เตรียมจัดงานวันชนเผ่าพื้นเมืองฯ ฉลองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง

 

ภาพประกอบโดย gotoknow.org

 

เมื่อวันที่ 7-8 ก.ค.นี้ ที่ห้องประชุมวังธารรีสอร์ท อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ ตัวแทนชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยจากทั่วประเทศได้มีการจัดประชุมหารือเตรียมจัดงานวันมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทยปี 51 เพื่อเป็นการรณรงค์และเฉลิมฉลองภายหลังจากที่สหประชาชาติได้มีมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว          

                                                                       

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติ(United Nations) ได้ประกาศให้วันที่ 9 สิงหาคมของทุกปีเป็นวัน "ชนเผ่าพื้นเมืองโลก" และกำหนดให้ระหว่างปี พ..2548 - 2557(.. 2005- 2014) เป็น "ปีทศวรรษสากลของชนเผ่าพื้นเมืองโลก"(ระยะที่ 2) นั้น                                                                                      

อีกทั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550ที่ผ่านมา ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติรับรอง"ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง" อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประเทศสมาชิกและประชาคมโลกตระหนักถึงปัญหาและข้อกังวลต่าง ๆ ของพี่น้องชนเผ่าพื้นเมืองที่ประสบอยู่ และจะได้ร่วมช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างจริงจัง ตลอดจนร่วมส่งเสริม ยืนยันและรับรองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในทุกระดับด้วย                                 

                                                                            

สำหรับประเทศไทยนั้น ทางเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่าง ๆ ร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานภาครัฐที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมืองได้จัดงานเฉลิมฉลอง โดยมีการจัดประชุมและประกาศวันชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ 8-9 สิงหาคม2550 และจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ครั้งแรก เมื่อ 5-11 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา โดยมีสถาบันชาติพันธุ์พัฒนา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลักที่เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมและสนับสนุนการจัดงานดังกล่าว ซึ่งถือเป็นกิจกรรมสำคัญยิ่งที่ชนเผ่าพื้นเมืองได้ร่วมประกาศวันชนเผ่าพื้นเมืองขึ้นในประเทศไทย และประกาศจัดตั้งเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เพื่อให้เป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง และเป็นกลไกหลักในการแก้ไขปัญหาร่วมของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยต่อไปอีกด้วย                                                                                                     

 

นายวิวัฒน์ ตามี่ ศูนย์ปฏิบัติการร่วมเพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนบนพื้นที่สูง(ศปส.) กล่าวว่า ในปีนี้ก็เช่นกัน ทางคณะกรรมการจัดงานฯได้มีการประชุมปรึกษาหารือและได้ร่วมกันกำหนดให้มีการจัดงานมหกรรมชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เพื่อเฉลิมฉลองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง ขึ้น ในระหว่างวันที่ 7-9 ส.ค.นี้ ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเป็นการรณรงค์และเฉลิมฉลองวันชนเผ่าพื้นเมืองและปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย และร่วมกันพัฒนากลไกและขบวนการขับเคลื่อนงานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ให้นำไปสู่การเสนอนโยบายและข้อเรียกร้องของชนเผ่าพื้นเมืองต่อรัฐบาลไทยและองค์การสหประชาชาติต่อไป

 

"ต่อไปประเทศไทย ในฐานะที่เป็นประเทศสมาชิก จะต้องยึดปฏิบัติตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง เพราะเป็นประเทศสมาชิกและร่วมลงนามในปฏิญญาสากลฯ นี้ด้วยแล้ว"

 

นายชูพินิจ เกษมณี ที่ปรึกษาเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอเสนอให้มีเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองฯ ได้มีการเผยแพร่ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย เพราะเชื่อว่า สังคมไทยส่วนใหญ่ยังไม่มีใครรู้เรื่องนี้ ว่าประเทศไทยมีการลงนามเข้าประเทศสมาชิก และเขามีการประกาศใช้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองไปแล้ว ซึ่งอาจจะทำเป็นหนังสือ หรือแผ่นพับเล็กๆ เพื่อนำเสนอให้สาธารณชนได้รับรู้ในวงกว้าง

 

ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันทั่วไปว่า ประเทศไทยมีชนเผ่าพื้นเมืองหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่กระจายตามภูมิภาคต่าง ๆ ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีภาษา อัตลักษณ์ วัฒนธรรมและบริบทของสังคมที่แตกต่างกันออกไปจากสังคมใหญ่ โดยดูได้จากทางภาคเหนือ จะมีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยง ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า ลัวะ มลาบรี ขมุ และอื่น ๆ ทางภาคใต้ ก็จะมีชาวมอแกน มอแกลน อุรักลาโว้ย และอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีชาวภูไท โซ่ง ส่วย ญัฮกุร และอื่น ๆ เป็นต้น                                                                                    

กลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรขนาดเล็ก มีจำนวนไม่มากนัก มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ผูกพันและใกล้ชิดกับธรรมชาติอย่างแนบแน่น เน้นระบบการผลิต การตั้งถิ่นฐานและการใช้ทรัพยากรเพื่อการยังชีพเป็นหลัก มีระบบขัดเกลาทางสังคมและได้บ่มเพาะจนกลับกลายเป็นอัตลักษณ์ วัฒนธรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตของแต่ละกลุ่มในระยะต่อมา ซึ่งมีกระบวนการถ่ายทอดและสืบต่อกันมาจากชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนอีกรุ่นหนึ่ง

 

แต่ในระยะหลัง เรื่องราววัฒนธรรมและระบบคุณค่าเหล่านี้เริ่มอ่อนแอและลดความสำคัญลงไป ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ผ่านมาในอดีต โดยเฉพาะการมุ่งเน้นการพัฒนาและสร้างความเจริญเติบโตภาคเศรษฐกิจเป็นหลัก และนโยบายการรวมพวก ซึ่งต้องการหลอมรวมเอากลุ่มสังคมเล็กๆ เหล่านี้เข้าไปสู่วัฒนธรรมกระแสหลัก ถึงกระนั้นก็ตาม ชนเผ่าพื้นเมืองกลุ่มต่างๆ ก็ยังพยายามที่จะยืนหยัด ต่อสู้เพื่อให้การดำรงชีวิตและการคงความเป็นเอกลักษณ์ของตนไว้ในกระแสสังคมปัจจุบัน เพื่อให้วิถีชีวิตและการธำรงอยู่ของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างเหมาะสมภายใต้กระแสการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงของสังคมไทยและสังคมโลกในปัจจุบัน

 

นอกเหนือจากความความพยายามของชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยที่ต้องการแก้ไขปัญหาของตนเองแล้ว รัฐต้องเข้ามาให้การคุ้มครองและสนับสนุนเพิ่มมากขึ้น โดยต้องยกระดับประเด็นปัญหา ความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว ให้เป็นวาระหลักอันหนึ่งของประเทศและร่วมสนับสนุนให้ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทยได้มีพื้นที่การเรียนรู้สู่เวทีต่าง ๆ ในระดับสากลอีกด้วย ตลอดจนต้องประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจต่อสาธารณะในวงกว้าง ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้ชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศไทย ยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีอัตลักษณ์และวัฒนธรรม และมีความยั่งยืนอย่างแท้จริงด้วย

 

ซึ่งในหลายปีที่ผ่านมา กระแสสังคมโลกในเรื่องสิทธิมนุษยชนได้มีพัฒนาการขยายความหมายและขอบเขตกว้างขวางขึ้น ผลักดันให้มีกลไกคุ้มครองสิทธิชนเผ่าพื้นเมืองทั่วโลก

 

กระทั่งประเทศไทยได้เข้าร่วมลงนามและให้สัตยาบันกติการะหว่างประเทศและนุสัญญาประกอบเป็นพันธะกรณีที่จะต้องยึดปฏิบัติรวม 5 ฉบับด้วยกันคือ อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และอนุสัญญาการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและพิธีสารเลือกรับ

 

และในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 ก็ได้บัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้มีภารกิจหลักในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยยึดถือเกณฑ์กติกาตามรัฐธรรมนูญ จะเห็นว่าเป็นสัญญาบ่งบอกว่ายอมรับชนเผ่าพื้นเมืองมากขึ้น แต่มักวงเล็บไว้เสมอว่ายอมรับเฉพาะบางชนเผ่าเท่านั้นมิใช่ทั้งหมด

 

กระทั่งล่าสุด, เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้มีมติรับรอง"ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง" อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประเทศสมาชิกและประชาคมโลกยึดถือและปฏิบัติกับชนเผ่าพื้นเมืองในประเทศของตน ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ลงนามและเป็นสมาชิกสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาตินั้นด้วย

 

 

 





 

 

ปฏิญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง

 

การประชุมสมัยสามัญ

 

ตามแนวทางของวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ และด้วยความศรัทธาที่ดีในการทำให้พันธะสัญญาของรัฐเกิดความสัมฤทธิ์ผลตามกฎบัตรนั้น

 

ยืนยัน ว่าชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่เท่าเทียมกับคนอื่นทั่วไป เมื่อมีการยอมรับในสิทธิที่จะมีความแตกต่างของทุกคน, เมื่อได้พิจารณาว่าพวกเขาแตกต่างเขาก็ควรได้รับการเคารพเช่นกัน

 

ยืนยันอีกเช่นกัน ว่าคนทุกคนได้มีส่วนในการแบ่งปันให้กับความหลากหลายและความศิวิไลซ์ที่มั่งคั่ง รวมถึงวัฒนธรรมอันเป็นมรดกของมวลมนุษยชาติ

 

ยืนยันเพิ่มเติม ว่าบรรดาทฤษฎี นโยบายและแนวทางปฏิบัติทั้งปวงที่มีฐานหรือได้รับการส่งเสริม มาจากการกำเนิดของชาติหรือเชื้อชาติ, ศาสนา, ชาติพันธุ์หรือความแตกต่างทางวัฒนธรรม อันเป็นการเหยียดผิว, ความผิดพลาดทางวิทยาศาสตร์, กฎหมายที่ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว, การถูกประณามทางศีลธรรม, และความอยุติธรรมของสังคม

 

ยืนยันซ้ำ ว่าการใช้สิทธิต่างๆของชนเผ่าพื้นเมืองนั้นควรปราศจากการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ

 

ห่วงใย ว่าชนเผ่าพื้นเมืองได้ทนทุกข์ทรมานจากประวัติศาสตร์ของความอยุติธรรม ซึ่งเป็นผลของ, ระหว่างสิ่งหนึ่งสิ่งใด, การเป็นอาณานิคม และถูกแย่งชิงที่ดิน, ดินแดน, และทรัพยากรไปครอง, อันเป็นการขัดขวางการใช้สิทธิดังกล่าวของพวกเขา, โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในการพัฒนาที่สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของพวกเขาเอง

 

ยอมรับ ความต้องการที่เร่งด่วนในการเคารพและส่งเสริมสิทธิที่มีอยู่ตามปกติของชนเผ่าพื้นเมือง ที่มาจากการปกครอง, เศรษฐกิจ, โครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม, ประเพณีตามจิตวิญญาณ, ประวัติศาสตร์และปรัชญาของพวกเขา, โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิในที่ดิน, ดินแดน และทรัพยากรของพวกเขา

 

ยอมรับอีก ถึงความต้องการเร่งด่วนในการเคารพและส่งเสริมสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองที่ได้รับการยืนยันตามกฎบัตร, ข้อตกลง และการจัดการที่เป็นประโยชน์อื่นๆร่วมกับรัฐ

 

เป็นที่ยอมรับ ในความจริงที่ว่าชนเผ่าพื้นเมืองได้มีการบริหารจัดการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของตนเองเกี่ยวกับการปกครอง, เศรษฐกิจ, สังคมและวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การยุติการเลือกปฏิบัติและการกดขี่ในรูปแบบต่างๆทั้งหลาย ไม่ว่าจะเกิดขึ้นในที่แห่งใดก็ตาม

 

โน้มน้าว ว่าการที่ชนเผ่าพื้นเมืองจัดการพัฒนาที่ส่งผลต่อพวกเขา, ที่ดิน, ดินแดน และทรัพยากรของพวกเขา จะช่วยให้พวกเขาสามารถดำรงรักษาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันต่างๆ, วัฒนธรรมและประเพณีของพวกเขาได้ และยังส่งเสริมให้การพัฒนานั้นมีความสอดคล้องกับความทะเยอทะยานและความต้องการของพวกเขาด้วย

 

ยอมรับ ว่าการเคารพต่อองค์ความรู้, วัฒนธรรมและการปฏิบัติตามประเพณีของชนเผ่าพื้นเมืองจะมีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและเท่าเทียม รวมทั้งการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม

 

เน้นย้ำ ถึงการช่วยเหลือให้ลดการต่อสู้เกี่ยวกับที่ดินและดินแดนของชนเผ่าพื้นเมืองให้น้อยลง มีส่วนทำให้เกิดความสงบ, ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและสังคมและการพัฒนา, ความเข้าใจและมิตรภาพระหว่างชาติต่างๆและผู้คนในโลกนี้

 

เน้นย้ำโดยเฉพาะ ถึงสิทธิในครอบครัวและชุมชนของชนเผ่าพื้นเมืองที่จะรักษาความรับผิดชอบในการแบ่งปันให้กับ การอบรมเลี้ยงดู, การฝึกอบรม, การศึกษาและความเป็นอยู่ที่ดีของลูกๆของพวกเขา, ล้วนสอดคล้องกับสิทธิเด็ก

 

พิจารณา ว่าสิทธิที่ได้รับการยืนยันในกฎบัตร, ข้อตกลง หรือการจัดการที่เป็นประโยชน์อื่นๆระหว่างรัฐกับชนเผ่าพื้นเมืองนั้นในบางสถานการณ์ก็เป็น, ความห่วงใยระหว่างประเทศ, ผลประโยชน์, ความรับผิดชอบ และบทบาท

 

พิจารณาอีก ว่ากฎบัตร, ข้อตกลง และการจัดการที่เป็นประโยชน์อื่นๆ, และความสัมพันธ์ที่นำเสนอใหม่ นั้น เป็นพื้นฐานของการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองกับรัฐ

 

ยอมรับ ว่ากฎบัตรสหประชาชาติ,กติการะหว่างประเทศว่าด้วยด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม, และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่นเดียวกันกับปฏิญญาเวียนนาและโปรแกรมปฏิบัติการ ได้รับรองความสำคัญหลักๆของสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองของทุกคน ว่าพวกเขามีอิสระในการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานภาพปกครองของพวกเขา และกำหนดการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของพวกเขาได้อย่างเสรี

จดจำไว้ในใจ ว่าไม่มีสิ่งใดในปฏิญญานี้ที่จะปฏิเสธสิทธิในการกำหนดชะตากรรมของตนเองของผู้ใดในการใช้สิทธิที่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ

 

โน้มน้าว ว่าการตระหนักถึงสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในปฏิญญานี้จะช่วยเสริมสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวและร่วมมือกันระหว่างรัฐกับชนเผ่าพื้นเมือง ตามหลักประชาธิปไตย, การเคารพซึ่งสิทธิมนุษยชน, การไม่เลือกปฏิบัติ และศรัทธาที่ดีงาม

 

สนับสนุน ให้รัฐยินยอมที่จะนำสิ่งที่เป็นพันธะผูกพันต่างๆเกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมืองไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้เครื่องมือระหว่างประเทศ, โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน, ด้วยการปรึกษาและร่วมมือกับประชาชน

 

เน้นย้ำ ว่าสหประชาชาติมีบทบาทที่สำคัญและต่อเนื่องในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของชนเผ่าพื้นเมือง

 

เชื่อมั่น ว่าปฏิญญานี้จะเป็นก้าวต่อไปที่สำคัญสำหรับการยอมรับ, ส่งเสริม และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของชนเผ่าพื้นเมือง รวมทั้งการพัฒนากิจกรรมต่างๆของสหประชาชาติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

 

ยอมรับและเน้นย้ำอีกครั้ง ว่าการเรียกชื่อของบุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองนั้น เป็นสิ่งที่ปราศจากการเลือกปฏิบัติต่อสิทธิมนุษยชนทั้งหมดที่ได้รับการยอมรับในกฎหมายระหว่างประเทศ, และชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิโดยรวมซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำรงอยู่ของพวกเขา, ความเป็นอยู่ที่ดี และ การบูรณาการการพัฒนาในฐานะของคนทั่วไป

 

ยอมรับอีก ว่าสถานการณ์ของชนเผ่าพื้นนั้นมีความหลากหลายจากภาคพื้นหนึ่งไปยังอีกภาคพื้นหนึ่ง และจากประเทศหนึ่งสู่อีกประเทศหนึ่ง การพิจารณาถึงความหลากหลายทางประวัติศาสตร์และภูมิหลังทางวัฒนธรรมนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะทั้งต่อชาติและภาคพื้น

 

ป่าวประกาศอย่างจริงจัง ว่าปฏิญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองต่อไปนี้เป็นมาตรฐานของการบรรลุผลในการที่จะชักชวนให้เกิดการเคารพในจิตวิญญาณของความเป็นพันธมิตรต่อกัน

 

 

มาตรา ๑

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิอย่างสมบูรณ์ ตามสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพพื้นฐานทั้งหลาย ทั้งที่เป็นสิทธิรวมหมู่และสิทธิของบุคคล ดังที่ได้รับการยอมรับในกฎบัตรของสหประชาชาติ, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ

 

มาตรา ๒

 

ชนเผ่าพื้นเมืองและบุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองนั้นมีเสรีภาพที่เท่าเทียมกับหมู่คนหรือบุคคลอื่น และมีสิทธิที่จะใช้สิทธิของพวกเขาอย่างเป็นอิสระปราศโดยจากการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนพื้นฐานของความชนเผ่าพื้นเมืองโดยกำเนิดหรือโดยอัตลักษณ์ของพวกเขา

 

มาตรา ๓

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเอง ด้วยผลของสิทธินั้นพวกเขาจึงมีอิสระที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับปกครองและแสวงหาวิธีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของพวกเขา

 

มาตรา ๔

 

การใช้สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองของชนเผ่าพื้นเมืองเป็นการใช้สิทธิในการปกครองตนเองซึ่งมีความสอดคล้องกับกิจการของภายในชาติและท้องถิ่นของพวกเขา เช่นเดียวกันกับวิธีการจัดการการเงินสำหรับกิจการต่างๆในการปกครองตนเองของพวกเขาด้วย

 

มาตรา ๕

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะดำรงรักษาและสร้างความเข้มแข็งของการปกครอง, กฎหมาย, สถาบันทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมของพวกเขา และถ้าหากพวกเขาจะเลือก พวกเขาก็ยังคงดำรงไว้ซึ่งสิทธิในการมีส่วนร่วมอย่างสมบูรณ์ในการดำรงชีวิตตามวิถีทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของรัฐ

 

มาตรา ๖

 

ชนเผ่าพื้นเมืองทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับสัญชาติ

มาตรา ๗

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองแต่ละคนมีสิทธิอย่างสมบูรณ์ในชีวิต, ทั้งทางร่างกายและจิตใจ, มีอิสรภาพและความมั่นคงปลอดภัยของบุคคล

๒.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิรวมหมู่ที่จะดำรงชีวิตอย่างอิสระ, สงบสุข, และมั่นคงเช่นเดียวกันกับบุคลอื่นๆที่มีความแตกต่างกัน และจะไม่ต้องตกเป็นเป้าของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในทุกรูปแบบหรือถูกละเมิดในรูปแบบอื่นๆ, รวมไปถึงการบังคับให้โยกย้ายเด็กๆจากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง

 

มาตรา ๘

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองและบุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะไม่ตกเป็นเป้าของการบังคับให้ถูกกลืนวัฒนธรรมหรือทำลายล้างวัฒนธรรมของตนเอง

๒.      รัฐต้องจัดหากลไกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการป้องกันและชดเชยต่อ

(ก)               การกระทำใดๆที่ประสงค์หรือมีผลต่อจะทำให้พวกเขาต้องสูญเสียบูรณาภาพ คุณค่าทางวัฒนธรรม หรืออัตลักษณ์ทางชนเผ่าของพวกเขา

(ข)               การกระทำใดๆที่ประสงค์หรือมีผลที่จะเพิกถอนการครอบครองที่ดิน, ดินแดนและทรัพยากรของพวกเขา

(ค)               รูปแบบของการบบีบบังคับใดๆที่ประสงค์หรือมีผลต่อการละเมิดหรือลดทอนสิทธิใดๆของพวกเขา

(ง)                รูปแบบใดๆที่จะบังคับให้มีการกลืนหรือบูรณาการ

(จ)                รูปแบบใดๆของการประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เกิดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติหรือขนเผ่าโดยตรง

 

มาตรา ๙

 

ชนเผ่าพื้นเมืองและบุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนพื้นเมืองหรือชาติ, ที่สอดคล้องกับประเพณี และขนบธรรมเนียมของชาตินั้น และไม่มีการเลือกปฏิบัติใดๆต่อการใช้สิทธินี้

 

มาตรา ๑๐

 

ชนเผ่าพื้นเมืองจะต้องไม่ถูกบังคับให้โยกย้ายออกจากที่ดินหรือดินแดนของพวกเขา จะไม่มีการอพยพโยกย้ายใดๆ โดยปราศจากความยินยอมอย่างเต็มใจของชนเผ่าพื้นเมืองเสียก่อน และหลังจากที่ได้มีข้อตกลงในการชดเชยที่ยุติธรรมและเหมาะสมแล้ว หากเป็นไปได้ควรมีทางเลือกให้กลับคืนถิ่นด้วย

 

มาตรา ๑๑

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะปฏิบัติและฟื้นฟูวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมของพวกเขา ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิในการดำรงรักษา คุ้มครอง และพัฒนาวัฒนธรรมในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของพวกเขา เช่นโบราณคดี, สถานที่ทางประวัติศาสตร์, การออกแบบทางศิลปะ,พิธีกรรม, เทคโนโลยี, และศิลปะการแสดงหรือวรรณกรรมที่สามารถมองเห็นได้

๒.      รัฐต้องจัดหาการชดเชยผ่านกลไกที่มีประสิทธิภาพ, ที่อาจรวมไปถึงการสร้างสถาบันใหม่, การพัฒนาร่วมกับชนเผ่าพื้นเมือง, ด้วยความเคารพต่อวัฒนธรรม,ภูมิปัญญา, ศาสนาและมรดกทางจิตวิญญาณที่ได้ถูกพรากไปโดยปราศจากความยินยอมอย่างเมใจของพวกเขาเสียก่อน หรือด้วยการละเมิดในกฎหมาย, ประเพณีและขนบธรรมเนียมของพวกเขา

 

มาตรา ๑๒

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะแสดง, ปฏิบัติ, พัฒนาและสอนเกี่ยวกับจิตวิญญาณและประเพณีทางศาสนา, ขนบธรรมเนียมและพิธีกรรมของพวกเขา สิทธิในการดำรงรักษา,คุ้มครองและเข้าถึงความเป็นส่วนตัวในศาสนาและวัฒนธรรมของพวกเขา; สิทธิในการใช้และจัดการวัตถุสิ่งของที่ใช้ในพิธีกรรม; และสิทธิในการแก้ไขชิ้นส่วนที่ยังคงอยู่ของมนุษย์ repatriation of their human remains

๒.      รัฐต้องแสวงหาความสามารถในการเข้าถึงและ/หรือการแก้ไขชิ้นส่วนที่ยังคงอยู่ของมนุษย์ repatriation of their human remains ที่อยู่ในความครอบครองของพวกเขาผ่านกลไกที่ยุติธรรม, โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ที่ได้พัฒนาโดยร่วมกับชนเผ่าพื้นเมือง

 

มาตรา ๑๓

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการฟื้นฟู, ใช้, พัฒนา และถ่ายทอด ประวัติศาสตร์, ภาษา, ประเพณีทางวาจา, ปรัชญา, ระบบการเขียนและวรรณกรรมของพวกเขา การตั้งชื่อและการรักษาชื่อเดิมของชุมชน, สถานที่และบุคคลสู่รุ่นต่อไปในอนาคต

๒.      รัฐจะต้องใช้กลไกที่มีประสิทธิภาพในการที่รับรองว่าสิทธินี้ได้รับการคุ้มครองและจะต้องรับรองว่าชนเผ่าพื้นเมืองสามารถเข้าใจและได้รับการเข้าใจตามการปกครอง, กฎหมาย และกระบวนการบริหารจัดการต่างๆที่จำเป็นผ่านการแปลหรือวิธีการที่เหมาะสมอื่นๆ

 

มาตรา ๑๔

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการจัดตั้งและจัดการระบบการศึกษา และสถาบันที่จะจัดการศึกษาในภาษาของพวกเขาเอง, ในรูปแบบที่เหมาะสมกับวิธีการทางวัฒนธรรมในการเรียนการสอนของพวกเขา

๒.      บุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆมีสิทธิในการศึกษาของรัฐทุกระดับและทุกรูปแบบโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ

๓.      รัฐจะร่วมกับชนเผ่าพื้นเมืองสร้างมาตรการที่มีประสิทธิภาพสำหรับบุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมือง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆ และถ้าเป็นไปได้ก็หมายรวมถึงคนที่อาศัยอยู่นอกชุมชนด้วย ในการเข้าถึง การศึกษาตามวัฒนธรรมของตนองด้วยภาษาของพวกเขาเอง

 

มาตรา ๑๕

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในศักดิ์ศรีและความหลากหลายทางวัฒนธรรม, ประเพณี, ประวัติศาสตร์และความทะเยอทะยานของพวกเขา ซึ่งจะต้องสะท้อนให้เห็นอย่างเหมาะสมในข้อมูลทางการศึกษาและสาธารณะ

๒.      รัฐควรมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพ,ในการปรึกษาและร่วมมือกับชนเผ่าพื้นเมือง, เพื่อต่อสู้กับอคติและขจัดการเลือกปฏิบัติและเพื่อส่งเสริมความอดทน, ความเข้าใจ และสัมพันธภาพที่ดีในหมู่ชนเผ่าพื้นเมืองและคนในส่วนอื่นของสังคม

 

มาตรา ๑๖

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะจัดตั้งสื่อของพวกเขา ในภาษาของพวกเขาเอง และมีสิทธิในการเข้าถึงสื่อที่ไม่ได้เป็นของชนเผ่าในทุกรูปแบบโดยปราศจาการเลือกปฏิบัติ

๒.      รัฐควรจัดหามาตรการที่มีประสิทธิภาพที่จะรับรองว่าสื่อของรัฐได้สะท้อนให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมอย่างถูกต้อง รัฐต้องปราศจากอคติในการที่จะรับรองเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการแสดงออก, และควรจะกระตุ้นให้สื่อของเอกชนได้สะท้อนให้เห็นความหลากหลายทางวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองด้วย

 

มาตรา ๑๗

 

๑.      บุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองรวมทั้งชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิอย่างสมบูรณ์ทุกประการตามที่ระบุในกฎหมายภายในประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศ

๒.      รัฐจะต้องมีการปรึกษาและร่วมมือกับชนเผ่าพื้นเมืองในการนำเอามาตรการเฉพาะในการคุ้มครองเด็กๆที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองจากการสูญเสียทางเศรษฐกิจและจากการทำงานใดๆที่อาจเป็นอันตรายหรือรบกวนการศึกษาของเด็กๆเหล่านั้น หรืออันอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือสุขภาพ, ภาวะทางจิตใจ, จิตวิญญาณ, ศีลธรรม หรือการพัฒนาทางสังคมของเด็กๆเหล่านั้น, โดยพิจารณาถึงความเปราะบางเป็นพิเศษของพวกเขา และการให้การศึกษาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของพวกเขา

๓.       คนที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะไม่ถูกนำไปสู่เงื่อนไขของการเลือกปฏิบัติทางแรงงาน, การจ้างงานหรือค่าจ้าง

 

มาตราที่ ๑๘

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในเรื่องใดๆก็ตามที่มีผลกระทบต่อสิทธิของพวกเขา, โดยผ่านทางผู้แทนที่พวกเขาเลือกขึ้นมาอย่างสอดคล้องกับกระบวนการของพวกเขา เช่นเดียวกันที่จะดำรงและพัฒนาสถาบันในการตัดสินใจของพวกเขาเองไว้

 

มาตรา ๑๙

 

รัฐจะต้องปรึกษาและร่วมมือเป็นอย่างดีกับชนเผ่าพื้นเมืองผ่านทางสถาบันผู้แทนของพวกเขาเพื่อที่จะได้มาซึ่งการได้แจ้งความยินยอมอย่างเต็มใจเสียก่อน ก่อนที่จะยอมรับและปฏิบัติตามกลไกทางกฎหมายหรือการบริหารที่อาจส่งผลกระทบถึงพวกเขาได้

 

มาตรา ๒๐

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะดำรงรักษาและพัฒนาระบบหรือสถาบันการปกครอง,เศรษฐกิจ และสังคมของพวกเขาเอง เพื่อให้มีความมั่นคงในวิธีการพึ่งตนเองและการพัฒนาของพวกเขา และเพื่อขยายสิทธินี้ไปยังการปฏิบัติตามประเพณีทั้งปวงและกิจกรรมอื่นๆทางเศรษฐกิจของพวกเขาอย่างเสรี

๒.      ชนเผ่าพื้นเมืองที่สุญเสียวิถีของการพึ่งตนเองและการพัฒนามีสิทธิได้รับการชดเชยอย่างยุติธรรมและเหมาะสม

 

มาตรา ๒๑

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติที่จะปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขา, รวมไปถึง, ระหว่างกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด ในเรื่องของการศึกษา, การจ้างงาน, การฝึกอาชีพ, และการฝึกซ้ำ, ที่อยู่อาศัย, การสุขาภิบาล, สุขภาพ และความมั่นคงทางสังคม

๒.      รัฐจะต้องมีมาตรการที่มีประสิทธิภาพและ ถ้าจะให้เหมาะสม, ควรเป็นมาตรการพิเศษที่จะรับรองการปรับปรุงสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งควรให้ความสนใจต่อสิทธิและความต้องการพิเศษของชนเผ่าพื้นเมืองที่สูงอายุ, ผู้หญิง, เด็ก, และผู้พิการ

 

มาตรา ๒๒

 

๑.      ในการนำเอาปฏิญญานี้ไปใช้นั้นควรให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อสิทธิและความต้องการพิเศษของชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นผู้สูงอายุ, ผู้หญิง, เด็ก และผู้พิการ

๒.      รัฐจะต้องมีมาตรการร่วมกับชนเผ่าพื้นเมือง, เพื่อที่จะรับรองว่าชนเผ่าพื้นเมืองที่เป็นผู้หญิงและเด็กได้รับการคุ้มครองและรับประกันอย่างสมบูรณ์จากการถูกละเมิดหรือการเลือกปฏิบัติในทุกรูปแบบ

 

มาตรา ๒๓

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะตัดสินใจและพัฒนาลำดับความสำคัญและยุทธศาสตร์ในการใช้สิทธิในการพัฒนาของพวกเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการพัฒนาและการตัดสินใจเกี่ยวกับสุขภาพ, ที่อยู่อาศัย, และโครงการด้านเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆที่มีผลต่อพวกเขา และบริหารจัดการโครงการเหล่านั้นผ่านทางสถาบันของพวกเขาเองเท่าที่จะเป็นไปได้

 

มาตรา ๒๔

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิการใช้ยาเพื่อรักษาตามประเพณีและดำรงรักษาวิธีการปฏิบัติด้านสุขภาพของพวกเขา รวมไปถึงการอนุรักษ์ไว้ซึ่งพืชสมุนไพร, สัตว์ และแร่ธาตุต่างๆของพวกเขา บุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองก็มีสิทธิที่จะเข้าถึงการบริการทางสังคมและสุขภาพโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติด้วยเช่นกัน

๒.      บุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่เท่าเทียมในการได้รับมาตรฐานสูงสุดของสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ รัฐควรมีขั้นตอนที่จำเป็นในการบรรลุความก้าวหน้าด้วยการตระหนักถึงสิทธิดังกล่าวอย่างเต็มที่

 

 

มาตรา ๒๕

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะดำรงรักษาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของความสัมพันธ์กับจิตวิญญาณตามประเพณีที่เป็นของพวกเขาเอง หรือไม่เช่นนั้นก็โดยการได้ครอบครอง, ใช้ที่ดิน, ดินแดน, น้ำ และชายฝั่งทะเล และทรัพยากรอื่นๆ และเพื่อถ่ายทอดรับผิดชอบเหล่านี้ของพวกเขาไปยังคนรุ่นต่อไป

 

มาตรา ๒๖

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในที่ดิน, ดินแดน และทรัพยากรที่พวกเขาได้ครอบครองมาตามประเพณีหรือไม่เช่นนั้นก็เนื่องจากเคยได้ใช้หรือได้รับมาก่อน

๒.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการเป็นเจ้าของ,ใช้, พัฒนาและควบคุมที่ดิน, ดินแดน และทรัพยากรที่พวกเขาได้ครอบครองด้วยเหตุผลของความเป็นเจ้าของตามประเพณีหรือด้วยอาชีพตามประเพณีอื่นๆ, ได้เคยใช้, เข่นเดียวกันกับกลุ่มคนที่ได้รับที่ดินนั้นมา

๓.      รัฐจะต้องให้การยอมรับตามกฎหมายและคุ้มครองที่ดิน, ดินแดนและทรัพยากรเหล่านี้ การยอมรับดังกล่าวนั้นจะต้องถูกสร้างขึ้นมาด้วยความเคารพต่อขนบธรรมเนียม, ประเพณี และระบบการถือครองที่ดินที่เกี่ยวข้องกับชนเผ่าพื้นเมือง

 

มาตรา ๒๗

รัฐจะต้องร่วมกับชนเผ่าพื้นเมืองในการจัดตั้งและนำกระบวนการที่เท่าเทียม, อิสระ,ยุติธรรม, เปิดกว้างและโปร่งใสไปปฏิบัติ, ให้การยอมรับอย่างเหมาะสมต่อกฎหมายของชนเผ่าพื้นเมือง,ประเพณี, ขนบธรรมเนียม, และระบบการถือครองที่ดิน, เพื่อที่จะยอมรับและวินิจฉัยสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในที่ดิน, ดินแดน และทรัพยากรของพวกเขา รวมไปถึงสิ่งที่พวกเขาเป็นเจ้าของตามประเพณีหรือไม่เช่นนั้นก็เนื่องจากได้ครอบครองหรือได้ใช้มาก่อน ซึ่งชนเผ่าพื้นเมืองจะต้องเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้ด้วย

 

มาตรา ๒๘

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะได้รับการชดเชยด้วยวิธีที่สามารถรวมไปถึงการตั้งสถาบันใหม่ หรือเมื่อไม่สามารถเป็นไปได้,ก็ควรมีค่าชดเชยที่ยุติธรรมและเท่าเทียม, สำหรับที่ดิน, ดินแดนและทรัพยากรที่พวกเขาได้ครอบครองมาตามประเพณีหรือด้วยการได้ใช้หรือครอบครองมาก่อน และที่ได้เคยถูกยึด, เอาไป, ครอบครอง, ใช้ หรือทำให้เสียหายโดยปราศจากการยินยอมอย่างเต็มใจของพวกเขาก่อน

๒.       ถ้าหากไม่แล้วมิฉะนั้นก็ต้องมีการตกลงอย่างเสรีกับชนเผ่าพื้นเมือง, ซึ่งการชดเชยดังกล่าวจะต้องเท่าเทียมกับที่ดิน ดินแดนและทรัพยากรที่สูญเสียไปทั้งคุณภาพ,ขนาดและสถานภาพทางกฎหมายหรือการชดเชยทางการเงินหรือการชดใช้ที่เหมาะสมอื่นๆ

 

มาตรา ๒๙

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและความสามารถในการผลิตของที่ดินหรือดินแดนและทรัพยากร รัฐจะต้องจัดตั้งโครงการให้ความช่วยเหลือและดำเนินโครงการสำหรับชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการอนุรักษ์และคุ้มครองนั้นโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติ

๒.      รัฐจะต้องมีมาตรการอันมีประสิทธิภาพที่จะรับรองว่าจะไม่มีการเก็บกักหรือทิ้งวัตถุมีพิษในที่ดินหรือดินแดนของชนเผ่าพื้นเมืองโดยปราศจากการยินยอมของพวกเขา

๓.      รัฐจะต้องมีมาตรการอันมีประสิทธิภาพที่จะรับรองว่าโครงการสำหรับการติดตามตรวจสอบ, การดำรงรักษา และฟื้นฟูสุขภาพของชนเผ่าพื้นเมืองได้พัฒนาและดำเนินโครงการโดยกลุ่มคนที่ได้รับผลดังกล่าวอย่างเหมาะสมตามที่ต้องการด้วย

 

มาตรา ๓๐

 

๑.      จะต้องไม่ดำเนินกิจกรรมทางทหารในที่ดิน หรือดินแดนของชนเผ่าพื้นเมือง นอกเสียจากว่าเป็นเหตุผลที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของสาธารณะ หรือมิฉะนั้นก็เป็นข้อตกลงอย่างอิสระกับหรือเป็นการร้องขอจากชนเผ่าพื้นเมือง

๒.      รัฐจะต้องรับภาระในการให้คำปรึกษาที่มีประสิทธิภาพกับชนเผ่าพื้นเมืองผ่านกระบวนการที่เหมาะสมและโดยเฉพาะโดยผ่านทางสถาบันผู้แทนของพวกเขา ในการใช้ที่ดินหรือดินแดนสำหรับกิจกรรมทางทหาร

 

มาตรา ๓๑

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะดำรงรักษา, ควบคุม, คุ้มครองและพัฒนามรดกทางวัฒนธรรม, องค์ความรู้ตามประเพณีและการแสดงออกทางประเพณีวัฒนธรรมของพวกเขา, เข่นเดียวกันกับตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนในทางวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยีและวัฒนธรรม, รวมไปถึงทรัพยากรในความความเป็นมนุษย์และพันธุกรรม, เมล็ดพันธุ์, ยารักษาโรค,องค์ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติของช่วงชีวิตของสัตว์หรือพืช, ประเพณีที่เป็นภาษาพูด, วรรณกรรม, การออกแบบ, กีฬา และการละเล่นทางวัฒนธรรมและการแสดงทางศิลปวัฒนธรรม พวกเขายังมีสิทธิในภูมิปัญญาทั้งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม, องค์ความรู้ตามประเพณี, และการแสดงออกทางประเพณีและวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน

๒.      รัฐต้องร่วมกับชนเผ่าพื้นเมืองในการใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดการยอมรับและคุ้มครองการใช้สิทธิเหล่านี้

 

มาตรา ๓๒

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการตัดสินใจและพัฒนาความสำคัญและยุทธศาสตร์สำหรับการพัฒนาหรือการใช้ที่ดินหรือดินแดนและทรัพยากรอื่นๆของพวกเขา

๒.      รัฐจะต้องปรึกษาและร่วมมือเป็นอย่างดีกับชนเผ่าพื้นเมืองผ่านสถาบันผู้แทนของพวกเขาเพื่อที่จะได้รับการแสดงความยินยอมอย่างเต็มใจก่อนการอนุมัติโครงการใดๆที่จะส่งผลกระทบต่อที่ดินหรือดินแดนและทรัพยากรอื่นๆของพวกเขา

๓.      รัฐจะต้องจัดหากลไกที่มีประสิทธิภาพสำหรับการชดใช้อย่างยุติธรรมสำหรับกิจกรรมดังกล่าว, และมีการใช้มาตรการที่เหมาะสมที่จะบรรเทาผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม, เศรษฐกิจ, สังคม, วัฒนธรรม หรือจิตวิญญาณ

 

มาตรา ๓๓

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการตัดสินใจในการกำหนดอัตลักษณ์หรือสมาชิกภาพที่สอดคล้องกับขนบธรรมเนียมและประเพณีของพวกเขา ซึ่งไม่ได้ทำให้สิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองในการได้รับบัตรประชาชนของรัฐที่พวกเขาอาศัยอยู่ด้อยลงแต่อย่างใด

๒.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างและสมาชิกภาพของสถาบันของพวกเขาตามกระบวนการของพวกเขา

 

มาตรา ๓๔

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะส่งเสริม, พัฒนาและดำรงรักษาโครงสร้างทางสถาบันและขนบธรรมเนียมของพวกเขา, จิตวิญญาณ, ประเพณี, กระบวนการและ, ระบบการวินิจฉัยหรือขนบธรรมเนียมที่สอดคล้องกับมาตรฐานของสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศถ้าหากมี

 

มาตรา ๓๕

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบของบุคคลต่อชุมชนของพวกเขา

 

มาตรา ๓๖

 

๑.      ชนเผ่าพื้นเมือง, โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ถูกแบ่งโดยพรมแดนระหว่างประเทศมีสิทธิที่จะดำรงรักษาและพัฒนาการติดต่อ, ความสัมพันธ์, และความร่วมมือ รวมไปถึงกิจกรรมต่างๆที่มีจุดประสงค์เพื่อจิตวิญญาณ, วัฒนธรรม, การปกครอง, เศรษฐกิจ, และสังคม กับสมาชิกของพวกเขาเช่นเดี่ยวกับกลุ่มคนที่ต้องข้ามพรมแดน

๒.      รัฐ,ด้วยการปรึกษาและร่วมมือกับชนเผ่าพื้นเมืองจะต้องใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการเอื้ออำนวยต่อการใช้สิทธิและรับรองการนำสิทธินี้ไปปฏิบัติ

 

มาตรา ๓๗

๑.      ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะได้รับการยอมรับ, การสังเกตและการบังคับใช้กฎบัตร, ข้อตกลงและการจัดการที่สร้างสรรค์อื่นๆที่ได้สรุปร่วมกับรัฐ หรือความสำเร็จของพวกเขาและที่จะได้รับเกียรติจากรัฐและเคารพต่อกฎบัตรข้อตกลงและการจัดการที่สร้างสรรค์อื่นๆนั้น

๒.      ไม่มีสิ่งใดในปฏิญญานี้ที่จะลดทอนหรือลบล้างสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองที่มีอยู่ในกฎบัตร, ข้อตกลง และการจัดการที่เป็นประโยชน์อื่นๆ

 

มาตรา๓๘

 

รัฐด้วยการปรึกษาและร่วมมือกับชนเผ่าพื้นเมืองจะต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมรวมทั้งมาตรการทางกฎหมายในการบรรลุถึงจุดหมายของปฏิญญานี้

 

มาตรา ๓๙

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิที่จะเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินและเทคนิคจากรัฐและด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศ, เพื่อการใช้สิทธิที่ได้ระบุไว้อนุปริญญานี้

 

มาตรา ๔๐

 

ชนเผ่าพื้นเมืองมีสิทธิในการเข้าถึงและตัดสินใจผ่านกระบวนการต่างๆอย่างยุติธรรมในการแก้ไขข้อขัดแย้งและข้อพิพาทกับรัฐหรือคนกลุ่มอื่นๆ เช่นเดียวกับการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพสำหรับทุกคนที่อยู่โดยรอบทั้งในฐานะของสิทธิของบุคคลและสิทธิรวมหมู่ ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวต้องพิจารณาถึงขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎและระบบกฎหมายของชนเผ่าพื้นเมืองและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศด้วย

 

มาตรา๔๑

 

ระบบโครงสร้างและหน่วยงานพิเศษของสหประชาชาติ และองค์กรระหว่างรัฐจะต้องมีส่วนในการยอมรับให้มีการจัดหาปฏิญญานี้ผ่านกระบวนการขับเคลื่อนต่างๆ ระหว่างกัน, ของความร่วมมือทางการเงินและการช่วยเหลือทางเทคนิค

 

มาตรา ๔๒

 

สหประชาชาติ, โครงสร้างของสหประชาชาติ, รวมไปถึงเวทีถาวรในประเด็นชนเผ่าพื้นเมือง, และองค์กรพิเศษ, รวมไปถึงในระดับประเทศ, และรัฐจะต้องส่งเสริมการเคารพและการนำเอาเนื้อหาของคำประกาศเจตนารมณ์นี้ไปใช้ รวมทั้งติดตามประเมินผลของประสิทธิภาพของคำประกาศเจตนารมณ์นี้ด้วย

 

มาตรา ๔๓

 

สิทธิต่างๆที่เป็นที่ยอมรับในที่นี้ก่อให้เกิดมาตรฐานขั้นต่ำของการอยู่รอด, ศักดิ์ศรี และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนในโลกนี้

 

มาตรา ๔๔

 

สิทธิและเสรีภาพทั้งปวงที่ได้รับการยอมรับในที่นี้ได้รับการประกันอย่างเท่าเทียมแก่บุคคลที่เป็นชนเผ่าพื้นเมืองทั้งชายและหญิง

 

มาตรา ๔๕

 

ไม่มีสิ่งใดในปฏิญญานี้ที่อาจจะทำให้เกิดการลดทอนหรือทำลายสิทธิทั้งหลายของชนเผ่าพื้นเมืองทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

 

มาตรา ๔๖

 

๑.      ไม่มีสิ่งใดในปฏิญญานี้ที่อาจถูกแปลให้เป็นนัยสำหรับรัฐใดๆ, ผู้คน, กลุ่มหรือบุคคล ในสิทธิใดๆที่จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมใดๆหรือการกระทำใดๆที่เป็นการขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติ หรือทำให้เกิดอำนาจหน้าที่ หรือกระตุ้นการกระทำใดๆที่อาจทำให้หมดสภาพของสมาชิกหรือทำให้…….

 

๒.      ในการใช้สิทธิใดๆที่ได้ประกาศไว้อย่างชัดเจนในปฏิญญานี้, สิทธิมนุษยชนและหลักเสรีภาพทั้งปวงจะต้องได้รับการเคารพ การใช้สิทธิทั้งหลายที่ได้แถลงไว้ในปฏิญญานี้จะนำไปสู่ข้อจำกัดที่เป็นไปตามกฎหมาย และเท่าที่มีความสอดคล้องกับพันธะกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เท่านั้น ข้อจำกัดใดๆจะต้องปราศจากการเลือกปฏิบัติและมีความจำเป็นที่จะต้องกวดขันเป็นการเฉพาะสำหรับสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น และสำหรับการประชุมที่เป็นไปตามหลักประชาธิปไตย

 

๓.      เนื้อหาต่างๆที่ได้แถลงไว้ในปฏิญญานี้จะต้องถูกแปลอย่างสอดคล้องกับกับหลักการของการวินิจฉัย, ประชาธิปไตย, การเคารพต่อสิทธิมนุษยชน, ความเท่าเทียม, การไม่เลือกปฏิบัติ, การปกครองที่ดี และศรัทธาที่ดี

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท