Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis






มุมคิดจากนักเรียนน้อย เป็นผลงานภาคปฏิบัติในชั้นเรียนของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ที่ส่งมาให้ประชาไทพิจารณานำเผยแพร่ เยาวชนที่สนใจสามารถส่งผลงานมาได้ที่ netcord@prachatai.com


 


ณภัค เสรีรักษ์


คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์


 


กรณีที่ครูโรงเรียนบ้านกูจิงลือปะ อ.ระแงะ จ.นราธิวาส สองคนถูกรุมทำร้าย เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 ถือเป็นเหตุการณ์ที่สะเทือนใจประชาชน และก่อให้เกิดประเด็นถกเถียงในสังคมอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณค่าความเป็นมนุษย์ หรือในเรื่องการแบ่งแยกดินแดน และจากเหตุการณ์ในวันนั้นเอง เราจึงได้รู้จักกับ "คุณครูจูหลิง" หนึ่งในสองครูที่เป็นเหยื่อจากเหตุการณ์ครั้งนั้น


 


อันที่จริง ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้มีมาเป็นเวลานานแล้ว ถ้านับเฉพาะในช่วงหลังก็เป็นเวลาประมาณสามปีตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคม 2547 จากสถิติจนถึงต้นเดือนธันวาคม 2549 พบว่า มีผู้เสียชีวิต 1,908 คน และบาดเจ็บ 2,920 คน และหน่วยงานของรัฐก็ไม่สามารถจะแก้ไขปัญหา หรือทำให้ความรุนแรงลดลงได้เลย เพราะการมองปัญหาและความพยายามในการแก้ปัญหานั้นไม่ตรงจุด


 


สิ่งที่ประชาชนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการคือ การยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเสรีภาพในการดำเนินชีวิต ขณะที่นโยบายและมาตรการต่างๆ ซึ่งรัฐบาลไทยใช้ตลอดมานั้นต้องการสร้าง "ความเป็นไทย" ซึ่งมีนิยามที่คับแคบ และทำลายความแตกต่างและความหลากหลาย ดังตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือคำร้องของเพลงชาติไทยในหลายๆท่อน ไม่ว่าจะเป็น "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" หรือ "เป็นประชารัฐไผทของไทยทุกส่วน"


 


ถ้าเรายังคงมองปัญหาในกรอบที่ยึดติดกับความเป็น "เชื้อชาตินิยม" เราคงไม่มีทางแก้ปัญหาความรุนแรงในภาคใต้ได้ เราต้องไม่มองว่านี่คือเหตุการณ์ที่ "คนไทย" ถูกทำร้าย แต่เป็นเหตุการณ์ที่ "คนคนหนึ่ง" ถูกทำร้าย เราจึงต้องออกจากกรอบเดิมให้ได้ หรือว่าเราร้องเพลงชาติกันบ่อยเกินไป หรือบางทีเราอาจต้องแต่งเพลงชาติกันใหม่ หรือ "รัฐปัตตานี" อาจเป็นทางออกที่ดีกว่า ถ้าทำให้สังคมโลกเป็นสุขกว่าที่เป็นอยู่

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net