Skip to main content
sharethis

ศูนย์ข่าวประชาสังคม จังหวัดอุบล


 


เมื่อวันที่ 15 มี.ค.50 สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จัดประชุมคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อหาแนวทางร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์


      


เนื่องจากประเทศไทยเป็นอีกประเทศหนึ่งในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาการค้ามนุษย์ และทวีความรุนแรงขึ้นกระทั่งทำให้ประเทศไทยตกอยู่ใน สถานะ คือ เป็นประเทศต้นทาง มีการนำคนจากพื้นต่างๆ ส่งไปทั้งในและต่างประเทศ เป็นประเทศทางผ่าน เนื่องจากขบวนการค้ามนุษย์ใช้ประเทศไทยเป็นทางผ่านนำพาคนจากทั้งในและนอกประเทศไปยังประเทศอื่น และเป็นประเทศปลายทาง มีการนำคนจากประเทศอื่นเข้ามาพักอาศัยและแสวงหาประโยชน์ ดังนั้นทางภาครัฐจึงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนในหลายรูปแบบ โดยให้ทุกจังหวัดมีศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประจำจังหวัดขึ้น เพื่อจะได้ให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที หากมีเหตุเกิดขึ้น อาทิ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิการและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้สูงอายุ (สท.) ร่วมกับคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาการค้าหญิงและเด็ก องค์การยูนิเซฟประเทศไทย และองค์การแพลนประเทศไทย ได้บันทึกข้อตกลงร่วมกันระหว่างหน่วยงานในพื้นที่ 19  จังหวัดที่เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ พ.ศ.  2549 เมื่อวันที่ กรกฎาคม49 ที่ผ่านมา


 


สำหรับสภาพปัญหาที่จังหวัดอุบลราชธานีประสบ เนื่องจากสภาพทั่วไปของจังหวัดเป็นพื้นที่ติดชายแดนติดต่อกับ สปป.ลาว ทั้งที่เป็นพื้นที่ติดต่อกัน และมีแม่น้ำโขงกั้นเป็นแนวยาว สภาพพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาการค้ามนุษย์ได้ง่าย เพราะสามารถผ่านเข้าออกทั้งสองประเทศได้ตลอดเวลา แม้ในกระบวนการค้ามนุษย์ในพื้นที่จริงยังไม่ปรากฏชัดเจน แต่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดได้ เนื่องจากพื้นที่ชายแดนมีประชาชนาก สปป.ลาว เดินทางเข้ามาค้าขายชั่วคราว รวมทั้งเป็นลูกจ้างชั่วคราว ประกอบกับปัญหานี้เป็นประเด็นเกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงที่เชื่อมโยงกับหลายหน่วยงาน ดังนั้นองค์กรที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือกันในการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน  ยาเสพติด  การลักลอบเข้าเมือง  การค้าประเวณี อาชญากรโรคติดต่อต่างๆ


 


ขณะที่แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาควรมุ่งเน้นไปที่การป้องกันปัญหาที่เชื่อมโยงกับหลายด้าน อาทิ การศึกษา เศรษฐกิจ สังคม การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว,สร้างระบบแนวทางการทำงานป้องกันและปราบปรามแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ของจังหวัด โดยการประเมินสถานการณ์ปัญหา กำหนดกลุ่มเป้าหมาย รูปแบบการค้ามนุษย์ ระดับความรุนแรง และพื้นที่เกิดปัญหา จัดลำดับความสำคัญ ประเมินทรัพยากร กลไกที่มีอยู่ และการกำหนดแผนงาน,สร้างมาตรการความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายของจังหวัด และ MOU  ว่าด้วยความร่วมมือระดับพหุพาคี และระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตลอดจนมาตรการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย


 


ในการประชุม ครั้งนี้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมรับฟังแนวทางการแก้ไขปัญหากว่า  80  คน   


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net