บทความ อับดุลสุโก ดินอะ : ทัศนะของมุสลิมใต้ต่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ

อับดุชชะกูร์ บิน าฟิอีย์ ดินอะ ( อับดุลสุโก ดินอะ )

ผช.ผจก.ร.ร.จริรยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนามุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

กลายเป็นประเด็นร้อนของพุทธศาสนิกชนไปแล้ว สำหรับร่างแรกของรัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด หลังจากที่คณะกรรมาธิการได้ระดมมันสมองในการยกร่างแล้วเสร็จโดยไม่มีการบรรจุหรือบัญญัติเพิ่มในมาตรา 2 ที่คณะสงฆ์บางส่วน และองค์กรชาวพุทธ รวมถึงพุทธศาสนิกชนได้ออกโรงมาเรียกร้องนั่นคือ "ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ" และกลายเป็นชนวนเหตุของการชุมนุมใหญ่จากพระสงฆ์และชาวพุทธในวันที่ 16 เม.. 2550 และวันต่อๆมา โดยมีศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทยและ องค์กรชาวพุทธแห่งประเทศไทย เป็นแกนนำ (รวมทั้งม็อบพีทีวีซึ่งได้โหนกระแสดังกล่าวเพื่อสร้างพลังสนับสนุน)

จากการประมวลของผู้เขียนจากสื่อต่างๆในฐานะมุสลิม (เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยแต่เป็นประชากรส่วนใหญ่ในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้) พอสรุปสาเหตุ เหตุผลสำคัญและข้อดีของการเรียกร้องดังกล่าว ได้ดังนี้

     . ได้ยืนยันความจริงทางประวัติศาสตร์ชาติไทยที่มีมายาวนาน
     . ได้รักษาสถาบันทั้งสาม
(ชาติ ศาสนา ชาติ  และ  พระมหากษัตริย์) อย่างเท่าเทียมกันโดยกฎหมายรัฐธรรมนูญ
     ได้ให้ความสำคัญกับศรัทธาของประชาชนคนในชาติที่มั่นคงอยู่ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
     ได้แสดงออกซึ่งการยอมรับความจริงแบบประชาธิปไตยว่าเสียงของคนส่วนมากยอมรับสถาบันชาติ  พระพุทธศาสนา  พระมหากษัตริย์ เท่าเทียมกัน
     ได้ยืนยันความเป็นคนไทยที่นิยมอิสระ เสรีภาพ  โดยมีหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเป็นแกนกลางสร้างความสามัคคี
     ได้สร้างและยอมรับความสอดคล้องกับมติของประชาคมโลกที่ให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนาและประเทศไทย
     ได้ส่งเสริมความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นระหว่างประชาชนคนในชาติ
     ได้ยืนยันภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นดินแดนพระพุทธศาสนา ที่คนทุกคนในประเทศนี้มีเสรีภาพในการนับถือศาสนาที่ตนศรัทธาได้โดยไม่ขัดแย้งกัน
     ได้แสดงออกซึ่งความที่พระพุทธศาสนาเป็นนวัตกรรมทางความคิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่อยู่คู่กับคนไทย  ชาติไทย  พระมหากษัตริย์ไทย ในสุวรรณภูมินี้มานานมากกว่าสองพันปี
     ๑๐ได้ยกย่องพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาที่พระมหากษัตริย์ไทยทุกราชวงศ์ตั้งแต่เริ่มต้นเผ่าไทยมาถึงปัจจุบัน และประชาชนคนไทยปัจจุบันเกินกว่า  ๙๔ %   ยอม รับนับถือ เพราะมั่นใจว่าพระพุทธศาสนามีคุณูปการต่อชนชาติไทย
     ๑๑ได้ส่งเสริมสนับสนุนมติชาวโลกที่ยกย่องให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาของโลก
     ๑๒ได้หลักประกันทางกฎหมายว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไทยโดยถูกต้องชอบธรรมและชอบด้วยกฎหมายบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ อันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ
     ๑๓ได้เครื่องมือปลูกจิตสำนึกร่วมกันของคนในชาติที่จะร่วมใจกันยกย่องสถาบันสูงสุดเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
     ๑๔ได้เครื่องมือส่งเสริมการประพฤติปฏิบัติธรรมนำสู่หลักแห่งประชาธิปไตยที่ยึดความถูกต้อง ชอบธรรม มีภราดรภาพ มิตรภาพตามหลักธรรมคำสั่งสอนที่มีมาในพระพุทธศาสนา
     ๑๕ได้หลักในการอบรมสั่งสอนลูกหลานไทยได้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนมีศาสนาประจำชาติที่จะต้องตระหนักในการนำศาสนาสู่การปฏิบัติมากยิ่งขึ้น
     ๑๖ได้หลักการกลางในการสร้างความสามัคคีระหว่างคนในชาติเพราะเมื่อพระพุทธศาสนาแข็งแกร่ง  คนในชาติซึ่งนับถือศาสนาต่างกันก็จะอยู่อย่างสงบสุขทั่วถึงกัน เพราะเป็นไปไม่ได้เลยที่พุทธศาสนิกชนจะไปรังแกคนที่นับถือศาสนาอื่นจากที่ตนนับถือไม่เคยมีมาในอดีต ยังไม่มีในปัจจุบัน และจักไม่มีในอนาคตที่พุทธศาสนิกชนจะไปรังแก รบราฆ่าฟัน ขับไล่ไสส่งศาสนิกอื่น มีแต่ชาวพุทธเท่านั้นที่ถูกรังแก ถูกทำลายมาตลอดทุกยุคที่ผ่านมา  
     ๑๗การบัญญัติข้อความข้างต้นนั้นไว้ในรัฐธรรมนูญ  จะเป็นกุญแจสำคัญให้พระพุทธศาสนายิ่งมั่นคงขึ้น  คือเป็นประเด็นให้ได้ออกกฎหมายคุ้มครองส่งเสริมให้เหมาะสมได้ในโอกาสต่อไป
     ๑๘ประชาชนคนไทยในยุคต่อไปจะได้ตระหนักยิ่งขึ้นว่า  ชาติ  พระพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นสถาบันสำคัญของชนชาติไทยที่จะต้องเทิดทูนไว้เหนือความขัดแย้งใด ๆและเหนือชีวิต
     ๑๙การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ มิได้หมายความว่า  คนไทยที่นับถือศาสนาอื่นจะอยู่ในประเทศไทยไม่ได้ เช่นเดียวกับการบัญญัติว่าที่นี่ประเทศไทย แต่คนจากประเทศไหน ๆ ก็สามารถมาอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปกติสุข ภายใต้กฎหมายไทยที่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอยู่แล้ว 
     ๒๐การบัญญัติข้อความข้างต้นนั้นไว้ในรัฐธรรมนูญ จะได้รัฐธรรมนูญที่ถูกต้องที่สุดในบริบทสังคมไทยจะไม่เป็นรัฐธรรมนูญที่เกิดจากความชอบ ความชัง ความหลง ความกลัว  คือจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ปราศจากอคติหรือความลำเอียงทั้งสี่ประการ เป็นบทบัญญัติรัฐธรรมนูญที่คนไทยเกินกว่า  ๙๐ ยอมรับแน่นอน

นั้นคือเหตุผลของผู้ที่สนับสนุน ในขณะเดียวกันก็ยังมีชาวพุทธหลายท่าน นักวิชาการหลายคนที่ได้แสดงเหตุผลที่ไม่อยากให้บรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติซึ่งผู้เขียนไม่ขอกล่าวถึง (ทุกคนควรมีสิทธิในการแสดงความคิดเห็นตราบใดไม่ไปละสิทธิของผู้อื่น)

ในโลกประชาธิปไตยทุกคนควรยอมรับในเสียงส่วนใหญ่ตราบใดที่ไม่กระทบคุณธรรม จริยธรรมและสิทธิอันชอบธรรม หลักสิทธิมนุษยชนของคนส่วนน้อย

ในฐานะมุสลิมซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยถึงแม้เป็นประชากรส่วนใหญ่ในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรยอมรับในเสียงส่วนใหญ่หากพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ต้องการ

เพียงแต่ผู้เขียนขอเสนอเพิ่มเติมดังนี้

๑.      ควรเพิ่มในรัฐูธรรมนูญคำว่าส่วนใหญ่ในมาตราสองกล่าวคือเขียน"ประเทศไทยมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประชากรส่วนใหญ่" ทำให้ต่างศาสนิกที่อยู่ในประเทศไทยรู้สึกว่าเขาเป็นคนไทยอยู่

๒.      ในเมื่อบรรจุพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประชากรส่วนใหญ่แล้วเพื่อให้ศาสนิกชนได้นำหลักธรรมของศาสนามาปฏิบัติเป็นวิถีชีวิตรัฐธรรมนูญควรระบุให้ชัดเลยว่า กฎหมายใด กฎกระทรวงใด กฎระเบียบใดขัดกับหลักธรรมของศาสนาพุทธมีอันจะต้องตกไป

๓.      จะต้องสนับสนุนทางด้านกฎหมาย กฎระเบียบ งบประมาณ กิจกรรมทางศาสนาอื่นอย่างเท่าเทียม ยุติธรรม โปร่งใสตามอัตราส่วนของประชากรแต่ละพื้นที่

สุดท้ายผู้เขียนขอกล่าวว่านี่เป็นเพียงข้อเสนอของผู้เขียนในฐานะมุสลิมคนหนึ่งและทำงานเป็นอุสตาซ (ครูสอนศาสนา) ในจังหวัดชายแดนใต้ที่อยากให้สถานการณ์บ้านเมืองในปัจจุบัน "มีศาสนธรรมและความสมานฉันท์" เพราะทางออกที่ดีที่ สุด และน่าจะเป็นคำตอบสุดท้ายของทุกปัญหา

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท