Skip to main content
sharethis

วรรษมน อุณอนันต์


 


25 มิ.ย. 50 จะมีสักกี่คนที่ตระหนักรู้ถึงความโหดร้ายของสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยที่เราเรียกว่า "โลกาภิวัฒน์" ที่ซึ่งผู้คนอยู่กัีนอย่างไร้พรมแดน สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างง่ายดาย รับรู้ความสุข ความเหงา ความเศร้า และความเปล่าเปลี่ยว ของกันและกัน ทว่าคนไทยยังมีการรับรู้อันน้อยนิด ถึงความตระหนักรู้ และการเข้าถึง ความโหดร้าย ป่าเถื่อน ความหดหู่ของชีวิต ของประชาชนชาวพม่า เพื่อนบ้านผู้ซึ่งอยู่ในดินแดนใกล้ชิดติดต่อกันกับเรา ทำไมเราถึงไม่ได้รับรู้เรื่องราวของพวกเขาเหมือนกับที่เรารับรู้ข่าวสารจากอีกซีกโลกหนึ่ง เป็นเพราะว่าเราใส่ใจ สนใจ ปัญหาเหล่านี้น้อยเกินไป หรือเป็นเพราะว่าชาวพม่าเองไม่สามารถสื่อสารกับพวกเราได้?


 


สิบโมงเช้าของวันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน 2550 เนื่องด้วยโอกาสของวันต่อต้านการทารุณกรรมขององค์การสหประชาชาติ (the UN International Day in Support of Victims of Torture) คณะรัฐบาลพลัดถิ่นของพม่า (the National Coalition Government of the Union of Burma - NCGUB) ได้ทำการเผยแพร่รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่า ช่วงปี2549/2006 ที่สมาคมนักข่าวต่างประเทศ ประเทศไทย (The Foreign Correspondent"s Club of Thailand - FCCT)


 


พร้อมทั้งมีการฉายวีดีโอเรื่อง "Shoot on Sight" จากองค์กร Burma Issues ซึ่งเป็นการถ่ายทำเรื่องราวของชนกลุ่มน้อยชาวพม่าในรัฐกะเหรี่ยงผู้ซึ่งกำลังถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐาน อัีนมีสาเหตุมาจากการโจมตีของทหารพม่า ที่กระทำมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาประมาณสองปีแล้ว (ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547) และในขณะนี้ได้มีผู้ลี้ภัยจำนวนมากหลบหนีเข้่ามาในประเทศไทย และอีกจำนวนมากที่ยังคงซ่อนอยู่ในป่า กลายเป็นผู้ลี้ภัยภายใน หรือ Internally Displaced Persons (IDPs) ซึ่งพวกเขาต้องพบเจอกับสภาพการใช้ชีวิตที่ไม่มีความปลอดภัยและพบเจอกับความยากลำบากในการอยู่รอดไปวันๆด้วย


 


รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในพม่าปีนี้ ยังคงแสดงให้เห็นถึงการละเมิดสิทธิในพม่าที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีความโหดร้ายมากขึ้น และไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ทั้งการถูกบังคับใช้แรงงาน สร้างถนน สร้างป้อมทหาร บังคับข่มขืน การมีทหารเด็ก การทรมานชาวบ้านด้วยวิธีการต่างๆ เหยียดหยามชาติพันธุ์ และถูกบังคับย้ายถิ่นฐานเข้าไปในศูนย์พักพิงชั่วคราว อันจะเป็นการง่ายต่อทหารพม่าที่จะควบคุมชนกลุ่มน้อยเหล่านี้


 


ทั้งหมดนี้ทำให้ฝ่ายที่พยายามต่อต้านรัฐบาลไม่สามารถที่จะทำการประสานงานร่วมกันได้ เพราะถูกกดดันและบังคับจากเจ้าหน้าที่รัฐต่างๆนานา ส่งผลให้ขบวนการต่อต้านรัฐบาลอ่อนแอลง จากรายงานดังกล่าว ผู้กระทำผิดล้วนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตำรวจ ทหาร หรือแม้แต่กลุ่มการเมืองที่ไ้ด้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทหาร (เช่น องค์กร Union for Solidarity and Development Association-USDA) และคนพวกนี้จะไม่ได้รับการตรวจสอบจากรัฐจึงไม่ได้รับการลงโทษใดๆ เพราะฉะนั้นการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า ไม่เพียงแต่กระทำโดยเจ้าหน้า่ที่หรือคนของรัฐเอง แต่เจ้าหน้าที่บ้านเมืองยังละเลย ไม่ใส่ใจที่จะเข้าห้ามปรามหรือกระทั่งอนุญาต ให้เกิดการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้อื่นอีกด้วย


 


แม้จะมีการกดดันจากชุมชนระหว่างประเทศ องค์กรสิทธิมนุษยชนต่างๆ แต่รัฐบาลททหารพม่านั้นกลับเพิกเฉยและไม่ใส่ใจต่อเสียงเพรียกร้องเหล่านั้น ผู้รายงานพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าขององค์กรสหประชาชาติ (UN Special Rapporteur on the situation of human rights in Myanmar) ถูกปฎิเสธจากรัฐบาลทหารไม่ให้เข้าประเทศพม่าตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมา นอกจากนั้นในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติเมื่อเดือนมกราคม 2550 มติการแก้ไขปัญหาพม่า (The UN draft Resolution on Burma) ไม่สามราถผ่านมติที่ประชุมได้ เนื่องจากถูกวีโต้จากจีน และ รัสเชีย ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้คนพม่าผิดหวังเป็นอย่างมาก ดร.ซาน ออง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพม่าและ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีภาคตะวันออก กล่าวว่า "เราเสียใจมากที่เราสูญเสียโอกาสอันดีนี้ไป"


 


ทั้งนี้ ดร.ซาน ออง ยังได้กล่าวอีกว่า ชาวพม่านั้นพึ่งพิงกับชุมชนระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก เพราะนั่นดูจะเป็นหนทางเดียวที่พวกเขาจะพึ่งพิงได้ ดังนั้นพวกเขาจึงอยากจะเรียกร้องให้ประชาคมโลก ใส่ใจกับปัญหาของพวกเขามากขึ้น มีการสนับสนุนนักต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทั้งในพม่าและที่อื่นๆทั่วโลก โดยการติดตามข่าวสารของพวกเขา ให้กำลังใจ และสนับสนุนการทำงานของพวกเขา นอกจากนี้ดร.ซาน อองยังส่งข้อความไปถึงรัฐบาลจีนและอินเดียเรียกร้องใ้ห้มีการกดดันรัฐบาลทหารพม่าในการเคารพสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานสากลที่พม่าได้ทำการตกลงไว้กับสหประชาชาติ


 


พม่าซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกของอาเซียน ทำให้สมาชิกประเทศอื่นๆ จึงต้องมีบทบาทสำคัญในการให้ช่วยกดดันรัฐบาลทหารและผลักให้ประเด็นพม่า เป็นที่ตระหนักรับรู้ของประชาคมโลกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะประเทศไทย ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาของพม่าโดยตรงควรเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญที่จะทำให้ประเทศสมาชิกอื่นๆของอาเซียนหันมาให้ความสนใจและ มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาอย่างยิ่งจริงจัง และจริงใจ มากกว่าที่เคยเป็นมา


 


"Together we are and we continue to make different, stay with us" -- Saw Taw Nay Htoo, Karen Activist

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net