Skip to main content
sharethis


โครงการวิจัยการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาประมงพื้นบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะและเทพา) ปัตตานีและนราธิวาส


           


เป้าหมายที่สำคัญของโครงการวิจัยนี้ คือ เพื่อศึกษาหาแนวทางที่จะทำให้ชาวประมงและชุมชนประมงพื้นบ้าน มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต และมีคุณภาพชีวิตที่ทัดเทียมกันกับกลุ่มอาชีพอื่น รวมทั้งมีความเข้าใจที่ดีต่อรัฐและมีส่วนร่วมกับรัฐในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยกำหนดวิธีศึกษาหลายวิธีด้วยกันอันประกอบด้วย 1) การทบทวนวรรณกรรมและข้อเสนอแนะต่างๆที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและต่างประเทศ 2) การวิเคราะห์สถานการณ์ และแนวโน้มปัญหาของชาวประมงพื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม จากการจัดเวทีประชาคมจำนวน 24 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวนประมาณ 4,000 คน เพื่อรวบรวมปัญหาและข้อเสนอและการพัฒนาอาชีพประมงพื้นบ้าน รวมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะการรวมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนชาวประมง ความมั่นคงในการดำรงชีวิต 3) การศึกษาทัศนคติของชุมชนประมงต่อแนวทางกรแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน จากแบบสอบถาม 500 ตัวอย่าง 4) การประชุม สัมมนารับฟังความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักพัฒนาชุมชน ผู้นำท้องถิ่น จำนวน 3 ครั้ง และ 5) การแสวงหาแนวทางการแปรรูปผลิตผลการประมง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิต และการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมขึ้นในพื้นที่


            จากการวิเคราะห์และประมวลผลจากการทบทวนวรรณกรรม ข้อเสนอแนะต่างๆ การศึกษาทัศนคติของชุมชน การจัดประชุมวิชาการ และรับฟังความคิดเห็นจากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถที่จะสรุปสภาพปัญหาของชุมชนประมงพื้นบ้านออกได้เป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ปัญหาแนวคิดในการทำงานในพื้นที่และข้อจำกัดต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืนและการบริหารจัดการประเทศแบบรวมศูนย์และแยกส่วนอำนาจการตัดสินใจ และปัญหาของชุมชนประมงพื้นบ้านโดยตรง ซึ่งสามารถจัดแบ่งออกได้เป็น 4 ประเด็นปัญหาด้วยกัน คือ 1) ปัญหาการลดลงของทรัพยากรอันเนื่องมาจากการจับสัตว์น้ำเกินกำลังผลิต เช่น การใช้เครื่องมือประมงที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและแหล่งอาศัยสูง โดยที่เครื่องมืออวนรุนประกอบเครื่องยนต์ขนาดใหญ่มีเจ้าของเพียง 12 ราย จำนวนเรือ 21 ลำ การทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ จุดอ่อนและความล้าสมัยของของกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก 2) ปัญหาทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปัญหาหนี้สิน การว่างงาน การไม่มีอาชีพเสริม รายได้ไม่เพียงพอ ปะการังเทียมมีไม่เพียงพอ ปากอ่าวและร่องน้ำสำหรับการสัญจรตื้นเขิน น้ำเสีย ไม่สามารถเลี้ยงปลาได้ น้ำมันมีราคาแพง คลองและแม่น้ำสำหรับการเลี้ยงปลาตื้นเขิน การชักลากเรือขึ้นฝั่งในชุมชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ปะการังเทียมที่มีอยู่ไม่มีเครื่องหมายแสดงตำแหน่ง เป็นต้น 3) ปัญหาทางศาสนา สังคมและวัฒนธรรม เช่น โรงเรียนตาดีกามีอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ สถานที่เรียนตาดีกาเสื่อมโทรมไม่มีการซ่อมแซมและมีขนาดเล็กมาก การก่อสร้างและซ่อมแซมมัสยิดไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีพอ ครูสอนตาดีกามีค่าตอบแทนไม่เพียงพอ ครูสอนอัลกุรอานไม่มีค่าตอบแทน และการศึกษาทางศาสนาในหมู่บ้านไม่เพียงพอ ไม่มีศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน ขาดระบบสวัสดิการของชุมชน และชุมชนขาดความเข้มแข็งและเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับการปฏิบัติงานด้วยตัวเอง และ 4) ปัญหาการบริหารจัดการ เช่น ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงในการพัฒนาต่างๆ ประชาชนไม่มีพื้นที่สำหรับการแสดงออก ขาดการบูรณาการในการทำงานของภาครัฐ การทำงานของภาครัฐที่ไม่ได้เอาพื้นที่และคนเป็นตัวตั้ง และขาดเจ้าภาพที่จะทำหน้าที่ประสานงานในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เนื่องจากภาครัฐมีการปฏิบัติงานแบบแยกส่วน การทำงานที่ขาดการติดตามอย่างจริงจัง เป็นต้น


            จากสภาพปัญหาและข้อเสนอแนะสำหรับแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆดังกล่าวจึงได้กำหนดเป็นแผนพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีรายละเอียดต่างๆโดยสรุปดังนี้ คือ


หลักคิด


แนวทางการพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา (อำเภอเทพาและจะนะ) ปัตตานี และนราธิวาส มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้าน ให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ มีความมั่นคงและมีความสุขในการดำรงชีวิต สอดคล้องกับความต้องการและวิถีชีวิตของประชาชน โดยกระบวนการมีส่วนร่วมที่ชุมชนเป็นแกนหลักและภาครัฐทำหน้าที่หนุนเสริมและอำนวยการ โดยกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายหลัก และยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้าน


วิสัยทัศน์


ชุมชนประมงพื้นบ้านมีความสุข มีความมั่นคงในการดำรงชีวิต จากการปฏิบัติงานในลักษณะบูรณาการแบบองค์รวม ที่มีแนวทางจากการค้นหาปัญหา ร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกำหนดอนาคตของประชาชนเอง บนพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ


วัตถุประสงค์


            วัตถุประสงค์ในการกำหนดแผนพัฒนาฯประกอบด้วย


1.         เพื่อสร้างกระบวนการการพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้านที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนโดยที่ประชาชนสามารถเป็นเจ้าของงานพัฒนาและกำหนดแนวทางการพัฒนาของตนเองได้


2.         เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาที่เน้นการบูรณาการของภาคส่วนและหน่วยงานต่างๆ ที่นำพื้นที่เป็นเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาต่างๆ


3.         เพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้านให้มีสภาพของทรัพยากรที่สมบูรณ์ สภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ ระบบสวัสดิการชุมชนที่เข้มแข็ง โครงสร้างพื้นฐานที่พอเพียง ปฏิบัติศาสนกิจตามวิถีชีวิตได้อย่างสมบูรณ์และถูกต้อง เครือข่ายที่เข้มแข็ง พร้อมเป็นแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ระบบบริหารจัดการขององค์กรชุมชนที่มีประสิทธิภาพโดยการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในชุมชน และได้รับการสนับสนุนจากภาคีร่วมพัฒนาอื่นๆ


เป้าหมายและตัวชี้วัด


ภายหลังจากได้ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ไปแล้ว 5 ปี จะต้องเกิดผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ  ดังนี้ คือ


1) ภาคประชาชนเพื่อพัฒนาชุมชนประมงมีความเข้มแข็ง และชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการการพัฒนาชุมชนได้ด้วยตัวเองจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของชุมชนประมงทั้งหมด โดยมีหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่หนุนเสริม ควบคู่กับการพัฒนางานต่างๆ


2) ทรัพยากรประมงและทรัพยากรชายฝั่งได้รับการฟื้นฟู มีกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการควบคุมดูแล และการบังคับใช้กฎหมายได้รับการเอาจริงเอาจัง


3) เครื่องมือประมงประเภทอวนรุนหมดสิ้นไปจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือประมงที่ส่งผลกระทบสูงต่อทรัพยากร เช่น อวนลาก โพงพาง มีจำนวนลดลง เครื่องมือเรือปั่นไฟปลากะตักมีพื้นที่การทำประมงที่เหมาะสม พร้อมกับมีระบบบริหารจัดการอย่างเหมาะสม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน


4) จำนวนผู้ที่เข้าสู่อาชีพประมงทะเลใหม่ลดลง โครงสร้างพื้นฐานทางด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับการพัฒนาและมีมาตรฐาน มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น พร้อมกับมีอาชีพเสริมที่สามารถใช้เป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง มีการจัดตั้งสหกรณ์ประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้


5) ศาสนสถานได้รับการต่อเติมซ่อมแซมทุกพื้นที่ โรงเรียนตาดีกามีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ประชาชนไม่หวาดกลัวในการศึกษาศาสนา และมีความรู้ทางศาสนา มีระบบสวัสดิการชุมชนและการจัดการหนี้สินที่ดี ปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยได้รับการแก้ไข ชุมชนมีภูมิทัศน์ที่สวยงามขึ้น ลูกหลานชาวประมงมีสัดส่วนศึกษาต่อในระดับสูงสูงขึ้น และสามารถประกอบอาชีพที่มีความมั่นคงมากขึ้น


6) ปัญหาที่ดินสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย สภาพบ้านเรือน และภูมิทัศน์ของชุมชนได้รับการแก้ไขไม่น้อยกว่า 50% ของพื้นที่ทั้งหมด


7) มีชุมชนประมงต้นแบบที่ประชาชนพึงพอใจจำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชุมชน และมีการเชื่อมเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง ที่สามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาแก่ชุมชนอื่นๆ


8) มีคณะกรรมการร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสภาประชาชนชาวประมงพื้นบ้าน มีสหกรณ์ประมงพื้นบ้าน โดยที่คณะกรรมการและสมาชิกขององค์กรดังกล่าวได้ปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม


9) ชุมชนมีความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตซึ่งรวมถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจ ระบบสวัสดิการสังคม สภาพแวดล้อมและการมีส่วนร่วมกับรัฐในการแก้ไขปัญหาชุมชน อันจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีต่อรัฐ


10) รูปแบบการทำงานที่ใช้หลักการให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดแนวทางได้รับการนำไปใช้ในพื้นที่อื่นๆของประเทศไทย


ยุทธศาสตร์


ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ควรได้รับการผลักดันและริเริ่มมีจำนวน 5 ยุทธศาสตร์ 20 มาตรการ 87 โครงการ รวมงบประมาณทั้งสิ้น 722.6 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 5 ปี โดยมีแผนงานที่ไม่ได้กำหนดกรอบงบประมาณไว้จำนวน 2 แผนงานด้วยกัน คือ การขุดลอกปากแม่น้ำสำหรับการสัญจรทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน และการขุดลอกลำคลองสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงและฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีรายละเอียดต่างๆของแต่ละยุทธศาสตร์ ดังนี้  


ยุทธศาสตร์ที่ 1  การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง ประกอบด้วยแผนงานต่างๆ ดังนี้ 1) การบริหารจัดการการทำประมงด้วยเครื่องมือที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรสูง 2) อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง และ 3) ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง


ยุทธศาสตร์ที่ 2  การพัฒนาเศรษฐกิจทางเลือก ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ประกอบด้วยแผนงานต่างๆ ดังนี้ 1) ขุดลอกปากแม่น้ำสำหรับการสัญจรทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ขุดลอกคูคลองสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงและการฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 3) สนับสนุนน้ำมันราคาถูกเพื่อลดต้นทุนการทำประมงและจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและจัดซื้อเครื่องมือประมง 4) ส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและอาชีพอื่นๆ 5) ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประมง และ 6)  การแก้ไขปัญหาการว่างงานของบัณฑิตในชุมชน


ยุทธศาสตร์ที่ 3              การสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านศาสนา สังคม และวัฒนธรรม  ประกอบด้วยแผนงานต่างๆ ดังนี้ 1) ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนาในหมู่บ้าน และสนับสนุนการก่อสร้าง ต่อเติมและซ่อมแซมศาสนสถาน 2) แก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย  3) เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว 4) สนับสนุนระบบสวัสดิการชุมชนและการจัดการหนี้สิน 5) ปรับปรุงและพัฒนาสุขอนามัย สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ชุมชน และ  6) พัฒนาการศึกษา


ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเพื่อบูรณาการจัดสร้างชุมชนประมงเข้มแข็งต้นแบบ ประกอบด้วยแผนงานการจัดสร้างชุมชนประมงต้นแบบ


ยุทธศาสตร์ที่ 5             การบริหารจัดการพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้านโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน ประกอบด้วยแผนงานต่างๆ ดังนี้ 1) บริหารจัดการการแก้ไขปัญหาชุมชนประมงพื้นบ้านแบบองค์รวม 2) เพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนการดำเนินงานองค์กรต่างๆของภาคประชาชน และ 3) พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้



สรุปแผนพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้าน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วยจังหวัดสงขลา
(อำเภอเทพาและจะนะ) ปัตตานี และนราธิวาส
























































วิสัยทัศน์


ชุมชนมีความสุขและความมั่นคงในการดำรงชีวิต จากการร่วมคิดร่วมทำ ร่วมกำหนดอนาคตของประชาชนเอง บนพื้นฐานของการพัฒนาศักยภาพชุมชนผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมอย่างเต็มรูปแบบ


ประเด็นปัญหา


แนวคิดในการทำงาน


การพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่ยั่งยืนและการบริหารจัดการประเทศแบบรวมศูนย์และแยกส่วนอำนาจการตัดสินใจ


 


 


ปัญหาชุมชนประมง


การลดลงของทรัพยากรอันเนื่องมาจากการจับสัตว์น้ำเกินกำลังผลิต เช่น การใช้เครื่องมือประมงที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรและแหล่งอาศัยสูง โดยที่เครื่องมืออวนรุนประกอบเครื่องยนต์ขนาดใหญ่มีเจ้าของเพียง 12 ราย จำนวนเรือ 21 ลำ การทำลายแหล่งอาศัยของสัตว์น้ำ จุดอ่อนและความล้าสมัยของของกฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมายที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก


ปัญหาทางเศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น ปัญหาหนี้สิน การว่างงาน การไม่มีอาชีพเสริม รายได้ไม่เพียงพอ ปะการังเทียมมีไม่เพียงพอ ปากอ่าวและร่องน้ำสำหรับการสัญจรตื้นเขิน น้ำเสีย ไม่สามารถเลี้ยงปลาได้ น้ำมันมีราคาแพง คลองและแม่น้ำสำหรับการเลี้ยงปลาตื้นเขิน การชักลากเรือขึ้นฝั่งในชุมชนเป็นไปด้วยความยากลำบาก ปะการังเทียมที่มีอยู่ไม่มีเครื่องหมายแสดงตำแหน่ง เป็นต้น


ปัญหาทางศาสนา สังคมและวัฒนธรรม เช่น โรงเรียนตาดีกามีอุปกรณ์การเรียนการสอนไม่เพียงพอ สถานที่เรียนตาดีกาเสื่อมโทรมไม่มีการซ่อมแซมและมีขนาดเล็กมาก การก่อสร้างและซ่อมแซมมัสยิดไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างดีพอ การศึกษาทางศาสนาในหมู่บ้านไม่เพียงพอ ไม่มีศูนย์เรียนรู้ในหมู่บ้าน ขาดระบบสวัสดิการของชุมชน และชุมชนขาดความเข้มแข็งเนื่องจากไม่คุ้นเคยกับการปฏิบัติงานด้วยตัวเอง


ปัญหาการบริหารจัดการ เช่น ขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงในการพัฒนา ขาดการบูรณาการในการทำงานของภาครัฐ การทำงานที่ไม่ได้เอาพื้นที่และคนเป็นตัวตั้ง และขาดเจ้าภาพที่จะทำหน้าที่ประสานงานในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เนื่องจากภาครัฐมีการปฏิบัติงานแบบแยกส่วน การทำงานที่ขาดการติดตามอย่างจริงจัง เป็นต้น


ยุทธศาสตร์


การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง


การพัฒนาเศรษฐกิจทางเลือก ปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการประมงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ


การสนับสนุนการดำเนินงานทางด้านศาสนา สังคม และวัฒนธรรม


การพัฒนาเพื่อบูรณาการจัดสร้างชุมชนประมงเข้มแข็งต้นแบบ


การบริหารจัดการพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้านโดยเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน


แผนงาน


1. การบริหารจัดการการทำประมงด้วยเครื่องมือที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรสูง


2. อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง


3. ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรประมง


1. ขุดลอกปากแม่น้ำสำหรับการสัญจรทางน้ำโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน


2. ขุดลอกคูคลองสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การประมงและการฟื้นฟูสภาพป่าชายเลนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน


3. สนับสนุนน้ำมันราคาถูกเพื่อลดต้นทุนการทำประมงและจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและจัดซื้อเครื่องมือประมง


4. ส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งและอาชีพอื่นๆ


5. ส่งเสริมอาชีพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประมง


6. การแก้ไขปัญหาการว่างงานของบัณฑิตในชุมชน


1. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนาในหมู่บ้าน และสนับสนุนการก่อสร้าง ต่อเติมและซ่อมแซมศาสนสถาน


2. แก้ไขปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัย


3. เสริมสร้างความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว


4. สนับสนุนระบบสวัสดิการชุมชนและการจัดการหนี้สิน


5. ปรับปรุงและพัฒนาสุขอนามัย สภาพแวดล้อมและภูมิทัศน์ชุมชน


6. พัฒนาการศึกษาอย่างจริงจัง


 


1. จัดสร้างชุมชนประมงเข้มแข็งต้นแบบ


 


1. บริหารจัดการการแก้ไขปัญหาชุมชนประมงพื้นบ้านแบบองค์รวม


2. เพิ่มประสิทธิภาพและสนับสนุนการดำเนินงานองค์กรต่างๆของภาคประชาชน


3. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้


งบประมาณ (5 ปี)


149.4 ล้านบาท


151.0 ล้านบาท


270.0 ล้านบาท


50.5 ล้านบาท


101.7 ล้านบาท


งบประมาณรวม 722.6 ล้านบาท


เป้าหมายและตัวชี้วัด (5 ปี)


1. ทรัพยากรประมงและทรัพยากรชายฝั่งได้รับการฟื้นฟู มีกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เหมาะสมสำหรับใช้ในการควบคุมดูแล และการบังคับใช้กฎหมายได้รับการเอาจริงเอาจัง


2. เครื่องมือประมงประเภทอวนรุนหมดสิ้นไปจากพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เครื่องมือประมงที่ส่งผลกระทบสูงต่อทรัพยากร เช่น อวนลาก โพงพาง มีจำนวนลดลง เครื่องมือเรือปั่นไฟปลากะตักมีพื้นที่การทำประมงที่เหมาะสม พร้อมกับมีระบบบริหารจัดการอย่างเหมาะสม โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน


จำนวนผู้ที่เข้าสู่อาชีพประมงทะเลใหม่ลดลง โครงสร้างพื้นฐานทางด้านการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับการพัฒนาและมีมาตรฐาน มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น พร้อมกับมีอาชีพเสริมที่สามารถใช้เป็นที่พึ่งได้อย่างแท้จริง มีการจัดตั้งสหกรณ์ประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้


1. ศาสนสถานได้รับการต่อเติมซ่อมแซมทุกพื้นที่ โรงเรียนตาดีกามีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอน ประชาชนไม่หวาดกลัวในการศึกษาศาสนา และมีความรู้ทางศาสนา มีระบบสวัสดิการชุมชนและการจัดการหนี้สินที่ดี ปัญหาที่ดินและที่อยู่อาศัยได้รับการแก้ไข ชุมชนมีภูมิทัศน์ที่สวยงามขึ้น ลูกหลานชาวประมงมีสัดส่วนศึกษาต่อในระดับสูงสูงขึ้น และสามารถประกอบอาชีพที่มีความมั่นคงมากขึ้น


2. ปัญหาที่ดินสำหรับเป็นที่อยู่อาศัย สภาพภูมิทัศน์ของชุมชนได้รับการแก้ไขไม่น้อยกว่า 50% ของพื้นที่ทั้งหมด


มีชุมชนประมงเข้มแข็งต้นแบบที่ประชาชนพึงพอใจจำนวนไม่น้อยกว่า 20 ชุมชน และมีการเชื่อมเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง ที่สามารถเป็นต้นแบบของการพัฒนาชุมชนแก่ชุมชนอื่นๆ


1. มีคณะกรรมการร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนประมงพื้นบ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการจัดตั้งสภาประชาชนชาวประมงพื้นบ้าน สหกรณ์ประมงพื้นบ้าน และคณะกรรมการและองค์กรดังกล่าวได้ปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม


2. ภาคประชาชนเพื่อพัฒนาชุมชนประมงมีความเข้มแข็ง และชุมชนมีความสามารถในการบริหารจัดการการพัฒนาชุมชนได้ด้วยตัวเองจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของชุมชนประมงทั้งหมด โดยมีหน่วยงานภาครัฐทำหน้าที่หนุนเสริม


งบประมาณปี 2551


43.9 ล้านบาท


36.8 ล้านบาท


54.5 ล้านบาท


10.5 ล้านบาท


14.5 ล้านบาท


งบประมาณรวม 160.2 ล้านบาท


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net