บทความ ซีแอล: มาตรการยาสินค้าคุณธรรม

ชาญณรงค์ วงค์วิชัย
ผู้ประสานงานคณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์

 

"บ้านผมรวยกว่าบริษัทยาอีก ไปดูที่บ้านผมได้"
"ถ้าเป็นผม ผมจะไปกินดอกไม้จันทน์แทน ... ฯลฯ"
(คำสัมภาษณ์ รมต.กระทรวงสาธารณสุข ไชยา สะสมทรัพย์ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551)

 

จากคำกล่าวหรือการให้สัมภาษ์ของ รมต.สาธารณสุข ไชยา สะสมทรัพย์ นั้นทำให้เกิดกระบวนการคิดบางอย่าง จริงแล้วเจ้ากระทรวงนั้นเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน จากคำสัมภาษณ์ซึ่งเป็นการตอบภาคประชาสังคมก็เป็นส่วนหนึ่งที่แสดงความคิดของท่านต่อกระบวนการซีแอล ซึ่งเราเข้าใจว่าบ้านท่านรวยกว่าบริษัทยา แล้วคำถามที่ตามมาสำหรับคนจนที่ไม่สามารถเข้าถึงยาหละ หรือ แม้กระทั่งการเข้าไม่ถึงยาของพวกเรานั้น โทษฐานที่ท่านให้คือ ดอกไม้จันทร์กระนั้นหรือ?

จริงแล้วกระบวนการซีแอล หรือ Compulsory Licensing หรือมาตรการบังคับใช้สิทธิ ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งตาม พรบ.สิทธิบัตร พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2 ) พศ. 2535 และ (ฉบับที่ 3) พศ.2542 และเป็นไปตามปฏิญาโดฮา (Doha Declaration on Trips and Public Health) ตามข้อตกลง TRIPS (Trade Relate Intellectual Property Rights) ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ที่ให้อำนาจแก่ประเทศสมาชิกผลิตหรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ยาที่ติดสิทธิบัตรได้หากเกิดความจำเป็นเร่งด่วน เกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขขึ้นในประเทศ หรือ เพื่อประโยชน์สาธารณะที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ จากเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นข้อยืนยันยาคือสินค้าคุณธรรมที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจด้วย เพราะนี่คือบทหนึ่งของชีวิต

ดังนั้นเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2551 มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ประเทศไทย คณะกรรมการองค์การพัฒนาเอกชนด้านเอดส์ (กพอ.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชมรมมะเร็ง และเครือข่ายผู้ป่วยเรื้อรัง ภาคประชาสังคมต่างๆ ได้เข้าพบ รมต.สาธารณสุข เนื่องจากทราบว่ากระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินกระบวนการยกเลิกซีแอล โดยเหตุผลที่ให้คือ "ได้รับหนังสือจากกระทรวงพาณิชย์ เลขที่หนังสือ พณ.07003/FTA/5 ลงวันที่ 30 มกราคม 2551 ลงนามโดยอดีต รมต.พาณิชย์ นายเกริกไกร จีระแพทย์ ในเนื้อความจดหมายอ้างถึง ตามที่ประเทศไทยควรทบทวนกระบวรการดำเนินการเรื่อง CL เพราะส่งผลกระทบในเศรษฐกิจภาพรวม ทั้งยังประเทศไทย จากประเทศที่ถูกจับตามอง PWL จะกลายเป็นประเทศที่ถูกจับตามองสูงสุด PFC (Priority Foreign Country) ซึ่งเป็นการเสนอโดยสมาคมพรีม่า เสนอ USTR ให้เลือกไทยส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศไทยมากมายมหาศาล" และยามะเร็งเป็นเพียงกลุ่มคนจำนวนน้อย เราต้องดูประเทศเป็นหลัก มากว่าที่จะต้องตกเป็นเครือมือใคร

ทั้งนี้เครือข่ายภาคประชาสังคมได้ให้เหตุผล และยังยืนยันในหลักการ 3 ข้อ ซึ่งเสนอแก้ รมต. สาธารณสุข คือ


  1. ไม่ควรยกเลิกมาตรการใช้สิทธิตามสิทธิบัตร โดยรัฐกับยามะเร็งที่ได้ประกาศไปแล้ว ถ้ายังไม่มาตรการช่องทางใดที่ดีกว่า

  2. การหามาตรการอื่นมาทดแทน ควรเป็นกระบวนการที่ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม

  3. การประกาศหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบด้านและมีข้อมูลที่ครอบคลุมมากขึ้น ก่อนประกาศนโยบายใดๆ

(จดหมายภาคประชาชน ยื่อต่อ รมต.สาธารณสุข 8 กุมภาพันธ์ 2551)

แต่จากข้อมูลนั้นสิ่งที่น่าสนใจ และเป็นข้อมูลที่ขัดแย้งกับ รมต.สาธารณสุขคือ โรคที่ทำให้คนไทยเสียชีวิตอันดับหนึ่ง คือ โรคมะเร็ง จากข้อมูลประเทศไทยผู้ป่วยโรคมะเร็งเสียชีวิต ประมาณปีละ 3 หมื่นกว่าคน ป่วยแกประมาณปีละ 1 แสนคนต่อปี และการรักษาโรคมะเร็ง มีกระบวนการทั้งเคมีบำบัด หรือ การรักษาแบบมุ่งเป้า (Drugs for Tageted Cell Therapy) ตามที่หนังสือ รัฐมนตรีกระทวงสาธารณสุข ที่ สปสช.05/013521 ลงวันที่ 25 กันยายน 2550 เรื่องการดำเนินการเรื่องยามะเร็ง 4 รายการ โดยมอบหมายให้คณะกรรมการสนับสนุนการดำเนินการเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรโดยรัฐ โดยต่อมามีการประชุมในคณะกรรมการชุดดังกล่าวและมีมติการประชุม 7/2550 วันที่ 2 ตุลาคม 2550 เสนอ รมต.สาธารณสุข ทำซีแอล ยา 4 รายการ ประกอบด้วย

·         ยา Docetaxel (ชื่อทางการค้า Taxotere) ใช้รักษามะเร็งหลายชนิด เช่น ปอด เต้านม ยาที่มีสิทธิบัตรราคาถึง 2.5 หมื่นบาทต่อเข็ม ขนาด 80 มก. ขณะที่ยาชื่อสามัญที่มีคุณภาพเดียวกันราคาเพียง 4 พันบาท เท่านั้น ต่างกันถึง 6 เท่า

·         ยา Letrozole (ชื่อทางการค้า Femara) ใช้รักษามะเร็งเต้านม ราคาต่อเม็ด 230 บาท ใช้วันละ 1 เม็ด จ่าย 6 กว่าบาทต่อเดือน ยาชื่อสามัญราคาเม็ดละ 6-7 บาท ต่างกัน 30 เท่า

·         ยา Erlotrinib (ชื่อทางการค้า Tarceva) รักษามะเร็งปอด ราคา 2.75 พันบาทต่อเม็ด ใช้วันละ 1 เม็ด 8.25 หมื่นต่อคนต่อเดือน ยาสมัญราคา 735 ต่อเม็ด ต่างกันเกือบ 4 เท่า

·         ยา Tmtinib (ชื่อทางการค้า Glivec) รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว และ มะเร็งทางเดินอาหาร ขนาด 100 มก. ราคา 917 ต่อเม็ด ขนาด 400 มก. ราคา 3.6 พันบาทต่อเม็ด และการใช้ต้องใช้อย่างน้อย 400 มก. ทุกวัน และยืดอายุผู้ใช้ได้ราว 2 ปี การใช้เฉลี่ยต่อปีเป็นเงิน 1.3 ล้านบาท ต่อคนต่อปี ขณะที่ยาสมัญ 100 มก. ราคา 50-70 บาท

(นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551)

แน่นอนที่สุดภาคประชาสังคมต้องดำเนินการควบคู่กับ รมต.สาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง เพราะบทหนึ่งที่ต้องทำ คือ ยาคือสินค้าคุณธรรม และทุกคนมีสิทธิที่ต้องดำรงชีวิตอยู่ หากมองย้อนกระบวนการเรื่องซีแอลเป็นกระบวนการที่ดำเนินมา พร้อมกับเครือข่ายผู้ป่วย และองค์กรภาคประชาสังคม คงต้องบอกว่าการดำเนินนโยบายใดๆ ก็ตามควรคิดว่า ข้อมูลรอบด้านเพียงพอหรือไม่ รวมถึง การมองให้เห็นมิติของชีวิตผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา ยามะเร็งเป็นตัวอย่างที่สำคัญ เพราะข้อมูล รมต. สาธารณสุขยังบอกว่าเป็นคนส่วนน้อย แต่เมื่อดูตัวเลขอย่างแท้จริง ราคาที่เกิดขึ้นนั้น คงบอกว่า ท่านคงต้องทบทวน หรือจะเป็นดังคำตะโกนก้องเรื่องซีแอลใต้ห้องโถงสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขว่า "ซีแอลถูกต้อง, ซีแอลถูกใจ, ซีแอลถูกกฏหมาย" ซึ่งท่านไม่เข้าใจเลย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท