Skip to main content
sharethis

สัมภาษณ์โดย วิทยากร  บุญเรือง


 


เกี่ยวกับความคืบหน้ากรณีที่นักศึกษาโปรแกรมวิชาเอกชาติพันธุ์ศึกษาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ประจำปีการศึกษา 2549 ศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย (มรภ.เชียงราย) จำนวน 15 คนได้ออกมาเรียกร้องให้สังคมตรวจสอบพฤติกรรมของนายสมบัติ บุญคำเยือง ผอ.ศูนย์ชาติพันธุ์ศึกษา มรภ.เชียงราย ที่ได้หลอกลวงเด็กชนเผ่า อาทิ ลั๊วะ ลาหู่ ลีซู ดาราอั๊ง และปากะญอ จากหลายจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ โดยแจ้งแก่เด็กและผู้ปกครองว่าทางศูนย์ฯ จะมีทุนการศึกษา ที่พักให้ฟรี โดยที่เด็กที่มาเรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ตามที่ประชาไทได้เกาะติดความคืบหน้ามาเป็นระยะๆ แล้วนั้น


 


ประชาไทได้พูดคุยและได้ข้อคิดเห็นที่น่าสนใจจาก จารุวัฒน์ เกยูรวรรณ เจ้าหน้าที่รณรงค์และเผยแพร่ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในพม่า (Thai Action Committee for Democracy in Burma: TACDB) และบรรณาธิการของวารสาร "สาละวิน" 


 


เกี่ยวกับประเด็น นักศึกษา มร. ชร.ที่เชื่อมโยงถึงการกดขี่กลุ่มชาติพันธุ์ทั้งในประเทศพม่าและในประเทศไทย รวมถึงประเด็นชนชั้นในระดับโลก


 


ทั้งนี้ข้อคิดเห็นของข้อคิดเห็นของจารุวัฒน์ นั้นอาจทำให้ใครหลายคนมองเห็นต้นตอของประเด็นนี้ได้รอบด้านขึ้น..


 


+สถานการณ์การต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยในพม่าตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง?


จารุวัฒน์ : ผมก็ไม่ได้ติดตามอย่างใกล้ชิดนะ แต่เทำที่พอรู้มาบ้างก็คงมีอยู่สองกลุ่มที่ยังต่อสู้กับทหารพม่าอยู่ คือ กองกำลังไทใหญ่ ของเจ้ายอดศึก กับกองกำลังกะเหรี่ยงเคเอ็นยู แต่ที่น่าจะถูกโจมตีหนักที่สุดในตอนนี้น่าจะเป็นกลุ่มกะเหรี่ยง ก็ส่งผลให้มีผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงงตามแนวชายแดนมากขึ้น


 


+ย้อนกลับมาบ้านเรา ชนกลุ่มน้อยเองไม่ได้จับอาวุธ ไม่ได้ขัดขืน แต่การกดขี่นั้นมีอยู่หลายรูปแบบ?


จารุวัฒน์ : จริงๆการกดขี่มันก็มีอยู่ทั่วไปนั่นแหละ และก็มีหลายรูปแบบแต่คนทั่วไปจะรับรู้หรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่ว่าเรื่องราวเหล่านั้นมันขายได้หรือไม่ ถ้าขายไม่ได้สื่อก็จะเลือกนำเสนอเรื่องอื่นที่มันขายได้ โดยผู้ถูกกดขี่ทั้งหมดเป็นบุคคลที่ไม่มีพื้นที่ทางสังคม ไม่มีอำนาจ ไม่มีเงิน ไม่มีชื่อเสียง ไม่มีเส้นสาย อะไรทำนองนี้


 


ในกรณีชนกลุ่มน้อยในไทยปัจจุบันอาจจะไม่มีการจับอาวุธสู้รบเหมือนกับในประเทศพม่านั้น ก็คือบริบททางประวัติศาสตร์มันต่างกัน ในกรณีของพม่าพื้นที่มันปิดหมด คุณไม่สามารถพูดอะไรได้ที่ขัดแย้งกับรัฐบาลทหาร สื่อก็ไม่กล้านำเสนอข่าว ถ้าคุณพูดการถูกจับเป็นสิ่งแรกที่คุณจะได้รับ ถ้าหนักกว่านั้นก็ถึงกับตายได้เลย แต่ในไทยเราเคยผ่านช่วงเวลานั้นมาแล้วพอสมควร คนที่ถูกกดขี่มีพื้นที่ต่อสู้พอสมควรโดยที่ไม่ต้องจับอาวุธ การเมืองภาคประชาชนก็เติบโต แต่ก็มีช่วงสะดุดบ้าง


 


อย่างเช่นในช่วงนี้ที่เป็นเผด็จการทหารอยู่แต่การที่ทหารอยู่ได้เป็นเผด็จการได้ ก็เพราะได้รับการสนับสนุนจากภาคประชาชนหลายส่วน แต่ในพม่าปกครองด้วยกระบอกปืน ด้วยความกลัวอย่างเดียว แต่ที่ผมพอรับรู้มาบ้าง ชนกลุ่มน้อยในไทยเคยจับอาวุธร่วมกับ พคท.นะ แต่มีเหตุผลอะไรบ้างนั้นผมไม่แน่ใจ หรืออย่างในปัจจุบันในชายแดนภาคใต้เราเรียกได้รึเปล่าว่าเป็นการจับอาวุธโดยคนกลุ่มน้อยที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากอำนาจรัฐไทย


 


+ทำไมรัฐพม่าจึงมองชนกลุ่มน้อยเป็นเหมือนศัตรู? ส่วนรัฐไทยมองแบบผู้ขอความช่วยเหลือ?


จารุวัฒน์ : ก็เพราะชนกลุ่มน้อยจับอาวุธขึ้นมาต่อสู้ไง ถ้าสู้กันแล้วก็เป็นศัตรูกัน แต่รัฐบาลทหารพม่าไม่ได้เป็นศรัตรูกับชนกลุ่มน้อยทุกกลุ่มนะ มีหลายกลุ่มที่ร่วมมือกับรัฐบาลทหารพม่า ถ้าตกลงผลประโยชน์กันได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของพม่านะ และอีกเหตุผลสำคัญคือรัฐบาลทหารพม่าใช้แนวคิดชาตินิยมสูงมาก ต้องการกลืนชาติชนกลุ่มน้อยกลุ่มต่างๆให้เป็นพม่าให้หมด มีการใช้หลายวีธี เช่น การห้ามพูดภาษาของชนกลุ่มน้อยเอง ห้ามเรียน ห้ามทำตามประเพณีบางอย่าง


 


แต่ในไทยมันถูกกลืนไปหมดแล้ว เพราะจริงๆ ประเทศไทยมีหลายชนเผ่า ไม่ใช่เฉพาะภาคเหนือ ในทุกภาค มีภาษาพูดของคนเอง มีวัฒนธรรมของตนเอง แต่ก็ถูกหลอมรวมเป็นประเทศไทยหมดแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไร คุณคงต้องไปถามนักวิชาการที่มีความรู้เรืองนี้ ที่ผมตอบผมตอบในความรู้สึก และการที่รัฐไทยมองชนกลุ่มน้อยแบบผู้ขอความช่วยเหลือ ผมคิดว่ารัฐไทยคงไม่ได้มีความคิดพิเศษกับชนกลุ่มน้อยในไทยนะ


 


อย่างที่ผมบอกเพราะมันถูกหลอมรวมกันหมดแล้ว ความแตกต่างน้อยมาก แต่รัฐไทยใช้วีธีมองแบบนี้กับทุกกลุ่มที่เขามองเป็นคนด้อยโอกาส เช่น มองภาคเกษตร มองคนสลัม มองคนงาน ผมว่าเป็นวีธีมองแบบเดียวกัน แต่ก็รัฐก็ไม่ได้มองแบบนี้ทั้งหมด รัฐยังมองว่าคนเหล่านี้เป็นตัวปัญหาด้วย เช่นมองคนสลัมว่าเป็นแหล่งสร้างอาชญากรรม มองคนทำงานกลางคืนว่าเป็นแพร่เชื้อเอดส์ มองชาวเขาว่าเป็นตัวปัญหาในทำลายป่าไม้ มองแรงงานว่าเอาแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว มองภาคเกษตรว่าไม่ยอมรับการพัฒนา คนแก้ตัว อะไรทำนองนั้น


 


+การกดขี่ต่อชนกลุ่มน้อยในไทยมีรูปแบบไหนบ้าง?


จารุวัฒน์ : ผมไม่มีความรู้มากนัก เพราะส่วนใหญ่คลุกคลีกับชนกลุ่มน้อยในพม่ามากกว่า แต่เท่าที่พอติดตามมาบ้าง จากมิตรสหายที่ทำงานร่วมกับชนกลุ่มน้อยบ้าง ผมว่าปัญหาใหญ่รัฐไทยไม่เคารพเขานะ มองเป็นพลเมืองชั้นสอง โดยเฉพาะการพัฒนารัฐไทยมองในกรอบทุนนิยมอย่างเดียว แล้วก็มองในกรอบคิดแบบนายทุน ไม่เคยถามชาวบ้านเลยว่าเขาต้องการอะไร และบางครั้งสิ่งที่ชาวบ้านต้องการก็เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับรัฐด้วย เช่นที่ดินทำกิน การอยู่กับป่า หรือการเรียกร้องสวัสดิการจากรัฐ รัฐก็มองว่าชาวบ้านเป็นปัญหา


 


และในกรณีภาคเหนือการทำให้ชนกลุ่มน้อยเป็นสินค้าก็มีให้เห็นโดยทั่วไป โดยการขายความแปลก ความแตกต่าง นั้นเท่ากับเอาศักดิ์ศรีของชนกลุ่มน้อยมาขายมาย่ำยี เพราะรัฐไม่เคยมองคนในสังคมเท่าเทียมกันอยู่แล้ว เท่าไมผมถึงพูดแบบนี้ ผมมีตัวอย่าง ถ้าสมาคมนักธุรกิจการท่องเที่ยวหรือหอการค้าพูด กับชาวบ้านบนดอยพูด คุณว่ารัฐจะฟังใครมากกว่ากัน แน่นอนรัฐฟังนักธุริกจ ไม่ใช่เขามีเหตุผลมากกว่า แต่เขามีความสัมพันธ์กันทางเศรษฐกิจเพราะฉะนั้นผลโยชน์มันเลยใกล้เคียงกัน เพราะในรัฐบาลส่วนใหญ่เป็นนักธุรกิจหมดไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แต่ถ้าในสภามีชนกลุ่ม มีคนสลัม มีแรงงาน มีชาวบ้าน บรรยากาศทางการเมืองก็จะเปลี่ยนไป


 


+ตามสถานที่ท่องเที่ยวทางภาคเหนือ มันเกิดอะไรขึ้น?


จารุวัฒน์ : เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยคือการท่องเที่ยว ภาคเหนือจึงเป็นพื้นที่หนึ่งในการรองรับนโยบายนี้เพราะหลายอย่างมันขายได้ แต่ผมไม่รู้ว่าชาวบ้านเองต้องการการท่องเทียวแบบที่เป็นอยู่รึเปล่า และอีกอย่างผลประโยชน์ของการท่องเที่ยวมันตกอยู่ในชุมชนกี่เปอร์เซ็น เพราะเท่าที่รู้การไปทำธุรกิจท่องเที่ยวจะเป็นนายทุนซะส่วนใหญ่ เมืองเชียงใหม่นี้เป็นเมืองตากอากาศของคนรวยเลยล่ะ แต่ชาวบ้านเองได้ประโยชน์มากน้อยขนาดใหน อันนี้ต้องถามดังๆ หรือพื้นที่ภาคเหนือเป็นเพียงแหล่งหาผลประโยชน์ของนักลงทุนไม่กี่คน เมื่อเทียบกับประชากรภาคเหนือ เมื่อย่ำยีพื้นที่ทางสังคมและธรรมชาติเรียบร้อยแล้ว คนเหล่านี้ก็ไปหาที่อื่น แต่ผู้ที่แบกรับผลกระทบที่เกิดขึ้นก็คือคนในพื้นที่ ไปใหนก็ไม่ได้บ้านก็อยู่ที่นี่ ความผูกพันก็อยู่ที่นี่  


 


+เกี่ยวกับเหตุการณ์อดีต นศ. มร. ชร. นี้ คิดเห็นว่าอย่างไร?


จารุวัฒน์ : กรณีนี้เป็นกรณีหนึ่งที่เชื่อมโยงปัญหาในประเทศไทยได้หลายปัญหา ปัญหาแรกคือการเข้าถึงการศึกษาของคนจนเป็นเรื่องยากมากๆ อย่างผมตอนนี้ก็ติดหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาอยู่ ยังไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ใหนไปใช้คืน คือถ้าจะเรียนก็ต้องติดหนี้การเป็นหนี้ไม่เป็นเรื่องสนุกเลย ดังนั้นเมื่อคนอยากเรียนไม่กู้เงินก็หาทุน ถ้ามีใครมาให้โอกาสเขาก็จะรับเอาไว้ เหมือนกับกรณีของ นักศึกษาที่ มร.ชร. ที่มีคนเสนอทุนการศึกษาให้ก็รับเอาไว้แล้วก็ถูกหลอก นี้เป็นการหากินกับการศึกษาเป็นธุรกิจการศึกษา มันไม่ต่างจากเรื่องการท่องเทียวที่นำเอาวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยไปดึงดูด ไปสร้างภาพพจน์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว


 


ในกรณีนี้นักศึกษาก็เหมือนกันเอาชนกลุ่มน้อยมาสร้างภาพ เพื่อทำให้ภาพพจน์ดูดีเพื่อดึงดูดเงินเข้ามา เหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมหาวิทยาลัยต้องการเงินเพื่อการอยู่รอดอะไรทำเงินก็ทำหมด แม้กระทั่งเรื่องที่มันขัดศีลธรรมแบบที่เกิดขึ้น และอีกอย่างมหาวิทยาลัยเป็นพื้นที่ของชนชั้นปกครองเป็นของผู้มีอำนาจ ไม่มีประชาชนธรรมดาเข้าไปมีบทบาทกำหนดนโยบายหรือตรวจสอบนโยบายเลย นี่ก็เป็นปัญหาเพราะมหาวิทยาลัยห่างไกลกับชุมชนมาก จึงไม่ต้องรับผิดชอบกับชุมชน


 


อีกเหตุผล ผมคิดยังมีทัศนะคติที่มองชนกลุ่มน้อยเป็นพลเมืองชั้นสองอยู่ไม่อย่างนั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยคงไม่กล้าทำแบบนี้ เมื่อเขามองว่าเป็นพลเมืองชั้นสอง การมีปากเสียงในสังคมก็น้อย บางครั้งเมื่อพูดไปยังไม่มีใครเชื่ออีก ต้องเอาคนที่มีชื่อเสียงมารับรองว่า ที่นักศึกษาออกมาพูดนั้นเป็นเรื่องจริงนะ คำถามคือทำไมการที่นักศึกษาออกมาพูดเองจึงมีน้ำหนักน้อย เพราะเขาเป็นพลเมืองชั้นสองใช่หรือไม่ พื้นที่ทางสังคมจึงไม่มีให้เขาเหล่านั้นได้ใช้


 


+จากที่แล้วมาทำไมไม่ค่อยเห็นองค์กรเกี่ยวกับชาติพันธุ์เคลื่อนไหวช่วยเท่าที่ควร?


จารุวัฒน์ : เท่าที่ผมติดตามข่าว ก็เห็นมีหลายองค์กรนะออกมาพูดเรื่องนี้ แต่ที่ในความรู้สึกคุณที่เห็นว่ามันน้อย ผมก็ว่าเกือบหมดแล้วนะที่ออกมาที่เป็นองค์กรเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธ์ และจริงๆผมคิดว่าเราเรียกร้องเฉพาะองค์กรที่เกี่ยวกับชาติพันธ์ไม่ได้ ต้องเรียกร้ององค์กรประชาชนทั้งหมดว่าเลิกมองปัญหาแบบแยกส่วนได้แล้วต้องร่วมมือกัน เพราะปัญหาที่มันเกิดขึ้นมันเชื่อมโยงกันมันเกี่ยวข้องกัน ไม่เช่นนั้นปัญหามันก็เกิดอีก ตามพื่นที่ต่างๆ ไม่เฉพาะชนกลุ่มน้อย อย่างกรณีนี้ มันเป็นปัญหานโยบายการศึกษาของรัฐที่ไม่เห็นหัวคนจน ซึ่งเปิดช่องให้มีการเอาเปรียบคนจน เวลาเราสู้เราก็ต้องพูดเรื่องการศึกษาทั้งระบบ นักศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ ไม่ใช่กรณีเดียวแน่นอน ยังมีอีกหลายคนที่เขาไม่กล้าออกมาพูดที่เป็นผลพวกของนโยบายการศึกษาที่กีดกันคนจน เห็นใหมปัญหามันเกี่ยวข้องกับทุกคน


 


+หนทางการแก้ปัญหานี้ คืออะไร?


จารุวัฒน์ : ถ้าในระยะยาวเรื่องนโยบายการศึกษา ประเทศไทยคงต้องเป็นรัฐสวิสดิการ ตามข้อเสนอของหลายๆกลุ่ม เช่น เรียนฟรี รักษาพยาบาลฟรี ส่วนเรื่องของชนกลุ่มน้อยนะ ต้องให้คนในพื้นที่เป็นผู้กำหนดอนาคตของตัวเอง เช่น มหาวิทยาลัยในพื้นต้องมีสัดส่วนผู้บริหารอย่างไร คือ ต้องมีคนในพื้นที่กี่เปอร์เซ็น เจ้าหน้าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยกี่เปอร์เซ็น เพื่อที่จะให้มหาวิทยาลัยรับผิดชอบต่อชุมชนมากขึ้น หรือถ้าเป็นนโยบายรัฐในเรื่องอื่นๆ ผู้ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับผลกระทบต้องมีอำนาจในการตัดสินใจด้วย ไม่ใช่รัฐมาชี้นิ้วสั่งว่าทำอย่างใน้นทำอย่างนี้ นี้คือเป้าหมายระยะยาวที่ภาคประชาชนต้องร่วมกันสู้ ซึ่งเป็นเกี่ยวข้องกับคนธรรมดา คนยากคนจน ชนชั้นล่างทุกคน พูดง่ายๆ ก็คือภาคประชาชนต้องร่วมมือกันกำหนดนโยบายรัฐแบบภาพร่วม เราต้องพัฒนาการเคลื่อนใหวไปในทิศทางนี้ ต้องไม่ต่อสู้เฉพาะประเด็นของตนเอง และผมก็เข้าใจดีว่าข้อเสนอนี้มันไม่ง่าย แต่ถ้าเราไม่เริ่มมันก็ไม่สำเร็จ ในอนาคตมันก็มีปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นมาอีก


 


+มีอะไรฝากถึงน้องๆ และกลุ่มชาติพันุ์ที่เป็นคนรุ่นใหม่บ้าง?


จารุวัฒน์ : ผมสนับสนุนการต่อสู้ของพวกเขานะ และการต่อสู้ของผู้ที่ถูกกดขี่ทุกรูปแบบด้วย แต่สิ่งที่อยากพูดคือการต่อสู้ในทางกฏหมายส่วนใหญ่ประชาชนจะแพ้ เพราะผู้มีอำนาจเขาถือกฏหมายไว้ แต่สิ่งที่ประชาชนเคยชนะคือการรวมกลุ่มกันอย่างมีพลัง และในอนาคตเราต้องนำอำนาจรัฐมารับใช้เรา ผมฝันว่าวันหนึ่งอาจจะมีพรรคการเมืองของชนกลุ่มน้อยในไทย เพื่อนำเสนอนโยบายต่อสังคมเป็นปากเป็นเสียงให้ชนกลุ่มน้อยในไทย เพราะการต่อสู้โดยลำพังเป็นเรื่องที่หนักมากๆ


 


 






ร่วมบริจาคสนับสนุนการต่อสู้ของเด็กลุ่มนี้ได้ที่ :


เลขที่บัญชี 549-0-07025-0 ธนาคารกรุงไทย สาขาถนนห้วยแก้ว ชื่อบัญชี น.ส.รัชนี นายสุรพจน์


 


(ความคืบหน้าและรายละเอียดของผลการสอบสวน รวมถึงหน่วยงานและองค์กรที่รับปากว่าจะช่วยเหลือกลุ่มเด็กๆ และความเห็นของหลากหลายบุคคลในกรณีนี้ ประชาไทจะขอนำเสนอต่อไป )


 


......................................


ข่าว - บทความที่เกี่ยวข้อง


 


นศ.มรภ.เชียงรายโวยถูก ผอ.ศูนย์ชาติพันธุ์หลอกให้เรียนฟรี แต่กลับต้องกู้เงินจนเป็นหนี้ทั้งชั้น 2 ก.พ. 2550


นศ.ชนเผ่า มรภ.เชียงราย สุดทนยื่นหนังสือร้อง กสม. สอบ-แฉพฤติกรรมของ ผอ.สถาบันชาติพันธุ์หลอกมาเรียน 3 ก.พ. 2550


ศิษย์เก่านศ.เชียงใหม่ ออกแถลงการณ์ประณาม ผอ.สถาบันชาติพันธุ์ ราชภัฎเชียงราย 4 ก.พ. 2550


มรภ.เชียงรายแจงรอสอบข้อเท็จจริงกรณี นศ.ร้องเรียน ผอ.สถาบันชาติพันธุ์ฯลวงมาเรียน 6 ก.พ. 2550 ที่มา: สำนักข่าวประชาธรรม


คนงานเก่าอ้าง ผอ.ชาติพันธุ์ ลวงออกงานมาเรียนต่อแล้วลอยแพ  7 ก.พ. 2550


เครือข่ายชาติพันธุ์ออกโรงจี้อธิการบดี มรภ.ชร.รับผิดชอบกรณี นศ.ร้องเรียนพฤติกรรม ผอ.ชาติพันธุ์ฯ 7 ก.พ. 2550


เครือข่ายเยาวชนฯ ออกแถลงการณ์ขอความเป็นธรรมให้น้องชนเผ่า มรภ.เชียงราย 11 ก.พ. 2550


ศิษย์เก่า มรภ.เชียงรายออกโรงจี้อธิการบดีเร่งสอบกรณี นศ.ร้องเรียนพฤติกรรม ผอ.สถาบันชาติพันธุ์ 12 ก.พ. 2550


กรณี มรภ.เชียงรายกับ น.ศ.ชนเผ่าลาม สนนท. ออกโรงเรียกร้องความเป็นธรรม 13 ก.พ. 2550


นศ.ชนเผ่าสุดทนบุกสำนักงานอธิการบดี มรภ.เชียงรายยื่นหนังสือตามความคืบหน้า 17 ก.พ. 2550


นศ. มรภ.เชียงรายเร่งอธิการบดีสอบสวนกรณี นศ.ร้องเรียน ผอ.ชาติพันธุ์ฯ 19 ก.พ. 2550


นศ.มรภ.เชียงราย เขียนจดหมายแฉพฤติกรรม ผอ.ชาติพันธุ์ฯ หลอกมาเรียนก่อนปล่อยให้เคว้ง 22 ก.พ. 2550


นศ.มรภ.เชียงราย เขียนจดหมายแฉ หลอกมาเรียนก่อนปล่อยเคว้ง (2) 25 ก.พ. 2550


นศ.ชาติพันธุ์ปราศรัยทั่วมหาวิทยาลัย ฝ่ายบริหารเปิดฉากคุกคาม 25 ก.พ. 2550


นศ.สถาบันชาติพันธุ์ฯ เชียงราย หอบหลักฐานแจ้ง ตร.เอาผิด ผอ. 27 ก.พ. 2550 ที่มา:สำนักข่าวประชาธรรม


นศ.ชาติพันธุ์เข้ากรุงเทพฯ ยื่นหนังสือร้องเรียนครูหยุย-กสม.-รมช.ศธ. 1 มี.ค. 2550


ราชภัฏ ชร.ชิงยุบสถาบันชาติพันธุ์ ก่อน "ครูหยุย" เข้าสอบข้อเท็จจริง 3 มี.ค. 2550


เปิดประกาศมรภ.เชียงรายยุบเลิกสถาบันชาติพันธุ์และสันติศึกษา 3 มี.ค. 2550


อธิการบดี ม.ราชภัฏเชียงรายแถลงโต้เด็กชาติพันธุ์ปี 1 ถูกหลอกมาเรียน ยันได้ทุนถ้วนหน้า 8 มี.ค. 2550


นศ.ชาติพันธุ์โต้อธิการบดี มรช. มีชื่อรับทุน แต่ทำไมไม่ได้สัมผัสเงิน 9 มี.ค. 2550


อธิการบดี มชร.รับปากแก้ปัญหาสถาบันชาติพันธุ์ฯ แต่ไม่รับปากเรื่องชนเผ่าฯ ขอร่วมสอบ 10 มี.ค. 2550


ผู้ปกครองนักศึกษาชาติพันธุ์และสันติศึกษา มรช. ทำพิธีสู่ขวัญเด็กพร้อมแจ้งความดำเนินคดีแล้ว 13 มี.ค. 2550


4 เดือนกับการต่อสู้ของ(อดีต)นักศึกษาชาติพันธุ์ศึกษาฯ มรภ.เชียงราย 21 มิ.ย. 2550


นศ.ชาติพันธุ์ฯ มรช. ฉะผู้บริหารลอยหน้าอบรมสิทธิมนุษยชน แต่ไม่แก้ไขปัญหาละเมิด นศ. 28 มิ.ย. 2550


บทความ : เสียงเพรียกจากเด็กชาติพันธุ์ ปากคำผู้ใหญ่…เชื่อได้หรือไม่ ? 11 ก.ค.2550


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net