Skip to main content
sharethis

ประชาไทภาคเหนือ


 



 


พลวัตหัวคะแนนในชุมชน


สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ หัวคะแนนในชุมชนเริ่มเปลี่ยนแปลงไปจากผู้มีอิทธิพลและคนที่ชาวบ้านนับหน้าถือตา อาทิ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือคหบดีในหมู่บ้าน ที่เคยผูกขาดการเป็นหัวคะแนนอยู่จำพวกเดียวเช่นในอดีต


 


การพัฒนาประเทศในหลายๆ ด้าน ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้หัวคะแนนในชุมชนช่วงหลังนั้นประกอบไปด้วย กลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการเกิดขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และกลุ่มจัดตั้งเพื่อการบริการสังคม เช่น อสม. อภปร. ตำรวจชุมชน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงกลุ่มคนที่เข้าไปทำงานในเมือง เป็นต้น



แต่จะพบว่าหลังจากที่พรรคไทยรักไทยซึ่งเคยกุมคนเหล่านี้ไว้อย่างเบ็ดเสร็จในจังหวัดเชียงใหม่ ได้หมดอำนาจในการควบคุมรัฐลงไปหลังการรัฐประหาร ทำให้กลุ่มหัวคะแนนที่มีคุณภาพเหล่านี้กลายเป็นพลังที่ไร้สังกัดในการเลือกตั้งครั้งนี้ กลุ่มหัวคะแนนเหล่านี้ส่วนใหญ่จึงเล่นหลายบทบาท สนับสนุนหลายพรรค และสนับสนุนนักการเมืองหลายคนไปพร้อมๆ กัน


ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้เองจะใช้ความจัดเจนทางการเมือง ในการเสนอตัวเข้าไปช่วยนักการเมือง หรือถูกกลุ่มคนที่นักการเมืองทั้งหลายเข้าหามากที่สุด ในการชักชวนมาเป็นหัวคะแนนให้กับตนเอง


 


ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งครั้งนี้จะพบได้ว่ามีหัวคะแนนเฉพาะกิจ คือคนจากหมู่บ้านที่เข้าไปในเมืองเพื่อเชื่อมโยงพรรคการเมืองเกิดใหม่สู่หมู่บ้าน - ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มคนที่ทำงานในตัวเมือง เช่น คนขับรถแดง คนขับรถตู้ พ่อค้าที่ไปค้าขายในเมือง เป็นต้น


 


กลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่มีบารมีในชุมชน และไม่ได้ทำงานบริการในชุมชน ซึ่งเป็นผลให้กลุ่มคนเหล่านี้ไม่ได้รับความสนใจจากนักการเมืองและพรรคการเมืองที่จัดเจนทำงานในพื้นที่มานานและลงพื้นที่อย่างจริงจัง


 


แต่กลุ่มหัวคะแนนเฉพาะกิจเหล่านี้มักจะอาศัยความไม่จัดเจนทางการเมืองของพรรคการเมืองและนักการเมืองหน้าใหม่ ที่ต้องการหัวคะแนนตามชุมชนและหมู่บ้านต่างๆ ในการนำเงินของพรรคการเมืองและนักการเมืองหน้าใหม่เหล่านั้นลงสู่ชุมชนเหล่านั้นเพื่อหวังคะแนนเสียง


 


ซึ่งกลุ่มหัวคะแนนหน้าใหม่และไม่มีคุณภาพเหล่านี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญให้พรรคการเมืองหน้าใหม่ ประเมินจำนวน ส.. ของตนเองไว้ผิดพลาดเกินจริง


 


เรียงเบอร์ แต่เน้นยิงลูกโดด


นอกจากการประกาศไม่เผาผีกันระหว่างพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์แล้ว ในกรณีของพรรคอื่นๆ นั้น ความคลุมเครือเรื่องการจับขั้วทางการเมืองจึงคงยังมีอยู่


 


รวมถึงผู้สมัครที่เป็นตัวแทนจากพรรคเดียวกันแล้ว แม้ว่าการเลือกตั้งในครั้งนี้จะนำระบบเรียงเบอร์กลับมาใช้อีกครั้ง แต่ความเป็นเอกภาพในการหาเสียงของผู้รับสมัครในแต่ละพรรคก็ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งทีม


 


จากการสังเกตการรณรงค์หาเสียงพบว่าผู้สมัครจากพรรคที่เกิดใหม่และพรรคขนาดกลางมักที่จะหาเสียงแบบยิงลูกโดด โดยเน้นการรณรงค์ให้ตนเองเป็นหลัก ไม่ได้เป็นทีม รวมถึงบางครั้งยังละเลยการหาเสียงให้พรรคในระบบปาร์ตี้ลิสต์อีกด้วย


 


ประเด็นนี้แสดงให้เห็นถึงการบริหารจัดการของพรรคการเมืองแต่ละพรรค รวมถึงการสนับสนุนงบประมาณของพรรคการเมืองเกิดใหม่และพรรคขนาดกลาง ว่าอาจจะไม่เพียงพอ จึงต้องทำให้ผู้สมัครแต่ละรายควักจ่ายเองล่วงหน้า และมีความจำเป็นต้องยิงลูกโดดเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตนเองเอาไว้ก่อน


 


ประชันนโยบาย


ประเด็นด้านนโยบายนั้น หลายพรรคการเมืองไม่ได้เสนอนโยบายที่แตกต่างจากกันเลย โดยเน้นประชานิยมและการกระจายทุนสู่ชุมชน แม้แต่พรรคที่มีแนวทางเสรีนิยม-อนุรักษ์นิยม ที่เน้นวินัยทางการคลังและประณามการบริโภคของคนจน ยังต้องเสนอนโยบายประชานิยมเพื่อเอาใจคนจน


 


สำหรับเชียงใหม่มีการเสนอนยายให้กลุ่มเป้าหมายสองกลุ่ม คือกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองซึ่งรวมถึงนักธุรกิจที่มาลงทุนในเชียงใหม่ ด้วยการชูประเด็นด้านสาธารณูปโภคในเขตเทศบาล และนโยบายด้านการท่องเที่ยว


 


ส่วนนโยบายสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่สอง ก็คือนโยบายสำหรับประชาชนที่อยู่เขตนอกเมืองออกไป เช่น นโยบายทางด้านการเกษตร นโยบายกองทุนหมู่บ้านต่างๆ เป็นต้น


 


รวมถึงนโยบายครอบจักรวาลสำหรับกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด เช่น เรื่องการจัดการศึกษา และสาธารณสุข วิสัยทัศน์ภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจก็ถูกนำมาชูในการรณรงค์หาเสียง คละเคล้ากันไป


 


แนวคิดนโยบายที่พรรคการเมืองต่างๆ ชูเป็นประเด็นสำหรับเชียงใหม่


1. นโยบายสำหรับกลุ่มชนชั้นกลางในเมืองซึ่งรวมถึงนักธุรกิจที่ลงทุนในเชียงใหม่



  • นำเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยวในภูมิภาค
  • จัดระบบคมนาคมขนส่งในเชียงใหม่ ให้มีความทันสมัยขึ้น
  • จัดระบบคมนาคมภาคเหนือทั้งระบบ เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
  • ฯลฯ


2. นโยบายสำหรับกลุ่มรากหญ้าในเมืองและที่อยู่เขตนอกเมืองเชียงใหม่



  • การนำหวยบนดินกลับมาอีกครั้ง
  • นโยบายเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน, ธนาคารหมู่บ้าน และทุนต่างๆ สำหรับชุมชน
  • การให้สวัสดิการแก่ อสม. อพปร. ตำรวจชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้ทำกิจกรรมในชุมชน ฯลฯ
  • การพักชำระหนี้เกษตรกร
  • การประกันราคาลำไย
  • ฯลฯ


3. นโยบายสวัสดิการสังคมที่เสนอให้ทุกคน



  • บริการทางด้านการศึกษาฟรี
  • บริการทางด้านสาธารณสุขฟรี
  • สวัสดิการสำหรับคนชรา คนด้อยโอกาส
  • โครงการการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐ
  • ฯลฯ

 


พื้นที่กฎอัยการศึก - พื้นที่การควบคุมของรัฐ และดูผลเปรียบเทียบจากการลงประชามติ


จากมติของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบให้คงประกาศกฎอัยการศึกไว้ 179 อำเภอทั่วประเทศ ซึ่งลดลงจากเดิมที่เคยประกาศไว้ 400 อำเภอ โดยอำเภอที่ยังคงประกาศกฎอัยการศึกเป็นอำเภอติดชายแดน 115 อำเภอ, อำเภอที่ไม่ติดชายแดนแต่อยู่ในจังหวัดที่ติดชายแดน  26 อำเภอ และพื้นที่ สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีก 38 อำเภอ


 



จังหวัดเชียงใหม่ 6 อำเภอยังคงเป็นพื้นที่กฎอัยการศึกอยู่ คือ อ.เชียงดาว อ.ฝาง อ.แม่อาย อ.เวียงแหง อ.ไชยปราการ อ.อมก๋อย ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลคะแนนออกเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 .. ที่ผ่านมา พบว่า ทั้ง 6 อำเภอนี้ ผลการลงประชามติรับ รธน. ผ่านหมดทั้งสิ้น (พื้นที่ที่ร่าง รธน. ผ่านประชามติ ในจังหวัดเชียงใหม่ มีทั้งหมด 7 อำเภอ อีกหนึ่งอำเภอที่ร่าง รธน. ผ่านประชามติก็คือ อ.สะเมิง)


 


โดยประเด็นเปรียบเทียบเมื่อเปรียบเทียบอย่างหยาบ สำหรับการรณรงค์การผ่านร่างประชามติที่ผ่านมา เราจะพบได้ว่าเป็นการต่อสู้กันระหว่างสองฝ่าย คือฝ่ายรัฐที่ต้องการให้ประชาชนออกไป "รับร่าง รธน. 50" กับฝ่ายตรงข้ามทั้งนักการเมืองและขบวนการภาคประชาชน ที่ต้องการให้ประชาชนออกไป "ล้มร่าง รธน. 50"


 


แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้รัฐไม่มีความชอบธรรมที่จะรณรงค์เพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของพรรคใดพรรคหนึ่งโดยตรง นอกจากการรณรงค์ให้คนออกไปใช้สิทธิ์และรณรงค์ไม่ให้ประชาชนทำผิดกฎหมายเลือกตั้งเท่านั้น


 


แต่ในทางกลับกัน จากต้นทุนทางการเมืองในเขต 6 อำเภอที่ประกาศกฎอัยการศึกอยู่นี้ อาจจะเป็นโอกาสของพรรคการเมืองต่างๆ ที่จะสามารถแย่งชิงความได้เปรียบจากพรรคพลังประชาชนที่เป็นตัวเก็งอันดับหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่


 


สำหรับพื้นที่การควบคุมของรัฐที่ประกาศกฎอัยการศึกนี้ยังเป็นพื้นที่ที่มีกลุ่มพี่น้องชนเผ่าอาศัยอยู่มากที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ โดยจังหวัดเชียงใหม่มีพี่น้องชนเผ่าหลายเผ่า กระจายอยู่ 20 อำเภอจาก 24 อำเภอ 437 หมู่บ้าน จำนวนกว่า 190,000 คน


 


ทั้งนี้พี่น้องกลุ่มชนเผ่า ในครั้งที่มีการรงค์การผ่านประชามตินั้น ในหลายพื้นที่ถูกหน่วยงานของรัฐลงไปเกาะติด จนทำให้ผลประชามติในพื้นที่ของพี่น้องชนเผ่าเป็นที่พึงพอใจของรัฐ


 


การแย่งชิงเสียงของพรรคการเมืองคู่แข่งของพรรคพลังประชาชน จึงมีการโฟกัสไปที่กลุ่มพี่น้องชนเผ่ามากขึ้นด้วย 



























































































































































































































































ลำดับ


อำเภอ


ผู้มีสิทธิออกเสียง


บัตรออกเสียงที่ได้รับ


ผู้มาใช้สิทธิ


ผลการลงประชามติ


เห็นชอบ


ไม่เห็นชอบ


บัตรเสีย


1


อ.เมือง


183,870


187,395


115,367


53,129


60,381


1,857


2


อ.จอมทอง


49,583


49,643


36,977


14,465


21,231


1,281


3


อ.ไชยปราการ


27,609


28,300


17,578


7,619


9,450


506


4


อ.เชียงดาว


45,567


46,700


29,231


15,934


12,414


883


5


อ.ดอยเต่า


20,633


21,125


13,663


5,341


7,618


704


6


อ.ดอยสะเก็ด


51,869


53,285


38,954


15,588


22,500


866


7


อ.พร้าว


39,760


41,625


27,714


13,655


13,218


841


8


อ.ฝาง


64,479


68,825


43,750


22,189


20,386


1,175


9


อ.แม่แจ่ม


42,699


43,600


28,570


12,773


15,711


1,086


10


อ.แม่แตง


55,740


55,650


39,893


19,624


19,266


1,003


11


อ.แม่ริม


60,604


63,550


43,289


17,854


24,399


1,036


12


อ.แม่วาง


22,886


23,175


18,272


7,499


10,147


626


13


อ.แม่อาย


43,769


45,015


28,349


11,381


16,061


907


14


อ.เวียงแหง


9,424


9,700


5,914


3,128


2,628


156


15


อ.สันกำแพง


59,254


59,125


54,624


13,076


30,552


1,017


16


อ.สันทราย


86,366


88,075


61,393


27,380


32,699


1,314


17


อ.สันป่าตอง


61,406


62,925


46,825


14,386


31,086


1,353


18


อ.สะเมิง


16,536


17,175


12,542


7,901


4,323


318


19


อ.สารภี


60,682


62,225


45,157


17,798


26,183


1,176


20


อ.หางดง


57,739


60,435


43,999


13,561


28,900


1,538


21


อ.อมก๋อย


33,658


34,850


19,752


10,665


8,291


796


22


อ.ฮอด


31,107


31,854


21,537


7,565


12,848


1,124


23


กิ่ง อ. ดอยหล่อ


21,447


22,725


16,867


4,681


11,623


563


24


กิ่ง อ. แม่ออน


17,063


17,725


13,545


4,762


8,307


476


25


ออกเสียงนอกเขตจังหวัด


4,282


5,000


3,397


2,265


1,084


48


 


รวมทั้งสิ้น


1,168,032


119,9602


818,180


344,219


451,309


22,650


 













หมายเหตุ


 


อำเภอที่มีผู้ไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญมากกว่าผู้เห็นชอบ


 


อำเภอที่มีผู้เห็นชอบรัฐธรรมนูญมากกว่าผู้ไม่เห็นชอบ


 


อำเภอที่ได้รับบัตรลงประชามติน้อยกว่าผู้มีสิทธิลงประชามติ


 


ตารางแสดงผลการออกเสียงประชามติของ จ.เชียงใหม่


ที่มาของตาราง : ปรับปรุงจาก ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดเชียงใหม่ เรื่องผลการรวมคะแนนออกเสียงประชามติ (http://chiangmai.ect.go.th/Pdf/19aug.pdf) เข้าดูเมื่อ 26 ส.ค. 50


 


 


แล้วชาวบ้านจะเลือกอะไร?


การเลือกตั้งที่จะถึงนี้ สำหรับจังหวัดเชียงใหม่ ที่ให้พูดกันตรงๆ ก็คือ เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคพลังประชาชน และฐานเสียงสำคัญของคนที่ชื่อชอบ พ... ทักษิณ ชินวัตร


 


แต่ทั้งนี้ จากผลการลงประชามติรับร่าง รธน. ที่ผ่านมานั้น ได้พิสูจน์ว่าการได้คะแนนเสียงแบบเบ็ดเสร็จท่วมท้นเพื่อฝ่ายพรรคพลังประชาชน และ พ...ทักษิณ ชินวัตร นั้นยังมีอุปสรรคอยู่ (ผลคะแนนรวมเชียงใหม่ เห็นชอบ 344,219 และไม่เห็นชอบ 451,309)


 


แต่ทั้งนี้ทังนั้นสภาพแวดล้อมทางการเมืองและประเด็นของการออกเสียงเลือกตั้งกับการลงประชามติรับร่าง รธน. นั้นย่อมต่างกัน การใช้ผลการลงประชามติมาวิเคราะห์ตัวเลขว่าพรรคพลังประชาชน พรรคประชาธิปัตย์ หรือพรรคเกิดใหม่ต่างๆ นั้น ใครจะได้ ส., จำนวนกี่คนนั้นย่อมเป็นไปไม่ได้ --- เพียงแต่เป็นการทำให้เห็นภาพกว้างว่า ต้นทุนทางการเมืองของฝ่ายใดมีเท่าไร และการรุกคืบของแต่ละพรรคการเมืองจะเน้นไปตรงจุดไหน


 


สำหรับการรณรงค์นโยบายของแต่ละพรรคนั้น พบว่าเกือบทุกพรรคมีนโยบายที่ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก ซึ่งถือว่าเป็นคุณูปการของสถานการณ์บ้านเมืองในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ ที่ทำให้นักการเมือง และพรรคการเมืองเห็นหัวคนจนมากขึ้น การแข่งกันเพื่อเสนอนโยบายเพื่อคนจนในครั้งนี้จึงคึกคักอย่างยิ่ง


 


จากการสอบถามชาวบ้านบางส่วน พบประเด็นที่น่าสนใจต่างๆ มากมายสำหรับชาวเชียงใหม่กับการเลือกตั้ง โดยนำมาประมวลเรียบเรียงได้ดังนี้ ..


 


·         เนื่องจากนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองคล้ายคลึงกัน การเน้นเลือกตัวบุคคลมากกว่าพรรคการเมืองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือก ส..


·         เนื่องจากนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองคล้ายคลึงกัน การเน้นเลือกพรรคที่มีประสบการณ์จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือก ส..


·         เนื่องจากสถานการณ์การเมืองที่ผ่านมา ที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าพวกตนเองถูกกระทำ อารมณ์ทางการเมืองจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือก ส..


·         การเมืองเรื่องภูมิภาคนิยม ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือก ส.. และพรรคที่ต้องการให้เป็นรัฐบาล


·         การเสนอข่าวเกี่ยวกับบทลงโทษในการซื้อเสียง ขายเสียง เป็นปัจจัยที่ให้ชาวบ้านมีความระมัดระวังตัว สำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้



 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net