Skip to main content
sharethis


ภาพการแถลงข่าว "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง"


ที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน จ.เชียงใหม่


 


ประชาไท 23 พ.ค. 50 เมื่อเวลา 10.00 . นักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน นำทีมเครือข่ายนักวิชาการทั่วประเทศ ร่วมกันแถลงข่าวประกาศแถลงการณ์ "ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง"


การแถลงข่าวมีขึ้นพร้อมๆ กันหลายจุด ทั้งที่เชียงใหม่ มหารสารคาม และกรุงเทพฯ


 


โดยที่เชียงใหม่ นำโดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ประกาศแถลงการณ์ที่มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


 


ที่มหาสารคาม นำโดย ธัญญา สังขพันธานนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประกาศแถลงการณ์ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


 


ที่กรุงเทพฯ นำโดย เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นฤมล ทับจุมพล คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกาศแถลงการณ์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


 


 


­0 0 0


 


 แถลงการณ์



 


ร่วมกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับทำลายการปฏิรูปการเมือง


 


ปฏิรูปการเมืองเป็นคำตอบที่สังคมไทยร่วมกันค้นพบกว่า 10 ปีมาแล้ว เพื่อตอบปัญหาที่รุมเร้าประเทศไทยในหลายด้าน ส่วนหนึ่งของคำตอบเชิงสถาบันคือรัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 อันเป็นรัฐธรรมนูญที่สังคมไทยมีส่วนร่วมในการสร้างขึ้นมากกว่ารัฐธรรมนูญทุกฉบับที่ผ่านมา โดยอาศัยกระบวนการร่างที่มุ่งจะฟังเสียงประชาชนมาแต่แรก จึงจัดให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร.ขึ้น อีกทั้งมีการเคลื่อนไหวในภาคประชาชนอย่างแข็งขัน เพื่อผลักดันข้อเสนอของตนเข้าไปในรัฐธรรมนูญ


 


"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" จึงมีความพยายามจะเสนอการปฏิรูปการเมืองในเชิงสถาบันไว้หลายประการ และได้มีโอกาสใช้งานจริงเกือบ 10 ปี ทำให้สังคมเห็นทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งของรัฐธรรมนูญ ก่อนหน้าการรัฐประหารในวันที่ 19 ก.ย. 2549 สังคมไทยเห็นพ้องต้องกันว่า จำเป็นต้องแก้ไขข้ออ่อนของรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยกระบวนการที่ถูกต้องตามกฎหมาย และเป็นไปตามหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชน


 


แต่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ได้ทำลายพัฒนาการทางการเมืองโดยหลักนิติธรรมลงไป และบัดนี้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้อำนาจเผด็จการหลังรัฐประหาร ก็กำลังได้รับการเสนอเพื่อการลงประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้สังคมไทยหันกลับไปสู่การเมืองยุคเก่า ซึ่งได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำให้สังคมไทยอ่อนแอจนไม่สามารถปรับตัวรับความเปลี่ยนแปลงนานาชนิดที่ถาโถมเข้าสู่ประเทศของเราได้ และแน่นอนว่าทำให้การปฏิรูปการเมืองโดยผ่านกระบวนการร่วมกันของสังคมไทยต้องยุติลงอย่างสิ้นเชิง บุคคลและองค์กรที่ลงนามข้างล่างนี้จึงขอเสนอแก่สังคมไทยว่า เราควรร่วมมือกันไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยผ่านการลงประชามติหากมีการจัดขึ้นในภายหน้า


 


ประสบการณ์ที่ผ่านมาสอนเราว่า พลังที่ผลักดันให้การปฏิรูปการเมืองสัมฤทธิ์ผลได้นั้นมีอยู่ 2 ประการ คือพลังทางสังคมและพลังที่เกิดจากการจัดระบบการเมืองที่ตรวจสอบได้, ต้องรับผิด, และอยู่ในความควบคุมและถ่วงดุลของอำนาจที่หลากหลายและเป็นอิสระต่อกันพอสมควร แต่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้กลับสวนกระแสของพลังปฏิรูปการเมืองดังกล่าวนี้ แม้ดูเหมือนมีการขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มากกว่ารัฐธรรมนูญพ.ศ.2540 ซึ่งเท่ากับเพิ่มพลังของสังคมในการตรวจสอบและควบคุมถ่วงดุลการใช้อำนาจรัฐ หากทว่าประสบการณ์ที่ได้ใช้รัฐธรรมนูญปี 2540 มาเกือบ 10 ปี พบว่าสิทธิเสรีภาพเหล่านี้มีแต่บนกระดาษ ไม่สามารถนำไปเป็นหลักประกันในด้านปฏิบัติได้เลย ไม่ว่าจะเป็นสิทธิชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ, การมีสื่อที่เป็นของประชาชน, การรวมกลุ่มเพื่อการต่อรอง, หลักประกันสวัสดิการพื้นฐาน ฯลฯ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ไม่ได้ทำให้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในเรื่องเหล่านี้เกิดขึ้นได้จริง


 


ปฏิรูปการเมืองต้องหมายถึงสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้เป็นจริงในทางปฏิบัติ มิฉะนั้นสังคมจะมีพลังกำกับควบคุมให้ระบบการเมืองดำเนินไปอย่างถูกทำนองคลองธรรมได้อย่างไร


 


ในด้านระบบการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ไว้วางใจประชาชนเจ้าของประเทศ จึงริบสิทธิเลือกตั้งองค์กรทางการเมืองไปจากประชาชน พร้อมกันกับทำให้ระบบการแต่งตั้งองค์กรอิสระทั้งหลายไม่ยึดโยงกับพลังทางสังคม แต่ไปผูกติดกับระบบราชการ ระบบเลือกตั้งมุ่งแต่จะไม่ให้เกิดพรรคใหญ่โดยไม่สนใจว่าจะทำลายความเป็นตัวแทนประชาชนของนักการเมืองลงไปมากสักเพียงใด การใช้อำนาจอธิปไตยก็เต็มไปด้วยความสับสน เพราะมีการก้าวก่ายอำนาจกันระหว่างฝ่ายต่างๆ ที่ใช้อำนาจอธิปไตย โดยเฉพาะจากฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร ในทางปฏิบัตินักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนจะอ่อนแอจนไม่สามารถริเริ่มนโยบายใหม่ใดๆ ได้ จนกว่าจะได้รับความเห็นชอบของระบบราชการเสียก่อน จึงสมกับที่ถูกเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับขุนนางที่มุ่งจะรื้อฟื้นระบอบอำมาตยาธิปไตยกลับขึ้นมาใหม่


 


พวกเราดังมีรายนามข้างล่างนี้จึงมีความเห็นว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะนำประเทศไทยถอยหลังกลับไปหลายสิบปี อำนาจและสิทธิของประชาชนที่ได้มาด้วยการต่อสู้จนสูญเสียชีวิตและเลือดเนื้อไปนับไม่ถ้วน จะต้องถูกริบไปจนไร้ความหมาย จึงไม่ควรนำมาใช้กำหนดความสัมพันธ์ในรัฐของเรา ควรร่วมมือกันไม่รับรองร่างรัฐธรรมนูญโดยผ่านการลงประชามติ และเรียกร้องให้นำเอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้ใหม่ โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพียงสองประเด็นคือ


 


1) ต้องจัดให้มีการเลือกตั้งหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญภายใน 60 วัน


2) รัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งต้องจัดให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอาศัยกระบวนการที่นักการเมืองไม่มีอำนาจเข้ามากำกับควบคุมการแก้ไข แต่ให้มีการเลือกตั้งส.ส.ร.เพื่อการนี้โดยเฉพาะ


 


แท้จริงแล้ว ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับใดในโลกที่เป็นเอกสารสมบูรณ์พร้อมและสถิตสถาพรโดยไม่เปลี่ยนแปลง แต่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ก็แต่โดยกระบวนการทางสังคม นั่นคือเกิดสำนึกใหม่ในสิทธิเสรีภาพบางประการหรือบางมิติ จนทำให้ต้องมีการจัดความสัมพันธ์ในองค์กรทางการเมืองใหม่ สังคมที่เสรีคือเครื่องมือสำคัญที่ขาดไม่ได้ของกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและปฏิรูปการเมือง ไม่มีอำนาจ"บริสุทธิ์"ของทหารหรือการรัฐประหารใดๆ จะทำหน้าที่นี้แทนสังคมเสรีได้ การนำเอารัฐธรรมนูญปี 2540 กลับมาใช้ใหม่จะเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้การปฏิรูปการเมืองเดินหน้าต่อไปได้


 


โดยวิธีนี้เท่านั้นที่จะนำสังคมไทยกลับไปสู่ความสงบเรียบร้อย และกู้คืนเกียรติภูมิที่สูญเสียไปจากการรัฐประหารกลับมาได้อย่างถาวร โดยไม่ต้องสูญเสียเลือดเนื้อดังเหตุการณ์ที่ผ่านมาอีก


 


พวกเราที่มีชื่อข้างท้ายนี้จึงใคร่ขอให้พี่น้องร่วมมือกันรณรงค์ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในการลงประชามติ เพื่อผลักดันให้นำเอา"รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน"กลับมาแก้ไขปรับปรุง ด้วยกระบวนการประชาธิปไตยในภายหน้า โดยการใช้สีเขียวตองอ่อนเป็นสัญลักษณ์ร่วมกัน ท่านอาจติดแถบริบบิ้นสีเขียวตองอ่อนที่พาหนะของท่าน ติดแถบเขียวตองอ่อนกับเครื่องแต่งกาย ใช้แถบข้อมือสีเขียวตองอ่อน ติดธงเขียวตองอ่อน หรือวิธีอื่นใดที่ท่านอาจคิดขึ้นเองเพื่อแสดงถึงสัญลักษณ์ร่วมกันดังกล่าว ทั้งนี้นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนกว่าเราจะได้รัฐธรรมนูญปี 2540 กลับคืนมา พร้อมทั้งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย


 


++++++++++++++++++++++


 


รายชื่อนักวิชาการมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน



  1. นิธิ เอียวศรีวงศ์
  2. จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล
  3. อรรถจักร สัตนานุรักษ์
  4. วารุณี ภูริสินสิทธิ์
  5. สมเกียรติ ตั้งนโม
  6. สายชล สัตยานุรักษ์
  7. สมชาย ปรีชาศิลปกุล
  8. เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช
  9. ชัชวาล ปุญปัน
  10. สุชาดา จักรพิสูทธิ์
  11. ไพสิฐ พาณิชย์กุล
  12. นัทมน คงเจริญ
  13. พิกุล อิทธิหิรัญวงศ์
  14. วัลลภ แม่นยำ
  15. อำพล วงศ์จำรัส
  16. พรภิมล ตั้งชัยสิน
  17. อรณิชา ตั้งนโม
  18. ปราณี วงศ์จำรัส
  19. นงเยาว์ เนาวรัตน์
  20. ชำนาญ จันทร์เรือง
  21. ชาญกิจ คันฉ่อง
  22. คมเนตร เชษฐพัฒนวนิช

 


รายชื่อนักวิชาการจากทั่วประเทศ



  1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  2. รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  3. เกษียร เตชะพีระ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  4. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  5. อรศรี งามวิทยาพงศ์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  6. วีรบูรณ์ วิสารทสกุล (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  7. อัครพงษ์ ค่ำคูณ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  8. อภิชาติ สถิตนิรามัย (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  9. ปกป้อง จันวิทย์ (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  10. วิภา ดาวมณี (มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
  11. อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  12. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  13. ประภาส ปิ่นตกแต่ง (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  14. ราณี สหัสรังษี (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  15. สุวิมล รุ่งเจริญ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  16. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  17. วรศักดิ์ มหัทธโนบล (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  18. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  19. จิรนันท์ อนวัชศิริวงศ์ (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
  20. วิระดา สมสวัสดิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  21. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  22. วรวิทย์ เจริญเลิศ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  23. ทพ. วิชัย วิวัฒน์คุณูปการ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  24. ทัศนัย เศรษฐเสรี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  25. ท.พญ. ศศิธร ไชยประสิทธิ์ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  26. จันจุฑา สุขขี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  27. กัญญณัฏฐา อิทธินิติวุฒิ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  28. อุษามาศ เสียมภักดี (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
  29. สุชาติ เศรษฐมาลินี (มหาวิทยาลัยพายัพ)
  30. สฤณี อาชวานันทกุล (นักวิชาการอิสระ)
  31. วรดุลย์ ตุลารักษ์ (นักวิชาการอิสระ)
  32. กฤตยา อาชวนิจกุล (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  33. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  34. ศรีประภา เพชรมีศรี (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  35. วราภรณ์ แช่มสนิท (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  36. โสฬส ศิริไสย์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  37. สุภิญญา กลางณรงค์ (มหาวิทยาลัยมหิดล)
  38. บุณยสฤษฏิ อเนกสุข (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
  39. พฤกษ์ เถาถวิล (มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี)
  40. ธัญญา สังขพันธานนท์ (มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)
  41. กุลจิรพัส บุษกลธนาวรัตน์ (มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี)
  42. วสันต์ ลิมป์เฉลิม (สถาบันราชภัฎธนบุรี)
  43. ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ (มหาวิทยาลัยฮาวาย)
  44. ธนศักดิ์ สายจำปา (มหาวิทยาลัยเกริก)
  45. ธนศักดิ์ วรธรรมดุษฎี (มหาวิทยาลัยเกริก)
  46. เชษฐา พวงหัตถ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  47. นฤมิตร สอดศุข (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  48. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  49. พิพัฒน์ สุยะ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  50. นาตยา อยู่คง (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  51. สุนัย ครองยุทธ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  52. โกวิท แก้วสุวรรณ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  53. บาหยัน อิ่มสำราญ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
  54. สุวิดา ธรรมณีวงศ์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net