Skip to main content
sharethis

กรมการค้าต่างประเทศจัดสัมมนาเกี่ยวกับข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ ในหัวข้อ "JTEPA: โค้งสุดท้ายก่อนส่งออก" เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2550 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ เพื่อชี้แจงแก่ผู้ประกอบการถึงข้อมูลเพิ่มเติม และตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับข้อตกลงหุ้นส่วนทางการเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น, สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้การตกลง JTEPA, กฎแหล่งกำเนิดสินค้า และระเบียบปฏิบัติการขอหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้าภายใต้ JTEPA


 


นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า การที่ทำข้อตกลงกับญี่ปุ่นทำให้ดึงดูดการลงทุนทางการค้าจากญี่ปุ่นเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น มีการลดภาษีเหลือ 0% ในทันที กว่า 7,000รายการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าประเภทอาหารทะเล อาหารสำเร็จรูป สิ่งทอ รองเท้า อัญมณี และรวมไปถึง ปิโตเคมี พลาสติก ส่วนทางญี่ปุ่นได้ผ่อนคลายกฎระเบียบต่างๆ ในเรื่องของสินค้าและบริการ การบริการจะเป็นในเรื่องธุรกิจสปา พ่อครัว ครูสอนภาษาไทย การทำ JTEPAไม่ใช่มองแค่การค้าและบริการ แต่รวมไปถึงโครงการความร่วมมือต่างๆระหว่างกัน เช่น โครงการส่งเสริมการค้าการลงทุนภายใต้ครัวไทยสู่ครัวโลก โครงการด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอ อุตสาหกรรมยานยนตร์และชิ้นส่วน และโครงการต่างๆอีกมากมาย และคาดว่าในปี 2551 หลังจากการตกลง JTEPA มีผลบังคับใช้แล้ว จะกระตุ้นและส่งเสริมให้การส่งออกของไทย ขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10


 


ทางด้านผู้ประกอบการ นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่าข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ที่จะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้ จะส่งผลให้การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปตลาดญี่ปุ่นปี 2551 ขยายตัวเพิ่มขึ้น 30% หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 60 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการส่งออกปี 2550 ที่คาดว่ามีมูลค่าส่งออกประมาณ 200 กว่าล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้ได้รับการยกเลิกภาษีทันที

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net