Skip to main content
sharethis

อ. อับดุชชะกูร์ บินชาฟิอีย์  ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)
Shukur2003@yahoo.co.uk


 


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอ ขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่าน และสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน


 


เมื่อวันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน 2550 ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมและฟังการสรุปผลการดำเนินงานของ "คณะทำงานเครือข่ายชุมชนมุสลิมในการพัฒนาชุมชนเป็นสุข" ณ ห้องประชุมของร้านอาหารอารีนีโภชนา อำเภอเมือง จ.ปัตตานี


 


การประชุมครั้งนี้เครือข่ายชุมชนมุสลิมได้นำเสนอการบริหารจัดการชุมชนที่ประสบความสำเร็จ 3 ด้านด้วยกันคือ 1.การบริหารความขัดแย้งในชุมชนด้วยสภาที่ปรึกษาชุมชน (ชูรอ) บ้านตาแปด  อ.เทพา จ.สงขลา 2.การบริหารจัดการชุมชนด้านเศรษฐกิจและสวัสดิการตามวิถีคุณธรรมของชุมชนบ้านสะบือรัง จ.นราธิวาส  3.การบริหารจัดการชุมชนด้านการศึกษาบูรณาการ ของชุมชนดารุนนาอีม จ.นราธิวาส โดย 3 ชุมชนดังกล่าวจะเป็นแม่ข่ายให้กับเครือข่ายมุสลิมอีกเกือบ 20 ชุมชนใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอด 3ปี ข้างหน้า


 


จากเหตุการณ์การปฏิบัติการเผาโรงเรียนในพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.ปัตตานี เมื่อคืนวันที่ 13 มิถุนายนที่ผ่านมา คืนเดียวเกือบ 20 โรง (ทีผ่านก่อนหน้านี้อีกนับไม่ถ้วน) ทำร้ายครูเกือบร้อยคน ทำให้ผู้เขียนอยากเล่าการจัดการชุมชนเกี่ยวกับการจัดการศึกษาร่วมกันระหว่างชุมชนดารุนนาอีมกับโรงรียนบ้านจะแนะ จ.นราธิวาส จนชาวบ้านเรียกโรงเรียนนี้ว่า Sekolah Kita แปลว่า "โรงเรียนของเรา" เพราะปกติชาวบ้านไทยมลายูจะเรียกโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐว่า Sekolah siye หรือโรงเรียนไทยนั่นเอง


 


ชุมชนดารุนาอีม ในหมู่บ้านบือแนซีโป ตำบลจะแนะ อ.จะแนะ นราธิวาส เป็นชุมชนขนาดเล็ก เพียง 60 หลังคาเรือน แต่ละวันจะมีเสียงเด็กๆ ท่องอาขยาน ทางศาสนา แต่เช้า ซึ่งหากมองอย่างผิวเผินจากภายนอกอาจจะไม่รู้ เนื่องจากเด็กๆ ชาวไทยมลายูมุสลิมกับชีวิตที่ต้องคร่ำเคร่งเร่งเรียนหนักเพียงไหนแต่ถ้าหากได้เข้ามารับฟังกระบวนการคิด หรือสนทนาถึงแนวคิดการศึกษาจะพบ ที่นี่คือจุดเริ่มต้นเปลี่ยนแปลงสังคม วิถีชีวิตจากรากฐาน คือการศึกษา ซึ่งหากเป็นระบบการเรียนเดิมอาจจะไม่น่าแปลกใจนัก และคงยากหากพัฒนาให้มีคุณภาพ มีการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับวิถีชีวิคนในท้องถิ่น ดังนั้น นี่จึงเป็น "หลักสูตรการศึกษาแบบบูรณาการ ชุมชนเพื่อชุมชน อย่างแท้จริง"


นายอาไซน์น่า อับดุลเลาะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านจะแนะ เริ่มต้นเผยที่มาที่ไปเกี่ยวกับกระบวนทัศน์ของหลักสูตรการศึกษาแบบบูรณาการว่า "ถ้าเราทำงานในชุมชน เราจะมีความรู้ ความเข้าใจ หลายอย่างเกี่ยวกับการศึกษาในชุมชน สังเกตจากการจัดการศึกษาในชุมชนทั้งในและนอกระบบ ในระบบก็มีการศึกษาตามรายวิชา ตั้งแต่ ป.1 ป.2 เป็นต้น ต่อมา การศึกษาของชุมชนก็จัดการเรียนการสอนในตาดีกาโดยเรียนเสาร์-อาทิตย์ บางหมู่บ้านเรียนตอนทุกเย็นหลังเลิกเรียนโรงเรียนประถมศึกษา เรียนอ่านอัลกุรอานจากปราชญ์ชุมชนทีอุทิศเวลาตอนกลางคืน"

ความเป็นมาของการศึกษาแบบบูรณาการ โรงเรียนบ้านจะแนะ เป็นโรงเรียนที่สังกัดเขตการศึกษา 2 ที่นราธิวาส ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลจะแนะ อ.จะแนะ มีนักเรียนเพิ่มขึ้น ปีที่แล้ว250 คน แต่ในปีการศึกษาใหม่นี้มีนักเรียนถึง 805 คน ประชากรที่เป็นข้าราชการ 37 คน เป็นข้าราชการจริง18 คน ไปช่วยราชการ 14 คน อัตราว่าง 5 คน นอกนั้น เป็นอัตราจ้าง มีวิทยากรสอนศาสนาและสอนพิเศษอีก 6 คนส่วนภารโรงไม่มี
     

เรื่องการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ความหมายก็คือ การเพิ่ม แต่ก่อนอื่น ต้องเข้าใจด้วยว่าการสอนอิสลามศึกษา ในโรงเรียนป
ะถมศึกษาก็ดี มัธยมก็ดี ทางรัฐเขาจัดให้สัปดาห์ละ 2 ชม. แต่โรงเรียนที่นี่บูรณาการเพิ่ม จากสัปดาห์ละ 2 ชม.เป็นวันละ 2 ชม. เนื่องจาก โรงเรียนได้สำรวจพบว่าพฤติกรรมเยาวชน ไม่ว่าจะอยู่ในโรงเรียนก็ดี อยู่ข้างนอกห้องเรียนก็ดี มีพฤติกรรม ที่น่าเป็นห่วงมาก เป็นที่ไม่พึงพอใจของสังคม ทั้งก้าวร้าว ติดยาเสพติด ซึ่งถ้าปล่อยอย่างนี้ โอกาสที่เด็กของชุมชนตกเป็นเครื่องมือของคนอื่นก็มากขึ้น ตามลำดับประกอบกับ


 


ความเป็นจริง นักเรียนที่นี่หรือใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเวลาต้องเรียน ค่อนข้างมาก วันจันทร์ถึงศุกร์เด็กๆ ก็เรียนที่โรงเรียนประถมศึกษา พอมาในช่วง เสาร์-อาทิตย์นักเรียนเหล่านี้ก็ต้องไปเรียนที่โรงเรียนตาดีกา เพื่อเรียนศาสนา พอตอนค่ำกลับจากโรงเรียนประถม เด็กๆ ก็ต้องรีบอาบน้ำแต่งตัวไป เรียนอ่านอัลกุรอานตามบ้านโต๊ะครู หรือตามบ้าน ตามสถาบันที่จัดเรียน จัดสอน ทำให้พบว่า เด็กๆ ของที่นี่มีโอกาสอยู่กับครอบครัวค่อนข้างน้อย ดังนั้นทางโรงเรียน ก็ได้คุยกับแกนนำชุมชนโดยเฉพา กับนายมาหามะรอนิง กายอ ผู้นำศาสนา  ผู้นำชุมชน และยังเป็นกรรมการสถานศึกษาด้วย) จากนั้นจึงคุยกับองค์กรรัฐอื่นๆ กับคณะกรรมการอิสลาม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับโรงเรียน และให้ปะดอและ (พี่ชายผอ.อาไซน์น่า อับดุลเลาะ) เป็นตัวเชื่อม เพราะถ้าเราปล่อยให้เด็กๆ เป็นอย่างนี้ โอกาสของของชุมชนก็ยิ่งแย่


หลังจากประชุมสามารถ สรุปปัญหาที่พบได้ดังนี้คือ


 


1.การสอนอิสลามศึกษาในระดับประถมศึกษา ทางรัฐมีชั่วโมงเหล่านี้น้อย คือ 2 ชม.ต่อสัปดาห์ ซึ่งมันไม่เพียงพอ กับความเจริญทางเทคโนโลยี ซึ่งสูงมาก  

2. ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีฐานะยากจน อย่างอำเภอจะแนะ ผู้ปกครองส่วนใหญ่มาจากที่อื่น มาทำสวน ดังนั้น พวกเขาจึงไม่สนใจเลยว่า ลูกเขาจะทำอะไร บางครั้งเขาไปที่โรงเรียน ไปหาลูก พอครูถามว่าเด็กนักเรียนคนนั้นชื่ออะไร อยู่ชั้นไหน เขาก็ไม่ทราบว่าลูกของเขาอยู่ชั้นไหน นั่นคือปัญหา ถ้าเด็กๆ ไม่มาโรงเรียน เราเรียกผู้ปกครองมาสอบถาม ว่าทำไมเด็กไม่มาโรงเรียน ผู้ปกครองก็บอกว่า ให้มาทุกวันทุกเช้านะ

3. เด็กๆ ไปติดยา ไปมั่วสุมในอบายมุข ตลอดจนละเลยไม่ปฏิบัติตามหลักการของศาสนาอิสลาม

4. เด็กในวัย 5-12 ปี มีเวลาต้องเรียนค่อนข้างหนัก คือตั้งแต่เช้า จดเย็น พอตอนเย็นก็ไปเรียนอัลกุรอานเสาร์อาทิตย์ไปเรียนที่ตาดีกา โอกาสที่เด็กจะได้พักผ่อนเหมือนๆ กับเด็กๆ ทั่วๆ ไปไม่ค่อยมี

5. นักเรียนที่จบประถมศึกษาปีที่ 6 ส่วนใหญ่แล้ว 80% ผู้ปกครองนิยมส่งเด็กไปเรียนต่อที่โรงเรียนราษฎร์ สอนศาสนาอิสลาม โรงเรียนที่มีการสอนศาสนาอิสลามควบคู่กันไปด้วย แต่น่าเสียดายที่เมื่อเด็กไปเรียนที่โรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแล้ว เมื่อไปต่อ ม.1 สามารถสานต่อได้เลยแต่เฉพาะในส่วนหลักสูตรสามัญ แต่ในส่วนศาสนา คืออิสลามศึกษา เด็กๆ กลับต้องไปเริ่มต้นใหม่ เรียนชั้น 1 ใหม่ ตามความรู้พื้นฐานของเด็กแต่ละคน ตรงนั้นคือปัญหา เด็กของเราจบ ป.6 ไปเรียน ม.1 ในขณะที่เราเรียนตาดีกาจบชั้น 4 แล้วที่บ้าน แต่ต้องไปเรียนชั้น 2 หรือ 1 ใหม่ ทำให้เด็กเสียเวลามาก
ดังนั้น เราอยากจัดการให้เด็กของเรา พอจบ ป.6 ไปต่อ ม.1 ได้เลย และจบศาสนาชั้น 4 ไปต่อชั้น 5 ชั้น 6 ได้เลย และเมื่อจบ ม.6 แล้ว เด็กๆ ของเราก็จะจบศาสนาชั้น 10  (เทียบเท่า ม.6 ด้านศาสนา) เลย เพราะถ้าไม่อย่างนั้น มันคือความเสียเวลา ความไม่ต่อเนื่อง

จากปัญหา
ดังกล่าว ทำให้ชุมชนและโรงเรียนมาคิดต่อ ประกอบกับ พ.ร.บ.การศึกษา2542 จะเน้นให้ผู้เรียนต้องเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม


ความเป็นจริงเมื่อ 4-5 ปีก่อนผอ. อาไซน์น่า อับดุลเลาะ ได้ขอสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส (สปจ.) เพิ่มวิชาอิสลามศึกษาจาก 2 เป็น 5 คาบต่อสัปดาห์แต่ ทาง สปจ. ได้แจ้งว่า งบประมาณนั้นค่อนข้างจำกัด ยังทำไม่ได้ หลังจากนั้นโรงเรียนได้เป็นนิติบุคคล ประกอบกับ สามารถจัดการ กำหนดหลักสูตรภายในเองตามพรบ.การศึกษา 2542 ที่สำคัญที่สุด ชุมชนและผู้นำชุมชน อย่างปะดอลงมาเล่นด้วย ทำให้โรงเรียนได้เปรียบ

โดยแรกเริ่มโรงเรียนให้ชุมชนจัดแบบ "ทดลองการสอนแบบบูรณาการ" ในปี 2546 โดย ผอ.โรงเรียนฝากนักเรียนไว้ที่ศูนย์การเรียนรู้บ้านปะด ซึ่งห่างกับโรงเรียนเกือบ 1,000 เมตร ซึ่งถือว่าไกลพอควร ในระยะแรกเริ่มครูในโรงเรียนหลายคนเกิดความไม่มั่นใจในการตัดสินใจของ ผอ.โรงเรียน จึงมีการสำรวจความสมัครใจ และได้นักเรียนจำนวน 31 คนมาเข้าร่วม


 


หลังจากนั้นพอเปิดเทอมโรงเรียน ได้ส่งครูสอนวิชาสามัญ 1 คน ซึ่งเป็นคนพัทลุง นับถือศาสนาคริสต์ เพื่อสอนในส่วนของวิชาสามัญที่เป็นวิชาพื้นฐาน ทั้ง ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อังกฤษ การงานอาชีพ พลานามัย สังคม รวม 8 รายวิชา รวมทั้งกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนรวม 20 ชม. ส่วนในเรื่องของ อิสลามศึกษา ซึ่งประกอบด้วยอัลกุรอาน อัล ฮะดิ (วัจนศาสดา) ศาสนบัญญัติ จริยธรรม ภาษามลายู ภาษาอาหรับ นั้น ปะดอเป็นผู้อาสารับผิดชอบ


ครูประจำการ ซึ่งรับสอนวิชาสามัญ ได้สอนแบบบูรณาการโดยเน้นที่ภาษาไทย ตอนแรกๆ ทางโรงเรียนไม่ได้ช่วยอะไรเลย ด้านงบประมาณของวิทยากรอิสลามศึกษาปะดอต้องรับผิดชอบ  หลังจัดการศึกษาได้ระยะหนึ่งปะดอไปประชุมที่ โรงแรมซีเอส ปัตตานี ซึ่งเวทีนี้มีอดีตรองนายก จาตุรนต์ ฉายแสง เป็นประธาน จึงมีการนำเรื่องไปเสนอที่ประชุมว่า ที่โรงเรียนจะแนะนั้น กำลังทดลองการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ท่านจาตุรนต์ก็เห็นด้วย ซึ่งปีนั้นก็อนุมัติงบประมาณมา 3 ล้านบาท


 


ความเป็นจริงแล้วได้มา 1.5 ล้านในปี 2547 แล้วให้อีก1.5 ล้าน ในปี 2548 โดยโอนมาให้ที่นราธิวาส ทางจังหวัดไม่รู้ว่าเงินอะไร ก็โอนให้กระทรวง กระทรวงก็ให้กับสปถ.แล้ว สปถ.ก็แตกกระจายออกไปทุกโรงเรียน จึงได้เพียง 1 แสนกว่าบาท โรงเรียนสามารถมาให้ปะดอได้ เป็นค่าซึ้ออุปกรณ์การเรียน ค่าวิทยากรอิสลาม พอครบหนึ่งปีการศึกษา ทางโรงเรียนได้กรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเพื่อประเมินเปรียบเทียบ ระหว่างเด็กที่เรียนที่โรงเรียนในระดับ ป.1 จำนวน 3 ห้อง กับ 1 ห้องที่เรียนกับปะดอ   โดยทำการประเมินด้าน การเรียน ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความพอใจของผู้ปกครอง ว่าเป็นอย่างไรบ้าง

ผลการประเมินพบว่า ในด้านสัมฤทธิ์เด็กที่เรียนกับปะดอ บางวิชาดีกว่าเด็กที่เรียนในโรงเรียน ในขณะในเรื่องคุณธรรมจริยธรรม เด็กที่เรียนกับปะดอ ดีกว่าเด็กที่เรียนในโรงเรียน ความพึงพอใจของผู้ปกครองมีมาก


 


ดังนั้นคณะกรรมการและผู้เกี่ยวข้องได้สรุปว่า ตั้งแต่เปิดเทอมปีการศึกษา 2548 ถึงแม้โรงเรียนจะไม่ได้งบประมาณจากส่วนกลาง  แต่ทางเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาสเขต 2 ได้ไปของบประมาณจากผู้ว่าราชการจังหวัด ก้อนหนึ่งซึ่งสามารถที่จะช่วยเหลือเงินก้อนนั้นได้ ตอนนี้โครงการนี้ได้จัดที่โรงเรียนเต็มรูปแบบโดยจัดหลักสูตรดังนี้



ในโครงสร้าง
การเรียนของ โรงเรียนจะแนะ เดิมจัดเวลา 1,000 ชม.ต่อปี พอโรงเรียนบูรณาการแบบอิสลามมาเพิ่ม อีก 200 ชม.ต่อปี รวมเป็น 1,200 ชม.ต่อปี วันหนึ่งก็เป็น 6 ชม.จากเดิมเราเรียนวันละ 5 ชม. ต่อวัน (ซึ่งเดิม ความเป็นจริงในทางปฏิบัติ 200 ชม.นั้นเขาต้องเรียนนอกโรงเรียนอยู่แล้วที่ ตาดีกา) ในส่วนของหลักสูตรปกติ อาทิ วิชาภาษาไทย อังกฤษ คณิตศาสตร์ โรงเรียนไม่แตะต้องเลย สอน 5 ชม.ก็ต้อง 5 ชม.ไม่ลดไม่ปรับ หรือสังคม 3 ชม.ก็ต้อง 3 ชม. นอกนั้นค่อยเป็นวิชาอิสลามศึกษา ส่วนของอิสลามศึกษาเองก็มี 8 รายวิชา เหมือนที่โรงเรียนเอกชนสอน มีวิชาอัลกุรอาน อัลหะดีษ มีศาสนบัญญัติ  มีประวัติ มีหลักศรัทธา มีจริยธรรม มีภาษา อาหรับ ภาษามลายู ภาษามลายูก็แบ่งออกเป็น 2 อีก คือภาษามลายูที่ใช้ภาษายาวี กับภาษารูมี อย่างที่บ้านเรานิยมใช้ภาษามลายู อักษรอาหรับ

อาจจะมีคนถามว่าอาจจะกระทบต่อการเรียนสามัญ  ผอ.ตอบอย่างมั่นใจว่า ไม่กระทบเลย ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ ภาษาไทยเราก็เรียนเต็ม ในขณะทางศาสนาก็เรียนได้ จากที่เคยจัดเรียนอัลกุรอาน อาทิตย์ละ 3 ชม.ดูแล้วคิดว่ามันน้อย ก็เลยมาคุยกับครู ส่วนใหญ่ครูในพื้นที่ส่วนหนึ่งอัตราจ้าง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นคนในพื้นที่ ผมก็จัดการ โดยถามว่า เอาอย่างนี้ไหม อัลกุรอานเรียนอาทิตย์ละ 3 ชม.มันไม่พอ ถ้าสมมติว่า พวกเราจะเสียสละมาสอน และทำเพื่อสมัครใจด้วยได้ไหม ซึ่งเขาก็ยินดี โรงเรียนประชุมกับผู้ปกครอง ว่า โรงเรียนมีครูเขาจะสอนตอนเช้าๆ ชาวบ้านพอจะส่งลูกมาเรียนได้ไหม จะสอนพิเศษให้อนอัลกุรอาน 20-30 นาที ก่อนเข้าแถว เพื่อที่จะให้ทันกับตำราเรียนที่ ปะดอเขาทำมา

และที่โรงเรียนจะแนะ เราไม่เน้นที่ตำราการเรียนการสอนเท่านั้น แต่เราเน้นที่บุคลากรด้วย คือครูที่สอนสามัญ ตอนเช้าๆ เขาต้องให้ไปสอนอัลกุรอานก่อน ในขณะดียวกันวิทยากร ที่เราจ้างมาสอน ภาษามลายู ภาษาอาหรับ
โรงเรียนก็ให้มาช่วยดูแลเด็กเวลาที่ครูเขาไปช่วยสอนวิชาสามัญ ก็มาเป็นพี่เลี้ยงเด็ก คือโรงเรียนจะบูรณาการอย่างนี้ตลอดระหว่างศาสนา-สามัญ

จากการดำเนินงานตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบันสามารถบรรลุดังนี้


1. ผู้เรียน มีความสามารถเรียนเพื่อพัฒนาตนเองเพื่อใช้ภาษาไทย มลายู และอิสลามศึกษา


2. ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม อันดีงาม
3. นักเรียนสามารถปฏิบัติตามหลักศาสนาได้ถูกต้อง


4. เพื่อจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน


5. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการศึกษา อย่างเป็นรูปธรรมตาม พรบ.การศึกษา 2542 ทำให้ชุมชนให้ความร่วมมือจากโรงเรียนมากขึ้น ผู้ปกครองเห็นความสำคัญของนักศึกษาอัตราการขาดเรียนลดลง สามารถจัดการเรียน การสอนได้สอดคล้องกับชุมชน อีกทั้งแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนทางการเรียนการสอนได้ด้วย


 


ผู้ปกครองนักเรียนท่านหนึ่งได้สะท้อนความรู้สึกว่า "ตื้นตันใจมาก ที่ความหวังของเา เหมือนกับมุสลิมทุกคนเาก็อยากจะส่งลูกหลานเขาเรียนให้ฉลาด ทั้งทางสามัญ ทั้งทางศาสนา ซึ่งเขาไม่ได้ตรงนั้นเลย  าอยากจะให้ลูกของเขาเป็นคนดี มีความรู้ สามารถอยู่ในสังคมได้ ความตื้นตันใจ คือมันมาจากความใฝ่ฝันของเา ซึ่งนานแล้ว คือ พื้นฐานของประชาชน ในพื้นที่ อ.จะแนะมักถูกมองว่าเป็นพื้นที่สีแดง แต่ประชาชน ค่อนข้างจะยากจน การศึกษาไม่ต้องพูดถึง ตรงนั้นเพราะโรงเรียนราษฎร์สอนศาสนาอิสลามในพื้นที่ อ.จะแนะไม่มี มีแต่ที่อ.ระแงะ อ.เจาะไอร้อง ที่นั้นเขามีมากพอโรงเรียนเปิดแบบนั้น ก็พอชดเชยให้เาได้ นั่นคือความน้อยใจหลายอย่าง อย่างเด็กที่จบ ป.6 จากโรงเรียนจะแนะ และจำเป็นจะต้องไปเรียนชั้นหนึ่ง ชั้นสองก็สามารถไปเรียนได้ต่อเนื่อง ชั้น 5 ได้เลย ซึ่งทั้งหมดนี้ก็จะเกิดสันติสุขต่อไป"


 


ผู้เขียนมีทัศนะว่าการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐอย่างโรงเรียนบ้านจะแนะกับชุมชนดารุนนาอีมที่เรียกว่า หลักสูตรของชุมชนเพื่อชุมชน ทำให้ชุมชนให้การยอมรับและเรียกโรงเรียนของรัฐว่า Sekolah Kita แปลว่าโรงเรียนของเรา (เพราะปกติชาวบ้านไทยมลายูจะเรียกโรงเรียนประถมศึกษาของรัฐว่า Sekolah siye หรือโรงเรียนไทย ซึ่งแสดงความห่างเหินและไม่เป็นเจ้าของ) ชุมชนนั่นแหละจะเป็นเกราะกำบัง  เป็นกำแพง เป็นตำรวจ เป็นทหาร เฝ้าโรงเรียนของเขาในการถูกเผาและครูถูกทำร้าย หากโรงเรียนและครูโดนทำร้ายผู้เขียนมั่นใจว่าชุมชนและผู้นำชุมชนอย่างปะดอนี่แหละจะออกมาจัดการผู้ก่อการร้าย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net