Skip to main content
sharethis

วิทยากร  บุญเรือง


 


ความเชื่อมั่นผู้บริโภคไทยลดต่อเนื่อง 11 เดือน การขยายตัวของเศรษฐกิจต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี


วันที่ 11 ก.ย. 50 สำนักข่าว Reuters ได้รายงานถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2550 ของ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยผลสำรวจนี้ชี้ให้เห็นว่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทยนั้นลดลงมาต่อเนื่องตลอด 11 เดือน โดยในเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีระดับอยู่ที่ 69.2 ลดลงจากเดือนสิงหาคมที่มีระดับอยู่ที่ 69.5 ทั้งนี้เนื่องมาจากปัญหาราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงอุทกภัยทั่วประเทศ


ทางด้าน อุษรา วิไลพิชญ์ นักวิเคราะห์จาก Standard Chartered economist ได้ให้ความเห็นว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคไทยจะลดลงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะถึงการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น และปัจจัยร่วมที่สำคัญก็คือราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา


Reuters ได้รายงานว่านักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจได้คาดการณ์กันว่า เศรษฐกิจของไทยจะขยายตัว 4.2% ซึ่งใกล้เคียงกับการประเมินของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ที่รายงานประมาณการเศรษฐกิจ ณ เดือนสิงหาคม 2550 ที่ได้ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้ จะขยายตัวอยู่ที่ 4.0 % โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 3.8 - 4.3 % ซึ่งลดลงจาก 5.0% ของเมื่อปีที่แล้ว


ทั้งนี้เป็นภาวการณ์ขยายตัวทางเศรษฐกิจ น้อยที่สุดตั้งแต่ปี ้อยที่สุดตั้งแต่ปี ค.ศ.ไทยในปีนี้ 6.5 ปี 2001 งขึ้น รวมถึงสภาพเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา2544 เป็นต้นมา แต่คาดว่าใน ปีหน้าเศรษฐกิจจะขยายตัวอยู่ที่ 4.8% ถ้าหากการเลือกตั้งในเดือนธันวาคมนี้ ได้สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน


ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนเมษายนถึงกันยายน 2550


ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2550 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวมอยู่ที่ 69.2 ลดลงจาก 69.5 ในเดือนสิงหาคม 2550  ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 70.3 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 87.8


 


สำหรับปัจจัยลบที่ส่งผลต่อให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวลดลงจากเดือนสิงหาคม 2550 เนื่องจากผู้บริโภคยังกังวลกับปัญหาเงินบาทแข็งค่า, ปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังอยู่ในระดับสูง, ราคาน้ำมันแพง, ภาวะน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน รวมถึงความกังวลจากเหตุการณ์ลอบวางระเบิดหน้ากรมแผนที่ทหารด้วย


 


โดยดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2550 นี้ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยและหอการค้าไทย ได้ดำเนินการโดยออกแบบสอบถามตัวอย่างจากประชาชนทั่วประเทศเป็นจำนวน 2,242 คน แยกเป็นกลุ่มตัวอย่างในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ 40.2 และต่างจังหวัดร้อยละ 59.8 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายและเพศหญิงประมาณร้อยละ 49.7 และ 50.3 ตามลำดับ


 


 


 






* การอ่านค่าดัชนี: ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-200 ซึ่งสามารถแปลความหมายได้ดังนี้


1) ถ้าดัชนีอยู่ในระดับที่สูงกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าภาวการณ์ด้านนั้นๆ จะดีขึ้นหรือ อยู่ในระดับดี


2) ถ้าดัชนีอยู่ในระดับ 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าภาวการณ์ด้านนั้นๆ ไม่เปลี่ยนแปลงหรือ ทรงตัวในระดับปานกลาง


3) ถ้าดัชนีอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 100 แสดงว่าผู้บริโภคมีความเห็นว่าภาวะการณ์ด้านนั้นๆ จะแย่ลงหรือ อยู่ในระดับไม่ดี


 


โดยปัจจัยทั้งทางบวกและทางลบที่มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในเดือนกันยายน 2550


ได้แก่


 


-ปัจจัยบวก


 


1. การกำหนดวันเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปลายปีนี้ ส่งผลทางจิตวิทยาในเชิงบวกกับผู้บริโภคและนักลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ


 


2. ภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนสิงหาคม 2550 ว่า การส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 13,818 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 12,684 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ ขยายตัว ร้อยละ 12.1 ส่งผลให้เกินดุลการค้าทั้งสิ้น 973 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ


 


3. SET Index ในเดือนกันยายน ปรับตัวเพิ่มขึ้น 32.29 จุด โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 813.21 จุด ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เป็น 845.50 จุด ณ สิ้นเดือนกันยายน


 


-ปัจจัยลบ


 


1. ราคาน้ำมันขายปลีกน้ำมันเบนซินออกเทน 95 และน้ำมันเบนซินออกเทน 91 ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 1 บาท 60 สตางค์ต่อลิตร จากระดับ 28.39 และ 27.59 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนสิงหาคม ตามลำดับ มาอยู่ที่ระดับ 29.99 และ 29.19 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนกันยายน ตามลำดับ และราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศก็ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา โดยราคาขายปลีกในเขตกรุงเทพฯ ของน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2 บาทต่อลิตร จากระดับ 25.34 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนสิงหาคม มาอยู่ที่ระดับ 27.34 บาทต่อลิตร ณ สิ้นเดือนกันยายน


 


2. ผู้บริโภคมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพและราคาสินค้าที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ขณะที่รายได้ในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น


 


3. เหตุการณ์ลอบวางระเบิดบริเวณข้างโรงเรียนแผนที่ทหาร กรมแผนที่ทหาร ในกรุงเทพมหานคร และการค้นพบระเบิดในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ตลอดจนข่าวการลาออกของรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ ได้ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาในเชิงลบ


 


4. ค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากระดับ 34.316 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม เป็น 34.266 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ สิ้นเดือนกันยายน


 


5. ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


 


6. ผู้บริโภคมีความเห็นว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังไม่เกิดผลเป็นรูปธรรม


 


ผลการสำรวจภาวการณ์ทางสังคมของผู้บริโภคประจำเดือนกันยายน 2550


ส่วนผลการสำรวจความคิดเห็นทางสังคมของผู้บริโภคร่วมกับการสำรวจความเชื่อมั่นของผู้บริโภคตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549 โดยการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคนั้นมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการวัดการเปลี่ยนแปลงของการบริโภคของภาคเอกชนและการเปลี่ยนแปลงของผลผลิตมวลภายในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เป็นสำคัญ


 


ทั้งนี้การจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นทางสังคมที่จัดทำขึ้นใหม่ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาดัชนีที่ใช้ชี้วัดการวัด การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางสังคมและการเปลี่ยนแปลงของความสุขโดยรวมของคนในประเทศ (Gross Domestic Happiness: GDH) ซึ่งผลการสำรวจในเดือนกันยายน 2550 มีดังต่อไปนี้


 


 



 


 1.ดัชนีวัดความสุขในการดำรงชีวิต


ในเดือนกันยายน 2550 ดัชนีวัดความสุขในการดำรงชีวิตในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 98.9 แสดงว่าประชาชนมีความสุขในการดำรงชีวิตในระดับปกติ (ระดับปกติจะมีค่าดัชนีที่ระดับ 100) โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขในการดำรงชีวิตในระดับมาก ปานกลาง และน้อยประมาณ 14.9%  69.1% และ 16.0% ตามลำดับ   ทั้งนี้ ดัชนีวัดความสุขในการดำรงชีวิตในเดือนกันยายนปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่อยู่ที่ระดับ 98.2  ที่กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขในการดำรงชีวิตในระดับมาก ปานกลาง และน้อย 14.7% 68.8% และ 16.5% ตามลำดับ การที่ดัชนีวัดความสุขในการดำรงชีวิตปรับตัวดีขึ้นในเดือนนี้  เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างเริ่มคลายความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองเมื่อการเลือกตั้งทั่วไปยังคงถูกกำหนดให้มีขึ้นในปลายปีนี้  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีความหวังว่าสถานการณ์ต่างๆ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองจะดีขึ้นภายหลังจากการเลือกตั้ง


         


สำหรับการคาดหวังในความสุขในการดำรงชีวิตในช่วง 3  เดือนข้างหน้านั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในอนาคตเป็นช่วงเวลาที่มีความสุขในการดำรงชีวิตในระดับมาก ปานกลาง และน้อยประมาณ 15.7% 70.6% และ 13.7%  ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนีวัดความสุขในการดำรงชีวิตในอนาคตอยู่ที่ระดับ 102.0   ปรับตัวดีขึ้นจากค่าดัชนีวัดความสุขในการดำรงชีวิตในอนาคตของเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 100.8 เนื่องจากมีความเห็นว่าภาวะเศรษฐกิจและสถานการณ์ทางการเมืองในอนาคตน่าจะปรับตัวดีขึ้นภายหลังจากการเลือกตั้ง  อย่างไรก็ตามการที่ดัชนีการคาดหวังในความสุขในการดำรงชีวิตในช่วง 3 เดือนข้างหน้ายังอยู่ในระดับเกินกว่า 100 ต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 12 แสดงว่าประชาชนยังคิดว่าตนเองยังคงมีความสุขในการดำรงชีวิตในอนาคต


 


2.ดัชนีภาวะค่าครองชีพ


ในเดือนกันยายน 2550 ดัชนีภาวะค่าครองชีพในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 57.6 แสดงว่าประชาชนประสบกับภาวะค่าครองชีพที่สูงกว่าระดับปกติ (ระดับปกติจะมีค่าดัชนีที่ระดับ 100) เนื่องจากราคาสินค้าโดยทั่วไปยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ประกอบกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศที่ยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง ทำให้ประชาชนมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับค่าครองชีพที่อาจปรับตัวสูงขึ้น  


 


ทั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีภาวะค่าครองชีพอยู่ในระดับดี (เหมาะสม) ปานกลาง และแย่ (ไม่เหมาะสม) ประมาณ 10.8%    36.0%  และ 53.2%  ตามลำดับ   ซึ่งปรับตัวแย่ลงเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคมที่ดัชนีภาวะค่าครองชีพในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 58.3  โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีภาวะค่าครองชีพอยู่ในระดับดี (เหมาะสม) ปานกลาง และแย่ (ไม่เหมาะสม) ประมาณ 11.1% 36.1% และ 52.8%  ตามลำดับ  


         


สำหรับดัชนีภาวะค่าครองชีพในช่วง 3  เดือนข้างหน้านั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในอนาคตภาวะค่าครองชีพอยู่ในระดับดี (เหมาะสม) ปานกลาง และแย่ (ไม่เหมาะสม) ประมาณ 13.6%  44.6%  และ 41.8% ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนีภาวะค่าครองชีพในอนาคตอยู่ที่ระดับ 71.8 ซึ่งยังต่ำกว่าระดับปกติ (ที่ระดับ 100) แสดงว่าค่าครองชีพยังคงอยู่ในระดับสูง จะสังเกตได้ว่า ดัชนีภาวะค่าครองชีพปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับค่าดัชนี เดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 73.1 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างรู้สึกว่าค่าครองชีพอาจปรับตัวสูงขึ้นได้ในอนาคต เนื่องจากราคาพลังงานที่ทรงตัวอยู่ในระดับสูง


 


3.ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด


ในเดือนกันยายน 2550 ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 56.8 แสดงว่าประชาชนคิดว่าปัญหายาเสพติดยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับปกติ (ระดับปกติจะมีค่าดัชนีที่ระดับ 100)  โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับดี (มีปัญหาน้อย) ปานกลาง และแย่ (มีปัญหามาก) ประมาณ 12.4%  32.0% และ 55.6%  ตามลำดับ ดัชนีในเดือนนี้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2550 ที่ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 55.1 


         


สำหรับดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในช่วง 3  เดือนข้างหน้านั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในอนาคตปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับดี (มีปัญหาน้อย) ปานกลาง และแย่ (มีปัญหามาก) ประมาณ 13.9%  33.4% และ 52.7%  ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในอนาคตอยู่ที่ระดับ 61.2    ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับค่าดัชนีเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 59.4  การที่ดัชนียังมีค่าต่ำกว่าระดับ 100  แสดงว่าประชาชนยังเห็นว่าปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญสำหรับสังคมไทยที่ต้องเร่งแก้ไข  


 


4.ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชั่น


ในเดือนกันยายน 2550 ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชั่นในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 69.0 แสดงว่าประชาชนคิดว่าปัญหาคอร์รัปชั่นยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าระดับปกติ (ระดับปกติจะมีค่าดัชนีที่ระดับ 100) โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับดี (มีปัญหาน้อย) ปานกลาง และแย่ (มีปัญหามาก) ประมาณ 11.0%    47.0%  และ 42.0%  ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ดัชนีในเดือนนี้ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2550 ที่ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชั่นในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 67.1  การที่ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชั่นในปัจจุบันยังมีค่าต่ำกว่าระดับ 100 แสดงให้เห็นว่าการมุ่งขจัดปัญหาคอร์รัปชั่นของรัฐบาลยังไม่เป็นไปตามที่กลุ่มตัวอย่างคาดหวัง


         


สำหรับการคาดหวังในปัญหาคอร์รัปชั่นในช่วง 3  เดือนข้างหน้านั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในอนาคตปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ในระดับดี (มีปัญหาน้อย) ปานกลาง และแย่ (มีปัญหามาก) ประมาณ 18.6%    46.0%  และ 35.4%  ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชั่นในอนาคตอยู่ที่ระดับ 83.2  ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับค่าดัชนีเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 81.4 การที่ดัชนียังมีค่าต่ำกว่าระดับ 100 แสดงว่าประชาชนยังเห็นว่าปัญหาคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาที่สังคมไทยต้องการเห็นรัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหานี้  และคาดหวังไว้ในระดับสูงว่ารัฐบาลชุดนี้จะแก้ไขปัญหานี้ได้เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน


 


5.ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง


ในเดือนกันยายน 2550 ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันอยู่ที่ในระดับ 46.3 ปรับตัวดีขึ้นจากระดับที่ 44.5 ในเดือนที่แล้ว เนื่องจากการกำหนดวันเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ ทำให้กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะดีขึ้นภายหลังจากการเลือกตั้ง แม้ว่าจะมีข่าวการลาออกของรัฐมนตรีก็ตาม  โดยกลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในระดับดี (มีเสถียรภาพ) ปานกลาง และแย่ (ขาดเสถียรภาพ) ประมาณ 9.8%  26.7% และ 63.5%  ตามลำดับ ขณะที่เดือนสิงหาคม กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในปัจจุบันเป็นช่วงเวลาที่มีสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในระดับดี (มีเสถียรภาพ) ปานกลาง และแย่ (ขาดเสถียรภาพ) ประมาณ 9.2%  26.1% และ 64.7% ตามลำดับ 


         


สำหรับการคาดหวังในสถานการณ์ทางการเมืองในช่วง 3  เดือนข้างหน้านั้น กลุ่มตัวอย่างเห็นว่าในอนาคตสถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในระดับดี (มีปัญหาน้อย) ปานกลาง และแย่ (มีปัญหามาก) ประมาณ 16.4%  29.7% และ 53.9% ตามลำดับ ส่งผลให้ดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในอนาคตอยู่ที่ระดับ 62.5 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับดัชนีในเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 59.9 แสดงว่าประชาชนเห็นว่า ขาดความมั่นใจว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะมีเสถียรภาพในอนาคต 


 


ที่มา:


Thai consumer confidence at more than 5-year low (Reuters - 11 กันยายน 2550)


ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) กันยายน 2550 (ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย - เข้าดูเมื่อ 11 กันยายน 2550)


ประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2550 ณ เดือนสิงหาคม 2550 (สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง - 23 สิงหาคม 2550)


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net