Skip to main content
sharethis

ทิพย์อักษร มันปาติ


สำนักข่าวประชาธรรม


 


ในขณะที่สภาพการเมืองยังคงไม่ลงรอยว่าพรรคใดจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำการบริหารประเทศ ในปี 2551 หลังจาก 1 ปี ภายใต้รัฐบาลชั่วคราว คมช. โครงการพัฒนาต่างๆ ที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานมาก่อนหน้านั้นอาจมีการชะลอออกไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ชะงักงันเสียทีเดียว โครงการใหญ่ๆ ยังคงถูกผลักไปข้างหน้าทีละเล็กละน้อย เพียงรอจังหวะโอกาสเหมาะสม ให้บ้านเมืองมีประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 .. 2550 เสียก่อน การสานต่อโครงการขนาดใหญ่จะยิ่งมีความชอบธรรมมากกว่าการผลีผลามทำในยุคที่บ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่เป็นประชาธิปไตย



โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด เป็นหนึ่งในโครงการเม็กกะโปรเจ็คที่ถูกวางแผนกันมาตั้งแต่สมัยนายกรัฐมนตรี พล..ชาติชาย ชุณหะวัณ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคชาติพัฒนา ที่ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อ 12 .. 2535 โดยกลุ่มนักการเมืองกลุ่มหนึ่ง ภายหลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 หลังจากได้รับเลือกเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2535 พรรคชาติพัฒนาได้วางแนวทางนโยบายการพัฒนาประเทศ โดยริเริ่มและสานต่อโครงการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคต่างๆ จนเกิดเป็นรูปธรรม เช่น โครงการเปิดประตูสู่อินโดจีนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โครงการสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจบริเวณภาคเหนือ โครงการอิสเทิร์นซีบอร์ดในภาคตะวันออกและโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดของภาคใต้



หลักสำคัญของการพัฒนาโครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ดเอื้ออำนวยโดยปัจจัยของ Landbridge ซึ่งเป็นระบบการขนส่งที่เชื่อมต่อระหว่างท่าเรือน้ำลึก 2 ท่า โดยทางเชื่อมต่อความเร็วสูง เช่น ถนน รางรถไฟ และท่อส่งน้ำมันข้ามระหว่างชายฝั่งภาคพื้นดินของประเทศไทย ดังนั้นการก่อกำเนิดของโครงสร้างแบบ Landbridge นี้จึงเป็นปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อ โครงสร้างการคมนาคมเพื่อเปิดเส้นทางสู่การค้าขายระหว่างประเทศ (http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/56/20040641t06.doc)


 


 


เซาเทิร์นซีบอร์ด-ย้ายฐานอุตสาหกรรมสกปรกลงใต้?


ทั้งนี้ โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้หรือที่เรียกกันว่า โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด เป็นโครงการนำร่องที่รัฐมุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้สู่ความทันสมัย ให้ความสนใจต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งในบริบทของการขนส่งสินค้าทางทะเล พัฒนาการประมง พัฒนาอุตสาหกรรม และการส่งเสริมการท่องเที่ยว (ดร.สุดจิต เจนนพกาญจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นาวาโท ดร.อนุชา ม่วงใหญ่ หัวหน้าควบคุมการศึกษา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ อ้างใน กรณีศึกษา การศึกษาการพัฒนาภาคใต้: เกาะปันหยี อำเภอเมือง จังหวัดพังงา)



ที่ผ่านมา เซาเทิร์นซีบอร์ดเป็นโครงการน้ำนิ่งไหลลึกอยู่นาน จนกระทั่งในช่วงปี 2550 ได้ถูกนำมาพิจารณาเพื่อขยายฐานรองรับอุตสาหกรรมหนัก หลังจากที่ อีสเทิร์นซีบอร์ด ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด เกิดปัญหามลพิษรุนแรง และพื้นที่การพัฒนาอุตสาหกรรมแออัดเต็มทนมากแล้ว ทั้งนี้ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ประกอบด้วยโรงงานทั้งหมด 59 โรง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นอุตสาหกรรมหนักที่อันตรายและก่อมลพิษสูง ประเภทอุตสาหกรรมส่วนใหญ่คือปิโตรเคมี มีจำนวน 32 โรง อุตสาหกรรมเคมีและปุ๋ยเคมี 7 โรง และอีก 8 โรงเป็นอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า โรงงานหลายแห่งเป็นการลงทุนจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป และไต้หวัน รวมเงินลงทุนของอุตสาหกรรมทั้งหมดประมาณ 370,000 ล้านบาท มีคนภายในนิคมฯ ทั้งสิ้นประมาณ 11,500 คน (ย้อนรอย….นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด 2550, www.tjanews.org)

ในขณะที่อุตสาหกรรมเป้าหมายในโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ด จะยังคงให้ความสำคัญเป็นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพต่อเนื่องในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมไฟฟ้า พลังงาน อาหาร ปิโตรเคมี และเหล็ก นอกจากนี้ นายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังเคยออกมาเปิดเผยว่า พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นภายใต้เซาเทิร์นซีบอร์ดจะเน้นรับการลงทุนอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เพื่อให้เกิดศักยภาพสูงสุดในการดึงนักลงทุนอีกด้วย (มติชน, 8 มิถุนายน 2550)



นายสุพจน์ จริงจิต ผู้ศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ และโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
3 ฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงประเทศไทยเป็นอุตสาหกรรมเริ่มจากอีสเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งตั้งอยู่ที่มาบตาพุด โดยการวางแผนอีสเทิร์นซีบอร์ด และแผนเซาเทิร์นซีบอร์ด มีไจก้า ประเทศญี่ปุ่น (ไจก้า - องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น) เป็นผู้ศึกษา กล่าวคือ หลังจากมีการวางแผนอีสเทิร์นซีบอร์ดเสร็จแล้ว ก็นำมาสู่การทำแผนเซาเทิร์นซีบอร์ดต่อ โดยมีไจก้า เป็นผู้ทำการศึกษา ทั้ง 2 แผน ฉะนั้นจึงไม่แปลกที่อีสเทิร์นซีบอร์ดจะเป็นแหล่งรองรับอุตสาหกรรมสกปรกที่ย้ายฐานมาจากญี่ปุ่น



ทั้งนี้ เซาเทิร์นจึงถูกวางให้เป็นแผนพัฒนาเรื่องน้ำมันมาตั้งแต่ต้นโดยมีไจก้าเป็นผู้ศึกษา โดยในขณะที่ไจก้ากำลังศึกษาแผนเซาเทิร์นซีบอร์ดของไทย ไจก้าก็แอบไปศึกษาเศรษฐกิจสามเหลี่ยม IMT-GT ให้กับพื้นที่ทางภาคเหนือตอนบนของมาเลเซีย ต่อมาในปี 2536 จึงนำไปสู่การเสนอให้เป็น 3 เหลี่ยมเศรษฐกิจ IMT-GT ตอนนั้นไทยยังไม่รู้ จนกระทั่งในปี 2536 รัฐบาลของนายกฯ ชวน หลีกภัย เดินทางไปเยี่ยมมาเลเซีย นายกฯ มหาธีร์ โมฮัมหมัด ก็ชวนทำสามเหลี่ยมเศรษฐกิจ ในขณะที่แผนเซาเทิร์นซีบอร์ดของไทยยังไม่ขยับ พอนายกฯ มหาธีร์ ชวนไทยทำ IMT-GT ประเด็นที่สำคัญที่มาจากการศึกษาของญี่ปุ่นอีกก็จะถูกบรรจุไว้ใน IMT-GT ด้วย คือเรื่องของน้ำมัน



"ตอนที่ไจก้าไปศึกษาแผนเศรษฐกิจสามเหลี่ยม IMT-GT ทางภาคเหนือตอนบนให้กับมาเลเซีย ไทยไม่รู้เรื่องเลย แต่เมื่อเราจับจากฐานตรงนี้และดูจากพฤติกรรมของไจก้า กับอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นที่อีสเทิร์นซีบอร์ดนั้น ก็กล่าวได้ว่าทั้งหมดจากการที่ไทยให้ไจก้าไปศึกษานั้น ผลที่สุดแล้วแผนพัฒนาทั้งหมดก็จะไปสอดรับกับทุนโลก โดยเฉพาะทุนญี่ปุ่นที่จะเข้ามาใช้ฐานประเทศไทยทำอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราเห็นในอีสเทิร์นซีบอร์ด ก็เป็นผลประโยชน์ของญี่ปุ่น เพราะญี่ปุ่นเข้ามาเรื่องท่อน้ำมัน ตรงนี้เป็นสิ่งที่ญี่ปุ่น และรวมทั้งประเทศจีน ใฝ่ฝันมากที่สุดก็คือการมีท่อน้ำมันข้ามภาคใต้ เพราะจะเป็นหลักประกันในการขนถ่ายน้ำมันถ้าหากว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นที่มะละกา" นายสุพจน์ กล่าว


 


  


 


สัดส่วนการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทย


ที่มา : การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย




นายสุพจน์ กล่าวต่อว่า สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ จะมีเรื่องน้ำมัน ท่อก๊าซ การกำหนดพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ระหว่างภาคเหนือของมาเลเซียมาชนกับภาคใต้ของไทย
ในแถบ อ.นาหม่อม อ.จะนะ .สงขลา เมื่อรวมแล้วก็จะเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ประเด็นที่ญี่ปุ่นไม่เคยทิ้งเลยสำหรับตรงนี้ก็คือการมีท่อน้ำมัน ในขณะที่ที่ผ่านมาไทยไม่ยอมเอาด้วย สาเหตุก็เพราะว่า เมื่อทำเซาเทิร์นซีบอร์ดแล้วไทยจะมีท่อน้ำมัน ในขณะเดียวกันก็จะยังมีท่อน้ำมันเกิดขึ้นที่สามเหลี่ยมเศรษฐกิจจากรัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ต่อท่อน้ำมันมาออกที่ฝั่งอ่าวไทย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เซาเทิร์นซีบอร์ดในไทยไม่คืบหน้า เพราะไทยขอสงวนเรื่องท่อน้ำมันมาโดยตลอด ในขณะที่การเข้ามาของญี่ปุ่นโดยผ่านธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งชาติเอเชีย หรือ เอดีบี ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็พยายามผลักดันที่จะให้มีท่อน้ำมันมาโดยตลอด



"จะเห็นได้ว่าญี่ปุ่นเข้ามามีบทบทสูงมากในเซาเทิร์นซีบอร์ด และการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ของไทยและตอนเหนือของมาเลเซีย โดยที่เรื่องพลังงานนั้นญี่ปุ่นผนวกกับจีนโดยให้จีนเป็นคนออกหน้าตลอด นี่คือเหตุผลว่าทำไมพื้นที่ภาคใต้จึงมีความสำคัญในการพัฒนาแผนเซาเทิร์นซีบอร์ด ซึ่งก็เพราะว่าที่อีสเทิร์นซีบอร์ด ทั้งจีนและญี่ปุ่นก็ต้องการให้เป็นพื้นที่ขนถ่ายน้ำมัน เพื่อเป็นหลักประกันหากที่มะละกามีปัญหา เพราะ 1.ที่ช่องแคบมะละกามันคับคั่ง 2.หากเขตมะละกามีปัญหาทางการเมืองอะไรขึ้นมา เขาก็จะได้มีเส้นทางนี้เป็นจุดขนถ่ายน้ำมัน" นายสุพจน์ กล่าว



ในขณะที่เซาเทิร์นซีบอร์ดไม่เกิดสักที สามเหลี่ยมเศรษฐกิจก็ขยับก่อน เมื่อสามเหลี่ยมขยับโครงการต่างๆ ก็ตามมา ถึงแม้ว่าเรื่องท่อน้ำมัน ไทยจะยังคงขอสงวนเอาไว้อยู่และยังไม่เกิดก็ตาม แต่โครงการที่จะนำไปสู่แผนพัฒนาขนาดใหญ่ ระหว่างพื้นที่ทางภาคเหนือของมาเลเซียและภาคใต้ของไทย ก็มีความพยายามผลักดันให้เกิด ปัจจัยสำคัญของอุตสาหกรรมคือ พลังงาน เพราะอุตสาหกรรมต้องบริโภคไฟฟ้า และน้ำมัน ถ้าไม่มีปัจจัยเหล่านี้ นิคมอุตสาหกรรมก็เกิดไม่ได้ ฉะนั้นสิ่งที่รัฐไทยและรัฐมาเลเซียจับมือกันก็คือ เรื่องท่อก๊าซ (เพราะเมื่อไม่ได้ท่อน้ำมัน ก็เอาท่อก๊าซแทน) โดยที่การเกิดขึ้นของท่อก๊าซเรียกได้ว่าเป็นโครงการหัวหอก ของแผนพัฒนาภาคใต้ซึ่งจะมีโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ ตามมาอีก ดังนั้น ก็ไม่แปลกที่รัฐบาลไทยไม่ยอมฝ่ายที่คัดค้านโรงไฟฟ้าจะนะ แม้ว่าฝ่ายค้านจะเข้มแข็งอย่างไรก็ตาม เพราะว่าการมีโรงไฟฟ้าคือความจำเป็นสูงสุดที่จะพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นเขตอุตสาหกรรม



อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมารัฐไทยมีความพยายามผลักดันเซาเทิร์นซีบอร์ดขึ้นมาอีก เพื่อเตรียมตัวจะเป็นฮับน้ำมัน (HUB) คือ การทำท่อน้ำมันเชื่อมระหว่าง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช เชื่อมกับ จ.พังงา อ.ทับละมุ ซึ่งตรงนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ว่า 3 จังหวัดชายแดนใต้กำลังวุ่นๆ แต่ถึงที่สุดแล้ว ความฝันตรงนี้ก็สลาย เพราะว่ามันเกิดสึนามิ คือ ตอนแรกมันก็ยุ่งยากอยู่แล้ว ถูกตั้งคำถามเรื่องความคุ้มทุนกันอยู่ จากทั้งจีน และญี่ปุ่น ที่ต้องการเข้ามาลงทุนเรื่องการขนส่งน้ำมัน รวมทั้งประเทศแถบตะวันออกกลาง ด้วย แต่ว่าโครงการก็ดูเหมือนว่าจะเคลื่อนไปได้ จนในที่สุดเกิดคลื่นสึนามิ ก็ทำให้ญี่ปุ่นถอนตัวทันที เพราะญี่ปุ่นถือว่าพื้นที่นี้ไม่ปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมการขนถ่ายน้ำมันทางท่อ จีนก็ฝันสลาย ในการที่จะให้มีท่อน้ำมันในทางตอนกลางของภาคใต้จากฝั่งอันดามันมาสู่อ่าวไทย ก็จบเลย ทำให้โครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดตายมานาน จนกระทั่งเกิดปัญหาที่มาบตาพุด เซาเทิร์นซีบอร์ดจึงถูกหยิบมาปัดฝุ่นอีก



"ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงหลังสุดที่มาบตาพุดซึ่งเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ที่ผ่านมาเจออุตสาหกรรมขยะเยอะ ไม่สามารถจะขยายตัวเต็มที่แล้ว ฉะนั้น เซาเทิร์นซีบอร์ดก็ถูกหยิบนำมาปัดฝุ่นอีกครั้ง จะโยกย้ายอุตสาหกรรมหลัก คือ ปิโตรเคมี ซึ่งการปิโตรเคมีต้องอาศัยโรงกลั่น และมีอุตสาหกรรมอีกหลายอย่างตามมา แต่ภาคใต้ตอนกลางเกิดท่อน้ำมันขึ้นไม่ได้เพราะเกิดคลื่นสึนามิทำให้ต่างประเทศถอนการลงทุน จึงมีแนวโน้มว่า จุดที่เหมาะสมที่สุดและมีความเป็นไปได้คือ การย้ายลงมาทำที่แถวๆ อ.จะนะ เพราะว่าปัจจุบันนี้มีโรงแยกก๊าซอยู่แล้ว ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญ" นายสุพจน์ กล่าว


 


แผนพัฒนาเศรษฐกิจที่คนไม่กี่กลุ่มได้ประโยชน์
เมื่อเดือนธันวาคม 2550 คณะกรรมการสภาธุรกิจชายแดนภาคใต้ ได้จัดประชุมแผนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ IMT-GT โดยที่ประชุมเห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี เป็นผู้รับศึกษาแนวเศรษฐกิจดังกล่าว โดยให้ศึกษาวิเคราะห์ในระดับลึกถึงภาคการขนส่ง การพัฒนาโลจิสติกส์ การพัฒนาด้านท่าเรือและการขนส่งทางน้ำ เพื่อเชื่อมเส้นทางเดินเรือและการขนส่งในพื้นที่ IMT - GT พร้อมทั้งสนับสนุนด้านแหล่งเงินทุนและวิชาการต่อโครงการสำคัญตามแผนที่นำทางดังกล่าวด้วย (ประชาไท, 6 ธันวาคม 2550)


อีกทั้งเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2550 ที่ผ่านมา ยังมีเสียงสนับสนุนจาก ม...ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผู้ดูแลภาพรวมด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในยุครัฐบาล คมช. ก่อนที่จะยื่นใบลาออกจากตำแหน่งในเวลาต่อมา กล่าวสบทบอีกคำรบหนึ่งในงานสถาบันเสวนาทางวิชาการในหัวข้อ "อนาคตไทย : ความหวังคำตอบ ที่พ้นจากกรอบการเมืองน้ำเน่า" โดยการออกมาเสนอให้รัฐบาลชุดหน้าเร่งมือดำเนินโครงการเขตอุตสาหกรรมใหม่ เพราะอีสเทิร์นซีบอร์ดพื้นที่อุตสาหกรรมเต็มหมดแล้ว และเสนอให้มีการนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามาที่ จ.กระบี่ หรือ จ.พังงา แล้วส่งน้ำมันผ่านท่อใต้ดินมาเข้าโรงกลั่นที่ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อว่าหากทำเช่นนี้ได้จะเท่ากับว่ายกสิงคโปร์มาไว้ในประเทศไทย



ในขณะที่ความเป็นห่วงในทิศทางการพัฒนาที่เน้นรายได้ทางเศรษฐกิจเป็นหลักแบบนี้ คนที่ได้ประโยชน์กลับเป็นคนไม่กี่กลุ่มเช่นเดิม อีกประการหนึ่งที่ต้องถามถึงคือ แผนของการพัฒนาอย่างยั่งยืน คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งผลประโยชน์ของประชาชนทุกภาคส่วนที่จะเข้ามาร่วมกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ ถูกพูดถึงและมีการเตรียมการไว้พร้อมอย่างจริงจังด้วยหรือไม่



นายสุพจน์ กล่าวว่า เมื่อท่อก๊าซที่ อ.จะนะ จ.สงขลา เกิดขึ้นได้ โครงสร้างพื้นฐานทุกอย่างก็จะตามมาทันที เช่น ถนนหนทางเพื่อการขนถ่ายสินค้า ท่าเรือน้ำลึกปากยาราเพื่อการเปลี่ยนถ่ายสินค้า การเตรียมการทำท่าเรือน้ำลึกสงขลา เพราะเมื่อไม่สามารถจะขยายท่าเรือน้ำลึกสงขลาในที่เดิมได้ก็จะมาทำแห่งที่ 2 แถวๆ อ. จะนะ จ.สงขลา เพราะวัตถุดิบในปิโตรเคมีที่สำคัญ คือโรงกลั่นกับโรงแยกก๊าซ จึงคาดการณ์ว่าอาจจะมีความเป็นไปได้ว่าพื้นที่ในการพัฒนาเซาเทิร์นซีบอร์ด จะมาลงอยู่แถวๆ อ.จะนะ ผนวกรวมกับ IMT-GT ซึ่งถ้าท่อก๊าซไม่เกิด โครงการเหล่านี้ก็ไม่เกิด เพราะถ้าเกิดขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะขนถ่ายสินค้าไปไหน



นายสุพจน์ กล่าวเสริมว่า ข้อเท็จจริงในหลายๆ เรื่อง ไทยเองก็ได้ประโยชน์จากการพัฒนา เช่น การพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยีขึ้นมา วันนี้ไทยได้มีความรู้ต่างๆ จากการร่วมมือนี้จริง แต่ว่าอัตราความเร็วในการเรียนรู้หรือการได้รับการถ่ายทอดความรู้นั้นมันสมดุลหรือไม่ มันช้าไปหรือไม่ มันน้อยไปหรือเปล่า อันนี้ต้องมาดูในรายละเอียด แต่ถามว่าคนไทยมีการพัฒนาจากการร่วมมือตรงนี้หรือไม่นั้น ก็มี นี่คือพูดอย่างเป็นธรรม แต่ว่ามันสมดุลหรือเปล่าล่ะ? ความรู้ที่ควรจะถ่ายทอดให้เรา 100% เขาถ่ายทอดให้เราจริงแค่ 20% ใช่หรือไม่ ต้องมาดูในรายละเอียด แต่ถามว่าเราได้ประโยชน์หรือไม่ เราก็ได้ ซึ่งหลายๆ เรื่องในอดีตเราไม่มีความรู้เลย แต่ปัจจุบันคนของเราก็มีความรู้ อีกทั้งหลายเรื่องในอดีตเป็นเรื่องเกินฝันของเรา แต่ปัจจุบันเราก็ทำเองได้ เป็นต้น แต่ขอย้ำว่าไม่ได้เห็นด้วยกับการพัฒนาแบบนี้ แต่มองต้องมองทั้ง 2 ทาง ไม่ใช่ไม่เห็นด้วยแล้วด่ากราด ต้องมองให้เห็นข้อดีของเขา แต่ข้อดีนั้นอยู่ในระดับที่รับได้หรือไม่นั้น ก็ต้องมาดูกันอีกที



ถ้าจะพัฒนาโดยการเอาทรัพยากรทั้งหมดมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสมมติว่าประโยชน์สูงสุดของการใช้ทรัพยากรคือ 100 บาท ประเด็นคือ การกระจายรายได้ แบบไหนที่จะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจนได้มากกว่า ระหว่าง 1.เลือกประโยชน์สูงสุดของการใช้ทรัพยากรคือ 100 บาท ปรากฏว่า 90 บาท คือผลประโยชน์ของคนกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจจะไปอยู่ต่างประเทศหรือในประเทศก็แล้วแต่ แต่เหลือผลประโยชน์ไว้ให้อีก 10 บาท เพียงกระจุกเดียวที่กระจายอยู่ในพื้นที่ และ 2.ยอมที่จะไม่เอาประโยชน์สูงสุด 100 บาท แต่เลือกเอาประโยชน์แค่ 60-70 บาท แต่จะมี 20-30 บาท เป็นเงินที่กระจายอยู่ในพื้นที่ โดยที่ลักษณะการใช้ทรัพยากรคงทน ยั่งยืน ยาวนาน ฟื้นฟูได้ กินไปได้ยาวๆ เป็นร้อยปี กินแล้วฟื้นกลับได้เรื่อยๆ จะเหมาะกว่าหรือไม่?



"ในขณะที่การได้ผลประโยชน์เต็มร้อยบาทก็จริง ทำให้มีโรงพยาบาลดีๆ มีถนนหนทางดีๆ ไปโน่นมานี่ได้สะดวกจริง แต่พอได้ร้อยบาทเสร็จ ทรัพยากรที่มีอยู่หายไปหมดเลย ฟื้นฟูไม่ได้ อันไหนเราควรจะเลือกมากกว่า นี่คือทิศทางที่ผมไม่เห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และที่รู้อย่างหนึ่งจากการศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้ ก็คือ การพัฒนาแบบนี้ผลประโยชน์อยู่ในวงจำกัดและสร้างปัญหาให้กับสังคมไทยเยอะ ซึ่งข้อเท็จจริงดูเหมือนว่าคนไทยจะสะดวกสบายขึ้น มีถนน หนทาง สามารถไปโรงพยาบาล ไปโรงเรียน ได้สะดวกมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันถามว่า ข้อดีตรงนั้นมันครอบคลุมกับความสูญเสียหรือไม่? ในขณะที่การสูญเสีย และสิ่งที่สูญเสียไปแล้วนั้นถูกดูดไปไว้เฉพาะกับคนกลุ่มหนึ่ง มันไม่ถูกกระจายอย่างทั่วถึง นั่นคือปัญหา ถึงแม้ว่าคนไทยดูเหมือนจะได้รับความสะดวกขึ้นก็จริง แต่เป็นความสะดวกสบายในท่ามกลางความเสียหาย ซึ่งทำให้หลายๆ คนยิ่งหมดโอกาสและด้อยโอกาสลงไป ตรงนี้เป็นปัญหาใหญ่" นายสุพจน์กล่าวย้ำ



ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหน ทิศทางการพัฒนาของประเทศไทย ยังมุ่งเน้นไปข้างหน้าเพื่อเศรษฐกิจเป็นหลัก ในขณะที่ผลกระทบจากแนวคิดพัฒนาแบบนี้ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสียหายไปอย่างมหาศาล ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่จำเป็นต้องพึ่งพาต้นทุนการผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติต้องเป็นผู้แบกรับภาระต่อไป โดยที่รายได้ก้อนโตถูกกระจายไปถึงมือคนแค่จำนวนหยิบมือ เป็นคนบางกลุ่มก้อนที่ฉกฉวยเอาทรัพยากรสาธารณะไปสร้างเม็ดเงินและผลกำไรให้ตัวเอง แล้วนั่งเสวยความสุข และลอยตัวอยู่เหนือปัญหาแทบทั้งปวงมาจนบัดนี้



ในเวลานี้เราคงต้องกลับไปนั่งคิดดูกันให้ดีๆ คิดกันหลายๆ ตลบกับคำถามพื้นๆ ที่ว่า การพัฒนาของประเทศไทยจากยุคโน้นถึงยุคปัจจุบัน ทำเพื่อคนทั้งประเทศให้อยู่ดีกินดีจริงหรือ? อย่าให้นโยบายการพัฒนาประเทศถูกพรรคการเมืองเป็นผู้กำหนดอยู่ฝ่ายเดียวเหมือนเช่นที่ผ่านมา


 


 


 


ข้อมูลอ้างอิง


- ประวัติความเป็นมาของพรรคชาติพัฒนา, http://www.parliament.go.th/files/politi/ndp/cp2.htm


- เอกสารรายงาน บริษัทไฟฟ้าขนอม จำกัด, http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/56/20040641t06.doc http://capital.sec.or.th/webapp/corp_fin/datafile/56/20040641t06.doc)


- ย้อนรอย….นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, 29 มกราคม 2550, http://www.politic.tjanews.org/index.php?option=content&task=view&id=420


- สัดส่วนการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม, การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, http://www.ieat.go.th/view_static.php?lang=th&content=ratio


- บอร์ดสศช.ตั้งอนุกรรมการศึกษาเซาเทิร์นซีบอร์ด, กรุงเทพธุรกิจ 4 ธันวาคม พ.. 2550, http://www.bangkokbiznews.com/2007/12/04/news_25221292.php?news_id=25221292


- ปัตตานีเหมาะทำเซาท์เทิร์นซีบอร์ด, หนังสือพิมพ์มติชน 7 มิถุนายน 2550, http://www.thaipressasso.com/hotnews/news907-50.htm


- 'หม่อมอุ๋ย'บอกใครเป็นนายกฯไม่ต่างกัน แนะเพิ่มลงทุนภาครัฐ1.6แสนล้าน, กรุงเทพธุรกิจ 26 พฤศจิกายน พ.. 2550, ค้นคว้าใน http://www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=4.2205 และ http://www.prachatai.com/05web/th/home/10357


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net