เขื่อนสาละวิน : พิสูจน์วิสัยทัศน์การบริหารของรัฐบาลขิงแก่


อานุภาพ นุ่นสง
สำนักข่าวประชาธรรม



นับเป็นข่าวคราวที่เงียบๆหายๆไปเป็นระยะสำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำสาละวิน ซึ่งเมื่อวันที่

30 ..2548 ที่ผ่านมารัฐบาลไทย โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (Memorandum of Understanding : เอ็มโอยู) กับกระทรวงการไฟฟ้าแห่งสหภาพพม่าในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำจำนวน 5 โครงการ ได้แก่โครงการเขื่อนท่าซาง โครงการเขื่อนสาละวินชายแดนตอนบนและตอนล่าง โครงการฮัจจี และโครงการตะนาวศรี

ต่อมาวันที่ 9 ..2548 บันทึกข้อตกลง (Memorandum of Agreement : เอ็มโอเอ) ในการดำเนินการโครงการดังกล่าวระหว่างรัฐบาล 2 ประเทศก็เกิดขึ้น โดยจะเริ่มจากการสร้างเขื่อนฮัจจีเป็นเขื่อนแรก มีพื้นที่ดำเนินการในรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ส่วนอีก 4 โครงการที่เหลือจะค่อยๆ ทยอยสร้างขึ้นตามมาทีหลัง

ขณะที่โครงการเขื่อนสาละวินชายแดนตอนบนและตอนล่าง ที่จะสร้างบนแม่น้ำสาละวินตามแนวพรมแดนไทย-พม่านั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสาละวินชายแดน" แม้จะมีแผนการสร้างตามมาทีหลังเขื่อนฮัจจีแต่ปัจจุบันถูกจับตามองรวมทั้งมีเสียงคัดค้านทั้งจากนักวิชาการ องค์กรสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น แต่กระนั้นฝ่ายไทยโดย กฟผ.ยังคงผลักดันอย่างต่อเนื่อง

แรกเริ่มเดิมทีแนวคิดที่จะสร้างเขื่อนในลุ่มน้ำสาละวินที่ กฟผ.ผลักดันนั้นเป็นไปเพียงเพื่อต้องการกักเก็บน้ำไว้ใช้ และเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนภูมิพล แต่เมื่อโครงการเกิดกระแสคัดค้านประกอบกับนโยบายของรัฐบาลยุคนั้นที่ต้องการให้เอกชนเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้น จึงทำให้ดูเหมือนว่าโครงการจะเงียบหายไป

จนกระทั่งปลายปี 2545 โครงการดังกล่าวถูก กฟผ.พูดถึงอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เน้นหนักไปที่การสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าราคาถูกเพียงแค่ 90 สตางค์ต่อหน่วยแทน ขณะที่ราคารับซื้อมาจากประเทศเพื่อนบ้านจะอยู่ที่ 1.8 บาทต่อหน่วย จากราคาที่ถูกกว่าถึงครึ่งต่อครึ่งนี้ทำให้ นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (ขณะนั้น) กล่าวอย่างหนักแน่นว่าหากศึกษาแล้วพบว่าเป็นเช่นนั้นจริงจะต้องผลักดันให้เกิดขึ้นให้ได้

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสาละวินชายแดนดังกล่าวมีแผนดำเนินการสร้าง 2 เขื่อน คือเขื่อนสาละวินบนและเขื่อนสาละวินล่าง ทั้ง 2 เขื่อนมีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 2.7 แสนล้านบาทมีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกันประมาณ 5,332 เมกะวัตต์

จุดที่ตั้งของเขื่อนทั้ง 2 จะกั้นแม่น้ำสาละวิน ชายแดนไทย-พม่า บริเวณ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ตรงข้ามกับรัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า โดยเขื่อนบนจะอยู่ที่เว่ยจี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน มีหน้าที่หลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยเฉพาะ จำนวน 4,540 เมกะวัตต์ ขณะที่เขื่อนล่างตั้งอยู่ใกล้บ้านท่าตาฝั่ง เขตอุทยานแห่งชาติสาละวิน สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้บ้างแต่ไม่มากเท่าเขื่อนบนคือประมาณ 792 เมกะวัตต์ ขณะที่กระแสไฟฟ้าที่ได้จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งจะส่งเข้าไปยังพม่า และอีกส่วนหนึ่งจะส่งเข้ามายังไทย โดยจะผันลอดอุโมงค์เข้ามากักเก็บที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าโครงการเขื่อนสาละวินนี้จะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปริมาณมหาศาล ซ้ำมีราคาถูกแสนถูก(ตามการกล่าวอ้างของ กฟผ.) แต่ต้องไม่ลืมว่าเหตุผลในการคัดค้านของกลุ่มนักวิชาการ องค์กรสิ่งแวดล้อม นักสิทธิมนุษยชนที่หยิบยกปัญหาผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเนื่องจากเป็นเขื่อนขนาดมหึมา ทำให้พื้นที่รับน้ำกินอาณาบริเวณกว้างขวางตามไปด้วยนั้นย่อมส่งผลต่อผืนป่าบริเวณดังกล่าวให้จมอยู่ใต้ผืนน้ำอย่างเลี่ยงไม่ได้ และต้องไม่ลืมว่าแม่น้ำสาละวินเป็นแม่น้ำที่ยาวเป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รองจากแม่น้ำโขง และยังคงไหลอย่างอิสระโดยปราศจากเขื่อนหรือสิ่งก่อสร้างใดๆมากั้นขวาง หากมีการสร้างเขื่อนใครจะเป็นผู้รับผิดชอบกับปัญหาหรือผลกระทบที่จะเกิดขึ้น


ขณะที่ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนนั้นพบว่าบริเวณที่จะมีการสร้างเขื่อนสาละวินนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไม่ต่ำกว่า

3 หมื่นคนทั้งชาวไทยและพม่า ขณะที่บางพื้นที่ในเขตพม่ายังคงมีการสู้รบระหว่างกองกำลังกู้ชาติและทหารพม่าอย่างรุนแรง และคำถามคือหากเขื่อนขนาดยักษ์เกิดขึ้นในพื้นที่นี้ผู้คนกว่า 3 หมื่นชีวิตใครจะเป็นผู้จัดการและรับผิดชอบ

ส่วนกรณีไฟฟ้าราคาถูกเพียงแค่

90 สตางค์ต่อหน่วยที่ กฟผ.อ้างนั้น หากราคาถูกมากขนาดนี้ทำไม กฟผ.จึงไม่วางแผนให้เป็นจริงตั้งแต่แรกเริ่ม เหตุใดยังคงสร้างโรงไฟฟ้าแบบอื่นๆที่มีราคาค่าไฟฟ้าแพงกว่ามากมาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี อีกทั้งต้นทุนที่มหาศาลกว่า 2 แสนล้านบาทนั้นภาระต้นทุนจะไปตกที่ประชาชนอย่างที่ กฟผ.เคยทำมาหรือไม่ และราคา 90 สตางค์ต่อหน่วยนั้นมีการรวมต้นทุนด้านระบบสายส่งแล้วหรือไม่

คำถาม ข้อทักท้วงเหล่านี้ยังไม่มีคำตอบหรือคำอธิบายที่ชัดเจนใดๆจาก กฟผ

.แม้แต่น้อย !

ร้ายไปกว่านั้น โครงการต่างๆกลับยังคงเดินหน้าต่อไป เพราะเขื่อนฮัจจีที่จะสร้างเป็นเขื่อนแรก มีการระบุในเอ็มโอเอว่าจะมีแผนการก่อสร้างในช่วงปลายปี

2550 นี้ และล่าสุดเมื่อวันที่ 26 มิ..2549 ที่ผ่านมา กฟผ.กับบริษัท Sinohydra Corporation ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจการศึกษาและพัฒนาโครงการเขื่อนฮัจจีแล้ว

สำหรับจุดที่จะมีการสร้างเขื่อนฮัจจีนั้นอยู่บนแม่น้ำสาละวินในเขตรัฐกะเหรี่ยงของพม่า ห่างจากจุดบรรจบแม่น้ำเมยและแม่น้ำสาละวินที่บ้านสบเมย อ

.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ลงไปตามลำน้ำประมาณ 33 กิโลเมตรเท่านั้น

ดังนั้น ปัญหาโดยเฉพาะกรณีน้ำท่วมนอกจากจะเกิดในรัฐกะเหรี่ยงแล้วย่อมส่งผลกระทบต่อพื้นที่ อ

.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน อย่างเลี่ยงไม่ได้แน่นอน

กรณีที่เกิดขึ้นสร้างความเคลื่อนไหวแก่องค์กรสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย และนานาชาติเป็นอย่างมาก ล่าสุดวันที่

28 .. 2550 นี้ คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือ (กป.อพช.เหนือ) ร่วมกับองค์กรพันธมิตร เตรียมยื่นหนังสือถึง พล..สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อให้พิจารณาระงับความร่วมมือกับรัฐบาลพม่าในการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำสาละวิน

กป

.อพช.เหนือ และองค์กรพันธมิตร ได้ชี้แจงว่ารัฐบาลไทยชุดก่อนหน้านี้ได้ดำเนินการร่วมกับรัฐบาลทหารพม่าในการสร้างเขื่อนขึ้นมาหลายเขื่อน และกังวลว่าขั้นตอนการดำเนินการโครงการปราศจากการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบอย่างรอบคอบและทั่วถึง ดังนั้นช่วงเวลาของการบริหารประเทศโดยรัฐบาลชุดปัจจุบันน่าจะเป็นโอกาสอันดีในการทบทวนโครงการดังกล่าวอย่างจริงจัง

พร้อมกันนี้ กป

.อพช.เหนือ และองค์กรพันธมิตรยังได้ชี้ให้เห็นถึงเหตุผลที่ต้องทบทวนโครงการดังกล่าวซึ่งระบุว่า

กระบวนการดำเนินการขาดความโปร่งใส ที่ผ่านมาเป็นไปอย่างเร่งรีบและรวบรัด ทั้งการทำเอ็มโอยู เอ็มโอเอ รวมทั้งการร่วมกับบริษัท

Sinohydra Corporation ของจีน กระบวนการตัดสินใจทั้งหมดไม่เป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณะ แม้แต่ประชาชนชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงอย่างน้อย 50 ชุมชนที่อาศัยอยู่ในป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอนก็ยังไม่ได้รับข้อมูลโครงการแต่อย่างใด

นอกจากนี้ ธรรมาภิบาลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการนี้เกิดขึ้นจากความเหลื่อมล้ำและช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมายไทยคือ สถานะของ กฟผ

.ตอนลงนามเอ็มโอเอเมื่อวันที่ 9 ..2548 มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน ต่อมาศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้เพิกถอนพระราชกฤษฎีกา 2 ฉบับเพื่อยุบเลิกการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และให้มีสถานะเป็นบริษัทมหาชนและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เป็นเหตุให้ กฟผ.คืนสู่สถานะภาพรัฐวิสาหกินดังเดิม ดังนั้นเอ็มโอเอที่ทำมายังมีผลในทางกฎหมายหรือไม่

แต่ท่ามกลางความคลุมเครือนี้ กฟผ

.กลับไปลงนามบันทึกความเข้าใจการศึกษาและพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำฮัจจีกับบริษัท Sinohydra Corporation ของจีน ซึ่งเป็นการดำเนินการที่เร่งรีบ หากสามารถพิสูจน์ภายหลังว่าบันทึกที่ทำไว้เมื่อวันที่ 9 ..2548 ต้องเป็นโมฆะตามคำสั่งของศาลปกครอง ในอนาคตอาจกลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศได้

อีกทั้งรัฐบาลพม่า เป็นรัฐบาลที่ได้ชื่อว่าสร้างปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลกด้วยการกวาดล้างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆในประเทศ ส่งผลให้กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศนับล้านคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย และกว่า

5 แสนคนหลบหนีเข้ามายังฝั่งไทย ดังนั้นการร่วมมือกับรัฐบาลทหารพม่าต่อโครงการดังกล่าวจะเท่ากับการเพิ่มการรุกรานกลุ่มชาติพันธุ์ในพม่ามากขึ้น

นอกจากนี้ หากเขื่อนเหล่านี้เกิดขึ้นจะสร้างความสูญเสียต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง จะสูญเสียระบบนิเวศน์ของแม่น้ำทั้งระบบ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ด้านธรณีวิทยาอย่างมหาศาลด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการผลักดันที่เป็นไปอย่างเข้มข้น ท่ามกลางกระแสการคัดค้านที่กว้างขวาง กล่าวได้ว่า ณ เวลานี้ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาล พล

..สุรยุทธ์ต้องแสดงจุดยืนว่าจะเอาอย่างไรกับโครงการนี้ จะเลือกตามเช็ดความล้มเหลวในโครงการที่เกิดขึ้นจากความมุทะลุของรัฐบาลชุดที่แล้วอย่างโครงการสนามบินสุวรรณภูมิอีกหรือไม่ หรือจะเลือกฟังเสียงท้วงติงประชาชนเจ้าของประเทศที่วิตกในปัญหาที่จะตามมา นาทีนี้ถือเป็นบทพิสูจน์วิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศของรัฐบาลชุดนี้.

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท