Skip to main content
sharethis

ทิพย์อักษร มันปาติ
สำนักข่าวประชาธรรม



แม้ว่ารัฐบาล คมช.จะประกาศปาวๆ ว่าจะเร่งดำเนินการให้ประเทศไทยคืนสู่ความเป็นประชาธิปไตยให้เร็วที่สุด แต่ความเป็นจริงในการดำเนินการเร่งออกกฎหมายหลายฉบับของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กลับสวนทาง ทั้งนี้จากการติดตามตรวจสอบของเครือข่ายภาคประชาชน โดยคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) พบว่า มีร่างกฎหมายอย่างน้อย 11 ฉบับที่ สนช.กำลังเร่งผลักดันนั้น นอกจากจะไม่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนแล้ว ยังเป็นภัยคุกคามต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน เช่น ร่างกฎหมายการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ร่างกฎหมายป่าชุมชน ร่างกฎหมายว่าด้วยเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ฯลฯ

รวมไปถึงร่างกฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้านการสื่อสารคือ ร่าง พ...การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.. ... โดยรางกฎหมายนี้กําลังอยูในระหวางการพิจารณา ของคณะกรรมการกฤษฎีกา และมีสาระสําคัญที่เปนการใหหนวยงานรัฐเป็นเจ้าของสื่อวิทยุโทรทัศนอยูเชนเดิม นอกจากนี้ ยังใหรัฐมีอํานาจควบคุม หรือหามเสนอขาวสารโดยการสั่งการดวยวาจา หรือหนังสือระงับรายการที่เสนอผานสื่อสาธารณะอีกด้วย


เนื้อหาสำคัญของ ร่าง พ... การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.. ... มีเนื้อความบ่งชี้ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสื่อของภาคประชาชนโดยตรง เช่น ในมาตรา 8 ระบุว่าผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน ดังนั้น หาก ร่าง พ...ตัวนี้ผ่าน ก็จะไปสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตรา 47 วรรคสอง เรื่องการให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ และจะมีผลทำให้วิทยุชุมชนที่เกิดแตกแขนงเติบโตมาจากรัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งเปิดทางให้ประชาชนมีสิทธิเป็นเจ้าของคลื่นความถี่นั้น กลายเป็นสถานีวิทยุเถื่อนทันที เพราะยังไม่มีอนุญาตประกอบกิจการนั่นเอง


หากสถานีวิทยุโทรทัศน์ใดยังดำเนินการออกอากาศโดยไม่ได้รับอนุญาต จะต้องโทษอาญา ตามมาตรา 80 ระวางจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และปรับวันละไม่เกิน 5 หมื่นบาทตลอดระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืน!


ย้อนดู กม. สื่อวิทยุโทรทัศน์ จาก 2498 ถึง 2550 สิทธิเสรีภาพอยู่ที่เดิม?


..สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ กล่าวว่า พ... วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ปี 2498 อยู่ในสมัยรัชกาลที่ 9 โดยมีผู้สนองพระบรมราชโองการ คือ จอมพล ป.พิบูลสงคราม และดำเนินต่อเรื่อยมาจนปัจจุบัน ทั้งนี้ สื่อวิทยุและโทรทัศน์เป็นเรื่องที่เกี่ยวพันกับคนอย่างกว้างขวาง เพราะสามารถเข้าถึงคนกว่า 90% ของประเทศซึ่งเป็นผู้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อวิทยุและโทรทัศน์


หากร่าง พ...นี้ผ่านในปีนี้ ก็จะเป็น พ...การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ปี 2550 ซึ่งก็เป็นเรื่องที่จะต้องเอามาคุยกันว่าจากปี 2498 ถึง 2550 สิทธิเสรีภาพอยู่ที่เดิมหรือเปล่า หรือจะมากขึ้นกว่าเดิม หรือจะน้อยลงอย่างไร


อาจกล่าวได้ว่าที่ผ่านมาประชาชนได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญปี 2540 อย่างมาก รวมไปถึงกฎหมายลูกภายใต้รัฐธรรมนูญอันได้แก่ พ...องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ปี 2543 ที่รองรับสิทธิของภาคประชาชนในการที่จะได้รับการจัดสรรคลื่นความถี่จำนวน 20 % จากเดิมที่มีแต่ภาครัฐและเอกชนเท่านั้นที่เข้าถึงคลื่นความถี่ดังกล่าว นับเป็นความก้าวหน้าในการรองรับสิทธิของประชาชนในด้านการสื่อสาร จนนำไปสู่การที่ชุมชนตื่นตัวจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนทั่วประเทศ


"เรื่องวิทยุโทรทัศน์มีความเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ แม้ว่าเราจะมี พ...วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ปี 2498 ซึ่งมีฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในเวลาต่อมา อย่างไรก็ตาม การมีรัฐธรรมนูญปี 2540 ในมาตราที่ 40 ว่าด้วยคลื่นความถี่ในกิจการสาธารณะต้องมีองค์กรจัดสรรคลื่นต่างๆ และต้องมีกฎหมายลูก คือ พ...องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ 2543 เป็นการจุดกระแสให้ประชาชนตื่นตัวลุกขึ้นมาเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ตามมาตรา 40 แต่การรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 .. 2549 ก็ล้มมาตรา 40 ตามรัฐธรรมนูญ 2540 ไป ในรัฐธรรมนูญปี 2550 มีการปรับเปลี่ยนเนื้อสาระเดิมที่เคยรองรับสิทธิของภาคประชาชนในการสื่อสารไป"..สุภิญญากล่าว


..สุภิญญา กล่าวต่อว่า ในรัฐธรรมพ.. 2550 มาตรา 47 กำหนดให้มีองค์กรอิสระองค์กรเดียวที่มาทำหน้าที่กำกับดูแลกิจการวิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม ในขณะที่รัฐธรรมนูญ 2540 มาตรา 40 ไม่ได้ระบุว่ามีกี่องค์กร แต่ก็ให้มี 2 องค์กรแยกกัน คือ กทช. และ กสช. แต่ กสช. ก็ยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพราะมีปัญหาในกระบวนการสรรหาคณะกรรมการ นอกจากนี้ก็มีกฎหมายลูกออกมารองรับแล้วคือ พ...องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ 2543


การที่รัฐธรรม พ.. 2550 ผ่านการลงคะแนนเสียงประชามติเมื่อวันที่ 19 .. 2550 จะทำให้ พ... องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ 2543 ที่มีองค์กร กสช. และ กทช. ต้องถูกล้มไปทันทีโดยปริยาย เพราะไปขัดกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่บอกว่าให้มีเพียงองค์กรรัฐที่เป็นอิสระองค์กรเดียว ทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ ดังนั้น หลังจากนี้ จะต้องนำไปสู่กระบวนการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย พ...องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ 2543 ซึ่งก็เท่ากับว่า รัฐประหาร 19 .. 2549 ได้ล้างไพ่กระบวนการต่อสู้ 10 ปี ของภาคประชาชนเพื่อให้มีกฎหมายฉบับแรกประกอบมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ประชาชนต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ในกระบวนการต่อสู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการตามมาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญ 2540 ที่เคยมีมา


"ดูเสมือนหนึ่งว่ารัฐธรรมนูญ 2550 จะมารองรับสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น การสื่อสาร แต่ขณะเดียวกันก็มีวรรคทองที่รัฐจะสามารถกีดกันสิทธิเสรีภาพเหล่านี้ได้ด้วยวิธีการออกกฎหมาย กล่าวอีกด้านหนึ่งคือ การมีเสรีภาพตามที่เขียนเอาไว้ในรัฐธรรมนูญจะไม่เป็นจริง ไม่มีสิทธิเสรีภาพอยู่ในตัวของมันเอง เพราะเสรีภาพจะอยู่ภายใต้กฎหมายบัญญัติ เช่น พ...คอมพิวเตอร์ พ...การพิมพ์ พ...วิทยุโทรทัศน์ พ...ต่างๆ ที่จะมาบัญญัติเรา และทำให้มาตรา 45, 46 ของรัฐธรรมนูญ 2550 ไม่ได้มีความหมายในตัวของมันเอง"..สุภิญญา กล่าวย้ำ















รัฐธรรมนูญ 2540


รัฐธรรมนูญ 2550


หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย



มาตรา 40 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ


ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม






หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

ส่วนที่ 7 เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน


มาตรา 47 คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารมวลชนของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ


ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ


การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ ประโยชน์สาธารณะอื่น และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมรวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการสื่อมวลชนสาธารณะ


การกำกับการประกอบกิจการตามวรรคสองต้องมีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้มีการควบรวม การครองสิทธิข้ามสื่อ หรือการครอบงำระหว่างสื่อมวลชนด้วยกันเองหรือโดยบุคคลอื่นใด ซึ่งจะมีผลเป็นการขัดขวางเสรีภาพในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หรือปิดกั้นการได้รับข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายของประชาชน


ลู่แข่งขันใบอนุญาต : หลักประกันสิทธิการใช้คลื่นของชาวบ้านอยู่ตรงไหน?


หากดูตามหลักการของ ร่าง พ...การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.. ... อย่างละเอียดถี่ถ้วนแล้ว พบว่าสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการสื่อสารของประชาชน คือสิ่งที่รัฐจะให้การอนุญาตว่ามีได้หรือไม่ ไม่ได้การรับประกันว่าประชาชนจะได้สิทธิในการเข้าถึงการเป็นผู้ถือครองสื่อใช่ได้โดยง่าย


..สุภิญญา กล่าวต่อประเด็นนี้ว่า ร่าง พ...การประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ พ.. ... ระบุว่า ผู้ใดประสงค์จะประกอบกิจการกระจายเสียงหรือกิจการโทรทัศน์ต้องได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการเสียก่อน โดยจะมี กสช. ซึ่งจะต้องเกิดมาเพื่อทำหน้าที่ให้ใบอนุญาต และมารองรับการจัดสรรคลื่นความถี่ 3 ประเภทชัดเจน คือ กิจการสาธารณะ กิจการธุรกิจ และกิจการของภาคประชาชน


"แต่กฎหมายก็ยังไม่ได้ห้ามว่าใครจะมีสิทธิขอหรือไม่ขอใบอนุญาตการประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์สาธารณะ พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าภาครัฐจะขอไปทำกิจการสาธารณะก็ทำได้ ภาคธุรกิจจะตั้งเป็นมูลนิธิขอทำเป็นวิทยุสาธารณะ วิทยุชุมชนก็อาจจะทำได้ อันนี้จะเป็นผลในการบังคับใช้กฎหมายที่เราต้องตีความกันต่อ แต่หลักเบื้องต้นมันก็แยกประเภทไว้ 3 ประตู ใครจะเข้าประตูหนึ่ง ก็ไปขอทำกิจการสาธารณะไม่แสวงหากำไร ประตูที่ 2 คือทำเพื่อชุมชนขนาดเล็ก ไม่หากำไร แต่ประตูที่ 3 คือธุรกิจ ซึ่งก็แยกเป็นภาค หรือระดับภูมิภาค ระดับเล็กๆ ยังไม่มีก็มีระดับภาคที่ออกอากาศทั่วประเทศ หรือออกอากาศระดับ 3 จังหวัด ซึ่งก็ยังถกเถียงกันอยู่ว่าเหมาะหรือไม่เหมาะอย่างไร"..สุภิญญา กล่าว


ทั้งนี้ กฎหมายเปิดช่องให้ทุกคนสามารถเข้ามาสู่ลู่วิ่งแข่งขันกัน เพื่อจะให้ได้รับใบอนุญาต มองแล้วเหมือนกับการค้าเสรี เอฟทีเอ ที่จะมีทั้งคนที่ได้และไม่ได้ ดังนั้น คนที่ได้ก็อาจจะบอกว่าดี ส่วนคนที่ไม่ได้ก็บอกว่าจะมีการรับผิดชอบกันอย่างไร เพราะสุดท้ายคลื่นความถี่มันจะไม่พอ แล้วคนที่มาตัดสินใจว่าใครจะได้หรือไม่ได้คลื่นความถี่ ตามหลักคือ กสช. แต่ในขณะที่ยังไม่มี กสช. ตามร่าง พรบ. นี้ ก็กำหนดให้ตั้งคณะกรรมการชั่วคราวทำหน้าที่แทน กสช.ไปก่อน เรียกว่า กวช. โดยจะมีคณะกรรมการ กวช. ตามมาตรา 90 อันประกอบด้วย ปลัดสำนักนายก อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กทช. และผู้ทรงคุณวุฒิด้านนิเทศศาสตร์ทีรัฐมนตรีเป็นผู้แต่งตั้ง


"ใครที่ไม่ได้ใบอนุญาตก็อยู่บนความเสี่ยง รัฐอาจจะไม่มาจับดำเนินคดีสำหรับวิทยุโทรทัศน์ที่ออกอากาศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตอย่างทันที แต่เมื่อไหร่ที่รู้ว่ายังทำการออกอากาศอยู่โดยไม่มีใบอนุญาต ก็จะถูกจับดำเนินคดีอาญาอย่างแน่นอน"..สุภิญญากล่าว


ด้านนายมนตรี อิ่มเอก เลขาเครือข่ายวิทยุชุมชนจาวล้านนา กล่าวว่า เนื้อหาที่กำหนดไว้ในร่างกฎหมายการประกอบกิจการวิทยุและโทรทัศน์ แบ่งประเภทวิทยุโทรทัศน์ออกเป็น 3 ประเภทนั้น ยังให้คงไว้ซึ่งคำว่าวิทยุเพื่อสาธารณะเพื่อบริการชุมชนอยู่ ดังนั้น วิทยุชุมชนที่มีเจตนารมณ์เพื่อสังคม ก็จะไม่ค่อยมีปัญหาอะไรตรงนี้ เพราะร่างกฎหมายที่จะออกมาประกอบก็ยังพอที่จะมีเค้ารางในการให้สัดส่วนคลื่นความถี่กับประชาชนอยู่บ้าง แต่เราก็ยังไม่แน่ใจว่าจะให้ได้มากขนาด


"เรายังไม่แน่ใจว่ากฎหมายลูกต่างๆ ที่จะออกมาประกอบกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น จะเอื้อหรือส่งผลให้วิทยุชุมชนที่มีอยู่ ยังมีอยู่จริงหรือไม่ หรือจะเป็นเพียงแค่ชื่อที่มีอยู่ในกฎหมายเท่านั้น เพราะระเบียบของกฎหมายลูกกลับเปิดโอกาสให้กับคนอื่นๆ ซึ่งไม่ได้มีเจตนารมณ์ในการทำงานเพื่อสังคมเกิดขึ้นมาด้วย" นายมนตรี กล่าว


นายมนตรี กล่าวสรุปว่า สิ่งที่ต้องเคลื่อนไหวต่อไปคือ การจับตามองแนวคิดของกฎหมายลูกต่างๆ ที่จะออกมา ว่ามีความชัดเจนในการที่จะให้สัดส่วนของภาคประชาชนได้ใช้คลื่นความถี่ขนาดไหน ต้องมองถึงแผนแม่บทด้วย เช่น ระเบียบ กฎเกณฑ์ การให้เวลา การควบคุมดูแลเนื้อหารายการ แล้วดูภาพรวมของกฎหมายว่าจะออกมาในลักษณะแบบไหน จะเอื้อประโยชน์ให้กับภาคประชาชนได้มากแค่ไหน


มาตรา-กติกาเจ้าปัญหา


มาตรา 11 ผู้ขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการบริการสาธารณะ เป็นการให้ใบอนุญาตการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ที่เป็นสาธารณะที่เปิดกว้างให้หน่วยงานรัฐ กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงกลาโหม สามารถกลับมาขอได้อีก องค์กรเอกชนที่เป็นนิติบุคคลที่เป็นมูลนิธิ สมาคม มหาวิทยาลัย ส่วนของภาคชุมชนก็ระบุว่า ต้องเป็นนิติบุคคลหรือกลุ่มคนในท้องถิ่นซึ่งไม่เป็นนิติบุคคลตามลักษณะที่กรรมการประกาศกำหนด เป็นการเปิดกว้างเพื่อให้สามารถกำหนดได้อีกครั้งหนึ่ง


มาตราที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และการหมิ่นประมาท โดยหากมีการออกอากาศไปแล้วก็ให้มีการไปร้องเรียนกับคณะอนุกรรมการจริยธรรมภายใน 30 วัน เพื่อให้มีการตรวจสอบ กฎหมายฉบับนี้จะตั้งคณะอนุกรรมการจริยธรรมขึ้นมา โดยมีที่มาจากวิทยุชุมชน ภาคธุรกิจ รวมทั้งมีภาครัฐเข้าร่วมด้วย เป็นการตั้งองคาพยพอีกกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเพื่อคอยสอดส่องด้านจริยธรรมว่าอะไรดี หรือไม่ดี


มาตรา 39 ให้มีการระงับการออกอากาศรายการดังกล่าวได้ทันที โดยกรรมการซึ่งคณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจสั่งด้วยวาจา หรือเป็นหนังสือ หากมีรายการใดยุยงให้เกิดความแตกแยกของประชาชน ก่อให้เกิดการล้มล้างระบอบการปกครองมหากษัตริย์ ศาสนา หรือมีการกระทำซึ่งเข้าข่ายลามกอนาจาร ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียให้กับบุคคลใดบุคคลหนึ่งในหรือนอกราชอาณาจักร และผู้ได้รับใบอนุญาตไม่ได้มีการระงับให้มีการออกอากาศรายการนั้น เป็นการให้อำนาจรัฐในการเซนเซอร์ก่อนเสมอ แม้ว่าจะมีมาตราต่อมา เพื่อเยียวยาว่าถ้าการสั่งระงับ และการเซนเซอร์รายการนั้นไม่ชอบธรรม สามารถไปฟ้อง ร้องเรียนให้คณะอนุกรรมการจริยธรรมให้มีการแก้ไขทีหลังได้ แต่เมื่อคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพแล้ว สะท้อนให้เห็นว่าการเซนเซอร์ยังมีอยู่ และเป็นการเซนเซอร์ด้วยวาจาได้ทันทีเพื่อให้ระงับการออกอากาศ


บทเฉพาะกาล มาตรา 87, 88, 89 ยังให้อภิสิทธิ์หน่วยงานราชการที่เป็นเจ้าของคลื่นเดิม เช่น ในขณะที่แผนแม่บทเสร็จยังไม่เสร็จให้กรมประชาสัมพันธ์ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ ยังสามารถทำได้เหมือนเดิม หลังจากแผนแม่บทเสร็จแล้ว หน่วยงานรัฐและกรมประชาสัมพันธ์ ก็ค่อยกลับมาขอใบอนุญาตได้


มาตรา 90 การตั้ง กวช. เป็นคณะกรรมการในการกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงบริการชุมชน หรือวิทยุชุมชน เป็นการชั่วคราวในระหว่างที่ยังไม่มี กสช. โดยคณะกรรมการ กวช. ประกอบไปด้วยปลัดสำนักนายก อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ และผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กทช. และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้เชี่ยวชาญ และประสบการณ์ด้านนิเทศศาสตร์ไม่เกิน 5 คน โดยมาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐมนตรี


รัฐปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชน ปัญหาใหญ่ของสื่อไทย


..สุภิญญา กล่าวว่า ยังเป็นคำถามอยู่ว่าเราจะให้กฎหมายมาเป็นกลไกในการเซนเซอร์มาเป็นคำตอบหรือจะให้กระบวนการทางสังคมมาเป็นคำตอบในการเซนเซอร์ แต่เหมือนว่าเราจะไม่มีเวลาแล้วเพราะกฎหมายก็จะผ่านออกมา เพราะฉะนั้นมันก็อยู่ที่ว่าเราจะให้ความสำคัญกับเรื่องสิทธิเสรีภาพมาก-น้อยแค่ไหน ถ้าเราคิดว่าสิทธิเสรีภาพอาจจะยังไม่สำคัญ มันก็อาจจะยังไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเราเห็นความสำคัญของสิทธิเสรีภาพ เราก็ต้องมาต่อสู้ทางความคิดกันต่อว่า แล้วเราจะปล่อยให้กฎหมายเป็นไปอย่างไรต่อไป


"สุดท้ายสังคมไทยก็ต้องเลือก อาจจะเลือกว่าคุมให้มากหน่อย ถ้าคนส่วนใหญ่เห็นว่าอย่างนั้น เราก็อาจจะต้องยอมรับ แต่สุดท้ายคำถามคือ คนส่วนใหญ่ได้มีกระบวนการคิดร่วมกันหรือยังว่าสังคมไทยเราจะมีมาตรฐานแค่ไหนว่าเราพูดเรื่องอะไรได้หรือพูดอะไรไม่ได้ มีเวทีให้เราได้ถกเถียงหรือยังว่าเสรีภาพจะไปไกลแค่ไหน แต่ที่ผ่านมายังไม่ได้มีเวทีแบบนั้น หากว่ามีเวทีและกระบวนการมากพอ และการซึมซับระดับหนึ่งว่าสังคมไทยขอมีกติกาแค่นี้ เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็พร้อมจะยอมรับ แต่ที่ผ่านมามันยังไม่มีเวทีให้เราได้กำหนดกันจริงๆ สักที เราก็คงต้องส่งเสียงกันต่อไป" น..สุภิญญา กล่าว


ความพยายามของรัฐเพื่อควบคุม ปิดกั้นการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน อีกด้านหนึ่งคือการสะท้อนถึงแนวคิดในการต้องการรวบอำนาจกำหนดแนวคิดของคนในประเทศ ให้อยู่ในกรอบทิศทางผู้มีอิทธิพลกลุ่มหนึ่ง กฎหมายต่างๆ ที่รัฐพยายามเร่งผลักดันออกมาพร้อมกับประโยคเด็ดเพื่อความมั่นคงของประเทศและศีลธรรมอันดีงาม คือ กุศโลบายอย่างหนึ่งที่นำมาใช้เพื่อบรรเทาความสงสัย หรือการตั้งคำถามของประชาชน


ข้อมูลประกอบ :
-
เวทีสาธารณะเรื่อง "กฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน" ณ ห้องประชุมศิตารมย์ โรงแรมพระนครแกรนด์วิลล์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร บางเขน กรุงเทพฯ, 11-12 .. 2550
-
เวทีสัมมนาเรื่อง "วิพากษ์กฎหมายสื่อฉบับใหม่ ในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง" ณ ห้องประชุมสมาคมนิสิตเก่ารัฐศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 16 .. 2550 ศูนย์รณรงค์นโยบายสื่อมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ(คปส.) และภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัด
-
วอนสนช. หยุดออกกฎหมาย หลังเห็นผลจาก "ก.. คอมพิวเตอร์", สำนักข่าวประชาไท, 11 .. 2550, www.prachatai.com

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net