็นหมื่นราย


 


(2) โรงกลั่น เป็นตลาดเสรี และรัฐกำหนดกติกาให้แข่งขันกับการนำเข้าได้ โดยเฉพาะกับสิงคโปร์ซึ่งมีบริษัทค้าน้ำมัน 325 แห่งทำการซื้อขายน้ำมันกัน โดยมีราคาเฉลี่ยต่อวัน ให้ที่ต่างๆ ได้อ้างอิง สิงคโปร์สร้างโรงกลั่นเพื่อการส่งออก มีสิทธิพิเศษมาก แต่ไทยสร้างเพื่อลดการนำเข้า ไม่มีสิทธิพิเศษนัก


 


เมื่อเรากลั่นน้ำมันจะได้สินค้าหลายตัว ตั้งแต่ LPG เบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา ยางมะตอย ซึ่งมีทั้งส่วนที่ราคาต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ ส่วนที่รัฐบังคับให้ขายถูกมาก เช่น LPG มีเฉพาะน้ำมันดีเซลกับเบนซินที่ได้ราคาสูง จึงต้องนำมาถัวเฉลี่ยทั้งกระดาน ราคาค่าการกลั่นในช่วงดีอยู่ที่ 8 เหรียญต่อบาเรล แต่การกลั่นจะดูเฉพาะช่วงเวลาสั้นไม่ได้ เพราะต้องลงทุนอย่างน้อย 20 ปี และช่วงแย่ๆ บริษัทก็ต้องแบกรับเอง


 


2.สินค้าชนิดนี้ต้องมีการอ้างอิงกับราคากลาง ถ้าให้เลิกอ้างอิงกับราคาสิงคโปร์ โรงกลั่นน้ำมันชอบเลย ถ้าตั้งราคาเองได้ คนไทยจะได้ใช้น้ำมันแพงกว่าสิงคโปร์แน่นอน


 


3.เรื่องผูกขาดปั๊มที่คุณบรรยงพูดถึง(ในข้อ 3) เราพยายามชะลอความเดือดร้อนของผู้บริโภคในระยะเวลาหนึ่งเพื่อให้เตรียมปรับตัว ไม่ได้มีเจตนาให้ใครออกจากธุรกิจนี้


 


4.การสำรองน้ำมัน รัฐกำหนด 5% ตามกฎหมาย ระยะเวลา 14-18 วันและไม่สามารถนำมาใช้ได้ การสำรองไม่พันกับเรื่องราคา เวลาตลาดโลกลดก็ลด ขึ้นก็ขึ้นตาม เวลาขึ้นยังต้องค่อยๆ ขึ้นด้วย


บรรยง


1.ต้นทุนโครงสร้างราคาเป็นการสะท้อนราคาตลาดโลก ไทยไม่ได้บริโภคน้ำมันในราคาสูงกว่าประเทศที่มีนโยบายคล้ายกัน


 


ราคาสิงคโปร์ก็เท่ากับราคากลางในตลาดโลกแหล่งอื่นๆ


 


2.ไทยบริโภคน้ำมันไม่มีประสิทธิภาพ ใช้น้ำมันมากเป็นลำดับต้นๆ ของโลก และหากให้บิดเบือนราคาโดยอุดหนุนอีกจะยิ่งเป็นปัญหา


 


3.ที่ผ่านมารัฐบังคับให้ ปตท.กดค่าการตลาดเพราะถือว่าเป็นรายใหญ่ คำถามคือ ในระยะยาวนี่เป็นกลยุทธ์ที่จะทำลายย่อยอื่นๆ ให้เจ๊งไป เพื่อให้ ปตท.เป็นเจ้าของปั๊มแต่ผู้เดียวหรือไม่


 


สฤนี


1.เห็นด้วยว่าราคาน้ำมันควรสะท้อนราคาตลาดโลก


 


2.กรณีที่น่าสนใจคือการดั๊มราคา ปตท.อาจนำเอาส่วนที่ผูกขาดมาเป็นสายป่านในกิจการที่แข่งขันได้ทำให้คู่แข่งในตลาดตายไป ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการทำธุรกิจ ฉะนั้น โจทย์จึงกลับไปที่บทบาทของรัฐที่จะสร้างโครงสร้างการกำกับดูแล ถ้าไทยมีกฎหมาย anti-dumping law สถานการณ์อาจดีขึ้น


 


 


คำถามที่ 4  การจัดการกรณีท่อก๊าซของ ปตท. ควรอยู่ภายใต้หลักการใด และขณะนี้การดำเนินการตาม มติ ครม. และคำตัดสินของศาลปกครองเรื่องท่อก๊าซมีความคืบหน้าอย่างไร โดยเฉพาะการตรวจสอบมูลค่าของท่อก๊าซที่ ครม. ระบุว่าให้ สตง. ตรวจสอบ และสูตรการคิดค่าเช่าท่อ


 


คำถามที่ 5  ควรมีการซื้อคืน ปตท. กลับมาเป็นของรัฐหรือไม่ ถ้าควร โมเดลการซื้อคืนควรจะเป็นอย่างไร และการซื้อคืน ปตท. จะช่วยให้ราคาน้ำมันลดลงและราคาก๊าซไม่แพงขึ้นจริงหรือไม่
















 


ผู้บริโภค


 


 


ปตท.


 


ข้อสังเกตเพิ่มเติม


1.คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดตัดสินให้คืนทรัพย์สิน ขณะนี้มีการคืนทรัพย์สินประมาณ 16,000 ล้าน และปตท.ขอเวลาเพราะยังติดการแบ่งแยกโฉนด


 


2.หลังศาลมีคำพิพากษาคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ให้สัมภาษณ์ว่าคิดว่ามีทรัพย์สินต้องคืนประมาณแสนล้าน ในฐานะเจ้าของย่อมไม่พูดเกินกว่าที่ควรต้องคืน องค์กรผู้บริโภคก็คิดว่าคงไม่ต่ำกว่าแสนล้านแน่นอน


 


3.สมควรต้องคืนเพราะใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ์ เวนคืน และใช้เงินลงทุนของรัฐในการวางท่อต่างๆ


 


4.ท่อทางทะเลก็ควรต้องเป็นส่วนที่คืนให้กับรัฐด้วย


 


5.กรณีท่อก๊าซหากเป็นของรัฐ ทุกคนควรมีสิทธิได้ใช้ กฟผ.ก็น่าจะมีสิทธิซื้อก๊าซที่ปากหลุม ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าลดลง


 


6.หนังสือชี้ชวนให้คนซื้อหุ้น ปตท.เขียนไว้ชัดเจนว่าท่อเป็นของรัฐ ไม่ใช่ของนักลงทุนในตลาดอย่างที่คุณบรรยงระบุ (ในข้อ1)


 


7.กระทรวงการคลังที่เป็นเจ้าภาพนำคืนทรัพย์สินเหล่านี้ก็ดูจะไม่สนใจ


 


8.หุ้น 5%ของผู้บริหารนับว่าไม่น้อย ดังนั้นความเปลี่ยนแปลงตรงนี้จึงเกิดยากมาก เราจึงต้องรณรงค์ให้ประชาชนซื้อหุ้นคืนโดยเคารพคำพิพากษา เมื่อยึดคืนไม่ได้ก็ต้องซื้อคืน เพื่อกำหนดทิศทางปตท.ว่าไม่จำเป็นต้องทำกำไรสูงสุด เพราะเป็นธุรกิจที่จำเป็นต่อชีวิต บนพื้นฐานที่เราไม่เชื่อว่ารัฐบาลใดๆ จะมีเจตจำนงเช่นนั้น


 


9.โมเดลรายละเอียดในการซื้อคืนต้องช่วยกันคิดต่อไป


 


10.ที่ผ่านมากมีนักวิชาการเสนอการคำนวณการคิดค่าผ่านท่อที่ไม่จำเป็นต้องเป็นภาระของผู้บริโภค แต่ไม่ถูกใช้ เพราะผู้ที่ดูแลนั่งเก้าอี้หลายตัวมาก เช่น คนคิดค่าเช่าก็นั่งในบอร์ดของ ปตท.


 


11.เรื่องบอร์ดรัฐวิสาหกิจไม่ควรเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับทางการเมือง และควรมีสององค์ประกอบที่สำคัญคือ นักวิชาการและผู้บริโภค


1.คำก็ผูกขาด สองคำก็ผูกขาด ขอให้มองที่ละส่วนแล้วมาต่อกันว่ามันผูกขาดไหม


 


โรงกลั่นที่ปตท.มีหุ้น 5 โรงรวมแล้วไม่ถึง 35% ของกำลังการผลิตทั้งหมด สอดคล้องกับธุรกิจค้าปลีกแค่ 35% ปิโตรเคมีมีไม่ถึง 40% ธุริจสำรวจขุดเจาะก็เป็นธุรกิจเสรี ใครๆ ก็ทำได้ เราเข้าไปทีหลังเสียเปรียบด้วยซ้ำไป


 


ถ้าจะมีอะไรที่ใกล้เคียงคำว่าผูกขาดบ้างก็คือ ท่อก๊าซ ตอนนี้ก็มีคนมากำกับดูแลแล้ว เราขึ้นราคาอะไรเองไม่ได้


 


2.ที่อ้างคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ว่าเป็นแสนล้าน คือ ระบบท่อทั้งหมดของปตท.ส่วนต้องส่งคืนเท่าไรอยู่ที่คำพิพากษาของศาล เรารายงานให้ศาลทราบทุกเดือน ที่ยังไม่ลงตัวคือโฉนดบางส่วนสูญหาย ค่าเช่าต่างๆ พร้อมเบี้ยปรับ 1,600 ล้านบาทก็จ่ายเรียบร้อยแล้ว ส่วนอีก 30 ปีก็มีการกำหนดร่วมกันไปแล้ว กระทรวงการคลังก็ทำเต็มความสามารถแล้ว


 


3.ถ้ากระทรวงการคลังจะคิดค่าผ่านท่อแพงๆ สุดท้ายก็ตกที่ กฟผ. ทำให้ค่าไฟแพงเปล่าๆ


 


4.(ตอบสฤนี) บอร์ด ปตท.กับ regulator เป็นคนละชุด


สฤนี


1.เรื่องท่อก๊าซความคืบหน้าเป็นยังไง ไม่แน่ใจ


 


2.เรื่องความเป็นเจ้าของไม่ใช่เรื่องใหญ่ก็จริง แต่ถ้ากรรมสิทธิจะมีส่วนช่วยให้แยกท่อก๊าซออกจาก ปตท.ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหุ้นไปแล้วก็จะชัดเจนขึ้น เกิดการแข่งขันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อศาลปกครองตัดสินให้ท่อก๊าซโอนไปเป็นของรัฐ ปตท.ก็ควรเร่งจัดการ ถ้ารัฐดูแลไม่ดี ประชาชนจะได้ไปร้องรัฐ


 


บรรยง


1.ในการแปรรูป ปตท.ได้มีการตีความกฎหมายหมดแล้ว แต่เมื่อมีการฟ้องร้อง เมื่อศาลตัดสินในกรณีท่อก๊าซก็ต้องเคารพ ในฐานะนักลงทุน ตอนซื้อหุ้นรู้อยู่แล้วว่ามีธุรกิจท่อก๊าซ จึงซื้อ แต่เมื่อศาลตัดสินให้โอนสิทธิกลับก็เคารพ แต่ทำไมต้องคิดค่าเช่าตั้ง 3,000 ล้าน นักลงทุนคิดว่าไม่ควรคิดค่าเช่าเลย


 


2. ส่อให้เห็นว่ารัฐไทยไม่รักษาพันธกรณีต่อตลาดภายใต้รัฐบาลขิงแก่ จึงทำให้หุ้นตก สะท้อนให้เกิดปัญหาเรื่องการลงทุนต่อเนื่องกันมา


 


สฤนี


1.หนังสือชี้ชวนไม่ได้เขียนว่าท่อก๊าซเป็นของรัฐ แต่เขียนว่าภายใน 1 ปีจะมีการแบ่งแยกกิจการ ฉะนั้นถือว่านักลงทุนทราบแล้วตั้งแต่ต้น


 


2.ประเด็นสำคัญคือการที่ตัวแทนของผู้กำกับมานั่งในบอร์ดบริษัทด้วย ซึ่งคำถามนี้สามารถถามได้กับทุกหน่วย เช่น การบินไทย


 


บรรยง


1.หนังสือชี้ชวนพูดถึงการแยกส่วนของท่อก๊าซไม่ใช่เรื่องกรรมสิทธิ์ เป็นแค่การแยกการบริหารจัดการ นักลงทุนยังคิดว่าเป็นของปตท. ถ้าตอนแรกบอกชัดว่าท่อก๊าซเป็นของรัฐ หุ้นตอนนั้น 5 บาทก็ไม่รู้ขายได้ไหม


 


2.การซื้อคืนเริ่มงงว่าจะให้เป็นของรัฐหรือของอะไร การจะให้ประชาชน 63 ล้านเป็นไปได้หรือเปล่า การแปรรูปเป็นกระแสของโลก 20 ปีที่ผ่านมามีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 80,000 แห่งทั่วโลก และทำให้กิจการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพ


 


3.การแปรรูปในไทยไม่ใช่การแปรรูปโดยสมบูรณ์ แต่รัฐยังเป็นเจ้าของ ผู้ถือหุ้นใหญ่ ยืนยันว่าการแปรรูปแบบนี้ให้ประโยชน์ไม่สูงสุด แต่ดีกว่าไม่แปรรูป เพราะ(1) แบ่งเบาภาระของรัฐในการต่อยอดการลงทุน ทำให้รัฐนำงบประมาณไปทำอย่างอื่นได้ (2) ปตท.สามารถเป็นบริษัทไทยที่มีน้ำหนักในเวทีโลก (3) มีประสิทธิภาพการบริหารจัดการมากขึ้น (4) กลไกตลาดจะตรวจสอบ เพิ่มการกำกับดูแล


 


 


 


คำถามที่ 6  เหตุใดจึงมีการขาดแคลนก๊าซแอลพีจีในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ขณะที่มีข่าวการลักลอบนำก๊าซแอลพีจีในไทยขนขึ้นเรือไปขายต่างประเทศ หรือ ปตท.ต้องการให้คนหันมาใช้ก๊าซเอ็นจีวี ในการขนส่ง ซึ่งทางปตท.ผูกขาดอยู่ 


 













 


มูลนิธิผู้บริโภค


 


 


ปตท.


 


ข้อสังเกตเพิ่มเติม


1.เราไม่ได้ขาดแคลนก๊าซ LPG (อ้างอิงตัวเลขกระทรวงพลังงาน) ไม่ต้องนำเข้า ล่าสุด มีอาจารย์มอ.ยืนยันเรื่องนี้


 


2.เรามีระบบสัมปทานก๊าซที่รัฐได้ประโยชน์น้อย ทุกรัฐบาลไม่สนใจและขยายสัมปทานไปโดยที่สัญญาเก่ายังไม่หมดอายุ


 


3.ความต้องการผลิตก๊าซธรรมชาติ (อ้างอิงตัวเลขกระทรวงพลังงาน) ดูจากสัดส่วนแล้วพบว่าส่วนที่เพิ่มมากที่สุดคือส่วนของวัตถุดิบในการผลิต 30.8% ภาคอุตสาหกรรม 23.4% ไม่ใช่ภาคขนส่งและครัวเรือนอย่างที่กล่าวโทษกัน กลายเป็นมือใครยาวก็สาวเอาไป


 


4.ปตท.ต้องหยุดพูดว่าตัวเองอุดหนุนราคาก๊าซ เราอาจขายต่ำกว่าราคาที่ขายทั่วไป เพราะเรามีแหล่งผลิตในบ้านเราเอง ราคาขายปลีก 28 บาทไม่ได้อุ้มผู้ใช้ก๊าซแต่อย่างใด แต่อาจได้กำไรน้อยกว่าส่งออกต่างประเทศ


1.ไทยผลิต LPG มากกว่าการใช้ในประเทศมาตลอด จนเม.ย.ที่ผ่านมาเริ่มพอดี จึงมีการนำเข้าถึงปัจจุบันประมาณ 1.3 แสนตัน (ราคา 600 กว่าเหรียญต่อตัน) และต้องนำเข้าจนถึงสิ้นปีเกือบ 5 แสนตัน ถ้าเหตุการณ์ยังเป็นอย่างนี้ปีหน้าคาดว่าต้องนำเข้าไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตัน รัฐให้ ปตท.ควักเงินซื้อไปก่อนโดยรับปากว่าจะเคลียร์ให้ทีหลัง


 


2.ไทยไม่มีอุปกรณ์ โครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับการนำเข้า LPG จำนวนมาก ยังไม่รู้ต้องทำอย่างไร อาจต้องลอยเรือกลางอ่าวไทยแล้วค่อยๆ ทยอยขนอย่างยุ่งยาก


 


3.นี่เป็นผลจากการบิดเบือนกลไกตลาด ทำให้คนคิดว่าของมันถูก มีมาก เป็นภาระที่อันตรายมาก (รัฐกำหนดให้ขาย LPG 300 กว่าเหรียญต่อตัน ขณะที่น้ำมันเบนซินราคา 1,000 กว่าเหรียญต่อตัน)


บรรยง


อยู่ที่นิยามของคำว่า "อุดหนุน" ถ้าดูจากต้นทุนอาจเห็นว่าไม่อุดหนุน แต่ถ้าทางเศรษฐศาสตร์อะไรก็ตามที่บิดเบือนราคาตลาดถือว่าอุดหนุน


 


การขาดแคลนมาจากการที่ไม่ปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาดทำให้คนมาใช้ทั้งๆ ที่ไม่ควรใช้ + มีการลักลอบนำออก


 


 


คำถามที่ 7  จริงหรือไม่ที่ปตท.ขายก๊าซฯ ให้โรงแยกก๊าซ จำนวน 5 โรงของตัวเองในราคาประมาณ 150 บาท  แต่ขายก๊าซให้แก่ กฟผ.ราคา 180 บาท  ทำให้เป็นต้นทุนค่าไฟฟ้าส่วนเกิน ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทุกคนต้องแบกรับ



คำถามที่ 8  ทำไมก๊าซที่ปตท.สผ. ขายให้กับปตท. จึงแพงกว่าก๊าซจากแหล่งอื่น เป็นเพราะต้องการเอื้อประโยชน์ให้ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นบริษัทลูกของปตท. หรือไม่  ยิ่ง ปตท.สผ.ได้กำไรมาก บริษัทแม่ก็ได้กำไรมากตามมาด้วยหรือไม่
 


 


7.กรณีท่อก๊าซหากเป็นของรัฐ ทุกคนควรมีสิทธิได้ใช้ กฟผ.ก็น่าจะมีสิทธิซื้อก๊าซที่ปากหลุม ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าลดลง













 


ผู้บริโภค


 


 


ปตท.


 


ข้อสังเกตเพิ่มเติม


1.ปตท.ขายก๊าซให้ กฟผ.สูงกว่าให้บริษัทลูกของตัวเอง และยังซื้อก๊าซจากบริษัทลูกสูงกว่าที่ซื้อจากเจ้าอื่น จึงเกี่ยวข้องโดยตรงกับค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน


 


2.ถ้าขายก๊าซให้ กฟผ.ในราคาเดียวกับบริษัทลูก จะทำให้ประชาชนลดค่าไฟฟ้าไปได้มาก


 


3. ท่อก๊าซเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องคืนให้กระทรวงการคลัง ควรให้คนอื่นได้เช่าด้วยเพื่อให้เกิดการแข่งขัน เช่นเดียวกันกับที่เรียกร้องกับสายส่งไฟฟ้าที่ควรเป็นของรัฐให้คนได้ใช้ได้ กฟผ.ก็น่าจะมีสิทธิซื้อก๊าซที่ปากหลุม ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าลดลงมาก


1.ไม่แน่ใจในตัวเลข อาจปรับเปลี่ยนได้ตลอด แต่โดยหลักการราคาก๊าซที่ขายให้ กฟผ.ถูกกำหนดโดยคณะกรรมการกิจการพลังงาน หรือ regulator


 


ราคาขายก๊าซให้ กฟผ.แบ่งเป็น 3 ส่วน (1)ราคาเนื้อก๊าซจากแหล่งผลิต 89% ของราคาก๊าซ (ส่งผ่านให้เลยไม่มีบวก แต่ถัวเฉลี่ยจากแหล่งต่างๆ) (2) ค่าขนส่ง หรือค่าผ่านท่อส่งไปยังโรงไฟฟ้า กำหนดโดย regulator ราว 10% (3) ค่าดำเนินงานของ ปตท. อยู่ที่ 1% กว่าๆ ของราคาก๊าซที่ขาย


 


ยังไงก็ได้แค่ 1%นี้


 


2.สัญญาแรกๆ ที่รัฐทำกับ ยูโนแคล จูงใจผู้ลงทุนเพราะความเสี่ยงสูง เมื่อนานเข้าแหล่งก๊าซก็หายากขึ้น มีค่าใช้จ่ายในการปรับคุณภาพก๊าซ ขณะที่สัมปทาน สูตรราคากับรัฐก็เปลี่ยนไป ปตท.สผ.เกิดเมื่อ 2528 ใช้สูตรใหม่ และขายให้ ปตท.ตามสูตรนั้น ไม่ได้กำหนดเอง ดังนั้น ที่ปตท.สผ.ขายก๊าซให้รัฐราคาสูงกว่าที่อื่นก็เพราะรัฐกำหนดอย่างนั้น


 


3.ปตท.สผ.ถือหุ้นสูงสุดในบางแปลงอย่างมากก็ 40% ในอ่าวไทยเฉลี่ยทั้งหมดก็ไม่ถึง 30% ที่เหลือเป็นของต่างชาติ


 


 


 


 


 



คำถามที่ 9  จริงหรือไม่ที่มีการประเมินว่า เงินค่าไฟฟ้าที่ผู้บริโภคต้องจ่ายจำนวน 100 บาท จะไปตกอยู่ในมือปตท.ถึง 42.90 บาท ขณะที่กฟผ.ได้รับเพียง 27.10 บาทเท่านั้น ถ้ารัฐจัดการกับ 'กำไรผูกขาด' ทั้งหมดของปตท.ได้ ก็อาจทำให้สามารถลดค่าไฟฟ้าให้ประชาชนได้ถึง 13,000 - 14,000 ล้านบาทต่อปี














ผู้บริโภค


ปตท.


 


ข้อสังเกตเพิ่มเติม


 


1.ไม่อยากจะไปเล่นกันเรื่องตัวเลข เข้าใจว่าในการผลิตไฟฟ้า 100 บาท เป็นค่าเชื้อเพลิง 60-70 บาท ที่เหลือก็เป็นเรื่องการลงทุนสร้างโรงไฟฟ้า ยังไง ปตท.ก็ได้แค่ 1% กว่าของ 60-70 บาทนั้นเป็นค่าดำเนินการ เพราะรัฐเป็นผู้กำหนด


 


 


 *แก้ไขข้อมูลไฟล์พรีเซนต์ของมูลนิธิเพื่อผู้บโภค 13 ส.ค. 2551


เอกสารประกอบ

Present_PTT

Present_Consumer

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net