Skip to main content
sharethis


เมื่อวันที่ 12 ก.ย. 50 คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) นำโดยนายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานกป.อพช. ประกาศจุดยืนให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมาจากการแต่งตั้งและไม่ผูกพันประชาชน หยุดการออกกฎหมาย 11 ฉบับ ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน


 


โดยกฎหมายทั้ง 11 ฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งกป.อพช.พิจารณาร่วมกันแล้วเห็นว่า มีเนื้อหาที่นอกจากจะไม่ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพแล้ว ยังเป็นภัยคุกคามสิทธิเสรีภาพของประชาชน อันได้แก่


 


1.รางกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร 2.รางกฎหมายปาชุมชน 3. รางกฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน 4. รางกฎหมายมหาวิทยาลัยบูรพา 5. รางกฎหมายมหาวิทยาลัยทักษิณ 6. รางกฎหมายจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 7. รางกฎหมายวาดวยเงื่อนไขและหลักเกณฑการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ 8. รางกฎหมายสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ 9.รางกฎหมายทรัพยากรน้ำ 10. รางกฎหมายสภาการเกษตรแหงชาติ 11. รางกฎหมายวัตถุอันตราย


 


กป.อพช. ระบุในแถลงการณ์ว่า สนช. อันมาจากคณะรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 หรือ 1 ปีก่อนหน้านี้ กำลังพิจารณากฎหมายอีกราว 88 ฉบับ ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่มุ่งขยายอำนาจหน้าที่หน่วยงานรัฐ อย่างไรก็ดี คณะรัฐประหารได้แต่งตั้งสนช.ขึ้นมาแทนรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้สภาชุดนี้ขาดความเชื่อมโยง และไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบกับประชาชนโดยตรง


 


นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานกป.อพช. กล่าวว่า ในคนทำงานสายองค์กรพัฒนาเอกชน มีจุดยืนที่หลากหลายทางการเมือง แต่จุดยืนที่มีร่วมกันคือ สนช. ต้องระงับการออกกฎหมายที่มีเนื้อหาละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยในวันที่ 26 ก.ย. ที่จะถึงนี้ เครือข่ายประชาชนทั่วประเทศจะมารวมตัวกันที่หน้ารัฐสภาเพื่อแสดงจุดยืนในเรื่องดังกล่าว


 


ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 11 ก.ย. ที่ผ่านมา ก่อนที่องค์กรพัฒนาเอกชนทั่วประเทศจะมีจุดยืนร่วมกันคัดค้านกฎหมาย 11 ฉบับนั้น มีการสัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในเรื่อง "กฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน" โดยร่วมจัดงานกันระหว่างคณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) และอนุกรรมการด้านทรัพยกรชีวภาพและทรัพย์สินทางปัญญา ในคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ณ โรงแรมพระนคร แกรนด์วิลล์


 


ไม่เอา 1 : รางกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร


กป.อพช. มีจุดยืนว่า พ.ร.บ. ความมั่นคงฯ มีสาระสําคัญเปนการขยายอํานาจกองทัพใหสามารถควบคุมสังคม อันเปนภัยคุกคามตอหลักสิทธิเสรีภาพ หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักการมีสวนรวมของประชาชนดังที่กําหนดไวในรัฐธรรมนูญ


 


นายไพโรจน์ พลเพชร รองประธานกป.อพช. และเลขาธิการสมาคมส่งเสริมสิทธิเสรีภาพ อธิบายถึงบทบาทของทหารกับสังคมไทยว่า ที่ผ่านมา ทหารจะเข้ามามีบทบาทต่อเมื่อมีการประกาศกฎอัยการศึก ซึ่งชัดเจนว่าจะเข้ามาในเงื่อนไขที่มีภัยคุกคามสองแบบ คือ จากนอกประเทศ และภายในประเทศ


 


เมื่อประกาศกฎอัยการศึกแล้ว ทหารจึงจะเข้ามามีอำนาจในที่เหล่านั้น เช่น จับกุมคนได้ทันที สามารถตรวจค้น สามารถห้ามเดินทาง มีอำนาจทำลายบ้านและสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ฯลฯ เหมือนปัจจุบันที่มีการประกาศกฎอัยการศึกในเวลานี้ ที่ทหารสามารถเข้าตรวจค้นบ้านผู้คนได้ทันที หรือเมื่อมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน นายกฯ สามารถสั่งให้ทหารเข้ามามีบทบาท


 


ไพโรจน์ชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมา ทหารจะเข้ามามีบทบาทได้ ก็ต่อเมื่อมีการคุกคามเกิดขึ้นจากภายนอกและภายใน โดยบทบาทของทหารและกอ.รมน. นี้ได้ลดลงนับแต่มีการยกเลิกพ.ร.บ.คอมมิวนิสต์ แล้วในเวลานี้ เรากำลังจะมีพ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ซึ่งมีเนื้อหาที่เพิ่มบทบาทของทหารและกองทัพเกี่ยวกับด้านความมั่นคง ในนิยาม "ความมั่นคง" ที่กว้างขวางมากกว่าเดิม


 


เช่น ถ้ามีภัยคุกคามเกี่ยวกับยาเสพติด เกี่ยวกับแรงงานต่างด้าง เกี่ยวกับอาชญากรรม เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ภัยคุกคามเหล่านี้ ทหารก็เข้ามามีบทบาทได้ ทั้งหมดถูกเรียกว่าเป็นความมั่นคง ไม่เพียงเท่านั้น บทบาทของทหาร ยังสามารถเข้ามาในสถานการณ์ทีเป็นปกติได้ ต่างจากเดิมที่เข้ามาได้ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติเท่านั้น เพราะในร่างกฎหมายระบุเอาไว้ว่า ทหารสามารถดำเนินการให้ประชาชนมีชีวิตที่ปกติสุข มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ดำเนินการให้คนสามัคคีกัน


 


นายไพโรจน์กล่าวว่า เมื่อขยายบทบาทความมั่นคง จากเรื่องที่ไม่ปกติมาเป็นเรื่องปกติ ก็หมายความว่า ทหารจะแทนที่กระทรวง ทบวง กรมได้ทั้งหมด เมื่อขยายความหมายของความมั่นคงออกมากว้างขนาดนี้ก็หมายความว่า บทบาทกองทัพจะมีมากขึ้น


 


ทั้งนี้ ในร่างเนื้อหา ออกมาเพื่อรองรับบทบาทของ กอ.รมน. โดยให้ผอ.รมน. ซึ่งก็คือ ผบ.ทบ. สามารถสั่งการหน่วยงานราชการได้ โยกย้ายเจ้าหน้าที่รัฐได้ รวมถึงสั่งห้ามใช้เส้นทางคมนาคม ห้ามใช้ยานพาหนะ  ห้ามชุมนุมทางการเมือง การโฆษณา สั่งเคอร์ฟิวห้ามออกนอกสถานที่ สั่งมิให้มีการซื้อขายสินค้าบางชนิด ฯลฯ ถ้าเห็นว่าเป็นภัยต่อความมั่นคง


 


ผอ.รมน. ยังสามารถออกคำสั่งให้เจ้าหน้าที่มีอำนาจจับกุมคนได้ เพียงแค่สงสัยว่ามีการกระทำอันเป็นภัยต่อความมั่นคง และสามารถควบคุมตัวได้ถึง 30 วัน ขณะที่กฎหมายอาญาให้การคุมขังต้องมีการแจ้งข้อหา ขอหมายศาลก่อน และคุมขังได้ไม่เกิน 48 ชม.


 


ไม่เพียงเท่านั้น การควบคุมตัว ยังสามารถพาผู้ต้องสงสัยไปคุมตัวที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป้นต้องเป็นเรือนจำหรือโรงพัก และระหว่างการควบคุมตัสอบสวน ก็ห้ามเยี่ยม และไม่มีทนายเข้าร่วมฟัง ดังนั้น การเป็นผู้ต้องสงสัยจึงมีสิทธิ์น้อยกว่าผู้ต้องหา ตามกฎหมายนี้


 


อำนาจที่เกิดขึ้นตามพ.ร.บ.ความมั่นคงนี้ เป็นอำนาจที่ไม่ต้องมีการตรวจสอบ กฎหมายฉบับนี้ได้รับการยกเว้นให้ไม่ต้องได้รับการตรวจสอบโดยศาลปกครอง นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังไม่ต้องรับผิดหากมีการกระทำความผิดทางอาญาเกิดขึ้น


 


นายไพโรจน์กล่าวว่า ภาคประชาชน และกป.อพช. เคยไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับกฎหมายฉบับนี้แล้ว ซึ่งครั้งนั้น นายกฯ ได้ยืนยันว่าต้องมีกฎหมายฉบับนี้เพื่อรองรับกอ.รมน. รองรับทหารให้มาทำหน้าที่ในการดูแลความมั่นควของประเทศ และจำเป็นต้องออกในรัฐบาลชุดนี้ เพราะถ้าเป็นรัฐบาลสมัยเลือกตั้ง โอกาสที่กฎหมายนี้จะไม่ได้เกิดนั้น มีสูง


 


 


ไม่เอา 2 : รางกฎหมายปาชุมชน


กป.อพช. มีจุดยืนว่า ร่างกฎหมายป่าชุมชน กําหนดเงื่อนไขเพื่อกีดกันสิทธิการมีสวนรวมของชุมชนในการจัดการ การดูแลรักษา และการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอยางสมดุลและยั่งยืน


 


นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตน์ ผู้อำนวยการโครงการยุทธศาสตร์นโยบาย ฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า กฎหมายนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของสนช. ซึ่งการลงมติที่ผ่านมา ได้ยอมให้การจัดตั้งป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์เฉพาะกับชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์เท่านั้น ชุมชนที่อยู่ข้างๆ หรือติดพื้นที่ป่าไม่มีสิทธิ ซึ่งหากต้องการจะต้องยื่นเป็นบทเฉพาะการ โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องมีการดูแลจัดการป่าชุมชนในเขตอนุรักษ์มาอย่างน้อย 20 ปี ซึ่งชุมชนที่ผ่านเงื่อนไขมีจำนวนไม่มาก


 


นายบัณฑูรกล่าวว่า ถ้าพ.ร.บ.ป่าชุมชนผ่านไป อาจขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 66 เรื่องสิทธิชุมชน และขัดแย้งกับมาตรา 30 ว่าด้วยความเสมอภาคของประชาชนตามกฎหมายระหว่างชุมชนที่อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์และชุมชนที่อยู่ข้างๆ หรือติดพื้นที่ป่าอนุรักษ์


 


 


ไม่เอา 3 : รางกฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน


กป.อพช. มีจุดยืนว่า เนื้อหากฎหมายมีสาระสําคัญเปนการใหหนวยงานรัฐเปนเจาของสื่อวิทยุโทรทัศนอยูเชนเดิม และการใหรัฐมีอํานาจควบคุม หรือหามเสนอขาวสารโดยการสั่งการดวยวาจา หรือหนังสือระงับรายการที่เสนอผานสื่อสาธารณะ


 


สุภิญญา กลางณรงค์ เลขาธิการคณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) กล่าวว่า ปัจจุบันยังใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.2498 คู่ไปกับพระราชบัญญัติว่าด้วยวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 ทั้งสองฉบับได้ห้ามใครตั้งเครื่องส่งวิทยุโทรทัศน์ก่อนได้รับอนุญาต และได้มีการยกเลิกไป โดยรัฐบาลได้ผลักดันพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์พ.ศ. 2550


 


สุภิญญากล่าวว่า สิ่งสำคัญที่เห็นว่าไม่สามารถให้พ.ร.บ.นี้ผ่านได้ เนื่องจากในมาตรา 39 มีการระบุว่า ในกรณีที่รายการใดที่กำลังออกอากาศอยู่ เป็นรายการที่ขัดต่อกฎหมายอย่างร้ายแรง ซึ่งมีลักษณะเป็นการยุยงส่งเสริมให้เกิดความแตกแยกในหมู่ประชาชน ก่อให้เกิดการล้มล้างระบบการปกครองสถาบันพระมหากษัตริย์ ศาสนา หรือมีการกระทำที่เข้าลักษณะลามกอนาจาร ก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งในหรือนอกราชอาณาจักร และผู้รับใบอนุญาตไม่ได้ดำเนินให้มีการระงับการออกอากาศรายการนั้น ให้กรรมการซึ่งคณะกรรมการมอบหมายมีอำนาจสั่งด้วยวาจา หรือทำหนังสือให้ระงับการออกอากาศรายการดังกล่าวได้ทันที


 


ดังนั้นเรี่องนี้ ไม่ต่างไปจากพ.ร.บ.เก่า และอาจจะแย่กว่าเดิม คือสามารถระงับการถ่ายทอดรายการนั้นได้ทันที พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังคงละเมิดสิทธิเสรีภาพอยู่ รัฐยังคงมีอำนาจเบ็ดเสร็จ สามารถที่จะไปขอทำคลื่นบริการสาธารณะได้ ไม่มีกฎหมายที่ว่ารัฐจะคืนวิทยุโทรทัศน์กลับมาให้ชุมชน


 


 


ไม่เอา 4, 5, 6 : ร่างกฎหมายมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ


กป.อพช. ระบุว่า รางกฎหมายมหาวิทยาลัยบูรพา รางกฎหมายมหาวิทยาลัยทักษิณ และรางกฎหมายจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย เปนรางกฎหมายที่อยูระหวางการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ มีสาระสําคัญเปนการนํามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เขาสูการบริหารโดยอาศัยกลไกตลาด อันจะมีผลกระทบกับสิทธิการเขาถึงการศึกษา อิสรภาพทางวิชาการ และหลักประกันทางดานสวัสดิการของบุคลากรของมหาวิทยาลัย


 


นายจอน อึ๊งภากรณ์ ประธานกป.อพช.กล่าวว่า ที่ผ่านมาไม่ว่ารัฐบาลไหน ต่างก็พยายามผลักดันให้มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ซึ่งเป็นไปตามระบบทุนนิยม มันก็คือการแปรรูปมหาวิทยาลัย เป็นการเปลี่ยนสภาพมหาวิทยาลัยของรัฐในประเทศไทยเป็นมหาวิทยาลัยกึ่งเอกชน


 


จอนกล่าวว่า เห็นด้วยกับการออกนอกระบบราชการ แต่อย่างไรก็ดี มหาวิทยาลัยยังจำเป็นต้องเป็นของรัฐโดยตรง ต้องเก็บค่าเรียนถูกๆ แต่การผลักดันมหาวิทยาลัยออกนอกระบบที่ผลักดันในทุกวันนี้ มีความหมายมากกว่านั้น คือ มหาวิทยาลัยต้องเลี้ยงตัวเองได้มากขึ้น นั่นแปลว่า ต้องมีการขึ้นค่าเล่าเรียน และมหาวิทยาลัยต้องเริ่มให้เอกชนเข้ามาลงทุน ซึ่งเป็นผลเสียในทางวิชาการ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ คณะใหญ่ๆ ที่เป็นความต้องการของตลาด ก็จะได้ทุนจากเอกชน แต่คณะที่ไม่เกี่ยวกับภาคธุรกิจ เช่น ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ จะหาทุนยาก


 


ดังนั้น ผลกระทบที่เป็นปัญหาคือ หนึ่ง ค่าเล่าเรียนแพงขึ้นแน่นอน การเข้าถึงการศึกษาจะยากขึ้น สอง การเติบโตของมหาลัยจะไม่สมดุล ภาคเอกชนในระบบทุนนิยมจะเข้ามามีส่วนในมหาวิทยาลัยอย่างมาก มหาวิทยาลัยจะกลายเป็นโรงงานผลิตคนไปให้บริษัทต่างๆ และสาม การบริหารในมหาวิทยาลัยจะไม่เป็นประชาธิปไตย สี่ อิสระทางวิชาการจะเกิดปัญหา เช่น อาจารย์ที่มีแนวการสอนที่แหวกแนวมีโอกาสในการถูกกลั่นแกล้งได้สูงถ้าโครงสร้างไม่เป็นประชาธิปไตย และห้า แม้มหาวิทยาลัยจะออกนอกระบบ ซึ่งทำให้พนักงานก็ออกนอกระบบด้วยนั้น แต่กฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบทุกฉบับกลับระบุว่า กฎหมายประกันสังคม และกฎหมายแรงงานไม่ได้เข้ามาเกี่ยวข้อง และไม่มีอำนาจในการต่อรองใดๆ ซึ่งอาจเกิดความไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้างและพนักงาน


 


ช่วงที่ผ่านมา ในวุฒิสภาชุดแรกที่มาจากการเลือกตั้งนั้น มีความพยายามผลักดันกฎหมายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบหลายฉบับ เป็นการยากที่จะฝืนการออกนอกระบบมหาวิทยาลัย แต่สิ่งที่ทำได้คือการเข้าไปแก้เนื้อหาหลายๆ จุดในแต่ละร่างพ.ร.บ. ได้แก่ หลักเกณฑ์ความหลากหลายของสภามหาวิทยาลัย หลักประกันของผู้เรียนที่ห้ามมหาวิทยาลัยปฏิเสธนักศึกษาที่ยากจน แต่ต้องมีกลไกรองรับช่วยเหลือ ฯลฯ ซึ่งที่ผ่านมา ในการแก้ไขนั้น ร่างพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นร่างที่ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งแก้ไขเนื้อหาได้มาก และก้าวหน้าที่สุด จนทำให้สภาผู้แทนไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ทำให้ต้องตั้งคณะกรรมาธิอการร่วม ซึ่งก็ยังคงไม่ผ่านการพิจารณา


 


จอนกล่าวว่า ร่างพ.ร.บ. ม.บูรพา ให้หลักประกันที่ดีกว่าเดิม แต่ตอนนี้ สนช.ไม่สนใจ ได้ปัดทิ้ง พ.ร.บ.ม.บูรพา และเร่งผลักดันร่างกฎหมายที่แย่ที่สุดของแต่ละมหาวิทยาลัยออกมาโดยไม่สนใจที่จะแก้ไข


 


 


ไม่เอา 7 : รางกฎหมายวาดวยเงื่อนไขและหลักเกณฑการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ


กป.อพช. ระบุว่า นี่เปนรางกฎหมายที่ใหอํานาจรัฐนํารัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพใหเปนบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด และการกระจายหุนแกเอกชน อันเปนการเอื้อประโยชนแกกลุมทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และทําใหประชาชนเสียสิทธิที่จะเขาถึงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จําเปนตอการดํารงชีวิต


 


นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพกฟผ. กล่าวว่า เรื่องสาธารณณูปโภคเป็นเรื่องสำคัญที่ใกล้ตัวประชาชน แต่การเปลี่ยนแปลงที่ผ่านมาไม่เคยมีการทำประชามติ ทั้งที่รัฐวิสาหกิจเป็นของประชาชนทุกคน เขาเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องรีบออกกฎหมายฉบับนี้ สิ่งที่ควรเกิดขึ้นคือการยกเลิกพ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ขณะที่หากมีความต้องการแปรรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจใดๆ ก็ควรทำเป็นกรณีไป โดยต้องมีการทำประชามติถามประชาชน


 


ด้านรสนา โตสิตระกูล กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้ ร้ายกว่ากฎหมายเดิม (พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจพ.ศ. 2542) เพราะได้ยกอำนาจ เหมือนเป็นการเซ็นเช็คเปล่าให้ฝ่ายบริหาร หลักการพื้นฐานของกฎหมายนี้ คือ จะทำเรื่องกระจายหุ้น แต่ไม่ได้ตอบคำถามสำคัญว่า ประชาชนจะยินดีให้ขายสาธารณประโยชน์เหล่านี้หรือไม่ ทั้งยังได้แก้จุดอ่อนที่คาดไม่ถึงในกฎหมายเดิม ที่ทำให้ประชาชนเคยสามารถฟ้องร้องได้ ดังที่เคยทำในการฟ้องศาลปกครองคดีกฟผ. แต่กฎหมายฉบับใหม่นี้ ได้แก้จุดอ่อนต่างๆ หรืออีกนับหนึ่งคือ ทำให้ประชาชนไม่มีอำนาจในการต่อรอง ไม่มีอำนาจอะไรในการต่อสู้


 


 


ไม่เอา 8, 9 : รางกฎหมายสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ และรางกฎหมายทรัพยากรน้ำ


กฎหมายทั้งสองฉบับ เพิ่มอํานาจใหหนวยงานรัฐ และขัดกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม


 


นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตน์ ผู้อำนวยการโครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวถึงปัญหาในร่างพ.ร.บ.น้ำว่า ไม่มีการบัญญัติชัดเจนเรื่องการรับรองสิทธิชุมชน แต่มีแนวโน้มว่า จะมีการนำน้ำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์และการค้าขายมากขึ้น


 


ในส่วนของ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2535 นั้น ได้ครอบคลุมทรัพยากรทุกประเภท รวมถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม โรงงานอุตสาหกรรมที่มีผลกระทบต่อชุมชน เนื้อหากฎหมายระบุว่า เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรแห่งชาติ บุคคลคือประชาชนทั่วไป อาจมีสิทธิหน้าที่ในการได้รับคำชี้แจงเหตุผลของรัฐในโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


 


บัณฑูรกล่าวว่า การระบุเช่นนี้ อีกนัยหนึ่งก็หมายความได้ว่า ประชาชนยังไม่มีสิทธิหน้าที่ดังกล่าว ไม่เพียงเท่านั้น ในเนื้อหายังไมได้ระบุชัดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับหน่วยงานของรัฐ ในการได้ประโยชน์และการคุ้มครองผลกระทบสิ่งแวดล้อม สิ่งเหล่านี้ขัดแย้งกับสิทธิที่ได้รับการรับรองไว้อย่างชัดเจนในรัฐธรรมนูญ 50 ในมาตรา 57


 


 


ไม่เอา 10 : รางกฎหมายสภาการเกษตรแหงชาติ


กป.อพช.ระบุว่า กฎหมายฉบับนี้ใหอํานาจผูแทนหนวยงานของรัฐรวมกับผูแทนองคกรธุรกิจการเกษตร ในการกําหนดนโยบายและแนวทางพัฒนาการเกษตร แต่เกษตรกรสวนใหญไมสามารถเขาถึงและมีสวนรวมในการกําหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรดังกลาว


 


นางสาวทัศนีย์ วีระกันต์ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวว่า เคยมีความพยายามผลักดันร่างพ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติตั้งแต่สมัยรัฐบาลของนายอานันท์ ปันยารชุน เนื้อหากฎหมาย มุ่งที่ต้องการดูแลเรื่องการเกษตรทั้งหมด ทั้งยังมีเรื่องการจัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตร และเรื่องการสนับสนุนการทำธุรกิจครบวงจร ในครั้งนั้น กฎหมายได้ถูกผลักดันโดยยักษ์ใหญ่นายทุนทางการเกษตรผ่านกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งเรื่องนี้ ได้นำไปสู่การเปิดภาพขบวนการชาวนาชาวไร่ภายหลังจากขบวนการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่สิ้นสุดลง


 


ครั้งนั้นมีการเคลื่อนไหวคัดค้านขององค์กรเกษตรกรมากมาย จนนำไปสู่การยุติร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติ และมีการเสนอ พ.ร.บ.สภาเกษตรกรซึ่งเป็นสภาของเกษตรกรโดยแท้ แต่ก็เงียบหายไป จนต่อมา ช่วงปี 2547 - 2548 มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติเข้ามาอีก คือ ฉบับที่มีการเสนอโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และฉบับที่บอกว่าเป็นของภาคประชาชนแต่เนื้อหาคล้ายร่าง พ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติเดิม ที่จัดโซนนิ่งพื้นที่การเกษตรและสนับสนุนการทำธุรกิจครบวงจร ซึ่งมีการพิจารณาเห็นชอบในหลักการและอยู่ในขั้นพระราชกฤษฎีกา


 


ต่อมาในปี 2550 ร่างพ.ร.บ.สภาการเกษตรแห่งชาติก็ปรากฏอีกครั้ง โดยเข้าสนช.ไปแล้วเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. มีเนื้อหาที่ว่าจะส่งเสริมเกษตรกรให้เข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาความเห็นร่วมกับรัฐบาล กำหนดแนวทางการเกษตรของประเทศอย่างครบวงจร ทั้งการผลิต การตลาด สนับสนุนการมีประสิทธิเสรีภาพของเกษตรกร สะท้อนปัญหาให้แก่ภาครัฐ ประโยคสุดท้ายก็คือให้ภาครัฐช่วยเหลือให้ได้ผลดี สภานี้จึงถูกตั้งชื่อว่าที่สภาที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ด้วยเหตุผลของการทำหน้าที่ในการเป็นผู้สะท้อนปัญหาโดยสภา แต่การแก้ไขจะถูกจัดการโดยรัฐ ซึ่งเป็นความคิดแบบรัฐที่ไม่ต้องการกระจายอำนาจ


 


ตัวแทนเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก กล่าวถึงปัญหาว่า นิยามของคำว่าเกษตรกรกว้างเกินไป รวมใครก็ได้ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึงบริษัทใหญ่อย่างมอนซานโต้ และซีพี สังเกตได้ว่าไม่มีคำว่ารายย่อย ไม่มีคำว่าวิถีชีวิตเกษตรกร


 


ด้านองค์ประกอบของคณะกรรมการสภาเกษตรแห่งชาตินั้น  มี 60 คน แบ่งเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรเป็นประธาน องค์กรภาครัฐ 22 คน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการเกษตร ที่ไม่ได้มองถึงภาคประชาชนจริงๆ เป็นผู้แทนภาคเกษตรกรรม 20 คน ส่วนที่ 4 สุดท้าย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งโดยรัฐมนตรี 8 คน ซึ่งการที่จะมีเกษตรกรตัวเล็กๆ เข้าไปมีส่วนร่วมเป็นไปได้ยาก อาจไม่ถึงเศษหนึ่งส่วนสาม


 


 


ไม่เอา 11 :  รางกฎหมายวัตถุอันตราย


กป.อพช. ระบุว่า สาระสําคัญของกฎหมายนี้ อํานวยประโยชนใหเอกชนผูประกอบการ สามารถผลิต นําเขา สงออกหรือมีไวในครอบครองวัตถุอันตราย ยกเลิกคาธรรมเนียมรายปแกเอกชนผูประกอบการ และยกเลิกอํานาจเจาหนาที่ในการบังคับใชกฎหมาย อันอาจเปนการเพิ่มความเสี่ยงดานสิ่งแวดลอมและสุขภาพของประชาชน ตลอดจนเปนการยกเลิกสิทธิของประชาชนในการคุมครอง สงเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมเพื่อใหประชาชนดํารงชีวิตอยางปกติสุข


 


นางสาวสุกรานต์ โรจนไพรวงศ์ กลุ่มศึกษาปัญหามลภาวะอุตสาหกรรม กล่าวว่า พ.ร.บ.วัตถุอันตรายฉบับเดิม เกิดเมื่อปี 2535 และมีการแก้ไขเมื่อช่วงต้นปี และได้ผ่านครม.ไปแล้ว โดยการแก้ไข ได้ยกเลิกเรื่องที่สำคัญ 2 ข้อ คือ ยกเลิกค่าธรรมเนียมรายปี เดิมใครนำเข้าวัตถุอันตรายต้องเสียค่าธรรมเนียมรายปีแต่ฉบับนี้ยกเลิก และยกเลิกอำนาจเจ้าพนักงานในการจับกุมผู้กระทำผิด เนื่องจากไม่เคยใช้อำนาจในข้อนี้


นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 ที่จากเดิมนั้นมีการห้ามใช้ ห้ามครอบครอง แต่มีการแก้ไขเปิดช่องให้สามารถผลิตขึ้นมา ครอบครองเป็นเจ้าของ หรือนำเข้ามาใช้เพื่อการวิจัยได้ โดยต้องได้รับการเห็นชอบจากรัฐมนตรี


 


สุกรานต์กล่าวว่า ข้อสำคัญคือ การนำเข้ามาเพื่อการศึกษาวิจัย อาจส่งผลในเรื่องของสุขภาพ เทียบเคียงกรณี GMO ซึ่งก็เริ่มจากขั้นตอนวิจัย และการแก้โครงสร้างของคณะกรรมการแห่งชาติ อันเป็นกลไกหลักในการทำงาน แต่ไม่ได้บอกบทบาทภาคประชาสังคมเอาไว้ กระบวนการมีส่วนร่วมในทั้งระบบของประชาชนไม่มี


 


สุกรานต์ เห็นว่า กระบวนการแก้ไขที่เกิดขึ้น เป็นการแก้ให้ภาคธุรกิจและภาคราชการสบายใจ แต่มาตรการรับมือต่อสถานการณ์ที่คุกคามต่อภาคประชาชนนั้น ไม่มี อย่างกรณีข้อถกเถียงเรื่องเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่นซึ่งเปิดโอกาสให้มีขยะอันตราย โดยฝ่ายราชการอ้างว่า กฎหมายนี้จะช่วยปกป้องการละเมิด แต่ข้อเท็จจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพ.ร.บ.คุมกว้างมาก และทำหน้าที่ทั้งส่งเสริมและควบคุมวัตถุอันตราย แต่ไม่ได้บอกถึงของเสีย


 


"แก้ครั้งนี้ก็ไม่ได้บอกว่าเลวหมด แต่แก้ครั้งนี้แล้วล้าหลังเหลือเกิน แก้เพื่อเอาใจภาคธุรกิจเป็นสำคัญไม่เกี่ยวกับภาคประชาชนเลย ถ้าจะบอกว่าเป็นสีแดงไหมโดยส่วนตัวฟันธงเป็นสีแดง ว่าไปแล้วถ้าแก้แบบนี้แค่แก้ประเภทที่ 4 นี่เอาฉบับเดิมดีกว่า ถ้าจะแก้ใหม่เดี๋ยวค่อยว่ากันอีกที" นางสาวสุกรานต์กล่าวสรุป


 


 


 


แถลงการณ


เรื่อง "หยุดการออกกฎหมาย 11 ฉบับ ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน"


 


ภายหลังการยึดอํานาจโดยคณะทหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 คณะยึดอํานาจไดแตงตั้งสภานิติบัญญัติแหงชาติเพื่อทําหนาที่บัญญัติกฎหมายแทนรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน


จึงทําใหสภาชุดนี้ขาดความเชื่อมโยงและไมจําเปนตองรับผิดชอบกับประชาชนโดยตรง ดังปรากฏผลการพิจารณากฎหมายที่มีผลบังคับใชจํานวน 88 ฉบับ ที่โดยสวนใหญแลวเปนกฎหมายที่มุงขยายและปรับปรุงอํานาจหนาที่ของหนวยงานรัฐ แตมีเพียงจํานวนนอยที่เปนการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งเปนผลมาจากการผลักดันของภาคประชาชน


 


ยิ่งไปกวานั้น รัฐบาลและสภานิติบัญญัติแหงชาติกําลังจะผลักดันการออกกฎหมาย ที่นอกจากจะไมสงเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนแลว ยังอาจเปนภัยคุกคามตอสิทธิเสรีภาพของประชาชน และอาจกลาวไดวา เปนการยกเลิกเพิกถอนสิทธิเสรีภาพที่รับรองไวในรัฐธรรมนูญ 2550 เอง โดยเฉพาะรางกฎหมายที่สําคัญ ดังตอไปนี้


 


1.รางกฎหมายการรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร เปนรางกฎหมายที่กําลังอยูในระหวางการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีสาระสําคัญเปนการขยายอํานาจกองทัพใหสามารถควบคุมสังคม


อันเปนภัยคุกคามตอหลักสิทธิเสรีภาพ หลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย หลักนิติธรรม และหลักการมีสวนรวมของประชาชนดังที่กําหนดไวในรัฐธรรมนูญ


 


2.รางกฎหมายปาชุมชน เปนรางกฎหมายที่กําลังอยูในระหวางการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ


โดยมีสาระสําคัญเปนการกําหนดเงื่อนไขเพื่อกีดกันสิทธิการมีสวนรวมของชุมชนในการจัดการ การดูแลรักษา และการใชประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดลอม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอยางสมดุลและยั่งยืน


 


3. รางกฎหมายการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน เปนรางกฎหมายที่กําลังอยูในระหวางการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีสาระสําคัญเปนการใหหนวยงานรัฐเปนเจาของสื่อวิทยุโทรทัศนอยูเชนเดิม และการใหรัฐมีอํานาจควบคุม หรือหามเสนอขาวสารโดยการสั่งการดวยวาจา หรือหนังสือระงับรายการที่เสนอผานสื่อสาธารณะ


 


4. รางกฎหมายมหาวิทยาลัยบูรพา 5. รางกฎหมายมหาวิทยาลัยทักษิณ 6. รางกฎหมายจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ซึ่งเปนรางกฎหมายที่อยูระหวางการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยมีสาระสําคัญเปนการนํามหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เขาสูการบริหารโดยอาศัยกลไกตลาด อันจะมีผลกระทบกับสิทธิการเขาถึงการศึกษา อิสรภาพทางวิชาการ และหลักประกันทางดานสวัสดิการของบุคลากรของมหาวิทยาลัย


 


7. รางกฎหมายวาดวยเงื่อนไขและหลักเกณฑการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ เปนรางกฎหมายที่อยูในระหวางการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยมีสาระสําคัญเปนการใหอํานาจรัฐนํารัฐวิสาหกิจมาเปลี่ยนสภาพใหเปนบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด และการกระจายหุนแกเอกชน อันเปนการเอื้อประโยชนแกกลุมทุนทั้งภายในและภายนอกประเทศ และทําใหประชาชนเสียสิทธิที่จะเขาถึงสาธารณูปโภคและสาธารณูปการที่จําเปนตอการดํารงชีวิต


 


8. รางกฎหมายสงเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมแหงชาติ 9.รางกฎหมายทรัพยากรน้ำ เปนรางกฎหมายที่กําลังอยูในระหวางการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยมีสาระสําคัญ เปนการเพิ่มอํานาจใหหนวยงานรัฐ และเปนการขัด กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนและสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอม


 


10. รางกฎหมายสภาการเกษตรแหงชาติ เปนรางกฎหมายที่อยูในระหวางการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยมีสาระสําคัญเปนการใหอํานาจผูแทนหนวยงานของรัฐรวมกับผูแทนองคกรธุรกิจการเกษตรในการกําหนดนโยบาย และแนวทางในการพัฒนาการเกษตรเปนสําคัญ โดยเกษตรกรสวนใหญไมสามารถเขาถึงและมีสวนรวมในการกําหนดแนวทางการพัฒนาการเกษตรดังกลาว


 


11. รางกฎหมายวัตถุอันตราย เปนรางกฎหมายที่อยูในระหวางการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ โดยมีสาระสําคัญเปนการอํานวยประโยชนใหเอกชนผูประกอบการสามารถผลิต นําเขา สงออกหรือมีไวในครอบครองวัตถุอันตราย การยกเลิกคาธรรมเนียมรายปแกเอกชนผูประกอบการ และยกเลิกอํานาจเจาหนาที่ในการบังคับใชกฎหมาย อันอาจเปนการเพิ่มความเสี่ยงดานสิ่งแวดลอมและสุขภาพของประชาชน ตลอดจนเปนการยกเลิกสิทธิของประชาชนในการคุมครอง สงเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดลอมเพื่อใหประชาชนดํารงชีวิตอยางปกติสุข


 


ฉะนั้น จากการสัมมนาของคณะกรรมการประสานงานองคกรพัฒนาอกชน(กป.อพช.) และองคกรเครือขาย


ประชาชนพิจารณากฎหมายทั้งสิบเอ็ดฉบับดังกลาวอยางถี่ถวนแลวเห็นวาเปนกฎหมายที่ขัดกับหลักการแหงสิทธิ เสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติแหงรัฐธรรมนูญ 2550 จึงขอเรียกรองใหสภานิติบัญญัติแหงชาติยุติกระบวนการการออกกฎหมายสิบเอ็ดฉบับ และกฎหมายอื่น ๆ ที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพและคุกคามการดํารงชีวิตอยางปกติสุขของประชาชนโดยทันที เพื่อเปดโอกาสใหรัฐสภาที่เปนตัวแทนที่จะมาจากการเลือกตั้งของประชาชนในอนาคตอันใกลไดมีบทบาท และเปดโอกาสใหแกกระบวนการมีสวนรวมของประชาชนในการออกกฎหมายตามเจตนารมณของรัฐธรรมนูญตอไป


 


 


แถลง ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2550


งานสัมมนากฎหมายที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพประชาชน


 


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net