บทความ: ความจริงที่ถูกทำให้หายไปจาก "ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม"

บุษยรัตน์ กาญจนดิษฐ์
มูลนิธิส่งเสริมสันติวิถี

            วันที่ 19 กันยายน 2550 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปีหลังการรัฐประหาร อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี จากคณะสังคมวิทยาและมนุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและประเมินผลงานรัฐบาลที่ผ่านมาในรอบ 1 ปี ว่า "รัฐบาลสอบตกเพราะทำตัวเป็นรัฐบาลรักษาการเพียงพอให้งานเดินไปได้เท่านั้น ขาดวิสัยทัศน์ ขาดความมุ่งมั่นที่จะขจัดการคอร์รัปชัน โดยรวมผลงานของรัฐบาลได้สะท้อนว่าอดีตข้าราชการและเทคโนแครตเป็นชนชั้นที่ไม่สามารถที่จะนำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จได้อีกต่อไป"

หลังจากนั้นนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ออกมาชี้แจงข้อกล่าวหานั้นโดยกล่าวว่า "สิ่งที่รัฐบาลนี้ทำคือ การให้เสรีภาพในการพูด เขียน และแสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ จากเดิมที่การให้เสรีภาพในเรื่องนี้น้อยมาก จึงถือเป็นผลงานอย่างหนึ่งของรัฐบาล ซึ่งนายธีรยุทธน่าจะพอใจ รัฐบาลจะไม่ไปดูถูก ดูหมิ่น แต่จะรับฟังด้วยความเคารพ ยืนยันว่ารัฐบาลได้ทำในสิ่งที่ดีและถูกต้องที่สุดแล้ว ซึ่งการไม่ทุจริต ไม่ทำความชั่ว ก็น่าจะเป็นผลงานอีกอย่างหนึ่ง เข้าใจว่านายธีรยุทธอาจมองเพียงบางแง่มุม ซึ่งยังไม่สมบูรณ์นัก ถ้าจะมองให้สมบูรณ์ควรค้นหาจุดดีของแต่ละกระทรวง แต่ละเรื่อง แล้วค้นหาสิ่งที่ย่อหย่อนเพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป"

            ข้อความข้างต้นคือสิ่งที่นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม คงหลงลืม/จำไม่ได้/ไม่อยากจะจดจำ ว่ารัฐบาลชุดนี้ เอาเข้าจริงแล้ว "ไม่ได้ให้เสรีภาพในการพูด เขียน และแสดงความคิดเห็น" อย่างที่กล่าวอ้างแม้แต่น้อย

 

ความจริงที่ถูกทำให้หายไปประการที่ 1:
ประกาศจังหวัดเรื่องการจัดระบบในการควบคุมแรงงานต่างด้าว

จากการที่มีประกาศจังหวัดเรื่องกำหนดมาตรการจัดระเบียบคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ที่จดทะเบียนขออนุญาตทำงานกับนายจ้างในกิจการต่างๆ ลงวันที่ 19 เดือนธันวาคม 2549 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ลงวันที่ 16 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ลงวันที่ 27 เดือนกุมภาพันธ์ 2550 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง และลงวันที่ 9 เดือนมิถุนายน 2550 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เพื่อจัดระบบในการควบคุมแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและได้รับอนุญาตทำงานในจังหวัดดังที่มีประกาศข้างต้น และได้กำหนดมาตรการบางประเภทให้นายจ้าง แรงงานข้ามชาติ ผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตาม เช่น

·         หลังเวลา 20.00 น. ห้ามแรงงานข้ามชาติออกนอกสถานที่ทำงานหรือสถานที่พักอาศัย หากมีความจำเป็นต้องทำงานหลังเวลาห้ามหรือมีความจำเป็นเร่งด่วนอื่นๆจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของนายจ้าง

·         ห้ามแรงงานข้ามชาติขับขี่รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ และห้ามเจ้าของกรรมสิทธิ์รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ อนุญาตให้แรงงานขับขี่รถจักรยานยนต์หรือรถยนต์ของตนเอง

·         หากแรงงานข้ามชาติมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือ ให้นายจ้างจัดทำบัญชีรายชื่อแรงงานข้ามชาติผู้ใช้โทรศัพท์พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ และชื่อนามสกุลเจ้าของเครื่องและซิมการ์ดส่งให้จังหวัดทุกคน

·         ห้ามแรงงานข้ามชาติเข้าร่วมชุมนุมนอกที่พักอาศัยตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรม นายจ้างของแรงงานข้ามชาติต้องออกหนังสือรับรองและแจ้งบัญชีรายชื่อแรงงานข้ามชาติที่จะเข้าร่วมกิจกรรมโดยมีรายละเอียดวัน เวลา และสถานที่ชุมนุม ชื่อและหมายเลขประจำตัวแรงงานข้ามชาติให้ชัดเจน ให้จังหวัดทราบเป็นลายลักษณ์อักษร

·         การอนุญาตให้ออกนอกเขตจังหวัดทำได้ 3 กรณี คือไปเป็นพยานศาลหรือถูกหมายเรียกจากพนักงานสอบสวน มีเหตุเจ็บป่วยต้องรักษานอกพื้นที่โดยความเห็นของแพทย์ และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนท้องที่ทำงานจากจัดหางานจังหวัดแล้ว

ประกาศจังหวัดดังกล่าวได้สะท้อนและแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลที่มีนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ในฐานะที่ทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการบริหารแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (กบร.) ไม่ได้ตระหนักว่า มาตรการดังกล่าวเป็นการเลือกปฏิบัติและตอกย้ำอคติที่มีต่อแรงงานข้ามชาติ เป็นการนำไปสู่ความขัดแย้งและเพิ่มความเกลียดชังกลุ่มที่แตกต่างจากคนไทย อันขัดแย้งกับความต้องการและการประกาศแนวนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งให้มีความปรองดองสมานฉันท์เพื่อจะได้อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์  ประกาศจังหวัดแสดงถึงรากฐานของความรุนแรงและการเลือกปฏิบัติของรัฐราชการไทยที่มีต่อคนข้ามชาติ คนด้อยโอกาส หรือบุคคลที่ถูกถือว่าเป็น "คนอื่น" สำหรับสังคมไทย ได้สร้างทัศนคติในแง่ลบและสร้างความหวาดกลัวต่อแรงงานข้ามชาติมากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นประกาศจังหวัดยังขัดแย้งกับหลักการสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงานและอนุสัญญาต่างๆที่ประเทศไทยได้ให้การรับรองและเป็นสมาชิก เป็นนโยบายเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มแรงงานข้ามชาติหรือคนต่างชาติเพียงกลุ่มเดียว คือ พม่า ลาวและกัมพูชา

 

ความจริงที่ถูกทำให้หายไปประการที่ 2:
การพยายามออกกฎหมายละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน 11 ฉบับ

            คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) นำโดยนายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานกป.อพช. เรียกร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมาจากการแต่งตั้ง หยุดการออกกฎหมาย 11 ฉบับ ที่จะนำไปสู่การละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนี้

1.รางกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร สาระสําคัญ คือ การขยายอํานาจกองทัพใหสามารถควบคุมสังคม อันเปนภัยคุกคามตอหลักสิทธิเสรีภาพ หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักการมีสวนรวมของประชาชนดังที่กําหนดไวในรัฐธรรมนูญ

2.รางกฎหมายปาชุมชน สาระสําคัญเปนการกําหนดเงื่อนไขเพื่อกีดกันสิทธิการมีสวนรวมของชุมชนในการจัดการ การดูแลรักษา และการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอยางสมดุลและยั่งยืน

3. รางกฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน สาระสําคัญเปนการใหหนวยงานรัฐเปนเจาของสื่อวิทยุโทรทัศนอยูเชนเดิม และการใหรัฐมีอํานาจควบคุม หรือหามเสนอขาวสารโดยการสั่งการ
ดวยวาจา หรือหนังสือระงับรายการที่เสนอผานสื่อสาธารณะ

4. รางกฎหมายมหาวิทยาลัยบูรพา 5. รางกฎหมายมหาวิทยาลัยทักษิณ 6. รางกฎหมายจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย สาระสําคัญเปนการนํามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เขาสูการบริหารโดยอาศัยกลไกตลาด อันจะมีผลกระทบกับสิทธิการเขาถึงการศึกษา อิสรภาพทางวิชาการ และหลักประกันทางดานสวัสดิการของบุคลากรของมหาวิทยาลัย

7. รางกฎหมายวาดวยเงื่อนไขและหลักเกณฑการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ สาระสําคัญเปนการใหอํานาจรัฐนํารัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพใหเปนบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด และการกระจายหุนแกเอกชน อันเปนการเอื้อประโยชนแกกลุมทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และทําใหประชาชนเสียสิทธิที่จะเขาถึงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จําเปนตอการดํารงชีวิต

8. รางกฎหมายสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ 9.รางกฎหมายทรัพยากรน้ำ สาระสําคัญ เปนการเพิ่มอํานาจใหหนวยงานรัฐ และเปนการขัดกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม

10. รางกฎหมายสภาการเกษตรแหงชาติ สาระสําคัญเปนการใหอํานาจผูแทนหนวยงานของรัฐรวมกับผูแทนองคกรธุรกิจการเกษตรในการกําหนดนโยบาย และแนวทางในการพัฒนาการเกษตรเปนสําคัญ โดยเกษตรกรสวนใหญไมสามารถเขาถึงและมีสวนรวมในการกําหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรดังกลาว

11. รางกฎหมายวัตถุอันตราย สาระสําคัญเปนการอํานวยประโยชนใหเอกชนผูประกอบการสามารถผลิต นําเขา สงออกหรือมีไวในครอบครองวัตถุอันตราย การยกเลิกคาธรรมเนียมรายปแกเอกชนผูประกอบการ และยกเลิกอํานาจเจาหนาที่ในการบังคับใชกฎหมาย อันอาจเปนการเพิ่มความเสี่ยงดานสิ่งแวดลอมและสุขภาพของประชาชน ตลอดจนเปนการยกเลิกสิทธิของประชาชนในการคุมครอง สงเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมเพื่อใหประชาชนดํารงชีวิตอยางปกติสุข

 

ความจริงที่ถูกทำให้หายไปประการที่ 3:
การออกพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
 

            พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นั้นเป็นการให้อำนาจตำรวจในการยึดอุปกรณ์คอมพิวเตอร์จากบุคคลที่ต้องสงสัยว่าเผยแพร่ข้อมูลที่มีเนื้อหาหมิ่นประมาทหรือลามก โดยที่มีเป้าหมายในการยับยั้งเจ้าของคอมพิวเตอร์เผยแพร่ข้อมูลลามกหรือหมิ่นประมาทผู้อื่น ซึ่งหลังจากที่มีการประกาศใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้พบว่าเกิดการลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างมาก จนนำไปสู่การจับกุมคุมขังคนไทย 2 คน โดยคนหนึ่งถูกคุมขังในเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เป็นชายอายุ 36 ปี อาชีพโปรแกรมเมอร์ บุคคลดังกล่าวคุมขังในเรือนจำตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา โดยก่อนหน้านั้นเขาถูกคุมขังอยู่ที่กองปราบฯ 6 วัน และญาติได้ประกันตัวบุคคลดังกล่าวออกจากเรือนจำไปตั้งแต่วันที่ 6 ก.ย. 50 และอีกคนหนึ่งเป็นเพศหญิง ถูกจับกุมในวันที่ 24 ส.ค.50  เวลาประมาณเที่ยง โดยเจ้าหน้าที่ซึ่งคาดว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากกระทรวงไอซีทีและอาจจะมีเจ้าหน้าที่ตำรวจร่วมด้วยได้บุกเข้าจับกุมบริเวณบ้านพัก และเข้าตรวจค้นเครื่องคอมพิวเตอร์ ญาติได้ขอยื่นประกันตัวเมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา ทั้งคู่ได้เขียนข้อความวิพากษ์และบริภาษสถาบันกษัตริย์ ในห้องสนทนาแห่งหนึ่งบนอินเทอร์เน็ต

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ตั้งข้อสังเกตต่อกรณีนี้อย่างน่าสนใจว่า ทำไมทั้งคู่ซึ่งได้รับการประกันตัวไปแล้วถึงไม่ยอมพูดกับนักข่าวฉบับใดเลย , ทำไมรัฐถึงได้ปฏิเสธในเบื้องต้นว่าไม่มีการจับกุมใครในเรื่องนี้, ทำไมรัฐถึงกระทำกับสองคนนี้ด้วยการจับกุมแบบจู่โจมสายฟ้าแลบโดยผู้ต้องหาไม่ทันตั้งตัว รวมถึงไม่ได้รับสิทธิในการติดต่อญาติพี่น้อง และญาติพี่น้องก็มิได้รับแจ้งจากทางการเป็นเวลาหลายวัน การปฏิบัติเช่นนี้ต่อผู้ต้องหาน่าจะมีผลทางจิตวิทยาทำให้พวกเขาเข็ดหลาบไม่กล้าแสดงออกทางอินเทอร์เนตอีกต่อไป (โดยเฉพาะหากสังคมมิได้รับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นหรือไม่เป็นข่าว)

 

ความจริงที่ถูกทำให้หายไปประการที่ 4:
การเลือกปฏิบัติกับประชาชนในกระบวนการยุติธรรมของสถานการณ์ภาคใต้

พรเพ็ญ คงขจรเกียรติ คณะทำงานยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ได้ชี้ให้เห็นว่า "ตอนนี้มีคนที่ถูกจับกุมด้วยกฎหมาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่มาบังคับใช้แล้วในภาคใต้ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนที่แล้ว(มิถุนายน)จนถึงตอนนี้ประมาณ 300-400 คน ตลอดระยะเวลาสองปีที่ใช้ พ.ร.ก. พิเศษฉบับนี้มี 1,700 กว่าคน ทุกคนถูกผ่านกระบวนการซักถาม ซึ่งเราก็จะได้ข้อมูลว่ามันมีการซ้อม ทรมาน จับเข้าไปในห้องเย็น ขังห้องมืด หรือไม่ก็ห้องสว่าง ห้องร้อน เพื่อที่จะให้เขาสารภาพ หรือเพื่อให้เขาบอกเครือข่ายของการก่อการร้าย กฎหมายฉบับที่ว่านี้จะดำเนินการควบคุมตัวได้ 30 วัน 1,700 คนนี้ก็จะถูกควบคุมตัวโดยประมาณ 30 วัน แล้วก็ถูกปล่อยตัว แต่ผลที่เกิดขึ้นหลังจากการปล่อยตัวก็มักจะไม่ปลอดภัย เพราะมักจะถูกดำเนินการจากทั้งสองฝ่ายคือ ทั้งผู้ก่อการและทั้งฝ่ายของรัฐเอง บุคคลเหล่านี้ก็จะถูกชุมชนเรียกว่า"พวก พ.ร.ก."กลายเป็นหมวกใบหนึ่งของชุมชน แล้วก็เดือดร้อนกัน

แล้วตอนนี้ก็มีปัญหาอีกคือรัฐพยายามจะหาวิธีการจับกุมแล้วก็อบรมคล้ายๆกับวิวัฒน์พลเมือง จับเอาเขาไป สมมติว่า 30 วันแล้ว ถ้ารัฐยังไม่เชื่อว่าเขาจะอยู่ฝ่ายรัฐ ก็จะจับเขาไปอยู่อีก 40 วันแล้วก็อ้างว่าเป็นการอบรมอาชีพ เมื่อไม่นานมานี้ ได้เข้าไปในค่ายทหารเพื่อดูการฝึกอบรม อันแรกที่เห็นคือ ทุกคนอยู่ด้วยความรู้สึกว่าถูกบังคับ แต่รัฐก็อ้างว่านี่ไม่ได้บังคับเป็นการควบคุมตัว 30 วันก็ปล่อยแล้ว ไม่ได้ดำเนินคดีอะไร ทุกคนจะถูกจัดให้ร้องเพลงชาติตอนแปดโมงเช้า ทหารก็มายืนบอกว่า เมื่อก่อนร้องไม่ชัดนะมาอยู่อาทิตย์หนึ่งร้องชัดขึ้น อะไรแบบนี้...ตอนเย็นก็ไปยืนดูเขาเข้าแถวร้องเพลงชาติซึ่งเขาก็ร้อง แล้วไม่ใช่ว่าจริงๆ เขาไม่อยากเป็นคนไทย เขาอยากเป็นคนไทย เพียงแต่สิ่งที่เขาถูกกระทำในสิ่งที่เรียกว่า บังคับให้เป็นไทย ซึ่งมันมีมาตลอดในช่วง 5-10 ปี ณ ปัจจุบันนี้ เป็นภาวะซึ่งเหมือนกับสันติภาพเงียบๆ ที่เคยมีอยู่มันถูกจัดการโดยระบบอะไรบางอย่าง แต่ว่าตอนนี้ระบบโครงสร้างตรงนั้นมันถูกทำลาย ความเชื่อมั่นต่อรัฐซึ่งมันมีอยู่น้อย ตอนนี้มันเหมือนไม่มีอยู่เลย แล้วภาวะในชุมชนค่อนข้างจะอ่อนไหวต่อความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั้งชุมชนไทยพุทธและชุมชนมุสลิม"

 

ความจริงที่ถูกทำให้หายไปประการที่ 5:
การละเมิดสิทธิมนุษยชนชาวม้งภายในศูนย์กักกันผู้เข้าประเทศ จังหวัดหนองคาย

            ชาวม้งจำนวน 149 คน ในศูนย์กักกันผู้เข้าประเทศ จังหวัดหนองคาย ได้ถูกคุมขังในห้องเพียง 2 ห้อง ที่ไร้หน้าต่าง อบอ้าวและแออัด ไม่มีน้ำดื่มสะอาด ไม่สามารถซักเสื้อผ้าได้ และไม่ได้รับอนุญาตให้มีมุ้งหรือผ้าห่มนอน ในจำนวนนี้มีชาวม้งที่เป็นเด็กอยู่จำนวนถึง 77 คน และทารกอีกจำนวน 9 คน ชาวม้งทั้งหมดนี้ได้รับการรับรองสถานภาพเป็นผู้ลี้ภัยจาก UNHCR ทั้งหมดแล้ว แต่ทางรัฐบาลไทยยังมิได้ดำเนินการอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยจัดตั้งถิ่นฐานใหม่และส่งตัวผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไปยังประเทศที่สาม จนถึงบัดนี้เป็นเวลาเกือบปีแล้วที่ผู้ลี้ภัยชาวม้งเหล่านี้ยังถูกกักขังภายในศูนย์ฯ โดยที่ผู้ลี้ภัยบางคนเองก็มีปัญหาสุขภาพที่แย่อยู่แล้วร่วมด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ขัดต่อหลักสุขอนามัยที่เหมาะสมขัดต่อมาตรฐานขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษแห่งสหประชาชาติ การละเมิดกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และขัดต่ออนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

ฉะนั้นความจริงห้าประการที่เกิดขึ้นไปแล้วดังที่กล่าวข้างต้นและที่กำลังจะเกิดขึ้น ก็พอจะชี้ให้เห็นได้ว่า "ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ไม่กล้าหาญพอที่จะพูดความจริงกับสังคมไทย"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท