Skip to main content
sharethis


ชาวประมงเป็นเจ้านายตัวเอง


 



 เป็นอาชีพของชุมชนไม่มีใครเป็นเจ้าของทะเล


 


"กุ้ง หอย ปู ปลา" เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศโซนร้อน และมีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วย แม่น้ำลำธาร กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในขณะที่พื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศติดอยู่กับทะเล มีชายฝั่งรวมกันทั้งอันดามันและอ่าวไทย ซึ่งมีความยาวประมาณ 2,614 กิโลเมตร มีพื้นที่ 22 จังหวัดที่ติดพื้นที่ชายฝั่งทะเล


 


ทุกจังหวัดมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทางการประมงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทำให้สังคมไทยไม่เคยขาดแคลนอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำที่หลากหลาย ทั้งจากแหล่งน้ำจืด แหล่งน้ำกร่อย จากทะเลสาบ และทะเลนอก ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน


 



 



บรรยากาศยามเช้าในหมู่บ้านประมงทั่วไป



 


แต่ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ล้มเหลว ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยไม่ได้รับการปกป้องดูแล ชาวประมงต้องช่วยเหลือกัน เพราะทำประมงคนเดียวไม่ไหว หรือจัดให้มีการฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้แม่น้ำลำคลองเน่าเสีย เป็นแหล่งทิ้งสิ่งปฏิกูล ป่าชายเลนถูกทำลาย ทำให้เกิดปรากฎการณ์อันกระทบต่อแหล่งอาหาร โดยเฉพาะ กุ้ง หอย ปู ปลา อันเป็นอาหารโปรตีนหลักของสังคมไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการของผู้คนในสังคม


 


ในอดีต ประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก หากเราพิจารณาเฉพาะการจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยเราจะพบว่าพันธุ์สัตว์น้ำในอ่าวไทยลดจำนวนลงเรื่อยๆ


 


จากการลดลงของพันธ์สัตว์น้ำในทะเล นอกเหนือจากการกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพทางการประมงแล้ว ในส่วนของผู้บริโภคก็ต้องเปลี่ยนจากอาหารโปรตีนจากธรรมชาติไปรับประทานอาหารโปรตีนมือสอง เช่น ไก่เนื้อ กุ้ง ปลา จากการเพาะเลี้ยง ซึ่งใช้เวลาเลี้ยงระยะสั้นๆ ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีและยาปฏิชีวนะที่หลากหลาย ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้นทุกวัน


 


บรรจง นะแส ผู้อำนวยการโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่งภาคใต้ เป็นคนหนึ่งที่ทำงานกับชาวประมงมานานกล่าวว่า "หากมองในแง่วิชาการ สิ่งที่นักวิชาการทางการประมงมักพูดกันก็คือ ประชากรเราเพิ่มขึ้น การบริโภคมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีทางการประมงมากเกินไป ทำให้เราจับพันธุ์สัตว์น้ำขึ้นมากเกินกำลังผลิตของธรรมชาติ หรือที่เรียกว่า over fishing ซึ่งผมก็มองว่าถูกเพียงส่วนหนึ่ง"


 


"ประเด็นสำคัญผมมองว่า ประเทศของเราขาดการบริหารจัดการทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรามีทรัพยากรมาก หลายหลายชนิด ได้ปลามาก็ต้องช่วยกันทั้งครอบครัว เพื่อนบ้านก็มาช่วยด้วย ได้รับแบ่งปลาไปกินเป็นการตอบแทน แต่เราล้มเหลวในเรื่องการบริหารจัดการ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะโครงสร้างทั้งทางการเมือง และมาตรการทางกฎหมาย ที่เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารการจัดการ ส่วนใหญ่การเมืองตกอยู่ในเงื้อมมือของกลุ่มทุนที่หากินกับทรัพยากรของชาติ"


 


"ทะเลไทยวันนี้ เต็มไปด้วยเครื่องมือทำลายล้าง อย่างอวนรุน อวนลาก เรือปั่นไฟ เรือคราดหอยลาย ซึ่งล้วนเป็นเครื่องมือทำการประมงที่ประเทศพัฒนาทั้งหลายเลิกใช้หมดแล้ว เพราะมันเป็นเครื่องมือที่ทำลายพันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนอย่างมโหฬาร สูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้อาชีพประมงชายฝั่งหลายแสนครอบครัวต้องลำบากยากจน แต่นักการเมืองบ้านเราส่วนหนึ่ง เป็นเจ้าของธุรกิจโรงงานปลาป่น โรงงานอาหารสัตว์ โรงงานน้ำปลา เครื่องมืออวนรุน อวนลาก เรือปั่นไฟ เรือคราดหอยลาย เป็นเครื่องจักรสำคัญในการหาวัตถุดิบป้อนให้กับโรงงานของพวกเขา คนส่วนใหญ่อย่างชาวประมงจะอดอยาก จะตกงาน หมดอาชีพไม่ใช่ประเด็นที่นักการเมือง หรือกลุ่มทุนในบ้านเราให้ความสนใจมากนัก"


 


"ทางออกในแง่ของชุมชนก็คือ ความร่วมมือกันฟื้นฟู ซึ่งเป็นภาระที่หนักหน่วงมาก เพราะต้องต่อสู้กับอิทธิพลท้องถิ่น อิทธิพลของนายทุน เจ้าของโรงงานน้ำปลา โรงงานปลาป่น"


 



ก้ามกราม


 



ปล่อยกลับทะเลเพราะกำลังวางไข่


 


 



เด็กๆ ที่ อ.จะนะวางอวนหน้าบ้านก็ได้ปลามากินแล้ว


 



ช่วยกันหน่อย


 


"ผมเชื่อในต้นทุน ในศักยภาพของทรัพยากร โดยเฉพาะประสบการณ์ในการทำงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งกับพี่น้องชาวประมงพื้นบ้านมากกว่า 20 ปี ผมพบว่าบางพื้นที่เราแค่หาหนทางหยุดเครื่องมือทำลายล้าง เช่น ไม่ให้มีอวนลาก อวนรุนเรือคราดหอยเข้ามาในพื้นที่แค่ 3 เดือน พันธุ์สัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา ก็มีให้จับเหลือเฟือ บางพื้นที่ทำเขตอนุรักษ์ทำปะการังเทียมแค่ 4-5 เดือน หมู่บ้านก็จะอยู่ได้ด้วยอาชีพทำการประมง เพราะอาหารทะเลสดๆ ขนาดที่โตเต็มวัยราคาสูงตลอด"


 


ด้วยเหตุนี้ บรรจงได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สมาคมรักษ์ทะเลไทย, มูลนิธิเพื่อผู้ผู้บริโภค, คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ จึงเห็นพ้องร่วมกันที่จะจัดให้มีโครงการ "รวมพลคนกินปลา" ขึ้น เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงต้นทุนเดิมของสังคมไทย โดยเฉพาะต้นทุนอาหารโปรตีนจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ที่มีอยู่ในสังคม เพื่อนำเสนอสถานการณ์ ปัญหา และทางออกเพื่อให้ทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำได้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม


 


รวมถึงการแสวงหาความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง ในการร่วมมือกันในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งน้ำทะเลและชายฝั่งของประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคและชาวประมงพื้นบ้านได้มีปฏิสัมพันธ์ เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยงานดังกล่าวจะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7 - 9 ธันวาคม 2550 ณ ถนนพระอาทิตย์ จ.กรุงเทพฯ


  



ราชินีทะเลสาบสงขลา (ปลามิลังหรือปลาดุกทะเล)




 



หมึกกล้วยงามๆ



 



ปลาหมึกหอมติดอวนสามชั้นแบบนี้



 



หมึกหอมสดๆ จากทะเล เดินทางไปถึงผู้บริโภค ราคา...


 


 


ตัวนี้เป้าหมายนักตกปลา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net