Skip to main content
sharethis

ประชาไท - 7 .. 50 เวทีประชาธิปไตยประชาชนจัดเวทีรับฟังข้อเสนอภาคประชาชนต่อการร่างรัฐธรรมนูญเรื่อง ระบบการปกครอง : พรรคการเมือง รัฐสภา ระบบการเลือกตั้ง รัฐบาล คณะรัฐมนตรี องค์กรอิสระ ระบบการปกครองท้องถิ่น และการกระจายอำนาจ ณ สำนักกลางนักเรียนคริสเตียน (สนค.) โดยมีนายจอน อึ๊งภากรณ์ เป็นประธานในที่ประชุม และมีผู้นำเสนอได้แก่ นายไพโรจน์ พลเพชร จากสมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ และอดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


 


เสนอแก้หลายประเด็นในรัฐธรรมนูญ


เวทีประชาธิปไตยประชาชน (วปช.) มีข้อเสนอในเรื่องระบบการเมืองที่จะเสนอต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 10 ประการ ได้แก่ ประชาชนทุกคนที่มีสิทธิเลือกตั้ง ควรไปเลือกตั้งในเขตที่ตนอาศัยอยู่หรือทำงานได้ ไม่จำเป็นต้องกลับภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้าน 1) ประชาชนควรมีสิทธิลงทะเบียนเพื่อเลือกตั้งในพื้นที่ที่ตนอยู่อาศัยและทำงานจริง ไม่ควรยึดแต่ภูมิลำเนาในทะเบียนบ้าน 2) การสมัครเป็นผู้แทนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ระดับประเทศถึงผู้แทนองค์กรท้องถิ่น ไม่ควรจำกัดวุฒิการศึกษา


 


3)ควรมีสภา 2 สภาคือ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาและยืนยันว่าวุฒิสมาชิกต้องมาจากการเลือกตั้ง ไม่เห็นควรไม่ให้มีการแต่งตั้ง ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งหรือทั้งหมด


 


4)ให้คงการมีส..ระบบบัญชีรายชื่อ 5) นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง 6) ..ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมือง 7) ควรมีกำหนดระยะเวลาออกกฎหมายลูกที่แน่นอน 8) กฎหมายที่เสนอโดยประชาชน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการล่ารายชื่อ 5 หมื่นรายชื่อ จะต้องให้ตัวแทนประชาชนที่นำเสนอเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาทุกขั้นตอน


 


9) การตั้งพรรคการเมือง ต้องให้สามารถตั้งพรรคการเมืองได้ไม่ยาก ให้บุคคลธรรมดาก็สามารถตั้งพรรคการเมืองได้ ทั้งนี้ ในรัฐธรรมนูญเดิมก็กำหนดให้สามารถตั้งพรรคการเมืองได้ไม่ยากนัก แต่กฎหมายลูกกลับทำให้เป็นเรื่องยาก


 


10) ให้กระบวนการตรวจสอบฝ่ายบริหารโดยสภาต้องเกิดขึ้นได้โดยง่าย การเข้าชื่อของสมาชิกรัฐสภาต้องลดจำนวนลงจากเดิม ไม่เช่นนั้นการตรวจสอบจะกระทำได้ยาก


 


สำหรับประเด็นเรื่องนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง มีข้อเสนอในรายละเอียดที่แตกต่าง คือ นายกฯ มาจากการเลือกตั้งของสภาผู้แทนราษฎรเหมือนเดิม, เลือกตั้งตัวผู้สมัครดำรงตำแหน่งนายกฯ เหมือนการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานคร หรือให้นักการเมืองเสียงข้างมากเสนอบุคคลแล้วให้ประชาชนร้อยละ 60 ให้ความเห็นชอบ


 


ที่อยู่จริง จำเป็นกว่าชื่อในทะเบียนบ้าน


นายวิฑูรย์ เพิ่มพงศาเจริญ อดีตสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ประชาชนส่วนหนึ่งไม่ได้ทำงานและอยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่ได้มีส่วนได้เสียโดยตรงในพื้นที่ การมีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่ที่อยู่อาศัยและทำงานจริง จึงมีผลต่อนโยบายการปกครองพื้นที่นั้นมากกว่า เช่น บางเขตเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม บางพื้นที่เป็นโรงงาน ทั้งนี้ต้องแสดงจำนงเลือกตั้งในเขตพื้นที่เดียวสำหรับการเลือกตั้งหนึ่งครั้ง สำหรับบุคคลที่ต้องย้ายงานไปหลายพื้นที่


 


..ต้องมาจากการเลือกตั้งสถานเดียว


นายไพโรจน์ พลเพชร สมาคมสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เสนอให้โครงสร้างฝ่ายบริหารกับรัฐสภาแยกกัน วุฒิสภาควรเป็นอิสระจากนักการเมือง แม้ในทางปฏิบัติจะทำได้ยาก แต่ก็ยังยืนยันให้วุฒิสภาต้องมาจากการเลือกตั้ง ทั้งนี้ วุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งจะปลอดจากนักการเมืองได้จริง ทางหนึ่งคือต้องมีวิธีตรวจสอบการทำงานของวุฒิสภา


 


ในส่วนองค์กรอิสระนั้น วปช. มีข้อเสนอ 5 ประการ คือ 1) ควรบัญญัติเรื่ององค์กรอิสระ ให้เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญโดยเฉพาะ 2) ควรปรับปรุงบทบาทอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระ ส่วนที่ปัจจุบันมีหน้าที่แค่การเสนอแนะ ให้มีอำนาจเพิ่มขึ้น เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จากที่เป็นยักษ์ที่ไม่มีกระบอง ต้องเปลี่ยนมามีอำนาจฟ้องการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้ ผ่านระบบศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง หรือศาลยุติธรรม หรือกรณีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่มีหน้าที่เสนอความเห็นต่อรัฐบาล ก็น่าจะมีสามารถเสนอแก้ไขปรับปรุงกฎหมายได้


 


เพิ่มประชาชนและสื่อมวลชนเข้าในกระบวนการสรรหา


3) ต้องปรับปรุงกระบวนการสรรหาองค์กรอิสระ เปลี่ยนจากองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาเดิม ที่มาจากศาล สถาบันอุดมศึกษา ตัวแทนพรรคการเมือง เป็นองค์ประกอบที่ทำให้องค์กรอิสระมาจากอำนาจทางการเมือง ไม่หลากหลายเพียงพอ ซึ่งควรปรับปรุงคณะกรรมการสรรหาใหม่ เพื่อให้ได้องค์กรอิสระที่มีอิสระในการตรวจสอบถ่วงดุลแท้จริง ทั้งนี้ เสนอให้คณะกรรมการสรรหาองค์กรอิสระ ประกอบด้วย  (1) องค์ประกอบของนักวิชาการในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นคณบดี  (2) ศาล (3) ตัวแทนพรรคการเมืองจากฝ่ายค้านและรัฐบาล (4) ตัวแทนขององค์กรภาคประชาชน (5)ตัวแทนสื่อมวลชน ทั้งนี้ การปรับปรุงองค์ประกอบองค์กรสรรหาทั้งหมด เพื่อให้เกิดความเป็นอิสระ


 


ทั้งนี้ นายไพโรจน์ กล่าวถึงความเป็นห่วงเกี่ยวกับองค์ประกอบของกรรมการในส่วนที่มาจากสถาบันอุดมศึกษาว่า "ตัวแทนสถาบันอุดมศึกษา ไม่แน่ใจ เพราะถึงที่สุดแล้ว ไม่ได้เป็นอิสระจากภาครัฐ ฝ่ายบริหาร ไม่ว่าจะเป็นคณบดีเลือกกันเอง"


 


เปิดกว้าง ไม่ล็อคสเปค


4) ต้องปรับปรุงคุณสมบัติของผู้สมัครหรือผู้มีสิทธิเป็นกรรมการในองค์กรอิสระทั้งหลาย เพราะคุณสมบัติมักจะเน้นคนที่เป็นข้าราชการระดับสูง เป็นการปิดกั้นทำให้คนส่วนอื่นๆ ให้ไม่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกรรมการได้ จึงไม่น่าแปลกใจ ที่จะเห็นว่าองค์กรอิสระ กลายเป็นที่ทำงานของข้าราชการเกษียณอายุ ซึ่งไม่หลากหลาย และที่สำคัญ ตัวแทนที่มาจากหน่วยงานราชการมีแนวโน้มที่จะไม่เป็นอิสระทางความคิดจากหน่วยงานของรัฐ จึงควรเปิดคุณสมบัติให้เปิดกว้าง เพื่อไม่ให้มีการล็อคสเป็ค โดยเน้นที่คุณสมบัติความรอบรู้ ประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ


 


และ 5) การบริหารองค์กรอิสระ โดยเฉพาะบุคคล งบประมาณ นั้น องค์กรอิสระควรมีสำนักงานของตัวเองที่เป็นอิสระ ให้กรรมการองค์กรอิสระสามารถกำกับควบคุมทิศทางการทำงานของตัวเองได้ ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่า ที่ผ่านมาการทำงานไม่เป็นอิสระ เช่น สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ


 


องค์กรส่วนท้องถิ่นตัดสินใจได้เอง


ในประเด็นเรื่องการบริหารงานขององค์กรส่วนท้องถิ่น วปช.มีข้อเสนอ 8 ประการว่า 1) ต้องกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ท้องถิ่นมากขึ้น โดยคำนึงถึงรูปแบบวัฒนธรรมและศาสนาของแต่ละท้องถิ่น 2) ท้องถิ่นต้องมีความเป็นอิสระ มีรูปแบบการเก็บภาษีของตน และมีส่วนร่วมในการกำหนดงบประมาณส่วนกลาง มิใช่ส่วนกลางเป็นฝ่ายกำหนดฝ่ายเดียวว่าจะจัดสรรให้ท้องถิ่นเท่าไรอย่างไร


 


3) การตัดสินเกี่ยวกับนโยบายที่มีผลกระทบต่อท้องถิ่นนั้น การตัดสินใจจากท้องถิ่นต้องเป็นหลัก มิใช่ดำเนินตามนโยบายจากส่วนกลาง 4) การตรวจสอบองค์กรท้องถิ่น ต้องมีรูปแบบที่ประชาชนตรวจสอบได้ง่าย ทั้งนี้ ที่รัฐธรรมนูญเดิมกำหนดไว้นั้นเป็นเรื่องเกิดขึ้นได้ยาก เพราะกำหนดให้ต้องมีเสียงกึ่งหนึ่งจากสามในสี่ของผู้มาลงคะแนนเลือกตั้งนั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้ ทำให้ในบางกรณี ต้องใช้เสียงที่มากกว่าที่ผู้นั้นได้รับคะแนนเสียงเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ ควรแก้ไขให้ใช้เสียงเป็นหนึ่งในสามแทน


 


5) เรื่องสำคัญที่มีผลกระทบต่อท้องถิ่นนั้น ต้องมีการลงประชาพิจารณ์ นั่นคือ การตัดสินใจใดๆ ต้องมีกระบวนการมาจากการฟังความเห็นของผู้ทีได้รับผลกระทบเป็นพิเศษ ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่เรื่องเสียงส่วนใหญ่มาครอบงำเสียงส่วนน้อย


 


6) ต้องแก้ไข ระบบอาณานิคมแบบผู้ว่าฯ นายอำเภอ ให้เกิดการปกครองท้องถิ่นในระดับจังหวัด เป็นเรื่องการจัดการของท้องถิ่นเองในระดับจังหวัดเอง มิใช่เป็นสายต่อขั้วอำนาจจากรัฐบาลกลางเช่นในอดีต 7) กลไกการตรวจสอบองค์กรส่วนท้องถิ่น นอกจากการเข้าชื่อแล้ว ควรมีองค์กรอิสระในระดับท้องถิ่นด้วย 8) ควรมีมาตรการเสริมให้สตรีเข้าสู่การเลือกตั้งในทุกระดับ


 


ดร. เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกล่าวว่า ต้องให้ความสำคัญกับการเมืองภาคประชาชนมากขึ้น รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ควรให้อำนาจและสนับสนุนท้องถิ่นให้ขับเคลื่อนการเมืองภาคประชาชน ไม่ใช่ท้องถิ่นเสนอ แปรญัตติแล้วหายไป ยกตัวอย่างเช่น พ...ป่าชุมชน ซึ่งเมื่อเข้าพิจารณาในสภาก็มีทั้งฉบับ ส..และ ส..ทั้งที่จริงเริ่มมาจากท้องถิ่น


 


อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า องค์กรท้องถิ่นก็มีจุดอ่อนในการตรวจสอบภายใน มีความพยายามหลายครั้งที่พูดถึงองค์กรอิสระในระดับท้องถิ่น ที่จะตรวจสอบองค์กรระดับท้องถิ่น ซึ่งเขาทิ้งท้ายไว้ว่า ยิ่งกระจายอำนาจมาก ก็อาจยิ่งต้องมีกลไกอิสระในการตรวจสอบและต้องมีกฎหมายรองรับ

เอกสารประกอบ

ข้อสรุปเวทีประชาธิปไตยประชาชน ว่าด้วยระบบการปกครอง

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net