Skip to main content
sharethis


อ.อับดุชชะกูร์ บิน ชาฟิอีย์ ดินอะ (อับดุลสุโก ดินอะ)


ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา



 


ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสดามูฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน


 


เมื่อปลายปี 2549 พล..สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบกและประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ถูกนายนพรุจ วรชิตวุฒิกุล นำสมาชิกกลุ่มพิราบขาว 2006 ประมาณ 20 คน เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกถึง พล..สุรยุทธ์ ที่ทำเนียบรัฐบาล ผ่านกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ เมื่อเวลา 12.00. โดยเรียกร้องให้เอาผิดและปลด พล..สนธิออกจากตำแหน่ง


 


โดยกล่าวหา พล..สนธิจดทะเบียนสมรสซ้อน ซึ่งในสมัยที่ดำรงตำแหน่ง ร.. ได้จดทะเบียนสมรสกับนางสุกัลยาที่เขตดุสิต แต่พอติดยศ ร.. ได้จดทะเบียนสมรสอีกครั้งกับนางปิยะดา ที่อำเภอหล่มสัก.เพชรบูรณ์ ซึ่งถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137 ฐานแจ้งความเท็จ และมาตรา 157 ฐานประพฤติโดยมิชอบ อีกทั้งยังผิดวินัยราชการในส่วนกองทัพ


 


หลังจากข่าวนี้ได้แพร่สะพัดทำให้สื่อมวลชน ไม่ว่าจากทางวิทยุและโทรทัศน์ออกมาวิจารณ์ในแง่มุมต่างๆแต่ในแง่มุมหนึ่ง คือหลักการศาสนาอิสลาม เกี่ยวกับการมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน ซึ่งหากผู้ไม่มีความรอบรู้ในหลักการศาสนาอาจจะจะอธิบายผิดได้ ถึงแม้การวิจารณ์นั้นเป็นสิทธิของทุกคนในโลกของระบอบประชาธิปไตยก็ตาม ดังนั้น นักวิชาการอิสลามศึกษาจึงมีสิทธิเช่นกันในการอธิบายด้วยเหตุและผล


 


ถึงแม้ปัจจุบันกฎหมายของประเทศไทยหรือต่างประเทศจะกำหนดไว้ให้ชายจะต้องจดทะเบียนสมรสกับภรรยาเพียงคนเดียวก็ตาม แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่ว่าอดีตหรือปัจจุบัน มีผู้ชายมากมาย (ไม่ว่าจะร่ำรวยหรือยากจน มีหน้ามีตาในสังคมหรือไม่มี) ก็ยังมีภรรยามากกว่าหนึ่งคน หรือไปหาความสุขทางเพศกับหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยาของตนเอง อันก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ติดตามมา และผู้หญิงเองต้องตกเป็นเครื่องตอบสนองความต้องการทางเพศของผู้ชายที่ไม่รับผิดชอบ


 


ในขณะเดียวกันการที่กฎหมายกำหนดไว้ให้ชายจะต้องจดทะเบียนสมรสกับภรรยาเพียงคนเดียว ทำให้ภรรยาคนที่สองหรือสาม และลูกที่เกิดจากภรรยาคนที่สองหรือสาม ต้องถูกริดรอนสิทธิที่เขาเหล่านั้นควรได้รับตามกฎหมาย ดังนั้น การมีภรรยาหลายคนในศาสนาอิสลามจึงเป็นสิ่งที่ถูกอนุมัติโดยมีเงื่อนไข


ในคัมภีร์อัลกุรอานพระเจ้าได้ดำรัสความว่า


 


"….ดังนั้นเจ้าจงแต่งงานจากในหมู่หญิงที่สบใจแก่สูเจ้าสองหรือสามหรือสี่ ครั้นถ้าสูเจ้าเกรงว่าให้ความยุติธรรมไม่ได้ ดังนั้นจงแต่งเพียงคนเดียว" (อัลกุรอาน 4:3)


 


หากเราวิเคราะห์ถึงบทบัญญัติแห่งคัมภีร์กุรอานข้างต้น มีการกำหนดเงื่อนไขชัดเจน แต่ค่อนข้างจะปฏิบัติได้ยาก คือ "จะต้องให้ความยุติธรรม (ซึ่งหมายถึงการเลี้ยงดูภรรยาและบุตร) อย่างเท่าเทียมกัน" และถ้าปฏิบัติไม่ได้ ก็ให้มีเพียงหนึ่งเท่านั้น


 


ในหลักศาสนาอิสลามยอมรับความต้องการทางเพศของฝ่ายชาย แต่อิสลามก็ควบคุมความต้องการนั้นให้อยู่ในทางที่ถูกที่ควร คือ "การแต่งงาน" ไม่ใช่ไปหาความสุขทางเพศกับหญิงอื่นที่มิใช่ภรรยาของตนเอง


 


ในอิสลามถือว่าการมีความสัมพันธ์ทางเพศระหว่างชายหญิงโดยไม่ผ่านการแต่งงานมีความผิดร้ายแรงยิ่งนัก ในทางกลับกัน การมีความสัมพันธ์เช่นนี้ผ่านการแต่งงานกลับถูกนับเป็นความดี ยิ่งกว่านั้น สถาบันครอบครัวผ่านการแต่งงานถูกถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของสถาบันครอบครัว อันเป็นหน่วยย่อยของการสถาปนาประชาคมโลก


 


ด้วยเหตุนี้เอง หลักศาสนาจึงให้ความสำคัญต่อ "การแต่งงานที่โปร่งใส" เป็นไปตามความพึงพอใจระหว่างสองฝ่าย เรียบง่าย และไม่มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก


 


นอกจากนี้ อะไรก็ตามที่ทำให้หน่วยพื้นฐานนี้สั่นคลอนก็จะไม่ถูกยอมรับ อาทิ การที่ฝ่ายหญิงสามารถไปแต่งงานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองของนางเสียก่อน เพื่อไม่ให้การแต่งงานลดตัวไปเป็นเพียงแค่ชายหญิงพอใจอยู่ด้วยกัน หรือการแต่งงานโดยขาดพยานอย่างน้อยสองคน ป้องกันไม่ให้การแต่งงานเป็นเรื่องลับๆ


 


สำหรับระบบแฟนที่อยู่ก่อนแต่งและกำลังระบาดอยู่ ศาสนาอิสลามถือว่าเป็นอันตรายที่ถูกมองข้าม


 


ปัญหาการท้องก่อนแต่งที่ตามมา เกิดจากความสัมพันธ์แบบแฟนซึ่งเกิดขึ้นก่อนหน้า นี่จึงเป็นอันตรายที่หลายคนคิดไม่ถึง

แม้ว่าจะไม่มีเรื่องดังกล่าว (ปัญหาการท้องก่อนแต่ง) เกิดขึ้น แต่หากว่าทั้งคู่เลิกรากัน (บ่อยครั้งมักจะเป็นเช่นนั้น) คนที่มักจะเสียเปรียบมากคือฝ่ายหญิง เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากผู้ชายที่ดี



หากแต่งงานกับภรรยาหนึ่งคนแล้วยังไม่เพียงพอก็มีอีกได้ แต่ต้องไม่เกินสี่ โดยที่จะต้องทำพิธีแต่งงานอย่างถูกต้อง และให้ความยุติธรรมในการเลี้ยงดูบุตรและภรรยาทุกคนโดยเท่าเทียมกัน แม้กระทั่งในเรื่องของมรดก


 


การที่อัลลอฮวางข้อกำหนดไว้ไม่ให้ผู้ชายมีภรรยาเกินกว่า 4 คน ก็เพราะมุสลิมศรัทธาว่าพระองค์เป็นผู้สร้างมนุษย์ขึ้นมา และพระองค์ทรงรู้ความสามารถของมนุษย์เป็นอย่างดี ประเด็นสำคัญของหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ตรงที่ว่า ถึงแม้อิสลามจะอนุญาตให้ผู้ชายมีภรรยาได้ไม่เกิน 4 คน แต่อิสลามก็มิได้สนับสนุนหรือส่งเสริมการมีภรรยามากกว่าหนึ่งคนแต่ประการใด หากแต่หลักการนี้เป็นข้อกำหนดที่จะจำกัดจำนวนภรรยาของผู้ชายไว้ โดยมี "ความยุติธรรม" เป็นเงื่อนไขสำคัญ


 


ขณะเดียวกัน ก็เพื่อที่จะให้มุสลิมได้นำหลักการอิสลามไปใช้ในการแก้ปัญหาสังคมในบางสถานการณ์ที่จำเป็น เช่น ในกรณีที่ภรรยาป่วยเป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ภรรยาได้อย่างสมบูรณ์ หรือในกรณีที่ผู้ชายต้องล้มตายไปเป็นจำนวนมากในการทำสงครามจนก่อให้เกิดหญิงหม้ายและเด็กกำพร้า ซึ่งในกรณีนี้ ท่านศาสดามุฮัมมัดเองก็ได้ทำเป็นตัวอย่างให้เห็นแล้ว โดยการที่ท่านได้แต่งงานกับหญิงหม้ายบางคนที่มีอายุมากกว่า ทั้งนี้เพื่อยกฐานะของเธอโดยมิได้หวังการตอบสนองทางเพศแต่ประการใด


 


ดังนั้น การที่ชายมุสลิมมีภรรยามากกว่าหนึ่งคนและมีผลทำให้เกิดปัญหาครอบครัวขึ้นมานั้น เราจะไปโทษคำสอนของอิสลามไม่ได้ แต่ผู้ที่สมควรจะต้องได้รับการกล่าวโทษก็คือผู้ที่นำคำสอนของอิสลามไปปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องต่างหาก


 


ที่สำคัญ ชายมุสลิมส่วนใหญ่ที่มีสอง สามหรือสี่ มักรู้และเรียกร้องสิทธิเกี่ยวกับการมีภรรยามากกว่าหนึ่งถึงสี่ แต่ไม่เคยหวนกลับไปมองหน้าที่ที่เขาต้องรับผิดชอบต่อภรรยาอย่างเที่ยงธรรมเลย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net