Skip to main content
sharethis

โดย  วิทยากร  บุญเรือง


 




ผู้รณรงค์ประท้วงต่อต้านการแปรรูปมหาวิทยาลัย ซึ่งประกอบด้วยนักศึกษาและคณาจารย์ ปะทะ กับตำรวจกรีซที่หน้ารัฐสภาของกรีซ ที่กรุง Athens เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2007 ที่ผ่านมา ( ที่มาภาพ : REUTERS/Yannis Behrakis)


 


17 ม.ค. 2007 - นักศึกษาคณาจารย์ รวมทั้งผู้เกี่ยวข้องได้ต่อต้านรัฐบาลกรีซ ด้วยวิธีแข็งกร้าว กรณีที่รัฐเตรียมที่จะแปรรูปมหาวิทยาลัย (private universities) ด้วยการเดินรณรงค์ประท้วง และมีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจประปราย


กลุ่มผู้รณรงค์ประท้วงกว่า 3000 คน ได้ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่จตุรัส Syntagma กลางกรุง Athens ทำให้รถยนต์และสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงได้รับความเสียหาย  ส่วนที่รัฐสภาของกรีซ กลุ่มผู้ร่วมรณรงค์ประท้วงก็ได้ปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการขว้างปาก้อนหินเข้าใส่ ซึ่งเป็นการตอบโต้การใช้แก้สน้ำตาของเจ้าหน้าที่ตำรวจ นอกจากนี้ผู้ร่วมรณรงค์บางรายยังได้ใช้ระเบิดขวด ข้างใส่รถของเจ้าหน้าที่รวมทั้งสถานที่ราชการใกล้เคียง 




ผู้ร่วมรณรงค์ประท้วงนับพันเดินไปตามท้องถนน (ที่มาภาพ : http://athens.indymedia.org/ )


 




ผู้ร่วมรณรงค์ประท้วงปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกรัฐสภากรีซ ในกรุง Athens (ที่มาภาพ : REUTERS/Yannis Behrakis)


 


    รถยนต์ที่ได้รับความเสียหายจากการปะทะกันของทั้ง 2 ฝ่าย ( ที่มาภาพ : AP/KOSTAS TSIRONIS)


 


 


ทั้งนี้การเริ่มรณรงค์ครั้งนี้เกิดที่เมือง Patras และเมือง Iraklio ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพแรงงานอาจารย์มหาวิทยาลัย (unions of university professors) รวมถึงการสนับสนุนจากอาจารย์ระดับประถมและมัธยม


 


จากนั้นก็เริ่มลุกลามไปทางตอนเหนือที่เมือง Salonika เมื่อวันพุธที่ผ่านมา จนถึงจุดระเบิดสูงสุดในการปะทะกันที่ Athens


 


โดยก่อนหน้านี้นักศึกษาและคณาจารย์รวมถึงผู้เกี่ยวข้องกว่า 1000 คน ได้ทำการรณรงค์การต่อต้านการนำมหาวิทยาลัยสู่การแปรรูปออกนอกระบบมาเป็นเวลากว่าอาทิตย์แล้ว ซึ่งพวกเขาใช้วิธีการนัดหยุดงาน 1 วัน (one-day strike) โดยหยุดโรงเรียน , สถานที่ราชการ และธนาคาร เพื่อสนับสนุนการต่อสู้ของนักศึกษา


 


รัฐบาลกรีซ (ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายขวา-อนุรักษ์นิยม) ได้ดำเนินนโยบายที่จะทำให้มหาวิทยาลัยของกรีซเข้าสู่ระบบเอกชน ซึ่งคาดว่าจะได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายซ้ายกลายพันธุ์ในรัฐสภากรีซ อย่างพรรค Pasok และ the Greek centre left party , ซึ่งทั้ง 2 พรรคสนับสนุนการแปรรูปการศึกษาตามนโยบายเสรีนิยม (neoliberal) โดยชนชั้นปกครองของกรีซมั่นใจว่า ถ้าหากดำเนินตามแนวทางนี้แล้วจะทำให้เกิดการพัฒนาขึ้น ในระบบการศึกษาของกรีซ


ทั้งนี้คาดว่า สมาชิกสภาผู้แทนในรัฐสภากรีซ (ทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้าน) จะมีถึง 276 จาก 300 เสียง ที่จะสนับสนุนการผลักดันการแปรรูปมหาวิทยาลัยในครั้งนี้


ซึ่งถ้าหากกฎหมายการแปรรูปมหาวิทยาลัยของกรีซได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา คาดว่ามันจะถูกบังคับใช้เห็นผล หลังจากการเลือกตั้งครั้งถัดไปของกรีซในปี 2008


 


สำหรับการรณรงค์ประท้วงครั้งนี้ส่วนใหญ่เป็นการจุดประเด็นขึ้นมาโดย ขบวนการแรงงาน , ขบวนการนักศึกษา รวมถึงกลุ่มพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายอื่นๆ ที่ต่อต้านนโยบายเสรีนิยม และหมดหวัง ศรัทธากับผู้แทนในรัฐสภากรีซ ที่ไม่ปกป้องผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ - ซึ่งหากการแปรรูปการศึกษาครั้งนี้มีผลสำเร็จ มีการหวาดกลัวถึงค่าเหล่าเรียนที่จะแพงขึ้น รวมถึงความไร้ประสิทธิภาพของอาจารย์ภายใต้ระบบการแย่งชิงครูอาจารย์แบบพนักงานบรรษัท


 


โดยเหตุผลของขบวนการต้านการแปรรูปมหาวิทยาลัยในกรีซ กลับมองว่าการแปรรูปจะไม่ได้นำการศึกษาไปในทางที่ดีขึ้น  แต่ "รัฐ" สมควรที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาให้มากกว่าเดิมต่างหาก  แทนที่จะปล่อยให้กลไกตลาดเข้าไปแทรกแซงระบบการศึกษา ด้วยวิธีการแปรรูป


 


 


 


แหล่งข้อมูล


 


http://english.aljazeera.net/NR/exeres/D0D7FDBF-BCD9-4A01-976A-498C90A5B971.htm


 


http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/6273193.stm


 


http://www.khaleejtimes.com/DisplayArticleNew.asp?xfile=data/theworld/2007/January/theworld_January479.xml&section=theworld&col=


 


http://www.socialistworker.co.uk/article.php?article_id=10493

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net