โพลล์ชี้กลุ่มพันธมิตรฯ นัดชุมนุม "น่าเป็นห่วง" คนกรุงส่วนใหญ่ "ไม่เห็นด้วย"

เมื่อวันที่ 15-17 มีนาคม 2551 ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็น ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร ในหัวข้อ "ประชาชนคิดอย่างไรกับการนัดชุมนุมของกลุ่มพันธมิตร" ซึ่งตัวแทนของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ประกาศให้ทราบว่าจะมการนัดชุมนุมกันในวันที่ 28 มีนาคม ที่จะถึงนี้

 

ด้วยสาเหตุดังกล่าว ศูนย์วิจัยกรุงเทพโพลล์ได้ออกสำรวจความคิดเห็นของประชาชนชาวกรุงเทพโดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) และสุ่มเขตการปกครองจำนวน 30 เขตจาก 50 เขต ทั้งเขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก ได้แก่ คลองเตย, คันนายาว, ดอนเมือง, ดินแดง, ตลิ่งชัน, บางกอกน้อย, บางกะปิ, บางขุนเทียน, บางเขน, บางแค, บางซื่อ, บางนา, บางบอน, บางพลัด, บางรัก, บึงกุ่ม, ปทุมวัน, ประเวศ, ป้อมปราบฯ, พญาไท, พระนคร, มีนบุรี, ราชเทวี, ลาดกระบัง, ลาดพร้าว, วัฒนา, สวนหลวง, สะพานสูง, สาทร, หลักสี่ โดยประชากรเป้าหมายอายุ 18 ปีขึ้นไป ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,214 คน เป็นเพศชายร้อยละ 46.4 และเพศหญิงร้อยละ 53.6 สรุปผลได้ดังนี้

 

(1) ประเด็นความรู้สึกต่อสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในปัจจุบัน คนกรุงเทพเห็นว่า "น่าเป็นห่วง" ร้อยละ 84.7 โดยแบ่งเป็น น่าเป็นห่วงมาก ร้อยละ 43.2, ค่อนข้างน่าเป็นห่วง ร้อยละ 41.5, ผู้เห็นว่า "ไม่น่าเป็นห่วง" ร้อยละ 15.3 โดยแบ่งเป็น ไม่น่าเป็นห่วงเลย ร้อยละ 5.3, ไม่ค่อยน่าเป็นห่วง ร้อยละ 10.0

 

(2) ความสนใจติดตามข่าวสารการนัดชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เพื่อเคลื่อนไหวทางการเมือง ในวันศุกร์ที่ 28 มีนาคมนี้ มีประชาชนที่ "สนใจติดตามข่าว" ร้อยละ 42.3 "ไม่สนใจติดตามข่าว" ร้อยละ 33.4 และ "ไม่ทราบข่าวนี้" ร้อยละ 24.3

 

(3) ความเห็นต่อการนัดชุมนุมครั้งนี้ มีผู้ที่ "เห็นด้วย" ร้อยละ 25.9 โดยเหตุผลประกอบส่วนใหญ่ระบุว่า การนัดชุมนุมของพัธมิตรฯ จะช่วยสอดส่องและตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และได้รู้ข้อเท็จจริงของปัญหาต่างๆ) ในขณะที่ "ผู้ไม่เห็นด้วย" ร้อยละ 57.4 ให้เหตุผลว่าจะเป็นการสร้างความวุ่นวาย และทำให้เกิดความแตกแยก ควรให้รัฐบาลทำงานนานกว่านี้ก่อน ส่วนผู้ที่ "ไม่แสดงความเห็น" มีร้อยละ 16.7

 

(4) ความคิดในการไปร่วมชุมนุมกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีผู้ระบุว่าจะ "ไปร่วมชุมนุม" ร้อยละ 5.1 "ไม่ไปร่วมชุมนุม" ร้อยละ 80.8 และ "ไม่แน่ใจ" ร้อยละ 14.1

 

(5) ประชาชนเชื่อว่าสาเหตุหลักของการนัดชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ในครั้งนี้ เกิดจาก "ความไม่พอใจการดำเนินงานของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา" ร้อยละ 20.5 "ความไม่พอใจการเดินทางกลับประเทศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" ร้อยละ 19.5 "การแย่งชิงผลประโยชน์และตอบโต้ทางการเมือง" ร้อยละ 15.5 "การสร้างสถานการณ์ ก่อกวนทางการเมือง" ร้อยละ 6.3 และ "ไม่ทราบ/ไม่แสดงความเห็น" ร้อยละ 38.2 ซึ่งคำถามข้อนี้เป็นคำถามปลายเปิดเพื่อให้ผู้ตอบระบุเอง

 

(6) "ใครคือผู้ที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเคลื่อนไหวและนัดชุมนุมในครั้งนี้" เป็นคำถามปลายเปิดอีกหนึ่งข้อที่ให้ผู้ตอบระบุเอง สรุปได้ว่า "ฝ่ายพันธมิตร แกนนำ และผู้ชุมนุม" ร้อยละ 30.2 "ประชาชนและประเทศชาติ" ร้อยละ 21.9 "พรรคประชาธิปัตย์" ร้อยละ 3.0 "ผู้ที่เสียผลประโยชน์ทางการเมือง" ร้อยละ 1.4 "รัฐบาล" ร้อยละ 1.2 "ไม่มีใครได้ประโยชน์" ร้อยละ 6.1 และ "ไม่ทราบ ไม่มีความเห็น" ร้อยละ 36.2

           

(7) สิ่งที่อยากฝากถึงกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) "ยังไม่ควรมีการชุมนุม" เพราะประเทศชาติเสียหาย ร้อยละ 41.7 "ให้เจรจาอย่างประนีประนอม สมานฉันท์" ร้อยละ 13.4 "ให้ชุมนุมโดยสงบ อย่าใช้ความรุนแรง" ร้อยละ 12.1 "เป็นกำลังใจให้ ชุมนุมต่อไปเพื่อประชาธิปไตย" ร้อยละ 9.3 "ไม่มีอะไรจะฝาก" ร้อยละ 5.1 และ ไม่ทราบ ไม่มีความเห็น" ร้อยละ 18.4

                       

(8) สิ่งที่รัฐบาลควรปฏิบัติต่อเรื่องนี้ (เป็นคำถามปลายเปิดให้ผู้ตอบระบุเอง) อันดับแรก ติดตามสถานการณ์ และปฏิบัติต่อผู้ชุมนุมอย่างถูกต้องเป็นธรรม ร้อยละ 38.3 อันดับสอง รับฟังข้อมูลจากการชุมนุมแล้วนำไปปรับปรุงการทำงาน ร้อยละ 13.2 อันดับสาม ใช้มาตรการที่เข้มงวด เพื่อควบคุมการนัดชุมนุม ร้อยละ 12.8 อันดับสี่ หาทางเจรจาตกลงกันโดยสันติวิธี ร้อยละ 6 อันดับห้า ให้อิสระในการชุมนุมตามวิถีทางประชาธิปไตย ร้อยละ 4.4 และ "ไม่ทราบ-ไม่มีความเห็น" ร้อยละ 24.8

 



























ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์


เพศ


จำนวน 


ร้อยละ


            ชาย


563


46.4


            หญิง


651


53.6


 


 


 


อายุ


 


 


            18-25 ปี


393


32.4


            26-35 ปี


351


28.9


            36-45 ปี


259


21.3


            46 ปีขึ้นไป


211


17.4


 


 


 


การศึกษา


 


 


ต่ำกว่าปริญญาตรี


492


40.5


ปริญญาตรี


626


51.6


สูงกว่าปริญญาตรี


96


7.9


 


 


 


อาชีพ


 


 


           ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ


123


10.1


           พนักงาน/ลูกจ้างบริษัทเอกชน


377


31.1


           ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว


247


20.3


           รับจ้างทั่วไป                                


180


14.8


           นิสิต นักศึกษา                                         


212


17.5


           อื่นๆ เช่น พ่อบ้านแม่บ้าน เกษียณอายุ


75


6.2

       

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท