Skip to main content
sharethis


 


 


ประชาไท - 1 .. 50 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม เวลา 13.30 . ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคารอเนกประสงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ท่าพระจันทร์ เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร ร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) พรรคแนวร่วมภาคประชาชน กลุ่มโดมแดง (มธ.) และศูนย์ข่าวสารกิจกรรมนักศึกษา จัดงานแถลงข่าวกิจกรรมรณรงค์โหวตไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ และการเสวนาในหัวข้อ "ประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้การเลือกตั้งล่าช้าหรือไม่?"


 


 


เลือกตั้งช้า-เร็ว อยู่ที่ความจริงใจของ คมช. และรัฐบาล


รศ.ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มธ. กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.. 2549 กำหนดให้มีการจัดประชามติ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับรัฐธรรมนูญ 2550 ดังนั้น หากไม่อยากให้รัฐธรรมนูญ 50 ผ่านก็ต้องออกมาใช้สิทธิโดยกาไม่เห็นชอบ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 49 ระบุว่าประชามติครั้งนี้จะวัดจากเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียง


 


ทั้งนี้ ถ้าไม่เห็นชอบ รัฐธรรมนูญ 49 ระบุว่า ส... จะสิ้นสุดลง โดยคณะรัฐมนตรีและคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะปรึกษากันหยิบรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งซึ่งประกาศใช้มาแล้วมาปรับปรุง อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีการประกาศว่า หากร่างรัฐธรรมนูญ 50 ไม่ผ่านจะหยิบฉบับใดมาใช้ ทำให้ประชาชนลังเล รวมทั้งมีการข่มขู่กลายๆ ว่า หากไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ 50 จะเจอรัฐธรรมนูญ ฉบับ คมช. ซึ่งมีผลกับการตัดสินใจของประชาชน หลายคนอาจรู้สึกว่าอยากให้รัฐธรรมนูญผ่านๆ ไป เพื่อจะได้มีการเลือกตั้ง  


 


อย่างไรก็ตาม รศ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า เหตุผลของการไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นยังมีอีกหลายประเด็น ที่สำคัญ คือ ที่มาของ ส... ซึ่งมักถูกทำให้มองข้ามไป ทั้งที่ เรื่องนี้จะเป็นการยกระดับการต่อสู้ว่าเป็นการต่อสู้เชิงอุดมการณ์ประชาธิปไตย ไม่ใช่มุ่งแค่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก ส... มาจากการแต่งตั้งของคณะรัฐประหาร


 


ในแง่เนื้อหาของรัฐธรรมนูญ คิดว่า ประชาชนน่าจะรับไม่ได้กับที่มาของ ส.. ซึ่งเป็นระบบผสม โดยมาจากการสรรหาส่วนหนึ่ง ทั้งที่อำนาจหน้าที่ อาทิ ถอดถอน ให้ความเห็นชอบบุคคลที่จะดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ไม่ต่างจากอำนาจหน้าที่ของ ส.. ตามรัฐธรรมนูญ 40 ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง


 


ส่วนการลงประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ทำให้การเลือกตั้งล่าช้าหรือไม่นั้น รศ.ประสิทธิ์ ตอบว่า ขึ้นอยู่กับความจริงใจของ คมช. และรัฐบาลว่า อยากให้เลือกตั้งเร็วอย่างที่เคยให้คำมั่นไว้ไหม ทั้งนี้ เห็นว่า จะเลือกตั้งเร็วแค่ไหนขึ้นอยู่กับปัจจัยทางการเมืองในเวลานั้นๆ อาทิ กระแสความสนใจการเลือกตั้งของประชาชน


 


 


ห่วงถ้ารับ ร่าง รธน. 50 จะมีการฉีก-ร่างใหม่อยู่ตลอด


นายประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์เดอะเนชั่น กล่าวว่า การประชามติไม่รับร่างรัฐธรรมนูญแล้วจะทำให้การเลือกตั้งล่าช้าไหม ไม่ใช่เรื่องที่น่าเป็นห่วงเท่ากับการที่หากมีการรับร่างรัฐธรรมนูญจะมีผลอย่างไรต่อสังคมในวัฎวัจรการเมืองไทย โดยเขาเห็นว่า จะส่งผลให้มีการฉีกและร่างรัฐธรรมนูญใหม่อยู่ตลอดเวลา   


 


ทั้งนี้ แม้จะมีการเรียกรัฐธรรมนูญฉบับทหารนี้ว่าเป็น ฉบับรับฟังความคิดเห็นของประชาชน แต่เขาเห็นว่า ไม่ใช่การรับฟังความเห็นของประชาชน ยกตัวอย่างเช่น ประชาชนได้แสดงความเห็นว่า ให้มีการศึกษาฟรี 15 ปี แต่กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญก็ถกเถียงกัน โดยบางคนจะให้ลดเหลือเพียง 9 ปีด้วยซ้ำ นอกจากนี้ ยังมีการปล่อยให้ 2 มาตราสำคัญ ได้แก่ มาตรา 76 ที่ระบุว่ารัฐบาลต้องจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย อย่างเพียงพอ และมาตรา 299 ที่ให้มีการนิรโทษกรรม คมช. ผ่านไป โดยไม่มีใครถกเถียง ราวกับสิ่งที่ คมช. ทำนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้วอีกด้วย      


 


สุดท้าย นายประวิตร กล่าวว่า ไม่ควรมองว่าจะรับหรือไม่รับรัฐธรรมนูญเพราะเห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญ หรือรัฐธรรมนูญมีเนื้อหาขัดใจ แต่อยากให้มองว่า ถ้ารับหรือไม่รับจะมีผลอย่างไรมากกว่า


 


 


งงรณรงค์ให้รับร่าง รธน. ทั้งที่ยังร่างไม่เสร็จ 


นายพิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ตั้งคำถามว่า การรณรงค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญทำได้อย่างไร ทั้งที่ร่างยังไม่เสร็จ แล้วมาบอกให้รับโดยบอกว่าเป็นของประชาชน เขายังไม่เห็นร่างรัฐธรรมนูญเลย เป็นการประชาสัมพันธ์ที่รุกหนัก เพื่อรณรงค์สร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหารทั้งสิ้น นี่จึงเข้าใจได้ว่าทำไมกลุ่มต้านรัฐประหารจึงต้องไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ


 


ทั้งนี้ การปกครองหลัง 19 กันยา เรามักจะเชื่อว่าเป็นการปกครองภายใต้ระบบเหตุผลและคุณธรรมซึ่งแทบจะเรียกได้ว่าเป็นการปกครองในอุดมคติของชนชั้นกลาง  ซึ่งมีนายกฯ มาจากองคมนตรี แต่เขาเห็นว่า การปกครองกลับวางอยู่บนเรื่องของความหวาดกลัว ซึ่งไม่เกี่ยวกับการให้อำนาจประชาชน หรือการมีส่วนร่วมแต่อย่างใด โดยมักทำให้เห็นว่า ถ้าไม่เชื่อฟัง สังคมจะแตกแยก นองเลือด สร้างความหวาดกลัว ให้ยอมรับอำนาจดังกล่าว 


 


บ้านเมืองถอยหลังแค่ไหน ปัจจัยของการเลือกตั้งนั้นมีสองทาง คือ ประชาชนต้องมีความรู้ ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง และผู้จัดการเลือกตั้งต้องมีความเป็นกลาง นั่นคือที่มาของการลงโทษผู้ที่ซื้อสิทธิ์ขายเสียงและมีคณะกรรมการกลางที่ดูแลการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นที่มาให้ผู้มีอำนาจรัฐพยายามแทรกแซง กกต. แต่ครั้งนี้ กกต. ที่ทำหน้าที่จัดการเลือกตั้ง กลับเป็นทั้ง ส... และกมธ. ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะที่ด้านหนึ่งพยายามรณรงค์ให้ประชาชนมีเหตุมีผล กระบวนการร่างและรณรงค์ให้รับร่างรัฐธรรมนูญเหมือนไม่ค่อยมีเหตุมีผลเท่าใด


 


นอกจากนี้ ยังมีการจับการเลือกตั้งเป็นตัวประกันเสมอ สงสัยว่า ใครกันแน่ที่ทำให้การเลือกตั้งล่าช้า โดยพอมีแรงกดดันทางการเมืองก็จะประกาศว่ามีการเลือกตั้ง ซึ่งเขาเห็นว่า สิ่งที่ทำให้การเลือกตั้งล่าช้าก็คือกระบวนการรัฐประหารทั้งหมดนั่นเอง


 


ทั้งนี้ เขาเห็นว่า การโหวตไม่รับรัฐธรรมนูญ จะให้บทเรียนกับ "คนขาด้วน" ทั้งนี้ ที่พูดไม่ได้รังเกียจคนพิการ แต่สื่อถึงคนขาด้วนที่บอกว่า "อย่าขัดขากันเอง" อย่างนายสุริชัย หวันแก้ว ที่บอกว่าได้รับเลือกเข้าไปใน สนช. เพื่อเป็นตัวแทนของภาคประชาสังคม เขาไม่รู้ตัวว่า โดนอุ้มไป


 


เขาตั้งคำถามว่า ทำไมเราไม่เชื่อว่า เราแก้รัฐธรรมนูญได้ด้วยขาของเราเอง ทำไมจึงคิดว่าจะแก้รัฐธรรมนูญได้เมื่อทหารอุ้มไปให้นั่งแก้ ทำไมต้องใช้รถถังและตัวเลขทางเศรษฐกิจ จำนวนมากเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ เราแก้ด้วยขาของเราที่ออกไปเดินบนท้องถนนไม่ได้หรือ


 


 


ทำไมต้องหาทางลงให้ คมช.


นายอุเชนทร์ เชียงเสน นักศึกษาปริญญาโทคณะรัฐศาสตร์ มธ. ในฐานะตัวแทนเครือข่าย 19 กันยาฯ  กล่าวว่า ถ้าดูตามรัฐธรรมนูญ 49 การไม่รับร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้มีผลว่าจะทำให้การเลือกตั้งช้าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับ คมช. มากกว่า เพราะอำนาจรวมศูนย์อยู่ที่ คมช.


 


ทั้งนี้ หากไม่ไปใช้สิทธิ์ว่าเราไม่ยอมรับร่างรัฐธรรมนูญ คมช. ก็จะอ้างว่าประชาชนสนับสนุน และว่าคนที่ต่อต้านรัฐประหารเป็นคนส่วนน้อย ถึงแม้ว่ากระบวนประชามตินี้จะไม่แฟร์ เพราะไม่รู้ว่าเอาไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญแล้วอนาคตจะเจออะไร แต่ก็เป็นการประชามติครั้งแรกโดยวัดด้วยผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั่วประเทศ ถ้าผลออกว่าประชาชนไม่เอา แน่นอนว่ามันมีหลายเหตุผล ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของเราที่ทำให้การไม่รับร่างฯ เท่ากับการปฏิเสธรัฐประหารเป็นหลักสำคัญ ก็จะส่งผลสะเทือนต่อ คมช. ได้


 


ที่ผ่านมา มีการอ้างว่า ถ้ารณรงค์ไม่ให้ประชาชนรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คมช. จะไม่มีทางลงอาจมีการนองเลือด เขาสงสัยว่า ทำไมเราในฐานะประชาชน ต้องเอา คมช. มาเป็นปัญหาของเรา


 


เราเองไม่สามารถทำให้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ผ่านไปได้ หลังประชามติ ผลจะเป็นอย่างไรเป็นอีกเรื่อง แต่จะทำให้ คมช. เห็นว่าไม่เอารัฐประหาร ทั้งนี้ เชื่อว่า คมช. มีการสืบทอดอำนาจชัดเจน โดยเห็นได้จาก พ...ความมั่นคง และการพูดเรื่องสามพรรคการเมืองจะเป็นรัฐบาล


 


 


เสนอรณรงค์ไม่ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง


นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มธ. แสดงความเห็นว่า การรณรงค์ไปลงประชามติว่าไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในครั้งนี้เบากว่าการรณรงค์ไม่เอารัฐบาลทักษิณที่มาจากการเลือกตั้งเมื่อปีที่ผ่านมา เพราะตอนที่คนส่วนใหญ่รณรงค์ไม่เอารัฐบาลทักษิณนั้นเป็นการปฏิเสธการโหวตเลย (โนโหวต-กาช่องงดออกเสียง) แต่การที่ไม่เอารัฐประหาร กลับไม่มีโนโหวตให้เลือก ซึ่งก็เข้าใจได้ว่าไม่ใช่ความผิดของเราที่ไม่มีช่องโนโหวต แต่ก็กลายเป็นว่าต้องพูดอย่างขมขื่นว่า เราแอนตี้รัฐบาลเลือกตั้งแรงกว่ารัฐบาลรัฐประหาร


 


ทั้งนี้ เขาคิดว่า การรณรงค์ครั้งนี้อาจจะไม่ชนะ จึงเสนอให้รณรงค์ให้นอนหลับทับสิทธิ์ เพื่อแสดงออกว่าปฏิเสธการลงประชามติด้วย โดยอาจมีการแถลงข่าวเลยว่า เราไปคูหาแล้ว แต่ไม่ลงประชามติ เพราะเชื่อว่าคะแนนรับร่างฯ ชนะอยู่แล้ว แต่ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อสื่อว่าไม่รับกระบวนการนี้และการรัฐประหาร


 


นายสมศักดิ์ กล่าวว่า หากไปใช้สิทธิ์โดยลงประชามติไม่รับร่างฯ หากผลออกมาแล้วร่างรัฐธรรมนูญผ่าน จะเท่ากับการยอมรับเสียงรับร่างรัฐธรรมนูญนั้นด้วย เพราะเป็นผู้ไปร่วมอยู่ในกระบวนการโดยการลงประชามติเอง


 


(อ่านความเห็นเพิ่มเติมได้ในที่กระทู้ "ไม่ไปออกเสียง" หรือ "ไปออกเสียงไม่รับ":ข้อเสนอว่าด้วยวิธีคว่ารัฐธรรมนูญเพื่อป... )


 


 


จัดกิจกรรมต่อเนื่องรณรงค์ไม่รับร่าง รธน.


สำหรับกิจกรรมต่างๆ ของเครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนนท.) พรรคแนวร่วมภาคประชาชน กลุ่มโดมแดง (มธ.) ฯลฯ มีดังนี้


 


วันจันทร์ที่ 2 .. เวลา 13.00. บริเวณหน้าตึกโดม กลุ่มโดมแดง จะยื่นหนังสือต่ออธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อเรียกร้องให้ตั้งกรรมการสอบสวนเพื่อลงโทษบุคคลและผู้มีส่วนร่วม กรณีพนักงานของมหาวิทยาลัยปลดและฉีกทำลายโปสเตอร์รณรงค์โหวตล้มรัฐธรรมนูญของทางกลุ่มซึ่งติดอยู่ในบริเวณ มธ. เพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่างไม่ให้เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยใช้อำนาจเช่นนี้อีก รวมทั้งให้มหาวิทยาลัยออกมารับรองสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและการแสดงออกทางการเมืองของนักศึกษา ไม่ว่าจะมีจุดยืนทางการเมืองอย่างไรก็ตาม


 


วันเดียวกัน เวลา 16.00. ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ พรรคแนวร่วมฯ จะจัดเสวนากลางแจ้ง ในหัวข้อ พระราชบัญญัติความมั่นคง


 


วันที่ 3 .. เวลา 11.00. ที่หน้ากองทัพบก สนนท. ร่วมกับเครือข่ายนิสิตนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของนักศึกษาทั่วประเทศ จะจัดกิจกรรมรณรงค์ให้ประชาชนโหวตล้มรัฐธรรมนูญ


 


ทุกวันอาทิตย์ ที่ มธ. เครือข่าย 19 กันยา ต้านรัฐประหาร จะจัดเสวนา เพื่อเปิดประเด็นและถกเถียงกับฝ่ายที่รณรงค์ให้ประชาชนลงประชามติรับร่างฯ


 


ส่วนกรณีที่มีการเปลี่ยนห้องจัดกิจกรรมในวันนี้อย่างกะทันหันนั้น นายอุเชนทร์ เชียงเสน ตัวแทนเครือข่าย 19 กันยาฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ได้ติดต่อขอใช้ห้องจิตติ ติงศภัทิย์ คณะนิติศาสตร์ มธ. ไว้แล้ว แต่เมื่อบ่ายวันศุกร์ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของวันทำการเพิ่งได้รับการติดต่อว่า ฝ่ายบริหารของคณะนิติศาสตร์ ไม่อนุญาตให้ใช้ห้องดังกล่าว โดยไม่แจ้งสาเหตุ เมื่อรองอธิการบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา (ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล) ได้สอบถามไปก็ไม่ได้คำตอบ


 


ทั้งนี้ นายอุเชนทร์ กล่าวว่า ห้องประชุมของคณะฯ จะอยู่ในความดูแลของคณบดีคณะนิติศาสตร์ (ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net