Skip to main content
sharethis

โดย  นิตยสารรายสัปดาห์ 'พลเมืองเหนือ'


 


 


 


 


จากการแจ้งเตือนของกรมควบคุมมลพิษ และผลการวิจัยของหน่วยงานต่างๆ พบว่าสภาพอากาศในจังหวัดเชียงใหม่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติโดยสังเกตจากหมอกควันที่ปกคลุมพื้นที่ นอกจากนี้สภาพภูมิประเทศของเชียงใหม่ยังมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะทำให้อากาศเสียไม่สามารถไหลเวียนถ่ายเทได้ จึงทำให้เกิดเวทีสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวขึ้น และล่าสุดมีการประชุมเรื่องดังกล่าวขึ้นที่ศูนย์ควบคุมจราจรจังหวัดเชียงใหม่ โดยนายบุญเลิศ บูรณุปกรณ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ นายประพันธ์ บูรณุปกรณ์ รองนายกเทศมนตรี สำนักสิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข และนายชาตรี เชื้อมโนชาญ และหัวหน้าส่วนงานต่างๆ ของเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว


 


นายบุญเลิศ   กล่าวถึงปัญหามลพิษในจังหวัดเชียงใหม่ว่า ขณะนี้อากาศในเชียงใหม่กำลังอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากมีผลการตรวจสอบระบุชัดเจนว่าค่าฝุ่นละอองระเอียดมีสูงกว่า 200 ไมครอน ซึ่งสูงกว่ากรมควบคุมมลพิษตั้งไว้ระดับที่มีผลต่อสุขภาพที่ 120 ไมครอน นอกจากนี้ยังมีค่า PAH (Polycyclic Aromatic Hydrocabon) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งปนเปื้อนอยู่ด้วย โดยปริมาณสารดังกล่าวเฉลี่ยในช่วงฤดูแล้งจะมีมากกว่าในฤดูฝนประมาณ 1-2 เท่า โดยจากการวิเคราะห์แหล่งกำเนิดของฝุ่นละอองละเอียด และสารพิษดังกล่าว พบว่าในทุกพื้นที่มีลักษณะที่คล้ายกัน เกิดขึ้นจากการเผาวัสดุอินทรีย์ เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ นอกจากนี้ยังพบว่าไอเสียจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์ดีเซล จากตัวเลขการเผาในปี 48 มีการแจ้งเข้ามากว่า 200 กว่าราย แต่ในปี49 ที่ผ่านมาพบว่าผู้ที่ลักลอบเผาขยะมีมากกว่า 400 ราย ซึ่งมากกว่าปี ก่อนถึง 2 เท่า ทั้งนี้สำหรับการดำเนินการเพื่อป้องกันตนได้สั่งให้รถน้ำของเทศบาลฉีดพ่นน้ำเพื่อทำความสะอาดพื้นผิวถนนตามสายต่างๆ เพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองดังกล่าวแล้ว


 


อย่างไรก็ตามนายกเทศมนตรีเทศบาลนครเชียงใหม่ กล่าวถึงมาตรการเอาผิดกับผู้ที่เผาขยะว่า ตนได้ให้หน่วยงานของเทศบาลในส่วนที่เกี่ยข้องดำเนินการรณงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนยกเลิกการกำจัดขยะด้วยวิธีการเผา พร้อมกันนี้ได้ประสานกับเทศกิจให้ดำเนินการจับกุมผู้ที่ฝ่าฝืน โดยวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี และปรับไม่เกิน 14,000 บาท


 


"มาตราการปรับหรือจำนั้น เราไม่ต้องการนำมาใช้ แต่เราจะพูดกันดีๆ ก่อน แต่ถ้ายังพบว่ายังลักลอบเผาอยู่ก็คงต้องว่ากันไปตามโทษที่วางเอาไว้"


 


ด้านนายประพันธุ์   เปิดเผยถึงมาตราการแก้ไขเรื่องการเผาขยะว่า  ตนแนะนำให้ประชาชนเก็บกวาดเศษใบไม้กองไว้ ซึ่งถ้าผู้ใดมีพื้นที่ก็ให้ดำเนินการกลบฝัง โดยใส่จุลินทรีย์ EM ลงไป เพื่อให้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ส่วนผู้ใดที่ไม่มีพื้นที่ก็ให้นำขยะดังกล่าวใส่ถุงดำจากนั้นก็กองรวมไว้ เพื่อรอรถเก็บขยะจากเทศบาลมาขนย้ายออกไป โดยเทศบาลจะนำขยะเหล่านี้มาทำปุ๋ยหมัก เพื่อแจกจ่ายแก่เกษตรกรที่ต้องการต่อไป นอกจากนี้ยังได้ขอความร่วมมือไปยังองค์กรบริหารส่วนตำบลอื่นๆ เพื่อรณรงค์ไม่ให้ประชาชนเผาขยะ และประสานไปยังกรมทางหลวงฯ เพื่อขอรถน้ำเพื่อใช้ในการทำความสะอาดถนน โดยภายหลังจากวันที่ 6 มีนาคม พ..2550 เทศบาลนครเชียงใหม่จะดำเนินการทำความสะอาดถนนทุกเส้นในเขตเทศบาลตลอด 24 ชั่วโมงยกเว้นในช่วงเวลาเร่งด่วน เพื่อเป็นการลดปัญหาฝุ่นละอองภายในอากาศ


 


นอกจากนี้นายบุญเลิศยังกล่าวด้วยว่า ตนได้รับประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาแจ้งเตือนเกี่ยวกับการเกิดพายุฤดูร้อนโดยคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในสัปดาห์นี้ ตนจึงสั่งการให้หหัวหน้าส่วนของเทศบาลนครเชียงใหม่เป็นผู้ดำเนินการจัดเก็บขยะ พร้อมกันนี้ได้สั่งการให้หัวหน้าส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องป้ายให้ดำเนินการตรวจสอบป้ายที่สภาพไม่มั่นคง ไม่มีความปลอดภัย ให้รื้อออก หรือซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันการโค่นล้มลงมาภายหลังจากพายุฤดูร้อนดังกล่าว พัดผ่านมา นอกจากนี้ยังส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ที่อยู่อาศัย และสัญจรไปมาในบริเวณนั้นๆ อีกด้วย


 


"มั่นใจว่าหลังจากที่มีการดำเนินการตรวจสอบป้ายต่างๆ แล้ว ผมเชื่อว่าจะต้องมีป้ายที่ถูกรื้อไปไม่ต่ำกว่า 100 ป้ายในพื้นที่ของเราเองอย่างแน่นอน และถ้าเกิดปัญหากับประชาชนก็คงต้องดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป"


 


ขณะที่นายชาตรี เชื้อมโนชาญ เปิดเผยถึงมาตราการดำเนินการเรื่องการตรวจสอบป้ายเพื่อรับมือพายุฤดูร้อนว่า ก่อนออกตรวจสอบเพื่อดำเนินการรื้อนั้นเทศบาลจะทำหนังสือแจ้งไปยังเจ้าของป้ายเกี่ยวกับมาตราฐานของป้ายก่อน จากนั้นจึงจะเริ่มส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งถ้าพบว่าไม่มีการดำเนินการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัย ก็จะดำเนินการรื้อถอนป้ายดังกล่าว ส่วนใหญ่ป้ายที่ไม่ได้มาตราฐาน และอยู่ในสภาพที่ไม่ปลอดภัยจะเป็นป้ายที่ผู้ประกอบการแอบติดเอง ทั้งนี้ในการตรวจสอบจะมีการติดป้ายที่ระบุถึงสัญญาที่มาขอติดตั้งป้าย และการชำระภาษีกับเทศบาลนครเชียงใหม่ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบอายุสัญญาของป้ายเหล่านั้น และง่ายต่อการดำเนินการของเจ้าหน้าที่อีกด้วย


 


"ป้ายเถื่อนเราจะรื้อเลย แต่ถ้าเป็นป้ายที่ถูกต้องเทศบาลจะมีหนังสือยื่นไปยังเจ้าของเพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบและซ่อมแซม โดยส่วนใหญ่เป็นป้ายพวกนี้ะเป็นพวกที่มีโครงสร้างจากไม้ไผ่ ซึ่งพวกผู้ประกอบการพวกนี้ลักไก่มากติดเยอะมาก จำเป็นต้องดำเนินการ ไม่งั้นจะเติมเมืองไปหมด"

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net