Skip to main content
sharethis

 เจนีวา/กรุงเทพฯ 1 ธันวาคม 2550 - จากบทความซึ่งตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ PLoS Medicine ชี้ให้เห็นว่าความล้มเหลวในการตรวจวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อไซโตเมกะโลไวรัสหรือซีเอ็มวี (CMV) ที่จอประสาทตาในผู้ป่วยเอดส์ ส่งผลให้ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องสูญเสียการมองเห็นโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้จากโครงการนำร่องเพื่อศึกษาการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตาโดยคณะผู้เขียนพบว่า อุบัติการณ์การติดเชื้อฯ ดังกล่าวในประเทศร่ำรวยลดลงอย่างมากนับแต่มีการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ในขณะที่ประเทศพม่า กัมพูชา และไทยพบอุบัติการณ์การติดเชื้อฯ นี้ในผู้ป่วยโรคเอดส์ที่มีอาการขั้นรุนแรงราวร้อยละ 23, 27 และ 32 ตามลำดับ พร้อมกันนี้คณะผู้เขียนได้เสนอแนะผ่านบทความข้างต้นว่า การตรวจวินิจฉัยและรักษาการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตานั้น สามารถนำมาบูรณาการให้เข้ากับโครงการการรักษาโรคเอดส์ที่มีอยู่ได้อย่างง่ายดาย ด้วยการฝึกอบรบแพทย์เวชปฎิบัติในการตรวจคัดกรอง พร้อมกับดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ดีที่สุดได้


 


"เราสามารถตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตาได้ค่อนข้างง่ายดายและแม่นยำโดยใช้เวลาไม่ถึงสองนาที อีกทั้งยังมีหนทางรักษาซึ่งทั้งสะดวกและมีประสิทธิภาพ" นพ. เดวิด วิลสัน (Dr. David Wilson) อดีตผู้ประสานงานฝ่ายการแพทย์ องค์การหมอไร้พรมแดนประจำประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะผู้เขียนกล่าว "แต่แทนที่เราจะจัดการกับปัญหา ทุกคนกลับแสร้งทำเป็นว่าไม่เคยมีคนตาบอดหรือเสียชีวิตจากการติดเชื้อซีเอ็มวีนี้ หรือที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ เรายอมจำนนกับมัน"


 


การตรวจคัดกรองและรักษาการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตาได้แต่เนิ่นๆ ย่อมช่วยยับยั้งการลุกลามอย่างช้าๆ ของโรคร้ายนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายถูกเชื้อไวรัสเอชไอวีทำลายอย่างหนักต้องตาบอดภายในชั่วระยะเวลาสามถึงหกเดือน ทว่าการติดเชื้อซีเอ็มวีในระยะแรกเริ่มมักไม่แสดงอาการ การตรวจวินิจฉัยหาเชื้อจึงต้องอาศัยวิธีการตรวจคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงทุกรายอย่างเป็นระบบ  


 


"ที่ประเทศพม่า การตรวจจอประสาทตาผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงเป็นประจำนั้น ทำให้เราสามารถช่วยป้องกันผู้ป่วยให้พ้นจากการตาบอดจากเชื้อซีเอ็มวีได้" ดร. คาลพาน่า ซาบาพาธี (Dr. Kalpana Sabapathy) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อเอชไอวี/เอดส์ องค์การหมอไร้พรมแดนกล่าว โดยอ้างถึงผลการศึกษาตามโครงการในประเทศพม่าเมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งนำโดย นพ. เดวิด ไฮเด็น (Dr. David Heiden) จักษุแพทย์และแพทย์เฉพาะทางด้านการติดเชื้อซีเอ็มวีจากมูลนิธิเอสอีวีเอ (SEVA Foundation)                     


 


ทว่าสำหรับในหลายๆ ประเทศ ยาเม็ดวาลแกนไซโคลเวียซึ่งเป็นหนทางการรักษาที่ดีที่สุดนั้น มีค่าใช้จ่ายสูงถึงกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐต่อแผนการรักษาระยะเวลาสี่เดือน ในขณะที่อีกทางเลือกหนึ่งคือการรักษาด้วยยาแกนไซโคลเวียชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำ กลับเป็นวิธีที่ยุ่งยากด้วยผู้ป่วยต้องได้รับยาฉีดวันละสองครั้งนานสองถึงสามสัปดาห์ จากนั้นอีกวันละครั้งเป็นเวลาสองถึงสามเดือน ส่วนหนทางที่สามเป็นการรักษาการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตา คือการฉีดยาแกนไซโคลเวียเข้าน้ำวุ้นลูกตาโดยตรง ซึ่งวิธีนี้แพทย์ต้องฉีดยาเข้าลูกนัยน์ตาผู้ป่วยข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างหลายต่อหลายครั้ง จึงเป็นวิธีที่ไม่เป็นที่นิยมอย่างยิ่ง การรักษาด้วยวิธีนี้นอกจากต้องอาศัยแพทย์ที่ได้รับการอบรมเป็นการเฉพาะแล้ว ยังไม่สามารถใช้รักษาการติดเชื้อซีเอ็มวีที่เกิดกับส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้นอกจากลูกนัยน์ตา ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตผู้ป่วยได้เช่นเดียวกัน


 


ทั้งนี้คณะผู้เขียนเสนอแนะว่า การผนวกการตรวจรักษาการเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตาเข้าในโครงการเอชไอวี/เอดส์นั้นย่อมสามารถทำได้ แต่ต้องอาศัยการตรวจคัดกรองผู้ป่วยในกลุ่มเสี่ยงอย่างเป็นระบบ พร้อมกับการทำให้ยาเม็ดวาลแกนไซโคลเวียมีราคาพอให้ผู้ป่วยสามารถซื้อหาและเข้าถึงได้ มิฉะนั้นแล้วการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตาจะยังคงเป็นการติดเชื้อฯ อันเกิดจากโรคเอดส์ที่ถูกละเลยอยู่ต่อไป


 


"นี่คือวงจรแห่งความชั่วร้ายแบบเดิมๆ" นพ. ทิโด วอน ชอน-แอนด์เกอเรอร์(Dr. Tido von Schoen-Angerer) ผู้อำนวยการโครงการรณรงค์เพื่อการเข้าถึงยา องค์การหมอไร้พรมแดนกล่าว "เพราะยามีราคาแพงมาก โครงการเอชไอวี/เอดส์จึงไม่มีบริการการตรวจคัดกรอง ดังนั้นจึงไม่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยจากเชื้อซีเอ็มวีเป็นจำนวนมาก และเพราะมีจำนวนผู้ป่วยเพียงน้อยในรายงาน จึงทำให้ไม่มีใครสนใจจะดำเนินการใดๆ เพื่อทำให้มียาราคาถูกและทำให้มีบริการการรักษาแก่ผู้ป่วยเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนแต่อย่างใด"


 


ในคู่มือและแนวทางการรักษาโรคติดเชื้อเอชไอวีในพื้นที่ยากไร้และขาดแคลนฉบับปัจจุบันหรือฉบับรอพิจารณาขององค์การอนามัยโลก ก็มิได้ระบุถึงการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตาไว้ด้วย


 


สำหรับการเข้าถึงยาเม็ดวาลแกนไซโคลเวียนั้น แม้พอจะมีความคืบหน้าอยู่บ้างแต่ก็เพียงจำกัด กล่าวคือ บริษัท โรช (Roche) ได้เสนอลดราคายาแก่องค์กรเอกชนต่างๆ เหลือ 1,281 เหรียญยูโร (1,899 เหรียญสหรัฐ) ต่อแผนการรักษาระยะสี่เดือน ถึงอย่างไรก็ดี ราคายาตามข้อเสนอใหม่นี้ยังคงแพงอยู่ ซึ่งหลายๆ ประเทศที่ประสบปัญหาการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตาอย่างรุนแรงไม่ได้ถูกรวมอยู่ในข้อเสนอของราคาใหม่นี้


 


ด้วยสาเหตุนี้ ทำให้หลายๆ ประเทศต้องกล้ำกลืนยอมรับสภาพ เช่นประเทศไทย แพทย์และผู้ป่วยไม่มีทางเลือกอื่น จึงต้องนำยาแกนไซโคลเวียชนิดฉีดเข้าเส้นเลือดดำมาใช้เป็นยาฉีดเข้าน้ำวุ้นลูกตาผู้ป่วย ในประเทศจีน องค์การหมอไร้พรมแดนต้องจ่ายเต็มราคาคือ 6,930 เหรียญยูโร (10,273 เหรียญสหรัฐ) เพื่อซื้อยาเม็ดวาลแกนไซโคลเวีย ซึ่งแพงกว่าราคารถยนต์แบบประหยัดที่ผลิตในจีน


 


จึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับบริษัทโรชที่จะเสนอราคาส่วนลดที่มากขึ้นแก่ประเทศกำลังพัฒนาทุกๆ ประเทศ พร้อมกับลดราคายาให้ถูกลงกว่านี้ ด้วยราคายาที่บริษัทตั้งไว้จำหน่ายในประเทศไทยและประเทศจีนนั้นเป็นการตั้งราคาตามประเทศร่ำรวย ซึ่งมีการใช้ยานี้เกือบเฉพาะในกรณีเพื่อป้องกันการติดเชื้อซีเอ็มวีในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะเท่านั้น                     


 


บริษัทโรช มุ่งทำตลาดเฉพาะลูกค้ากลุ่มเล็กๆ ที่ทำกำไร และใช้ระบบสิทธิบัตรปกป้องผลประโยชน์ตน รวมทั้งในประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตยาชื่อสามัญรายสำคัญยิ่งของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา   


 


บทความในวารสาร PLoS นี้เขียนโดยคณะจักษุแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์จากนานาประเทศ โดยยึดจากประสบการณ์ทางคลินิกขององค์การหมอไร้พรมแดนและโครงการต่างๆ และประเมินการศึกษาโดย นพ. เดวิด ไฮเด็น แพทย์ที่ปรึกษาประจำมูลนิธิเอสอีวีเอแห่งศูนย์การแพทย์แคลิฟอร์เนียแปซิฟิก (California Pacific Medical Center) ซานฟรานซิสโก และเป็นผู้เขียนหลักของบทความชิ้นนี้ สามารถอ่านบทความเรื่องการติดเชื้อซีเอ็มวีที่จอประสาทตา: หายนะจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ที่ถูกละเลย ได้จากวารสาร PLoS Medicine ซึ่งให้บริการแก่สาธารณชนโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย คลิกที่   


 


http://medicine.plosjournals.org/perlserv/?request=get-document&doi=10.1371/journal.pmed.0040334


 


   


 






People in Southeast Asia Needlessly Becoming


Blind Due to a Neglected Virus


 


Geneva/Bangkok 1st December 2007 - Failure to diagnose and treat cytomegalovirus retinitis (CMV) in people with AIDS is leading to unnecessary blindness, according to a paper published today in the journal PLoS Medicine. The authors found in pilot studies that CMV retinitis, which has been dramatically reduced in wealthy countries since the advent of antiretroviral therapy, occurred in 23, 27 and 32% of patients with advanced AIDS in Cambodia, Myanmar and Thailand respectively. By training clinicians to screen and taking steps to make the best treatment affordable, the authors argue that CMV diagnosis and treatment can easily be integrated into existing AIDS treatment programmes.  


 


"We can diagnose CMV retinitis fairly easily and reliably in less than two minutes, and there is an effective, practical treatment," said one of the authors, Dr. David Wilson, former MSF Medical Coordinator, Thailand. "Instead of addressing the problem, it"s like the world is pretending the death and the blindness CMV causes are not happening, or worse, we"re just accepting them."


 


Detecting and treating CMV retinitis early enough would stop the slow but relentless progress of a disease that leads to blindness within three to six months in patients whose immune systems are severely weakened with HIV. But because there are often no symptoms in the early stage of the disease, CMV can only be diagnosed through systematic screening of all at-risk patients.


 


"Routine retinal examination of high-risk HIV patients in Myanmar has allowed us to save patients from CMV-related blindness, " said Dr. Kalpana Sabapathy, HIV/AIDS advisor at MSF, citing recent studies in the Myanmar programme by an ophthalmologist and CMV specialist from SEVA Foundation, Dr. David Heiden. 


 


But in many countries the best treatment option, oral valganciclovir, costs more than US$ 10,000 for a four-month treatment course.  An alternative treatment using intravenous ganciclovir is cumbersome, requiring infusions twice a day for two or three weeks, and then daily infusions for another two or three months.  A third method to treat CMV retinitis, with intraocular injections of ganciclovir - doctors have to repeatedly jab patients in one or both eyes - is all the more unsatisfactory.  This invasive technique requires special training and does nothing to treat potentially fatal forms of CMV that occur outside the eye.


 


Integration of CMV retinitis into HIV programmes is therefore feasible, but dependent on systematic screening of at-risk patients and securing access to affordable oral valganciclovir, the authors argue.  Until then, CMV retinitis will continue to be the neglected disease of the AIDS epidemic.


 


"This is a classic case of the vicious circle," said Dr. Tido von Schoen-Angerer, Director of Médecins Sans Frontières" Campaign for Access to Essential Medicines. "Because the price of the drug is so high, HIV programmes aren"t screening and therefore are not reporting large numbers of CMV patients. But since on paper there are so few patients, bringing down the price of this treatment and ensuring its availability has never been a priority."


 


CMV retinitis is not mentioned in the current and pending WHO guidelines for HIV treatment in resource-poor settings. 


 


While there has been some progress on the accessibility of valganciclovir, it remains limited. NGOs have been proposed a discounted price from Roche of € 1,281 (US$ 1,899) for a four-month course of therapy but this offer remains expensive and excludes many countries where the CMV retinitis problem is most acute.


 


This has forced difficult compromises. In Thailand, doctors and patients have no choice but to use the intravenous formulation of ganciclovir as an intraocular injection. In China, MSF pays the full price for oral valganciclovir, which is € 6,930 (US$ 10,273). This is higher than the price of a Chinese economy car.


 


There is an urgent need for Roche to both extend their discounted prices to all developing countries and to lower this price further. Current prices in China and Thailand mimic wealthy country prices where the drug is almost exclusively used to prevent CMV for patients undergoing organ transplants. Roche is targeting a small but lucrative market, and protecting its position through patents, including in India, a significant source of generic drugs for developing countries.


 


The PLoS paper was authored by an international team of eye doctors and HIV specialists and is based the clinical experience from Médecins Sans Frontières and other programmes assessed by the lead author, Dr. David Heiden, a consultant from SEVA Foundation, based at the California Pacific Medical Center, San Francisco.  The article Cytomegalovirus Retinitis: The Neglected Disease of the AIDS Pandemic is freely available from the open access journal PLoS Medicine at:


 

http://medicine.plosjournals.org/perlserv/?request=get-document&doi=10.1371/journal.pmed.0040334

 


___________________________________________________________________________


For further information, please contact:


Adrienne MacDonald, MSF Access Campaign, Geneva: +41 79 293 0270


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net