Skip to main content
sharethis

5 มิ.. 51 - จากงานวิจัยชิ้นใหม่โดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล พบว่ารัฐบาลพม่าพยายามมากขึ้นที่จะบังคับผู้รอดชีวิตจากพายุไซโคลนนากีสให้ออกไปจากที่พักฉุกเฉินและขัดขวางไม่ให้พวกเขาได้รับการช่วยเหลือ การกระทำของรัฐทำให้ผู้รอดชีวิตกว่าหมื่นคนที่กำลังสุขภาพย่ำแย่เสี่ยงต่อการตาย โรคภัยต่างๆ และความหิวโหย


 


เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม รัฐบาลพม่า สภาเพื่อสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ (State Peace and Development Council - SPDC) ประกาศหยุดให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเริ่มการก่อสร้างใหม่ทดแทนส่วนที่เสียหายไป ตั้งแต่นั้นมา SPDC ได้ทำการรณรงค์เพื่อบังคับผู้รอดชีวิตจากพายุไซโคลนที่ไร้ที่อยู่ออกไปจากค่ายของรัฐและค่ายที่ไม่ใช่ของทางการ


 


ทางการได้เล็งเป้าหมายไปที่โรงเรียนและวัดต่างๆ เนื่องจากทั้งสองสถาบันถูกใช้เป็นจุดลงคะแนนเสียงการทำประชามติรัฐธรรมนูญเดือนพฤษภาคมที่เลื่อนมาจนบัดนี้ และเพราะโรงเรียนเปิดวันที่ 2 มิถุนายน


 


ผู้รอดชีวิตที่ไร้ที่อยู่ไม่สามารถกลับไปบ้านเกิดได้อีก เพราะความเสียหายรุนแรงจากพายุไซโคลนแถบปากแม่น้ำอิรวดีทำให้ไม่สามารถอยู่อาศัยได้


 


เบนจามิน ซาแวคกี้ นักวิจัยเกี่ยวกับพม่าของแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลกล่าวว่า "หลังจากรอดชีวิตจากแรงพายุไซโคลนได้ ผู้รอดชีวิตเป็นพันๆต่างต้องเผชิญภัยที่เกิดจาก SPDC"


 


จากแหล่งข้อมูลหลากหลาย รวมทั้งจากพยานและการพูดคุยกับผู้คนที่อยู่ในเขตที่โดนพายุโจมตี แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลพบว่ามีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ SPDCและผู้บริจาคนานาชาติจะรับเอามาตรฐานสิทธิมนุษยชนมาใช้ในการตอบรับมหันตภัยที่เกิดขึ้น

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีความกังวลเกี่ยวกับการส่งความช่วยเหลือด้วย เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม หนังสือพิมพ์ของ New Light of Myanmar ของ SPDC ได้ให้คำมั่นว่าจะ "ทำการสืบสวนกรณี [กระจายความช่วยเหลืออย่างไม่ได้สัดส่วน] เพื่อเปิดเผยผู้กระทำผิด และลงโทษตามกฎหมาย" แอมเนสตี้อินเตอร์เนชั่นแนลมีความยินดีต่อคำมั่นนี้ และเรียกร้องให้ SPDC ตรวจสอบการกระจายความช่วยเหลือโดยเจ้าหน้าที่อย่างเข้มงวด และตรวจสอบเรื่องการลักขโมย การใช้อำนาจมิชอบ และการขัดขวางความช่วยเหลือด้วย

"เนื่องจาก SPDC มีประวัติการละเมิดมาโดยตลอด องค์กรด้านมนุษยธรรมจึงควรจะมีความตื่นตัวต่อการขัดขวางความช่วยเหลือของพวกเขาโดย SPDC ด้วย" ซาแวคกี้กล่าว


 


แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ยืนยันว่ามีมากกว่า 30 กรณีที่ผู้คนถูกบังคับให้ออกจากที่พักฉุกเฉินในวัด โรงเรียน และที่อื่นๆ

ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมา การรณรงค์เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนถิ่นที่อยู่ได้มีความเป็นระบบ และกระจายวงกว้างขึ้น เจ้าหน้าที่ได้บังคับผู้คนให้ย้ายออกไปจาก Maungmya, Maubin, Pyapon และ Labutta ซึ่งพวกเขาถูกบังคับออกเป็นที่แรก ไปยังทางใต้สู่หมู่บ้านที่พวกเขาจากมา


 


จากค่าย 45 แห่งใน Pyapon เหลือเพียงสามแห่งเมื่อ 28 พฤษภาคม  ในวันที่ 23 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่ในกรุงย่างกุ้งบังคับผู้รอดชีวิตกว่า 3 พันคนให้ออกจากค่ายของทางการในเมือง Shwebaukan ที่อยู่ทาง North Dagon Myo Thit และจากค่ายที่ไม่ใช่ของทางการในโรงเรียนมัธยมปลายของรัฐหมายเลข2 ในเขตชุมชนดาลา


 


การละเมิดที่เกิดขึ้นได้แก่ การยึดทรัพย์และการไม่ให้ความช่วยเหลืออย่างถูกต้อง แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรายงานกว่า 40 กรณีเรื่องเจ้าหน้าที่รัฐยึดสิ่งของบรรเทาทุกข์ไป หรือกักไว้ไม่ยอมมอบให้กับผู้ประสบภัย



แม้ผู้นำระดับอาวุโสของ SPDC จะแถลงการณ์ตำหนิการกระทำเช่นนั้น แต่เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นก็ยังคงปฏิบัติเช่นนั้นได้โดยไม่มีการเอาผิดใดๆ ตัวอย่างเช่น แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ทราบคำให้การจากพยานว่าในวันที่ 26 พฤษภาคม พลตำรวจตรี U Luu Win ได้หยุดรถบรรทุก 48 คันที่บรรทุกสิ่งของบรรเทาทุกข์ภัยจากผู้บริจาคในพม่าที่สะพาน Pan Hlaing และในวันที่ 1 มิถุนายน ตำรวจก็ยังมิได้ปล่อยรถบรรทุกเหล่านั้นออกมา







 


ความเป็นมา
พายุไซโคลนนาร์กีส ได้ทำลายพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำอิรวดีเมื่อวันที่ 2 และ 3 พฤษภาคม ทำให้ผู้คนกว่า 130,000 คนเสียชีวิตหรือหายสาบสูญไป และ2.4ล้านได้รับผลกระทบจากมหันตภัยนี้อย่างรุนแรง หนึ่งเดือนหลังจากนี้ องค์การสหประชาชาติได้ประกาศว่าสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้เพียงแค่ 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น


 


ความวุ่นวายหลังพายุไซโคลนนาร์กีสเกิดขึ้นเพราะการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรงและยาวนาน SPDC ปล่อยให้นักโทษทางการเมืองกว่า 1,850 คนอยู่ในสภาพอันเลวร้าย นักเคลื่อนไหวที่เป็นแกนนำเกือบทั้งหมดยังคงอยู่ในคุกหรือหลบซ่อนตัวอยู่ การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายรัฐยังคงถูกข่มขู่ คุกคาม และจับกุม กว่าสองปีในทางตะวันออกของพม่า กองกำลังทหารได้ทำร้ายชาวกะเหรี่ยงอย่างมากมายโดยการทรมาน บังคับใช้แรงงาน และบังคับย้ายถิ่นฐาน


 


 



 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net