Skip to main content
sharethis

ศูนย์ข่าวประชาสังคมอุบลฯ


 


 


สามชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล กว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือและรายชื่อผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนที่จะไปยื่นหนังสือต่อให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี วอนระงับโครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล


 


เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2550 เวลา 09.00 . กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล กว่า 30 คน เข้ายื่นหนังสือและรายชื่อผู้ที่ได้รับความเดือนร้อนต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ที่ศาลากลางจังหวัดอุบลธานี ก่อนที่จะไปยื่นหนังสือต่อฯพณฯรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่โรงแรมเนวาด้าแกรนด์ กรณีที่เทศบาลนครอุบลราชธานี กำลังดำเนินการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูลช่วงตลาดใหญ่ถึงสะพานข้ามแม่น้ำมูลท้ายหาดวัดใต้ ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร


 


กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล กล่าวว่า ทางเทศบาลนครอุบลราชธานี ได้ทำการปรับพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการดังกล่าวโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อแหล่งชุมชนบ้านพักอาศัย  ซึ่งแหล่งชุมชนที่ได้รับผลกระทบเดือนร้อนมากที่สุด คือ ชุมชนวัดหลวง  ชุมชนวัดกลาง  และชุมชนวัดใต้ เมื่อดูจากผังโครงการแล้วประชาชนที่อยู่ในชุมชนวัดหลวงจำนวน 13 หลังเรือนต้องถูกรื้อบ้านเพื่อจะทำเป็นถนนและ อีกส่วนหนึ่งที่บ้านต่ำกว่าระดับถนน ซึ่งทำให้สภาพอากาศไม่มีการถ่ายเท เกิดน้ำขัง จากปัญหาดังกล่าว กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล จึงได้รวมตัวกันเข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเพื่อให้ทบทวนโครงการสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล ตามข้อเสนอ 6 ข้อ  คือ


 


(1)ขอให้ระงับโครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล เนื่องจากประชาชนผู้อยู่อาศัยได้รับผลกระทบจากการปรับพื้นที่ดินบริเวณสันเขื่อนเพื่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล โดยดินที่ใช้ถมได้ถมสูงกว่าระดับบ้านเรือนที่อยู่อาศัย  ทำให้เกิดน้ำขัง เกิดสภาวะน้ำเน่าเสีย  ไม่สามารถปลูกพืชผักได้เนื่องจากพื้นที่ดินได้ถูกถมไปเป็นสันเขื่อน


 


(2) ขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลโครงการสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล อีกทั้งของทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหาและความช่วยเหลือที่ชัดเจนต่อประชาชนผู้ได้รับผลกระผลทบเดือนร้อน


 


(3) ขอให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการวางแผนพัฒนาโครงการถนนเลียบแม่น้ำมูล เพราะประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการดังกล่าวถึงปัญหาที่เกิดขึ้นว่าเป็นอย่างไร 


 


(4) ขอให้มีการเปิดประชุมการแก้ไขปัญหาโดยเร่งด่วน โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานในการประชุม อีกทั้งให้ตัวแทนของกลุ่มประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนได้สามารถเสนอข้อคิดเห็น รวมทั้งนักวิชาการ  อาจารย์มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเป็นกลาง รับทราบถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชนผู้อยู่อาศัย


 


(5) ขอให้ทางสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ตรวจสอบการประมูล รวมทั้งการใช้งบประมาณในการก่อสร้างโครงการถนนเลียบแม่น้ำมูลว่ามีความโปร่งใส่หรือไม่


 


(6)ขอให้ตรวจสอบการทำประชาพิจารณ์ผลกระทบจากโครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล ว่าเป็นประชาพิจารณ์ที่ถูกต้อง หรือ เป็นประชาพิจารณ์ปลอม โดยไม่มีการนำเสนอประชาพิจารณ์ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างแท้จริง


 


ด้านนายเนาวรัตน์  บุญเหล้า ปลัดจังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้ารับหนังสือและรายชื่อผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล แทนผู้ว่าราชการจังหวัด เนื่องจากติดภารกิจราชการ เสร็จแล้ว


 


เมื่อเวลา 11.30 น. ตัวแทนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูล ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนต่อรองศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์  เสรีรังสรรค์ ฯพณฯรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ห้องไพริน โรงแรมเนวาด้า แกรนด์ จังหวัดอุบลราชธานี กรณีที่เทศบาลนครอุบลราชธานี กำลังดำเนินการก่อสร้างถนนเลียบแม่น้ำมูลซึ่งทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรภัทร์  เสรีรังสรรค์ ฯพณฯรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับฟังปัญหาของประชาชนผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการดังกล่าว จึงได้ลงไปพื้นที่ ที่ได้ผลกระทบจากโครงการถนนเลียบแม่น้ำมูลด้วยตนเอง และสั่งให้ผู้ว่ารีบดำเนินการตรวจสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว


                                                                       

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net