Skip to main content
sharethis


วันที่

11 ต.ค.50 เวลา 9.00 . ศาลจังหวัดชุมพรและศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีนัดหมายให้ผู้บังคับการจังหวัดทหารบก ผู้ควบคุมสถานที่ฝึกอบรมอาชีพในโครงการฝึกอบรมอาชีพ 4 เดือนทั้ง 2 แห่ง นำตัวผู้ถุกควบคุมตัวที่ยื่นคำร้องว่าถูกควบคุมตัวโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยตัวทันที มาไต่สวนที่ศาล ทั้งนี้ เป็นไปตามคำสั่งศาลที่เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่รับคำร้องและไต่สวน โดยเบื้องต้นมีคำสั่งชี้ว่าคดีมีมูลขอให้ผู้ควบคุมตัวมาชี้แจ้งให้ศาลพอใจว่าการควบคุมตัวฝึกอบรมอาชีพนั้นชอบด้วยกฎหมาย

 


ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมอาชีพ

4 เดือน นั้น เป็นโครงการของกองทัพที่จะรองรับผู้ถูกควบคุมตัวที่ได้ถูกดำเนินคดี โดย พ..อัคร ทิพย์โรจน์ หัวหน้าศูนย์ประชาสัมพันธ์กองบัญชาการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท.) ระบุว่า ผู้อยู่ในโครงการคือผู้ที่ผ่านกรรมวิธีในการซักถามและคัดแยกแล้วว่าไม่ได้มีส่วนในการก่อเหตุหรือไม่มีหลักฐานชี้ชัดพอที่จะส่งดำเนินคดี ส่วนใหญ่เป็นแนวร่วม และประสงค์จะฝึกอาชีพในวิชาช่างต่างๆ โดยใช้สถานที่ใน 3 ค่ายทหาร ได้แก่ ค่ายวิภาวดี จ.สุราษฎร์ธานี ค่ายกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร และค่ายรัตนรังสรรค์ จ.ระนอง

ญาติผู้ถูกควบคุมตัวเพื่อฝึกอาชีพสี่เดือนจำนวนกว่า

70 คน และทนายความของมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา (มสพ.)ร่วมกับศูนย์ทนายความมุสลิม จะได้เดินทางไปร่วมรับฟังการพิจารณาคดี รวมทั้งนักสังเกตการณ์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศจะร่วมเดินทางไปร่วมสังเกตุการณ์การพิจารณาคดีดังกล่าวด้วย

โดยขณะนี้มีความพยายามที่จะจัดโครงการระยะสั้นในญาติได้ไปเยี่ยมในระหว่างวันที่

10-14 ต.ค.นี้ ซึ่งเป็นการสร้างความสับสนให้กับญาติและผู้ถูกควบคุมตัวที่กำลังยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อตัดสิน ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้และตลอดมาชาวบ้านได้ขอให้ปล่อยตัวกลับบ้านในช่วงเดือนถือศีลอดมาโดยตลอด และในวันที่ 3 ต.ค.ที่ผ่านมา ผู้ถูกควบคุมตัวแต่ละค่ายรวมทั้งสิ้นจำนวน 303 คน ได้ร่วมกันเขียนจดหมายขอกลับบ้านแต่ได้รับการปฏิเสธ ทำให้มีการยื่นคำร้องต่อศาลให้ไต่สวนว่ากรณีการควบคุมตัวเพื่อฝึกอาชีพ 4 เดือนดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

"

ขอเรียกร้องให้หน่วยงานของรัฐทุกฝ่ายสนับสนุนให้ประชาชนสามารถใช้กลไกทางกฎหมายได้อย่างเต็มที่เพื่อดำรงไว้ซึ่งหลักนิติรัฐที่สำคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ " นางอังคณา นีละไพจิตร กล่าว ซึ่งนางอังคณา ก็จะเดินทางไปร่วมสังเกตการณ์ในวันที่ 11 ต.ค.นี้พร้อมกับนักสังเกตุการณ์จำนวนหนึ่งด้วย

 


ข้อมูลเบื้องต้น


สรุป ณ ปัจจุบันมีผู้ถูกควบคุมตัวทั้งหมดจำนวน

66 คน ในค่ายรัตนรังสรรค์ จังหวัดระนอง จำนวน 158 คน ในศูนย์ท่าแซะ ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดชุมพร และจำนวน 79 คนในค่ายวิภาวดีรังสิต จังหวัดสุราษฎร์ธานี รวมทั้งสิ้น 303 คน ภายใต้โครงการอบรมอาชีพ 4 เดือน ซึ่งทั้งญาติและผู้ถูกควบคุมตัวได้ร้องเรียนต่อศาลว่า ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมและถูกควบคุมตัว 7 วันตามอำนาจกฎอัยการศึก พ.. 2457 และถูกควบคุมตัวต่ออีก 30 วันตามอำนาจพระราชบัญญัติการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.. 2548 โดยถูกควบคุมตัว ณ ค่ายอิงคยุทธบริหาร อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ซึ่งเมื่อครบกำหนดการควบคุมตัวตามกฎหมาย ทางเจ้าหน้าที่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะควบคุมตัวอีก แต่กับมีการข่มขู่ บังคับให้บุคคลเหล่านั้นเข้ารับการ "ฝึกอบรมวิชาชีพ" เป็นเวลา 4 เดือน โดยเจ้าหน้าที่ขู่ว่า หากปฏิเสธไม่เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพจะส่งตัวไปดำเนินคดีและจะไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างการพิจารณาคดี ไม่ได้รับสิทธิในการพบทนายความ ไม่มีการตั้งข้อหา หรือหากกลับไปภูมิลำเนาก็อาจไม่ได้รับความปลอดภัย ซึ่งทำให้ผู้ถูกควบคุมเกิดความหวาดกลัว ต้องจำยอมเข้ารับการฝึกอาชีพโดยไม่สมัครใจ

ทั้งนี้ ศาลจังหวัดระนองได้รับคำร้องและกำหนดวันนัดไต่สวนผู้ควบคุมตัวและผู้ถูกควบคุมตัววันที่

18 ตุลาคม พ.. 2550

 


--------------------------------------


ข่าวที่เกี่ยวข้อง


ยุทธวิธี "แช่แข็ง" ส่งแนวร่วมฝึกอาชีพ 4 เดือน


นักสังเกตการณ์ (The Observers) : โครงการอบรมอาชีพ 4 เดือน ..ความสมัครใจที่ถูกบังคับ (ตอนที่ 1)


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net