Skip to main content
sharethis

เมื่อวันที่ 30 ก.ค. นายบริพัตร ดอนมอญ ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย  นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ประธานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์คุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ และนายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ ออกจดหมายถึง นายยาสุโอะ ฟุคุดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น และสำเนาถึงนายจิน มูไร ผู้ว่าการจังหวัดนางาโน่ และนายมาซารุ ฮาชิโมะโตะ ผู้ว่าการจังหวัดอิบะรากิ โดยมีเนื้อความแสดงความยินดีที่ประเทศญี่ปุ่นมีระบบสาธารณสุขที่ก้าวหน้าทันสมัย เพื่อให้การดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศได้อย่างดีเยี่ยม และรัฐบาลญี่ปุ่นยังแสดงความเป็นห่วงเป็นใยผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศอื่นๆโดยเป็นประเทศผู้สนับสนุนเงินผ่านกองทุนโลก (Global Fund) มากเป็นอันดับ 3 ของโลก


 


อย่างไรก็ตาม เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย มีความรู้สึกวิตกกังวลอย่างยิ่งที่ทราบว่า ผู้ติดเชื้อฯ ชาวไทยที่ทำงานเป็นผู้ใช้แรงงานในประเทศญี่ปุ่นไม่ได้รับการรักษาพยาบาลจากระบบสาธารณสุขของญี่ปุ่นอย่างเหมาะสมเพียงพอ ทั้งๆ ที่คนเหล่านี้มีอาการเจ็บป่วยรุนแรงและเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต  


 


ทั้งนี้ เนื้อความในจดหมายยังได้ชี้แจงถึงกรณีที่แสดงความกังวลไป คือ เมื่อปีที่ผ่านมาแรงงานชาวไทย 2 รายป่วยเป็นภูมิคุ้มกันบกพร่องเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสและมีอาการฝีในสมองขณะพำนักอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ทั้งสองมีอาการน่าวิตกเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ในขณะที่มีเหตุบางประการที่ต้องอยู่เกินกำหนดในวีซ่า และเมื่อทราบว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพขั้นรุนแรงจึงต้องการเดินทางกลับประเทศไทย แต่เนื่องจากเวลานั้นระบบประสาทส่วนกลางของร่างกายไม่ทำงาน มีอาการกึ่งหมดสติและเป็นอัมพาตจึงไม่สามารถเดินทางออกจากญี่ปุ่นได้ หากไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสมก่อน


 


หนึ่งในนั้นได้ไปสถานพยาบาลและตรวจพบว่าติดเชื้อเอชไอวี แต่เวลานั้นผู้ป่วยไม่สามารถรับรู้ได้แล้วว่าจะต้องไปรับการรักษาที่ไหน เนื่องจากป่วยเป็นฝีในสมองพร้อมกับมีอาการกึ่งหมดสติ เพื่อนๆ ของผู้ป่วยแนะนำให้เดินทางกลับประเทศไทย เพราะรู้สึกว่าคงไม่มีสถานพยาบาลไหนในละแวกนั้นที่จะยอมรักษาผู้ป่วยเอดส์ชาวไทยที่ไร้ประกันสุขภาพ


 


อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ป่วยจะเข้ามอบตัวกับสำนักตรวจคนเข้าเมืองได้ถูกตำรวจจับกุมตัวที่สถานีรถไฟขณะกำลังเดินทางถึงสำนักตรวจคนเข้าเมืองด้วยสาเหตุเพราะวีซ่าหมดอายุ ตำรวจขังผู้ป่วยไว้หนึ่งสัปดาห์โดยไม่ยอมให้พบแพทย์ จนกระทั่งเพื่อนผู้ป่วยต้องร้องเรียนตำรวจผ่านทางสถานฑูตซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อให้ส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล แพทย์ตรวจพบทันทีว่าผู้ป่วยเป็นฝีในสมอง และอาจเสียชีวิตหากตำรวจยังคงกักขังเธอไว้นานกว่านี้เพียง 1-2 วัน


 


ส่วนอีกรายหนึ่งได้ตระเวนไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีอุปกรณ์ครบครันในละแวกใกล้เคียง แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นฝีในสมองหลายก้อนสืบเนื่องจากโรคเอดส์ ซึ่งเป็นอาการที่รุนแรง แพทย์แนะนำเพียงให้ผู้ป่วยเดินทางกลับประเทศไทย ทั้งยังไม่จ่ายยาใดๆ ให้อีกด้วย เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีประกันสุขภาพ และไม่มั่นใจว่าจะมีปัญญาจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่แพงลิบลิ่วนี้ได้


 


ผ่านไปไม่กี่วัน ผู้ป่วยรายนี้มีอาการกึ่งโคม่า ในขณะที่โรงพยาบาลยังคงปฎิเสธการรักษาพยาบาล สุดท้ายด้วยการประสานงานขององค์กรพัฒนาเอกชนของญี่ปุ่น และสถานฑูตไทย ผู้ป่วยจึงได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกลแห่งหนึ่ง


 


ทางเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ประเทศไทย ยังแจ้งไปอีกว่าเคยได้ยินข่าวเกี่ยวกับแรงงานไทยที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ในประเทศญี่ปุ่น และต้องเสียชีวิตเพราะไม่ได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเหมาะสมในหลายกรณีเกิดขึ้นในพื้นที่ที่ไม่มีนโยบายที่เหมาะสมในการให้การรักษาผู้ป่วยที่เป็นคนต่างชาติ เช่นในจังหวัดนางาโน่ และจังหวัดอิบะรากิ แพทย์จำนวนมากมักแนะนำให้ผู้ป่วยเหล่านี้เดินทางกลับประเทศ โดยไม่จ่ายยาหรือแม้จะรักษาโรคฉวยโอกาส ทั้งๆที่ เอดส์เป็นโรคที่ลุกลามไปทุกวันๆ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้


 


ปัจจุบันนี้ ประเทศไทยสามารถจัดระบบการรักษาโรคเอดส์ที่ดีมีประสิทธิภาพ และสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อฯชาวไทยได้หากแพทย์ในประเทศญี่ปุ่นจะทำการรักษาโรคฉวยโอกาสและส่งตัวผู้ป่วยกลับมารักษาต่อในประเทศไทยอย่างเหมาะสม


 


สำหรับผู้ป่วยทั้งสองรายข้างต้น ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์จึงมีอาการดีขึ้นพอจะเดินทางกลับประเทศไทยได้ ในที่สุดก็ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลรัฐในไทยโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คนหนึ่งสามารถฟื้นตัวหลังจากได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส แต่ก็ต้องกลายเป็นผู้พิการสืบเนื่องจากความล่าช้าในการรักษาโรคฝีในสมอง อีกหนึ่งคน อาการฝีในสมองบวกกับโรคฉวยโอกาสอื่นๆลุกลาม อันเนื่องมาจากความล่าช้าในการการรักษาด้วยยาต้านไวรัส สร้างความยากลำบากให้กับแพทย์ในการฟื้นฟูสภาพร่างกายทำให้ต้องผู้ป่วยรายนี้เสียชีวิตหลังจากกลับมาถึงประเทศไทยไม่นานนัก


 


ในสังคมไทย ทั้งภาคประชาสังคมและรัฐบาลมีปณิธานอันแรงกล้าที่จะหยุดยั้งปัญหาการแบ่งแยกผู้ติดเชื้อเอชไอวี น่าเสียใจที่ต้องทราบข่าวว่ายังมีผู้ป่วยเอดส์และผู้ติดเชื้อฯ ชาวไทยที่พำนักในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีฐานะร่ำรวย ถูกแบ่งแยกและกีดกันจากการรักษาพยาบาล ทั้งที่การเข้าถึงการรักษาเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานที่สำคัญ และตราบใดที่ยังมีคนบางกลุ่มในแผ่นดินญี่ปุ่นเข้าไม่ถึงการรักษาอย่างทันท่วงที การลดปัญหาการติดเชื้อรายใหม่และการแก้ปัญหาเอดส์ในญี่ปุ่นก็จะไม่ได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล


 


ในจดหมายยังแนะนำไปยังญี่ปุ่นว่า เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและหน่วยงานรัฐในญี่ปุ่นที่เกี่ยวข้องต้องเป็นผู้ชี้นำให้สถานพยาบาลหันมาให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินเร่งด่วนอย่างเหมาะสม โดยไม่เลือกสัญชาติหรือสถานะของวีซ่า อย่าปฏิเสธการรักษา เพราะเท่ากับเป็นการหยิบยื่นความตายให้และยิ่งซ้ำเติมการแก้ปัญหาเอดส์ในญี่ปุ่น ในกรณีผู้ติดเชื้อฯ ชาวไทยที่เป็นแรงงานในประเทศญี่ปุ่น ขอเรียกร้องให้สถานพยาบาลให้การรักษาคนเหล่านี้จนมีอาการดีขึ้นพอที่จะเดินทางกลับประเทศได้อย่างปลอดภัย  และส่งตัวผู้ป่วยเหล่านี้ไปยังโรงพยาบาลของรัฐในไทยเพื่อรับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส สำหรับสำนักตรวจคนเข้าเมืองและตำรวจ เรียกร้องให้เปิดโอกาสให้แรงงานที่ไม่มีเอกสารที่เจ็บป่วยได้รับการรักษาตามความจำเป็น


 


ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่น และรัฐบาลท้องถิ่นควรจะจัดสรรเงินงบประมาณอย่างเพียงพอเพื่อสนับสนุนสถานพยาบาลต่างๆในการดูแลผู้ป่วยต่างชาติกรณีฉุกเฉิน เพราะหาไม่แล้วคงจะเป็นการทำลายชื่อเสียงอันทรงเกียรติของญี่ปุ่นในฐานะประเทศที่ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยเอดส์จำนวนมากผ่านกองทุนโลก (Global Fund) แต่ยังคงมีคนที่อาศัยบนแผ่นดินญี่ปุ่นต้องเสียชีวิตเพราะเข้าไม่ถึงการรักษา


 


ในส่วนท้ายของจดหมายได้แสดงความคาดหวังว่าจะช่วยกระตุ้นให้หน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องหันมาปรับเปลี่ยนท่าทีต่อแรงงานข้ามชาติในประเทศญี่ปุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเป็นการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานของทุกคน และเพื่อทำให้ญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของการไปสู่เป้าหมายแห่งสหัสวรรษที่ต้องการให้ทุกคนบนโลกใบนี้เข้าถึงการรักษาเอชไอวี/เอดส์ ภายในปี 2010 ซึ่งเชื่อว่าสิ่งนี้จะช่วยสร้างความไว้วางใจและความศรัทธาในสังคม และช่วยปรับปรุงระบบสาธารณสุขทั้งของไทยและญี่ปุ่น 


 






July 30, 2008


 


To:       His Excellency the Prime Minister of Japan, Mr Yasuo Fukuda,


cc:        Mr Jin Murai, Governor of Nagano Prefecture


            Mr Masaru Hashimoto, Governor of Ibaraki Prefecture


 


On behalf of people living with HIV/AIDS of Thailand and non-governmental organizations working on AIDS in Thailand, we would like to congratulate Japan on her advanced public health system and in particular its excellent care of HIV positives. The Japanese government has also shown concern for HIV positives in other countries by its generous financial support to the Global Fund, as the world"s third biggest donor. However, we are seriously concerned about the fact that HIV-positive migrants from Thailand in Japan were not treated properly by the Japanese health system, even though they were critically ill with life- threatening conditions.


 


Last year, two Thai migrants developed brain abscess as a opportunistic infection of AIDS, while staying in Japan. The condition of both became life-threatening because they were not able to access urgent medical treatment. Due to other factors, both overstayed their visas. When they realized that their health problems were critical, they wanted to return to Thailand.


 


But by that time, they had developed central nervous system dysfunctions, resulting in drowsiness and paralysis, so that they could not leave Japan without first receiving appropriate treatment.


 


One visited a clinic and was found to be HIV positive. She then lost consciousness and, because of her brain abscess and drowsiness, could not be informed of where to seek medical treatment. Her friends suggested she return to Thailand, as they were sure no clinic in the neighbourhood would accept a Thai AIDS patient without health insurance.


 


Finally, on her way to the Immigration Office to give herself up, she was arrested for overstaying her visa. She was locked up for an entire week by the police, who did not allow her to see a doctor until after repeated calls from her friends to the police via the Embassy for her to be sent to hospital for medical treatment. Once hospitalized, she was immediately found to have a brain abscess and could have lost her life had she been further detained even for a few days.


 


Another person went from one well-equipped hospital to another in the neighbourhood before being found to have developed a number of brain abscesses as a result of AIDS. Without doubt, any doctor would recommend a patient in such a critical condition to be admitted to hospital for immediate treatment. But one doctor merely advised the patient to return to Thailand. No treatment was given to the patient because of a lack of health insurance coverage, which had been too expensive for this patient.


 


After several days the patient became semi-comatose, but was still denied medical treatment by the hospital. Finally, through the coordination of a Japanese NGO and the Thai Embassy, the patient was given medical treatment at a hospital located in a remote area.


 


We have in the past heard repeated reports of Thai migrants in Japan developed AIDS who died without proper treatment. Many cases occurred in the areas where proper treatment of foreign patients was lacking, such as Nagano and Ibaraki Prefectures. Doctors in those areas often suggested that the patients return to Thailand without providing any prescription medicines or treatment of opportunistic infections. AIDS is a progressive illness and patients" lives can be at risk without immediate treatment.


 


Currently, Thailand has an efficient system of AIDS treatment. If medical services in Japan provided proper treatment for opportunistic infections before referring the patients to Thailand, the lives of HIV-infected Thais could be saved.


 


It took several weeks for the abovementioned patients to recuperate to the point where they were fit enough to travel back to Thailand, where free medical treatment is available in government hospitals. One recovered after being treated with antiretroviral drugs but was disabled as a result of delayed treatment of the brain abscess. The other person"s brain abscesses became already too advanced, and it made doctors very difficult to improve her general condition enough to start antiretroviral drug treatment, and she died after arriving in Thailand.  


 


In Thailand, both civil society and the government have a strong commitment to fighting any discrimination against HIV-infected people. We are saddened to hear that HIV-infected Thais in a rich country like Japan have been discriminated against and denied appropriate medical treatment, which is a basic human right. As long as certain groups of people in Japan are denied access to prompt medical treatment, it will be difficult to ensure a reduction in new AIDS cases and an effective solution to AIDS problems in Japan.


 


We strongly recommend that the Japanese public health authorities and concerned government agencies should lead other medical facilities in giving appropriate and prompt treatment to patients, regardless of their nationality or visa status. Please do not refuse to treat them. Any such refusal may be the equivalent of a death sentence and may worsen Japan"s own AIDS problems. In the case of the Thai HIV-infected migrants, we request that they receive treatment until they are in a condition to return safely to Thailand where they can be further treated with antiretroviral drugs at Thai government hospitals. We further urge the Immigration Office and police agencies to allow undocumented migrants to receive essential treatment for their health problems.


 


It is recommended that the Japanese government and local administrations should allocate an adequate budget to finance the urgent treatment of foreign patients.  Japan"s reputation as a large donor to AIDS treatment through the Global Fund will otherwise be discredited by the failure to provide adequate medical treatment for foreigners residing in Japan to the point where their lives are at risk.


 


We hope this letter will prompt the relevant agencies and organizations to change their attitudes towards HIV-infected migrants in Japan to show the country"s respect for the basic human rights of all persons. Such a change will promote Japan"s contribution to the Millennium Development Goal of providing HIV/AIDS treatment for all by the year 2010. We believe that this will bring about mutual trust and solidarity between the Thai and Japanese people and help improve the public heath systems in Thailand and Japan.  


 


Sincerely yours,


 


 


 


Mr. Boripat Donmon


Chairperson of the Thai Network of People Living with HIV/AIDS


 


Ms. Supatra Nacapew


Chairperson of the Thai NGO Coalition on AIDS


Director of the Foundation for AIDS Rights


 


Mr. Nimit Tien U-dom


Director of the AIDS Access Foundation


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net