Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 29 มี.ค.50 องค์กรภาคประชาชนของญี่ปุ่นราว 16 แห่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายแรงงานและเกษตรกร ได้ถวายฎีกาผ่านสำนักราชเลขาธิการเพื่อให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานคำแนะนำแก่รัฐบาลราชอาณาจักรไทยในการตัดส่วนที่เกี่ยวข้องกับของเสียอันตรายในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ออกทั้งหมด


 


เนื้อหาระบุถึงความห่วงกังวลจากประชาชนญี่ปุ่น พวกเขาเห็นว่า JTEPA มีปัญหาในหลายประเด็น แต่ประเด็นทีน่ากังวลมากคือ แผนของรัฐบาลญี่ปุ่นและบริษัทข้ามชาติในการแปลงสภาพเอเชียให้เป็น "ที่ทิ้งขยะ" ผ่านความตกลงนี้


 


การค้าของเสียจะเกิดขึ้นภายใต้ข้ออ้างเรื่องการ "รีไซเคิล" อย่างไรก็ตาม อนุสัญญาบาเซลและพิธีสารบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด ปี 2532 ได้ควบคุมการเคลื่อนย้ายของเสียอันตรายข้ามพรมแดนแม้กระทั่งเพื่อ "การรีไซเคิล" ก็ตาม นอกจากนั้น เพื่อที่จะปฏิบัติให้เป็นผลจริงจึงได้มีการพัฒนาร่างบทแก้ไขของอนุสัญญาซึ่งห้ามไม่ให้มีการส่งออกของเสียอันตรายจากประเทศพัฒนาแล้วทั้งหมดไปยังประเทศกำลังพัฒนาอีกในปี 2538 โดยญี่ปุ่นปฏิเสธที่จะให้สัตยาบันกับบทแก้ไขนี้และจงใจจะทำลายบทว่าด้วย "ข้อห้าม"


 


ภาคประชาสังคมญี่ปุ่นยังระบุด้วยว่า ความตกลงระหว่างฟิลิปปินส์และญี่ปุ่น (JPEPA) ที่ได้รับการลงนามไปแล้วและความตกลงระหว่างไทยและญี่ปุ่นที่กำลังจะลงนามเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติที่แท้จริงของญี่ปุ่น โดยความตกลงระหว่างฟิลิปปินส์-ญี่ปุ่นได้รวมบทที่ให้ฟิลิปปินส์นำเข้าของเสียอุตสาหกรรมจากญี่ปุ่นจำพวก "เถ้าและกากที่มีอาร์เซนิก ปรอท ทาเลี่ยม หรือสารประกอบดังกล่าว" "ของเสียทางการแพทย์ เช่น ผ้าพันแผล ถุงมือผ่าตัด" "สารละลายอินทรีย์" เป็นต้น โดยไม่เสียภาษี คาดกันว่าบทลักษณะเดียวกันจะถูกรวมอยู่ในความตกลงระหว่างไทยและญี่ปุ่น ทั้งยังเกรงด้วยว่ามันอาจรวมไปถึง "ของเสียจากกัมมันตภาพรังสี"


 


งานวิจัยชิ้นหนึ่งโดยองค์กรพัฒนาเอกชนในประเทศไทยรายงานตัวอย่างว่า ในครึ่งแรกของปี 2549 นั้นพบว่า กากแร่และขี้เถ้ารวมถึงของเสียจากการเผาขยะเทศบาลที่เข้ามาในประเทศไทย 99% มาจากญี่ปุ่น น่ากังวลว่าการกำจัดภาษีศุลกากรโดยสิ้นเชิงสำหรับ "การนำเข้า" ของเสียอาจจะเร่งสถานการณ์นี้ให้แย่ลง


 


นอกจากนี้ ปัจจุบันญี่ปุ่นยังกำลังเจรจาความตกลงกับอาเซียนและอินเดีย หากข้อตกลงก่อนหน้า


นี้กับไทยและฟิลิปปินส์ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องชี้วัดสำหรับข้อตกลงต่อๆไป ปัญหาจะไม่จำกัดอยู่ใน


กรอบของสองประเทศคือไทยและฟิลิปปินส์


 


16 องค์กรของญี่ปุ่นยังอ้างว่า ตรรกะของเศรษฐศาสตร์ ของ "ลอเรนส์ เฮนรี่ ซัมเมอร์" อดีตรองประธานธนาคารโลกที่ได้รับการวิจารณ์อย่างหนักในปี 2534 อาจจะกำลังกลับมาใหม่อีกครั้งโดยเขาเคยกล่าวเอาไว้ว่า  "ถ้าเราขนส่งของเสียอันตรายและอุตสาหกรรมมลพิษในต้นทุนต่ำไปยังประเทศกำลังพัฒนาซึ่ง "ราคาของชีวิต" ถูก เราสามารถประหยัดต้นทุนของเรา เราควรจะยอมรับความจริงข้อนี้"


 


ทั้งนี้ องค์กรที่รวมลงชื่อประกอบด้วย


 


National Coalition of Workers, Farmers and Consumers for Safe Food and Health, Japan


(SHOKKEN-REN)


Japan Family Farmers Movement (NOUMINREN)


National Federation of Trade Unions of Agricultural Cooperative Association


(ZENNOKYOROREN)


All Japan Teachers and Staffs Union (ZENKYO)


New Japan Women"s Association (SHINFUJIN)


Japanese Mothers" Congress (NIHON-HAHAOYATAIKAI)


National Confederation of Trade Unions (ZENROREN)


Japan Federation of National Public Service Employees" Unions (KOKKO-ROREN)


Japan Federation of Prefectural and Municipal Workers" Unions (JICHIROREN)


Tokyo Metropolitan Chapter of Japan Agriculture Forestry and Fisheries Ministry Workers


Union


Tokyo Local Council of Trade Unions (TOKYO CHIHYO)


Japan Asia Africa Latin America Solidarity Committee (AALA Japan)


Study Net-Work of Healthy School Lunch for Children in Japan


The National Federation of Merchant and Industrialist"s Organizations (ZENSHOREN)


National Federation of Trade Unions of Welfare Associations of Agricultural Cooperatives


(ZENKORO)


The Staffs" Group of the Federation of Trade Unions of Agricultural Cooperatives


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net