Skip to main content
sharethis

กลุ่มศึกษาฯ ยังคงเรียกร้องเช่นเดิมที่จะให้มีการเปิดเผยร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นให้กับสาธารณชนเพื่อการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริง แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางนั้นมิอาจเกิดขึ้นได้หากขาดซึ่งการเข้าถึงข้อมูลและการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบอย่างรอบด้านจากทุกฝ่าย ดังนั้นการเข้าร่วมประชุมจึงไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยยะสำคัญ

กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) จดหมายตอบปฏิเสธกระทรวงการต่างประเทศที่ได้มีหนังสือเชิญ ไปประชุมหารือเกี่ยวกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เพื่อติดตามการเผยแพร่ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศภายหลังการจัดประชุมเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549 

จดหมายดังกล่าวลงชื่อ ภญ.สำลี ใจดี ความว่า กลุ่มศึกษาฯ ยังคงเรียกร้องเช่นเดิมที่จะให้มีการเปิดเผยร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นให้กับสาธารณชนเพื่อการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริงจะได้เกิดขึ้น

 

ที่ผ่านมา แม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลบางส่วนและจัดประชุมมาโดยตลอด รวมถึงการประชุมในวันที่ 22 ธันวาคม แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางนั้นมิอาจเกิดขึ้นได้หากขาดซึ่งการเข้าถึงข้อมูลและการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบอย่างรอบด้านจากทุกฝ่าย ดังนั้นการเข้าร่วมประชุมหารือของกลุ่มศึกษาฯ กับกระทรวงการต่างประเทศจึงไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด

 

หลายองค์กร ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และกลุ่มศึกษาฯ ได้มีแนวคิดเห็นพ้องต่อการมีกฎหมายที่ว่าด้วยการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศ  กลุ่มศึกษาฯ เองได้จัดทำรายละเอียดข้อเสนอเบื้องต้นไว้ ในระหว่างที่จะมีการปฏิรูปการเมืองนี้  รัฐบาลควรระงับการลงนามในข้อตกลงฯใด  เพื่อผลักดันกติกาที่โปร่งใสและเป็นธรรมให้เกิดขึ้นจริงเสียก่อน

 

อกจากนี้ ในการประชุมชี้แจงข้อมูลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นต่อคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมานั้น มีข้อสรุปว่า

 

 "…ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ยืนยันว่ารักษาประโยชน์ของประเทศชาติเต็มที่ ฝ่ายกลุ่มต่างๆ ที่ติดตามเรื่องนี้ก็อยากให้ศึกษามากกว่านี้  ไม่เห็นควรรีบร้อน ควรรอบคอบกว่านี้  และอีกประเด็นคือ สภานี้ก็เป็นสภาแต่งตั้ง…การพูดว่าประเทศอื่นอาจได้ข้อมูลไปแล้วไทยจะเสียประโยชน์นั้น มันเป็นเรื่องของคนละประเทศเก็บเป็นความลับ พอเอาเข้าสภามันก็กลายเป็นลักษณะยัดเยียด ประชาชนก็ไม่มีเวลาศึกษา ถ้าเปิดเผยข้อมูลมากกว่านี้ก็จะดีกว่านี้…" 

 

เพื่อให้เจตนาที่ดีของกระทรวงการต่างประเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในกระบวนการจัดทำความตกลงฯ  กลุ่มศึกษาฯขอเรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศ  และส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางตั้งแต่ขั้นตอนนี้  พร้อมกับเปิดเผยร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นต่อประชาชน

 

000

 

ก ลุ่ ม ศึ ก ษ า ข้ อ ต ก ล ง เ ข ต ก า ร ค้ า เ ส รี ภ า ค ป ร ะ ช า ช น

125/356. 3 หมู่บ้านนราธิป ซ.1.รัตนาธิเบศร์  .เมือง  .นนทบุรี  11000 โทร 02-985-3837 ถึง 8  โทรสาร 02-985-3836

 email: info@ftawatch.org   www.ftawatch.org  

                                                           

                                                                        17  มกราคม  2550

 

เรื่อง                  การประชุมหารือเกี่ยวกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ไทย-ญี่ปุ่น

เรียน                  นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ

อ้างถึง                หนังสือเลขที่ กต.0200.7/17979 ลงวันที่ 9 มกราคม 2550

สิ่งที่แนบมาด้วย ข้อเสนอเรื่องการจัดทำกฎหมายเจรจาความตกลงระหว่างประเทศ

 

            ตามที่กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือเชิญกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ไปประชุมหารือเกี่ยวกับความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น เพื่อติดตามการเผยแพร่ข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศภายหลังการจัดประชุมเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2549  นั้น  กลุ่มศึกษาฯขอขอบคุณ

 

อย่างไรก็ตาม  กลุ่มศึกษาฯ ใคร่ขอเรียนชี้แจงอีกครั้งหนึ่งว่า กลุ่มศึกษาฯ ยังคงเรียกร้องเช่นเดิมที่จะให้มีการเปิดเผยร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นให้กับสาธารณชนเพื่อการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างแท้จริงจะได้เกิดขึ้น  ที่ผ่านมา  แม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลบางส่วนและจัดประชุมมาโดยตลอด  ซึ่งรวมถึงการประชุมในวันที่ 22 ธันวาคม  แต่การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางนั้นมิอาจเกิดขึ้นได้หากขาดซึ่งการเข้าถึงข้อมูลและการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบอย่างรอบด้านจากทุกฝ่าย  ดังนั้น การเข้าร่วมประชุมหารือของกลุ่มศึกษาฯ กับกระทรวงการต่างประเทศจึงไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยยะสำคัญแต่อย่างใด

 

            ในขณะนี้ หลายองค์กร ทั้งคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน  สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สถาบันเพื่อการวิจัยและพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และกลุ่มศึกษาฯ ได้มีแนวคิดเห็นพ้องต่อการมีกฎหมายที่ว่าด้วยการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศ  กลุ่มศึกษาฯ เองได้จัดทำรายละเอียดข้อเสนอเบื้องต้นไว้ (โปรดดูเอกสารแนบ)  ซึ่งในระหว่างที่จะมีการปฏิรูปการเมืองนี้  รัฐบาลควรระงับการลงนามในข้อตกลงฯใด  เพื่อผลักดันกติกาที่โปร่งใสและเป็นธรรมให้เกิดขึ้นจริงเสียก่อน

 

           

 

นอกจากนี้ ในการประชุมชี้แจงข้อมูลการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นต่อคณะกรรมาธิการการมีส่วนร่วม สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 11 มกราคม ที่ผ่านมานั้น มีข้อสรุปว่า "…ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็ยืนยันว่ารักษาประโยชน์ของประเทศชาติเต็มที่ ฝ่ายกลุ่มต่างๆ ที่ติดตามเรื่องนี้ก็อยากให้ศึกษามากกว่านี้  ไม่เห็นควรรีบร้อน ควรรอบคอบกว่านี้  และอีกประเด็นคือ สภานี้ก็เป็นสภาแต่งตั้ง…การพูดว่าประเทศอื่นอาจได้ข้อมูลไปแล้วไทยจะเสียประโยชน์นั้น มันเป็นเรื่องของคนละประเทศเก็บเป็นความลับ พอเอาเข้าสภามันก็กลายเป็นลักษณะยัดเยียด ประชาชนก็ไม่มีเวลาศึกษา ถ้าเปิดเผยข้อมูลมากกว่านี้ก็จะดีกว่านี้…" 

 

ดังนั้น  เพื่อให้เจตนาที่ดีของกระทรวงการต่างประเทศก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงในกระบวนการจัดทำความตกลงฯ  กลุ่มศึกษาฯขอเรียกร้องให้กระทรวงการต่างประเทศสนับสนุนการจัดทำร่างกฎหมายว่าด้วยการเจรจาความตกลงระหว่างประเทศ  และส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางตั้งแต่ขั้นตอนนี้  พร้อมกับเปิดเผยร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่นต่อประชาชน

 

จึงเรียนมาเพื่อทราบและโปรดพิจารณา

 

 

ขอแสดงความนับถือ

 

 

 

 



 

                                               

 (ภญ. สำลี ใจดี)

       กลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน
                             (เอฟทีเอว็อทช์)

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net