Skip to main content
sharethis

อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสดามุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่าน สุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน


 


หลังจากดร.สุริทร์ พิศสุวรรณ ประธานมูลนิธิเพื่อพัฒนาการศึกษาโรงเรียนประทีปศาสน์ (PFED) ร่วมลงนามความร่วมมือพัฒนาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม กับ Dr.Akinori Seki ประธานมูลนิธิซาซากาว่าเพื่อสันติภาพ (SPF) ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 22 มิถุนายน 2550


 


วันที่ 29-31 ก.ค. 2550 ท่านได้นำตัวแทนคณะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในจังหวัดภาคใต้ของไทยจำนวน 5 คน คือผู้เขียน อ.นัสรุดดีน กะจิ ผู้บริหารโรงเรียนรุ่งโรจน์วิทยา อ. ศักริน สุมาลี ผู้บริหารโรงเรียนมุสลิมสันติธรรม อ. สุไกนะ พิศสุวรรณผู้บริหารโรงเรียนประทีปศาสน์  อ.รอเซ็ด เบ็นและแหนะ ผู้บริหารโรงเรียนตัสดีกียะห์ และผู้เขียนผู้บริหารโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ  เดินทางมาศึกษาวิถีชีวิตและระบบการศึกษาอิสลามของประเทศสิงคโปร์ หลายแห่งเช่นสมาคมผู้รับนับถือศาสนาใหม่ The Muslim Converts" Association of Singapore (Darul Arqam Singapore) สำนักงานกิจการอิสลามสิงคโปร์หรือ MUIS (Majlis Ugama Islam Singapura หรือ Islamic Religious Council of Singapore) โรงเรียนอัลอิรชาติสลามมียะห์Madrasah Al-Irsyad Al-Islamiah และหอสมุดแห่งชาติ


 


สำหรับผลสรุปการเยี่ยมชม The Muslim Converts" Association of Singapore (Darul Arqam Singapore) นั้นมีใจความสำคัญดังนี้


 


The Muslim Converts" Association of Singapore หรือภาษาอาหรับเรียกว่า Dar  al- Arqam เป็นสมาคมของผู้เข้ารับนับถืออิสลามใหม่สำหรับชาวสิงคโปร์และต่างชาติ มี Ridzuan Wu ประธานสมาคมและคณะให้การต้อนรับและบรรยายบรรยายเกี่ยวกับการบริหารงานของ Darul Arqam


 


หลังจากนั้นท่าน Ridzuan Wu ได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับอิสลามกับความทันสมัย (Islam and  Modernity) ในพหุสังคมอย่างสิงคโปร์ ซึ่งเป็นประเด็นที่สิงคโปร์กำลังค้นหาคำตอบและให้ความสำคัญอีกทั้งสังคมมุสลิมเองจะต้องสามารถบูรณาการกับหลักการศาสนาในโลกแห่งความเป็นจริงให้ได้ด้วยเช่นกัน


 


หลังจากนั้นก็เป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องตอบคำถามสำคัญว่าจะสามารถสร้างบูรณาการในกลุ่มคนที่มีความเชื่อต่างๆ กันได้อย่างไรด้วยเช่นกัน โดยเปิดโอกาสให้แต่ละกลุ่มคงความเชื่อของตัวเองและยังเป็นพลเมืองที่ดีได้ในสุนทรพจน์วันชาติปี 2549 ของสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีลีเซียนลุง ได้ย้ำถึงความจำเป็นของสิงคโปร์ในการเปิดประเทศเพื่อรับกลุ่มอาชีพที่มีทักษะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาสิงคโปร์ เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในโลกยุคปัจจุบันได้ แต่การเปิดประเทศรับชาวต่างชาตินี้จะต้องได้รับความร่วมมือจากชาวสิงคโปร์ที่จะต้องให้การต้อนรับผู้มาช่วยพัฒนาประเทศด้วยความอบอุ่น กลุ่มที่เข้ามาประกอบอาชีพในสิงคโปร์นี้มีความหลากหลาย อาทิ จากรัสเซีย ตุรกีและจากอเมริกาใต้ รัฐบาลได้ส่งเสริมให้ชุมชนต่างๆ รวมถึงชุมชนอิสลามให้เปิดใจกว้างรับผู้มาเยือนนี้ด้วยความเต็มใจ แต่ชาวมุสลิมส่วนหนึ่งได้สะท้อนความวิตกกังวลว่าจะสูญเสียงานให้กับชาวต่างชาติเหล่านี้ นี่คือข้อเท็จจริงของผลกระทบที่เกิดจาก  โลกาภิวัฒณ์


 


เพื่อลดแรงกดดันจากโลกาภิวัฒณ์ยุคดิจิตัล รัฐบาลได้ส่งเสริมบทบาทของสำนักงานกิจการอิสลามสิงคโปร์หรือ MUIS (Majlis Ugama Islam Singapura หรือ Islamic Religious Council of Singapore) เพื่อเป็นองค์กรที่คอยช่วยเหลือการบริหารจัดการชุมชนมุสลิมตามวิถีอิสลาม


 


ในขณะที่ องค์กร Darul Arqam Singapore นี้ ถือเป็นที่พักพิงให้กับผู้ที่เปลี่ยนมารับความเชื่ออิสลาม และคอยให้การศึกษาอิสลามอย่างถูกต้องกับชุมชนสิงคโปร์


องค์กร Darul Arqam Singapore ได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการบริหารจัดการพัฒนาบุคลากรต่างๆให้สมดุลในสาขาต่างๆโดยจัดทำสถิติหรือข้อมูลเบื้องต้นกี่ยวกับจำนวนประชากรมุสลิมเช่นในการพัฒนาบุคลากรด้านผู้สอนศาสนาอิสลามของสิงคโปร์นั้น เราได้ตั้งคำถามว่า ชุมชนมุสลิมต้องการผู้สอนศาสนามากน้อยเท่าใด หรืออีกนัยหนึ่ง โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามของสิงคโปร์ไม่จำเป็นต้องเป็นแหล่งผลิตผู้รู้ทางศาสนาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ต้องมีการเน้นวิชาชีพอื่นๆด้วยแต่ต้องสามารถบูรณาการกับหลักการศาสนา เพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมทันสมัยที่มีการแข่งขันได้ สามารถมีงานรองรับได้หลังสำเร็จการศึกษา ในขณะเดียวกันการยกระดับผู้สอนศาสนาหรือ อุสตาซ (ustaz) ที่มีคุณภาพด้านการสอนและนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยสอนนักเรียน ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนปกว่ากันในสังคมที่มีค่าครองชีพสูงคือรายด้และค่าตบแทน โดยมีการให้ค่าตอบแทนในวิชาชีพสูงเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ


 


สำหรับการส่งเสริมการจัดศึกษาอิสลามของชุมชนอิสลามสิงคโปร์นั้นเราได้จัดตั้งระบบคืนกำไรให้กับสังคมโดยผ่านการจัดตั้งกองทุน กล่าวคือ ชาวมุสลิมสิงคโปร์ทุกคนที่ประกอบอาชีพจะต้องปันเงินจำนวนเดือนละ 5-15 เหรียญสิงคโปร์แก่กองทุน (flat rate) เพื่อเป็นทุนทรัพย์แก่นักเรียนมุสลิมที่เรียนดีแต่ยากจน อีกส่วนหนึ่งนำไปใช้เป็นเงินกู้สำหรับนักศึกษาซึ่งจะต้องชำระคืนเมื่อสำเร็จการศึกษาและมีงานทำแล้ว


 


ในขณะที่ดร.สุริทร์ พิศสุวรรณให้ทัศนะว่า ชุมชนมุสลิมของไทยและโรงเรียนสอนศาสนาของไทยกำลังเผชิญหน้ากับโลกในยุคโลกาภิวัตน์และความทันสมัยที่มาในหลายรูปแบบ และกำลังประสบปัญหากับการปรับตัว ดังนั้นการการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรในโรงเรียนสอนศาสนาของไทยมีความจำเป็น แม้รัฐบาลไทยจะมีส่วยช่วยบ้างในการส่งเสริมให้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรให้ทันสมัย แต่ยังมีโรงเรียนสอนศาสนาหลายโรงเช่นกันที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยม ซึ่งอาจจะนำไปสู่ความกดดันของชุมชน ดังนั้นการส่งทีมงานไปดูงานที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นพหุสังคมและ กำลังเผชิญกับปัญหานี้จึงมีความจำเป็นในการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาอิสลามเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับชนรุ่นใหม่ที่จะเป็นผู้นำในอีก 20-30 ปีข้างหน้า การเรียนรู้จากสิงคโปร์ซึ่งได้ผ่านจุดของการปฏิรูปมาแล้ว และเป็นตัวอย่างที่ดีของความสำเร็จของการศึกษาอิสลามที่ผสมผสานกับวิชาสามัญ ได้อย่างดี และลงตัว


 


นอกจากนี้ การเรียนรู้จากคณาจารย์มุสลิมสิงคโปร์ถึงวิธีการถ่ายทอดความรู้ไปยังนักเรียนและนักศึกษามุสลิม โดยเฉพาะในการสอนให้ชาวมุสลิมมีความศรัทธาต่อศาสนาแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงไป (remain faithful to Islam amid global changes)


           


สิ่งท้าทายที่สำคัญของอาเซียนในอีก 15-20 ปีข้างหน้าไม่ได้อยู่ที่ช่องว่างทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก แต่อยู่ที่ประเด็นความเป็นอยู่ของชาวมุสลิมที่มีจำนวนมากถึง 1 ใน 3 ของพลเมืองอาเซียน หากชาวมุสลิมกลุ่มนี้ไม่สามารถผลักตัวเองขึ้นมาอยู่ในชนชั้นกลางได้อย่างสำเร็จ กลุ่มนี้จะไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่และเผชิญ สิ่งท้าทายตามทัศนะอิสลามได้เลย ดังนั้นการส่งเสริมให้ชุมชนมุสลิมอาเซียนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในขณะที่สามารถดำรงชีพเยี่ยงมุสลิมที่ดีได้เป็นสิ่งสำคัญเมื่อทศวรรษที่ผ่านมา อาเซียนเน้นเรื่องการพัฒนาประชาธิปไตยในพม่า แต่ในอนาคต ประเด็นปัญหาจะอยู่ที่การพัฒนาชุมชนอิสลาม


 


หมายเหตุ


 1. ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนใหม่ นายพิริยะ เข็มพล รองอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ในที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 40 ที่ประเทศฟิลิปปินส์  นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เสนอชื่อ นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน และที่ประชุมก็เห็นชอบรับรองให้ นายสุรินทร์ เป็นเลขาธิการอาเซียนคนต่อไป โดยนายนิตย์ได้แนะนำประวัติในที่ประชุมว่า นายสุรินทร์ เป็นบุคคลที่มีความเหมาะสม และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย ซึ่งหลังจากที่นายนิตย์ได้นำเสนอต่อที่ประชุมแล้ว ปรากฏว่ารัฐมนตรีต่างประเทศทุกคนได้ปรบมือแสดงความชื่นชมนายสุรินทร์ พิศสุวรรณว่า เป็นบุคคลที่มีความเหมาะสม และมีความคุ้นเคยกับประเทศในอาเซียนเป็นอย่างดี และเชื่อว่าจะเป็นบุคคลที่ทำงานให้กับอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งอย่างเป็นทางการต้องให้ผู้นำอาเซียนลงนามรับรองในการประชุมเดือนพฤศจิกายน ที่ประเทศสิงคโปร์ และจะเริ่มทำงานในวันที่ 1 มกราคม 2551


 


2. ขอบคุณผู้จดบันทึกการศึกษาดูงานครั้งนี้ ดร.ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ เลขานุการเอก สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net