บทความ: ควรปฏิรูปเฉพาะ "ตำรวจ" หรือทั้ง "กระบวนการยุติธรรม"

ชื่อบทความเดิม

เพื่อสร้างสังคมคุณธรรม : ควรปฏิรูปเฉพาะ "ตำรวจ" หรือทั้ง "กระบวนการยุติธรรม"

 

 

โชคชัย  วงษ์ตานี

อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

E-mail : chokchai.w@psu.ac.th

 

ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ

ขอความสันติสุขสวัสดีจงประสบแก่ทุกท่าน

 

เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลนี้มาจากการปฏิรูปและพร้อมรับฟังการปฏิรูประบบงานด้านต่างๆ ในการบริหารบ้านเมืองให้ดีขึ้น ผลงานการเลิกโฆษณาเหล้าและการทบทวนการขายหวยบนดินที่มอมเมาประชาชนโดยใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐเอง กำลังเป็นที่ประจักษ์ต่อการสร้างสังคมใฝ่คุณธรรมที่ตั้งธงไว้ว่าจะไปให้ถึง ซึ่งไม่มีรัฐบาลใดที่แสดงออกและพยายามเน้นหนักในด้านนี้อย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน

 

แม้ว่ารัฐบาลปัจจุบันจะบริหารงานโดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ แต่แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ว่าด้วย "การที่รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน" รัฐบาลนี้จึงมีโอกาสดีที่จะใช้ความเป็นรัฐบาลชั่วคราว พิจารณา ทบทวนและปฏิรูประบบงานด้านต่างๆได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว

 

กระบวนการยุติธรรม  หมายถึง กระบวนการพิสูจน์ความจริงให้เกิดความยุติธรรมตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ทนายความและคุมประพฤติ และหมายรวมถึง ขั้นตอนการดำเนินงานหรือการบริหารราชการอย่างเป็นระบบของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานสังกัดต่างๆข้างต้น ซึ่งการบริหารราชการดังกล่าวต้องเกี่ยวข้องกับการให้ความยุติธรรมและการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน 

 

การปฏิรูปด้านใดก็ตาม นอกจากจะมุ่งหวังการพัฒนาปรับปรุงระบบงานสู่สิ่งที่ดีขึ้น ดีกว่า ทั้งยังจะป้องกันไม่ให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ฉะนั้นเป้าประสงค์คือนำสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี โดยต้องรู้ว่าที่ผ่านมามันไม่ดีอย่างไร

 

ข้อเสนอในบทความนี้มุ่งสะท้อนความคิดเห็นแก่รัฐบาล หน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องที่พยายามมุ่งพัฒนาสังคมคุณธรรมและสร้างความรู้รักสามัคคีในหมู่ประชาชน ครอบคลุมหลักคิดและวิธีการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม พร้อมทั้งมุ่งสะท้อนปัญหาขยายมุมมองในการปฏิรูป โดยมองอย่างเชื่อมโยงระหว่างการปฏิรูปเฉพาะงานตำรวจเชื่อมโยงกับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่ประสบ นำสู่การหาทางออกต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

 

บทความนี้วางฐานคิดอยู่บนประเด็นที่ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ "ตำรวจ" ที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วจะทำให้เกิดความยุติธรรมให้สังคมและประชาชนได้ แต่ควรพิจารณาอย่างเป็นระบบทั้งกระบวนการยุติธรรมด้วย  โดยแยกการวิเคราะห์ถึงงานราชทัณฑ์ ตำรวจและกระบวนการยุติธรรม(ในบางเรื่อง)บางประเด็นที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจดูเหมารวมแต่ผู้เขียนทำหน้าที่สะท้อนบางส่วน ของความจริงที่เป็นปรากฏการณ์ ในสิ่งที่เรียกกันว่า "กระบวนการยุติธรรม" ด้วยข้อจำกัดด้านรูปแบบการนำเสนอ คงทำได้เพียงให้ข้อเสนอแนะในบางประเด็นจากสภาพจริงที่ประสบ จากคนนอกที่เฝ้ามองดูการทำงานของกระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้

 

งานราชทัณฑ์

การออกมายอมรับโดยอดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์เองว่า ระบบเรือนจำ ระบบการคุมขังในแบบปัจจุบันเองก็ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดสำหรับเรา แต่เป็นรูปแบบที่เรียกว่า"ถูกบังคับและเอาแบบอย่างจากเขา(ต่างประเทศ)มา โดยไม่ถามถึงความเหมาะสมกับบริบท ภูมิปัญญา และวิธีการจัดการกับผู้กระทำผิดแบบไทยๆ อีกทั้งยังเป็นคำถามต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการยุติธรรมไทย ซึ่งส่งผลถึงการขัดเกลาเปลี่ยนแปลงผู้ต้องขัง ผู้กระทำผิดให้กลับมาเป็นคนดี กลับสู่สังคม ซึ่งประเทศไทยเราครั้งอดีตเคยมีภูมิปัญญาในด้านการจัดการด้านความยุติธรรมแบบไทยๆ ที่สามารถกระชับกระบวนการ ในการแก้ไขปรับปรุงคนให้กลับมาเป็นคนดีได้ด้วย "วิธีการแบบไทยๆ"

 

ในอดีตระบบยุติธรรมของไทย เป็นระบบของการใช้อำนาจกำกับ บังคับ ควบคุม โดยเน้นทั้งคุณธรรม ศักดิ์ศรีและการสร้างวิธีการกล้ารับผิด ทั้งยังเน้นความเด็ดขาด ตรงไปตรงมาและส่งเสริมการให้อภัย ลุแก่โทษ โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะความผิด ข้อกล่าวหาและความร้ายแรงที่เป็นผลจากความผิด

 

การที่ผู้ถูกคุมขังสามารถเอาซิมการ์ดและโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งยาเสพติดและอาวุธเข้าไปใช้ในเรือนจำได้ (คำถามคือปล่อยให้เอาเขาไปได้อย่างไร?) นับเป็นการสะท้อนความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมที่มาจากงานราชทัณฑ์ ทั้งยังไม่รวมความไม่เท่าเทียมของผู้ถูกคุมขัง บางคนมีเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ ในระหว่างผู้ต้องโทษด้วยกัน ปัญหาคือ สิ่งเหล่านี้ผ่านการควบคุมของเจ้าหน้าที่เข้าไปได้อย่างไร หรือการตรวจของของเจ้าหน้าที่เน้นเฉพาะการป้องกันนักโทษหนี แต่ไม่เน้นการป้องกันการนำเข้า กับสิ่งที่ไม่เอื้อต่อการขัดเกลาคนในควบคุม ให้รู้สึกถึงความยุติธรรมและเท่าเทียม

 

ถ้าประเด็นเหล่านี้ควบคุมไม่ได้แล้ว จะหาความยุติธรรมในหมู่ผู้ที่เราคาดหวังว่าพวกเขาจะกลับมาเป็นคนดี และเป็นกลุ่มคนที่มีความจำเป็นที่สุดที่ควรจะได้รับผลดีจากกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร

 

ผลสำเร็จของการจองจำหรือการคุมขังน่าจะเป็นเรื่องของการทำอย่างไรให้ผู้รับโทษ กล้าที่จะยอมรับผิด เสียใจในสิ่งที่ทำ ขอลุแก่โทษ ขออภัยและชดเชยความเสียหายแก่คู่กรณี สำนึกผิด ไม่กลับไปทำอีกและใช้เวลาที่อยู่ในการจองจำ(ที่รับเลี้ยงด้วยภาษีของประชาชน)เพื่อการได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองทั้งทางด้านทักษะการหาเลี้ยงชีพ การเพิ่มพูนความรู้(ด้วยห้องสมุดราชทัณฑ์หรือวิธีอื่นๆ) และวิธีการปรับตัวเมื่อกลับสู่สังคมใหญ่ เพราะผู้ต้องหาเหล่านั้น ย่อมถูกทดสอบอย่างแน่นอนในการปรับตัวเข้าโลกภายนอกที่มีอิสรภาพแต่ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมที่จะเข้าใจ วางใจและให้โอกาสผู้เคยกระทำผิด

 

และในอีกมุมหนึ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ สังคมไทยต้อนรับการกับมาสู่สังคมใหญ่ของผู้ต้องขังนั้นเหล่านั้นอย่างไร

 

ด้วยความรู้ ความดี ความเงียบสงบและศาสนธรรม สิ่งเหล่านี้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกับผู้ทำผิด(พลาด)สามารถผ่านการขัดเกลา สร้างลักษณะนิสัย ปรับจิตใจที่อ่อนโยน ระลึกและสำนึกในความผิด ซึ่งน่าเป็นวิธีการได้ดีกว่า การเบียดเสียด ควบคุมเชิงพื้นที่ การลงโทษ ด่าท่อ การตีตรวนและเฆี่ยนตี เพราะวิธีการอย่างหลังไม่ได้เปลี่ยนแปลงคนในกลับสู่การเป็นคนดีและสำนึกผิดแบบที่ไม่กลับไปทำอีก(หรือนักโทษก็น่าจะมีสิทธิในการเรียกร้องถึงการได้รับการปฏิบัติอย่าง "สันติวิธีและการไม่ใช้ความรุนแรง")

 

ตำรวจ

งานตำรวจ เป็นหน่วยงานที่ต้องยอมรับความจริงว่าสูญเสียความไว้วางใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ด้วยปรากฏการณ์หรือข่าวสารทางสังคมที่ออกมาจนทำให้ตำรวจดีๆหลายคนพลอยรับผลในด้านลบไปด้วย  ภารกิจของตำรวจมีมากครอบคลุมหลายวิธีการทั้งที่เป็นการงานป้องปราม ตรวจสอบ จับกุม สอบสวน กักขัง งานของตำรวจจึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนเป็นเบื้องต้น ภารกิจหลักของตำรวจเป็นเสมือนด่านแรกและด่านสำคัญของการเข้าสู่การกระบวนยุติธรรม

 

การปราบปราม สืบสวนคดีความต่างๆ บางคดีจบลงด้วยการที่สามารถจับกุมหาตัวคนร้ายมาลงโทษได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นศักยภาพสำคัญที่พึ่งรักษาและส่งเสริมให้คงไว้แต่อีกด้านหนึ่ง

 

เรื่องตำรวจกับการกำกับดูแลการจราจร นับเป็นปัญหาที่แก้ไม่หาย ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การทำผิดกฎจราจรทำไมต้องปรับเงิน จ่ายค่าปรับแล้วแก้ไขปัญหาจากความผิดเหล่านั้นได้ตรงไหน(เชื่อได้อย่างไรว่าจ่ายสตางค์แล้วจะนำสู่การแก้ไข) จ่ายแล้วทำให้ความผิดกลายเป็นความถูกต้องหรือผ่านพ้นจากความผิดได้จริงหรือ แล้วค่าปรับเหล่านั้นไปไหน นำไปใช้ทำอะไร รัฐคงไม่มุ่งแสวงหารายได้จากส่วนแบ่งเงินค่าปรับ ที่ได้จากความผิดของผู้ขับขี่เช่นนี้แน่

 

ส่วนเรื่องการไต่สวนของตำรวจที่พยายาม อธิบายหรือใช้ข้ออ้างให้เห็นแต่ข้อหาและความผิดมากกว่าจะสร้างทางออกและแก้ไขปัญหา ให้กรณีความผิดต่างๆที่เกิดขึ้นจบลงโดยง่ายและยุติธรรม การตั้งข้อหาความผิดที่ถูกจัดให้ผู้ทำผิดกฎการจราจร เป็นการตั้งข้อหาความผิดให้เหมือน "ยาชุด" เพื่อบอกถึงความรุนแรงของความผิด พร้อมทั้งการตั้งข้อกล่าวหากับผู้กระทำผิดกฎเพื่อจับปรับในราคาที่สูงขึ้น มีอัตราที่ไม่แน่นอน โดยเหลือดุลพินิจให้โต้แย้งและต่อรองได้

 

การจะส่งเสริมให้ผู้ขับขี่เคารพกฎกติกาการจราจรควรแก้ไขด้วยการให้ความรู้ ฝึกระเบียบ รู้หน้าที่ การมีน้ำใจตั้งแต่ก่อนออกใบขับขี่ เพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไขการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ไม่ใช่เป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์จากเปอร์เซ็นต์ค่าปรับที่มาจากการที่ตนมีสิทธิหน้าที่ควบคุมกติกา

 

อีกประเด็นที่อยากตั้งคำถาม คือ "ผู้ต้องสงสัย" ต่างจาก "ผู้ต้องหา" อย่างไร และผู้ต้องสงสัยทำไมต้องใส่กุญแจมือ ทำไมต้องถูกกักขังเพราะว่าแค่ "สงสัย" แต่ทำไมทำเหมือนมีความผิด ทั้งที่อาจจะยังไม่ได้ทำผิด ถามจากเจ้าหน้าที่บางท่านยังตอบไม่ได้เลย รู้เพียงแต่ว่าเขาทำมาอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้นโดยไม่ได้ฉุกคิดและตั้งคำถาม หรือการอ้างบอกว่าเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี

 

ดังนั้น คำถามที่น่าจะนำสู่การปฏิรูปตำรวจควรเป็นอย่างไร

 

ทำอย่างไรให้ตำรวจของประชาชนไทย มีศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจในอาชีพ รักษาชื่อเสียง(ไม่กระทำการที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ ความเป็นที่ไว้วางใจและความเป็นที่เคารพของอาชีพตน) เป็นที่พึ่งและไว้วางใจต่อประชาชน เป็นเพื่อนที่ประชาชนหรือวัยรุ่นอยากขอคำปรึกษา และอยากช่วยตำรวจในการพิทักษ์ปกป้องซึ่งความดี

 

ทำอย่างไรที่จะพัฒนาตำรวจให้เข้าใจเส้นแบ่งระหว่างการปราบปรามและการป้องปรามรวมทั้งส่งเสริมการไกล่เกลี่ยหาทางออกก่อนการตั้งข้อหาโดยใช้กฎหมาย

 

ทำอย่างไรที่จะทำให้งบประมาณของตำรวจมีสัดส่วนของเงินเดือนที่มีงบเหลือพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างพอเพียง ทำอย่างไรให้เงินเดือนตำรวจพอกับการเลี้ยงตนเองและครอบครัว มีรายได้เหมาะสมและเท่าเทียมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆในงานกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นศาล ทนาย หรือผู้พิพากษาเพราะตำรวจก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงความยุติธรรมในชั้นต้น เพราะว่าปลายทางจะดีไม่ได้เลยถ้าต้นทางไม่ดี

 

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยไม่ใส่ใจหรือไม่เน้นหนักตรงที่เนื้อหารายละเอียด ที่มาจากผลการปฏิบัติงาน สวัสดิการที่พอเพียงและการปฏิสัมพันธ์กับประชาชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับล่าง จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะการเปลี่ยนแปลงระดับผู้กำกับ ผู้การภาค ผู้บัญชาการ ที่คอยอำนวยงาน ควบคุมดูแลโดยไม่ดูรายละเอียดที่มาจากการปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่ในการบริการของตำรวจ จะไม่ส่งผลทั้งในเชิงภาพลักษณ์และผลการปฏิบัติจริง เพราะประชาชนส่วนมากเห็นตำรวจจากผลการปฏิบัติงาน ที่เห็นตำรวจปฏิบัติต่อเขา โดยมีที่มาจากรายละเอียดมากกว่าจะดูที่โครงสร้างว่าถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไร

 

กระบวนการยุติธรรม

งานในระบบการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่ยาวและมีขั้นตอนมากมาย กว่าจะทำให้ทุกอย่างจบลง เพราะเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ครอบคลุมทุกเพศ ทุกลักษณะความผิด พร้อมทั้งต้องทำงานเชื่อมโยงหน่วยงานที่มีลักษณะงาน เป้าหมายและวิธีการจัดการที่แตกต่างกับ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ทนายความ งานการคุมประพฤติ สถานพินิจฯ และการบังคับคดี เป็นกระบวนการในชนิดทีเรียกว่า ระหว่างทางเข้ากับทางออกของคดีความ ผู้ต้องการความยุติธรรม "ต้องเดินทางไกล"

 

ศาลตัดสินจากสำนวนและคำให้การที่ผ่านช่วงเวลาเกิดเหตุ มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเนื้อหาเชื่อได้ว่าความจริงย่อมเปลี่ยนรูปและหดตัว ตามกาลเวลา การพิจารณาคดีให้จบอย่างรวดเร็วและแม่นยำและลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างไม่ผิดตัว เหมาะสมกับระดับความผิดรวมทั้งทำอย่างไรให้คู่กรณีหันมายกโทษ ให้อภัย และนำสู่การสมานฉันท์ สร้างความร่วมมือกันต่อกันได้ ประเด็นเหล่านี้ จึงน่าจะเป็นเป้าหมายของกระบวนการยุติธรรม

 

ในขั้นตอนของการสืบสวน สอบสวนควรจะได้รับการให้ความสำคัญ การคัดสำนวนที่ไม่บิดหรือเปลี่ยนแปลงความหมายของความจริงที่เกิดขึ้น เพราะกระบวนการกว่าจะถึงการที่ศาลพิพากษานั้น ทำให้ความจริงที่ต้องทำให้เกิดความยุติธรรมนั้น "เดินทางไกล" ส่วนนั้นตำรวจทำได้เพียงส่ง "สำนวนการสืบสวนสอบสวน" (ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความจริง ที่หาได้จากคดีความ) แล้วส่งสำนวนนั้นขึ้นสู่ศาล ผ่านทนายความ พยาน ผ่านกระบวนการศาล จนถึงผู้พิพากษา การพิจารณาอย่างแยกส่วนเช่นนี้จะยังคงความยุติธรรมทั้งเนื้อหาและผลการตัดสินอยู่อีกหรือ

 

ในขั้นตอนทางศาลและการพิจารณาคดี ควรคงทนายความที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและความถูกต้อง ไม่ควรส่งเสริมให้มีทนายความที่ต่อสู้เพื่อนักพนัน ธุรกิจที่ขัดกับศีลธรรม ควรยกเลิกระบบทนายที่หากินกับความผิดหรือการต่อสู้ในทางศาลเพียงเพื่อการชนะคดี โดยไม่ใยดีกับความถูกต้อง ไม่ดูที่ผลกระทบว่าชนะคดีแบบอยุติธรรมแล้วส่งผลต่อผู้ที่เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งได้มีคุณค่าเพียงใด เพราะประชาชนบางส่วนที่เคยเข้าสู้คดีในระบบนี้แล้วประสบกับการเสียเงินมากกว่าจะได้รับความยุติธรรม

 

กระบวนการยุติธรรมยุคใหม่ จึงต้องปรับตัวในทันกับยุคสมัยและความรวดเร็วมีกระบวนการที่กระชับและแม่นยำ(ไม่ผิดตัว เหมาะสมกับความผิด)โดยที่ยังดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การส่งเสริมด้านงานยุติธรรมชุมชน การไกล่เกลี่ยโดยชาวบ้านเองด้วยการแยกแยะประเด็นปัญหา ดูเนื้อหาเรื่องคดีความที่แก้ไข ไกล่เกลี่ยนอกศาลได้ โดยลดจำนวนเรื่องเข้าที่จะเข้าสู่การแสวงหาความยุติธรรมโดยเจ้าหน้า ที่ซึ่งเป็นการลดภาระงานและลดคดีที่นำสู่ศาล

 

หรือทางออกเช่น การกระจายอำนาจด้านภารกิจด้านความยุติธรรม โดยให้ทั้งงานตำรวจและระบบงานบางส่วนในกระบวนการยุติธรรมบางภารกิจมาขึ้นอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอีกทางออกหนึ่งที่น่าสนใจ ทำอย่างไรให้กระบวนการยุติธรรมเป็นของท้องถิ่น ชาวบ้านคาดหวังได้กับความยุติธรรมที่ไม่รอนานและต้องทนทรมานกว่าจะได้มา

 

การทำให้กระบวนการยุติธรรมกระชับ(ทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมโยง)หรือทำให้ความจริงที่ได้จากการสืบสวนเป็นสำนวนเดินทางสั้นที่สุดก่อนนำสู่การตัดสิน) ย่อมส่งผลดีกว่าการแยกส่วนในงานอำนวยความยุติธรรม ที่ทั้งตำรวจ ราชทัณฑ์ นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์และประชาชนทั่วไป มีระบบที่สามารถร่วมกันพิจารณางานยุติธรรมทั้งกระบวนการในทุกขั้นตอน

 

คำถามที่ควรเป็นของกระบวนการยุติธรรมไทยคือ ทั้งระบบว่ากระบวนการยุติธรรมให้และคุ้มครองความยุติธรรมให้กับทุกคนได้จริงหรือเปล่า แค่ไหนคือสิ่งที่คาดหวังได้กับกระบวนการยุติธรรมไทยจะให้ได้ในบริบทของประเทศปัจจุบันที่มีทั้งความขัดแย้ง แตกต่าง การละเมิดสิทธิและผลจากการใช้วิธีการผิด/นอกกฎหมาย ที่เป็นผลจากรัฐบาลที่แล้วและที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน

 

การทบทวนงานยุติธรรมของประเทศทั้งกระบวนการ ไม่ใช่ความล้มเหลวของระบบยุติธรรมไทย แต่เป็นการแสวงหาวิธีการวางรากฐานใหม่ ด้วยการเรียนรู้อดีต ดำรงข้อดีและแก้ไขข้อเสียในปัจจุบัน และมีความหวังกับความยุติธรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

 

สรุป

อนาคตของประเทศไทยวางอยู่บนหลักคิดของความพอเพียง รู้รักสามัคคี และการเคารพความหลากหลายและที่สำคัญคือความยุติธรรมนี้ จะเป็นหลักการที่สำคัญที่กำหนดอนาคตในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ราชทัณฑ์ ระบบศาลหรือการพิพากษาในกระบวนการยุติธรรมล้วนสำคัญในการนำประเทศไปสู่เป้าหมายข้างต้น

 

ด้วยกับการสร้างสรรค์สังคมไทยในอนาคต ที่มุ่งหวังความเป็นสังคมดำรงคุณธรรมและสร้างความรู้รักสามัคคี ประชาชนอย่างเรา ควรได้ตระหนักได้ว่า "เราไม่มีความปรารถนาที่จะมีอำนาจเหนือคู่กรณีและเจ้าหน้าที่ ที่กำกับดูแลอำนวยความยุติธรรม แต่เราต้องการอยู่กับความยุติธรรมในแบบที่เสมอภาคและสร้างสรรค์ ที่ทำให้ทั้งเรา คู่กรณีและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย สามารถเดินร่วมกันบนท้องถนนได้อย่างมีศักดิ์ศรี 

 

รัฐบาลจึงต้อง "กล้า" ที่จะปรับเปลี่ยนและสร้างสิ่งที่สามารถมี "ความหวัง" ได้จากความยุติธรรม ด้วยชัยชนะของความยุติธรรมที่มีต่อความอยุติธรรม อันได้มาจาก กระบวนการยุติธรรมไทย และจะเป็นชัยชนะที่เป็นคุณประโยชน์สูงสุด นอกจากจะก่อให้เกิดเสถียรภาพของรัฐบาลเองแล้วยังจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อระบบยุติธรรมและดีต่อคนไทยทุกคน แม้ว่าเขาจะเป็นคนเล็กๆที่มีสิทธิแต่เสียงร้องไม่ค่อยดังหรือผู้กำกับดูแลอำนวยความยุติธรรมเองก็ตาม

 

เพราะไม่เฉพาะ "ใครบางคน" เท่านั้นที่รักและแสวงหาสิ่งนี้ มนุษย์ทั่วไปทุกคนล้วนแต่ "รักและแสวงหาความยุติธรรม" เช่นเดียวกัน

 

ชื่อบทความเดิม

เพื่อสร้างสังคมคุณธรรม : ควรปฏิรูปเฉพาะ "ตำรวจ" หรือทั้ง "กระบวนการยุติธรรม"

 

 

โชคชัย  วงษ์ตานี

อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

E-mail : chokchai.w@psu.ac.th

 

ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ

ขอความสันติสุขสวัสดีจงประสบแก่ทุกท่าน

 

เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลนี้มาจากการปฏิรูปและพร้อมรับฟังการปฏิรูประบบงานด้านต่างๆ ในการบริหารบ้านเมืองให้ดีขึ้น ผลงานการเลิกโฆษณาเหล้าและการทบทวนการขายหวยบนดินที่มอมเมาประชาชนโดยใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐเอง กำลังเป็นที่ประจักษ์ต่อการสร้างสังคมใฝ่คุณธรรมที่ตั้งธงไว้ว่าจะไปให้ถึง ซึ่งไม่มีรัฐบาลใดที่แสดงออกและพยายามเน้นหนักในด้านนี้อย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน

 

แม้ว่ารัฐบาลปัจจุบันจะบริหารงานโดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ แต่แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ว่าด้วย "การที่รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน" รัฐบาลนี้จึงมีโอกาสดีที่จะใช้ความเป็นรัฐบาลชั่วคราว พิจารณา ทบทวนและปฏิรูประบบงานด้านต่างๆได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว

 

กระบวนการยุติธรรม  หมายถึง กระบวนการพิสูจน์ความจริงให้เกิดความยุติธรรมตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ทนายความและคุมประพฤติ และหมายรวมถึง ขั้นตอนการดำเนินงานหรือการบริหารราชการอย่างเป็นระบบของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานสังกัดต่างๆข้างต้น ซึ่งการบริหารราชการดังกล่าวต้องเกี่ยวข้องกับการให้ความยุติธรรมและการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน 

 

การปฏิรูปด้านใดก็ตาม นอกจากจะมุ่งหวังการพัฒนาปรับปรุงระบบงานสู่สิ่งที่ดีขึ้น ดีกว่า ทั้งยังจะป้องกันไม่ให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ฉะนั้นเป้าประสงค์คือนำสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี โดยต้องรู้ว่าที่ผ่านมามันไม่ดีอย่างไร

 

ข้อเสนอในบทความนี้มุ่งสะท้อนความคิดเห็นแก่รัฐบาล หน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องที่พยายามมุ่งพัฒนาสังคมคุณธรรมและสร้างความรู้รักสามัคคีในหมู่ประชาชน ครอบคลุมหลักคิดและวิธีการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม พร้อมทั้งมุ่งสะท้อนปัญหาขยายมุมมองในการปฏิรูป โดยมองอย่างเชื่อมโยงระหว่างการปฏิรูปเฉพาะงานตำรวจเชื่อมโยงกับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่ประสบ นำสู่การหาทางออกต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

 

บทความนี้วางฐานคิดอยู่บนประเด็นที่ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ "ตำรวจ" ที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วจะทำให้เกิดความยุติธรรมให้สังคมและประชาชนได้ แต่ควรพิจารณาอย่างเป็นระบบทั้งกระบวนการยุติธรรมด้วย  โดยแยกการวิเคราะห์ถึงงานราชทัณฑ์ ตำรวจและกระบวนการยุติธรรม(ในบางเรื่อง)บางประเด็นที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจดูเหมารวมแต่ผู้เขียนทำหน้าที่สะท้อนบางส่วน ของความจริงที่เป็นปรากฏการณ์ ในสิ่งที่เรียกกันว่า "กระบวนการยุติธรรม" ด้วยข้อจำกัดด้านรูปแบบการนำเสนอ คงทำได้เพียงให้ข้อเสนอแนะในบางประเด็นจากสภาพจริงที่ประสบ จากคนนอกที่เฝ้ามองดูการทำงานของกระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้

 

งานราชทัณฑ์

การออกมายอมรับโดยอดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์เองว่า ระบบเรือนจำ ระบบการคุมขังในแบบปัจจุบันเองก็ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดสำหรับเรา แต่เป็นรูปแบบที่เรียกว่า"ถูกบังคับและเอาแบบอย่างจากเขา(ต่างประเทศ)มา โดยไม่ถามถึงความเหมาะสมกับบริบท ภูมิปัญญา และวิธีการจัดการกับผู้กระทำผิดแบบไทยๆ อีกทั้งยังเป็นคำถามต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการยุติธรรมไทย ซึ่งส่งผลถึงการขัดเกลาเปลี่ยนแปลงผู้ต้องขัง ผู้กระทำผิดให้กลับมาเป็นคนดี กลับสู่สังคม ซึ่งประเทศไทยเราครั้งอดีตเคยมีภูมิปัญญาในด้านการจัดการด้านความยุติธรรมแบบไทยๆ ที่สามารถกระชับกระบวนการ ในการแก้ไขปรับปรุงคนให้กลับมาเป็นคนดีได้ด้วย "วิธีการแบบไทยๆ"

 

ในอดีตระบบยุติธรรมของไทย เป็นระบบของการใช้อำนาจกำกับ บังคับ ควบคุม โดยเน้นทั้งคุณธรรม ศักดิ์ศรีและการสร้างวิธีการกล้ารับผิด ทั้งยังเน้นความเด็ดขาด ตรงไปตรงมาและส่งเสริมการให้อภัย ลุแก่โทษ โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะความผิด ข้อกล่าวหาและความร้ายแรงที่เป็นผลจากความผิด

 

การที่ผู้ถูกคุมขังสามารถเอาซิมการ์ดและโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งยาเสพติดและอาวุธเข้าไปใช้ในเรือนจำได้ (คำถามคือปล่อยให้เอาเขาไปได้อย่างไร?) นับเป็นการสะท้อนความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมที่มาจากงานราชทัณฑ์ ทั้งยังไม่รวมความไม่เท่าเทียมของผู้ถูกคุมขัง บางคนมีเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ ในระหว่างผู้ต้องโทษด้วยกัน ปัญหาคือ สิ่งเหล่านี้ผ่านการควบคุมของเจ้าหน้าที่เข้าไปได้อย่างไร หรือการตรวจของของเจ้าหน้าที่เน้นเฉพาะการป้องกันนักโทษหนี แต่ไม่เน้นการป้องกันการนำเข้า กับสิ่งที่ไม่เอื้อต่อการขัดเกลาคนในควบคุม ให้รู้สึกถึงความยุติธรรมและเท่าเทียม

 

ถ้าประเด็นเหล่านี้ควบคุมไม่ได้แล้ว จะหาความยุติธรรมในหมู่ผู้ที่เราคาดหวังว่าพวกเขาจะกลับมาเป็นคนดี และเป็นกลุ่มคนที่มีความจำเป็นที่สุดที่ควรจะได้รับผลดีจากกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร

 

ผลสำเร็จของการจองจำหรือการคุมขังน่าจะเป็นเรื่องของการทำอย่างไรให้ผู้รับโทษ กล้าที่จะยอมรับผิด เสียใจในสิ่งที่ทำ ขอลุแก่โทษ ขออภัยและชดเชยความเสียหายแก่คู่กรณี สำนึกผิด ไม่กลับไปทำอีกและใช้เวลาที่อยู่ในการจองจำ(ที่รับเลี้ยงด้วยภาษีของประชาชน)เพื่อการได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองทั้งทางด้านทักษะการหาเลี้ยงชีพ การเพิ่มพูนความรู้(ด้วยห้องสมุดราชทัณฑ์หรือวิธีอื่นๆ) และวิธีการปรับตัวเมื่อกลับสู่สังคมใหญ่ เพราะผู้ต้องหาเหล่านั้น ย่อมถูกทดสอบอย่างแน่นอนในการปรับตัวเข้าโลกภายนอกที่มีอิสรภาพแต่ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมที่จะเข้าใจ วางใจและให้โอกาสผู้เคยกระทำผิด

 

และในอีกมุมหนึ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ สังคมไทยต้อนรับการกับมาสู่สังคมใหญ่ของผู้ต้องขังนั้นเหล่านั้นอย่างไร

 

ด้วยความรู้ ความดี ความเงียบสงบและศาสนธรรม สิ่งเหล่านี้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกับผู้ทำผิด(พลาด)สามารถผ่านการขัดเกลา สร้างลักษณะนิสัย ปรับจิตใจที่อ่อนโยน ระลึกและสำนึกในความผิด ซึ่งน่าเป็นวิธีการได้ดีกว่า การเบียดเสียด ควบคุมเชิงพื้นที่ การลงโทษ ด่าท่อ การตีตรวนและเฆี่ยนตี เพราะวิธีการอย่างหลังไม่ได้เปลี่ยนแปลงคนในกลับสู่การเป็นคนดีและสำนึกผิดแบบที่ไม่กลับไปทำอีก(หรือนักโทษก็น่าจะมีสิทธิในการเรียกร้องถึงการได้รับการปฏิบัติอย่าง "สันติวิธีและการไม่ใช้ความรุนแรง")

 

ตำรวจ

งานตำรวจ เป็นหน่วยงานที่ต้องยอมรับความจริงว่าสูญเสียความไว้วางใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ด้วยปรากฏการณ์หรือข่าวสารทางสังคมที่ออกมาจนทำให้ตำรวจดีๆหลายคนพลอยรับผลในด้านลบไปด้วย  ภารกิจของตำรวจมีมากครอบคลุมหลายวิธีการทั้งที่เป็นการงานป้องปราม ตรวจสอบ จับกุม สอบสวน กักขัง งานของตำรวจจึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนเป็นเบื้องต้น ภารกิจหลักของตำรวจเป็นเสมือนด่านแรกและด่านสำคัญของการเข้าสู่การกระบวนยุติธรรม

 

การปราบปราม สืบสวนคดีความต่างๆ บางคดีจบลงด้วยการที่สามารถจับกุมหาตัวคนร้ายมาลงโทษได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นศักยภาพสำคัญที่พึ่งรักษาและส่งเสริมให้คงไว้แต่อีกด้านหนึ่ง

 

เรื่องตำรวจกับการกำกับดูแลการจราจร นับเป็นปัญหาที่แก้ไม่หาย ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การทำผิดกฎจราจรทำไมต้องปรับเงิน จ่ายค่าปรับแล้วแก้ไขปัญหาจากความผิดเหล่านั้นได้ตรงไหน(เชื่อได้อย่างไรว่าจ่ายสตางค์แล้วจะนำสู่การแก้ไข) จ่ายแล้วทำให้ความผิดกลายเป็นความถูกต้องหรือผ่านพ้นจากความผิดได้จริงหรือ แล้วค่าปรับเหล่านั้นไปไหน นำไปใช้ทำอะไร รัฐคงไม่มุ่งแสวงหารายได้จากส่วนแบ่งเงินค่าปรับ ที่ได้จากความผิดของผู้ขับขี่เช่นนี้แน่

 

ส่วนเรื่องการไต่สวนของตำรวจที่พยายาม อธิบายหรือใช้ข้ออ้างให้เห็นแต่ข้อหาและความผิดมากกว่าจะสร้างทางออกและแก้ไขปัญหา ให้กรณีความผิดต่างๆที่เกิดขึ้นจบลงโดยง่ายและยุติธรรม การตั้งข้อหาความผิดที่ถูกจัดให้ผู้ทำผิดกฎการจราจร เป็นการตั้งข้อหาความผิดให้เหมือน "ยาชุด" เพื่อบอกถึงความรุนแรงของความผิด พร้อมทั้งการตั้งข้อกล่าวหากับผู้กระทำผิดกฎเพื่อจับปรับในราคาที่สูงขึ้น มีอัตราที่ไม่แน่นอน โดยเหลือดุลพินิจให้โต้แย้งและต่อรองได้

 

การจะส่งเสริมให้ผู้ขับขี่เคารพกฎกติกาการจราจรควรแก้ไขด้วยการให้ความรู้ ฝึกระเบียบ รู้หน้าที่ การมีน้ำใจตั้งแต่ก่อนออกใบขับขี่ เพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไขการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ไม่ใช่เป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์จากเปอร์เซ็นต์ค่าปรับที่มาจากการที่ตนมีสิทธิหน้าที่ควบคุมกติกา

 

อีกประเด็นที่อยากตั้งคำถาม คือ "ผู้ต้องสงสัย" ต่างจาก "ผู้ต้องหา" อย่างไร และผู้ต้องสงสัยทำไมต้องใส่กุญแจมือ ทำไมต้องถูกกักขังเพราะว่าแค่ "สงสัย" แต่ทำไมทำเหมือนมีความผิด ทั้งที่อาจจะยังไม่ได้ทำผิด ถามจากเจ้าหน้าที่บางท่านยังตอบไม่ได้เลย รู้เพียงแต่ว่าเขาทำมาอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้นโดยไม่ได้ฉุกคิดและตั้งคำถาม หรือการอ้างบอกว่าเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี

 

ดังนั้น คำถามที่น่าจะนำสู่การปฏิรูปตำรวจควรเป็นอย่างไร

 

ทำอย่างไรให้ตำรวจของประชาชนไทย มีศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจในอาชีพ รักษาชื่อเสียง(ไม่กระทำการที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ ความเป็นที่ไว้วางใจและความเป็นที่เคารพของอาชีพตน) เป็นที่พึ่งและไว้วางใจต่อประชาชน เป็นเพื่อนที่ประชาชนหรือวัยรุ่นอยากขอคำปรึกษา และอยากช่วยตำรวจในการพิทักษ์ปกป้องซึ่งความดี

 

ทำอย่างไรที่จะพัฒนาตำรวจให้เข้าใจเส้นแบ่งระหว่างการปราบปรามและการป้องปรามรวมทั้งส่งเสริมการไกล่เกลี่ยหาทางออกก่อนการตั้งข้อหาโดยใช้กฎหมาย

 

ทำอย่างไรที่จะทำให้งบประมาณของตำรวจมีสัดส่วนของเงินเดือนที่มีงบเหลือพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างพอเพียง ทำอย่างไรให้เงินเดือนตำรวจพอกับการเลี้ยงตนเองและครอบครัว มีรายได้เหมาะสมและเท่าเทียมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆในงานกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นศาล ทนาย หรือผู้พิพากษาเพราะตำรวจก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงความยุติธรรมในชั้นต้น เพราะว่าปลายทางจะดีไม่ได้เลยถ้าต้นทางไม่ดี

 

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยไม่ใส่ใจหรือไม่เน้นหนักตรงที่เนื้อหารายละเอียด ที่มาจากผลการปฏิบัติงาน สวัสดิการที่พอเพียงและการปฏิสัมพันธ์กับประชาชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับล่าง จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะการเปลี่ยนแปลงระดับผู้กำกับ ผู้การภาค ผู้บัญชาการ ที่คอยอำนวยงาน ควบคุมดูแลโดยไม่ดูรายละเอียดที่มาจากการปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่ในการบริการของตำรวจ จะไม่ส่งผลทั้งในเชิงภาพลักษณ์และผลการปฏิบัติจริง เพราะประชาชนส่วนมากเห็นตำรวจจากผลการปฏิบัติงาน ที่เห็นตำรวจปฏิบัติต่อเขา โดยมีที่มาจากรายละเอียดมากกว่าจะดูที่โครงสร้างว่าถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไร

 

กระบวนการยุติธรรม

งานในระบบการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่ยาวและมีขั้นตอนมากมาย กว่าจะทำให้ทุกอย่างจบลง เพราะเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ครอบคลุมทุกเพศ ทุกลักษณะความผิด พร้อมทั้งต้องทำงานเชื่อมโยงหน่วยงานที่มีลักษณะงาน เป้าหมายและวิธีการจัดการที่แตกต่างกับ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ทนายความ งานการคุมประพฤติ สถานพินิจฯ และการบังคับคดี เป็นกระบวนการในชนิดทีเรียกว่า ระหว่างทางเข้ากับทางออกของคดีความ ผู้ต้องการความยุติธรรม "ต้องเดินทางไกล"

 

ศาลตัดสินจากสำนวนและคำให้การที่ผ่านช่วงเวลาเกิดเหตุ มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเนื้อหาเชื่อได้ว่าความจริงย่อมเปลี่ยนรูปและหดตัว ตามกาลเวลา การพิจารณาคดีให้จบอย่างรวดเร็วและแม่นยำและลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างไม่ผิดตัว เหมาะสมกับระดับความผิดรวมทั้งทำอย่างไรให้คู่กรณีหันมายกโทษ ให้อภัย และนำสู่การสมานฉันท์ สร้างความร่วมมือกันต่อกันได้ ประเด็นเหล่านี้ จึงน่าจะเป็นเป้าหมายของกระบวนการยุติธรรม

 

ในขั้นตอนของการสืบสวน สอบสวนควรจะได้รับการให้ความสำคัญ การคัดสำนวนที่ไม่บิดหรือเปลี่ยนแปลงความหมายของความจริงที่เกิดขึ้น เพราะกระบวนการกว่าจะถึงการที่ศาลพิพากษานั้น ทำให้ความจริงที่ต้องทำให้เกิดความยุติธรรมนั้น "เดินทางไกล" ส่วนนั้นตำรวจทำได้เพียงส่ง "สำนวนการสืบสวนสอบสวน" (ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความจริง ที่หาได้จากคดีความ) แล้วส่งสำนวนนั้นขึ้นสู่ศาล ผ่านทนายความ พยาน ผ่านกระบวนการศาล จนถึงผู้พิพากษา การพิจารณาอย่างแยกส่วนเช่นนี้จะยังคงความยุติธรรมทั้งเนื้อหาและผลการตัดสินอยู่อีกหรือ

 

ในขั้นตอนทางศาลและการพิจารณาคดี ควรคงทนายความที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและความถูกต้อง ไม่ควรส่งเสริมให้มีทนายความที่ต่อสู้เพื่อนักพนัน ธุรกิจที่ขัดกับศีลธรรม ควรยกเลิกระบบทนายที่หากินกับความผิดหรือการต่อสู้ในทางศาลเพียงเพื่อการชนะคดี โดยไม่ใยดีกับความถูกต้อง ไม่ดูที่ผลกระทบว่าชนะคดีแบบอยุติธรรมแล้วส่งผลต่อผู้ที่เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งได้มีคุณค่าเพียงใด เพราะประชาชนบางส่วนที่เคยเข้าสู้คดีในระบบนี้แล้วประสบกับการเสียเงินมากกว่าจะได้รับความยุติธรรม

 

กระบวนการยุติธรรมยุคใหม่ จึงต้องปรับตัวในทันกับยุคสมัยและความรวดเร็วมีกระบวนการที่กระชับและแม่นยำ(ไม่ผิดตัว เหมาะสมกับความผิด)โดยที่ยังดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การส่งเสริมด้านงานยุติธรรมชุมชน การไกล่เกลี่ยโดยชาวบ้านเองด้วยการแยกแยะประเด็นปัญหา ดูเนื้อหาเรื่องคดีความที่แก้ไข ไกล่เกลี่ยนอกศาลได้ โดยลดจำนวนเรื่องเข้าที่จะเข้าสู่การแสวงหาความยุติธรรมโดยเจ้าหน้า ที่ซึ่งเป็นการลดภาระงานและลดคดีที่นำสู่ศาล

 

หรือทางออกเช่น การกระจายอำนาจด้านภารกิจด้านความยุติธรรม โดยให้ทั้งงานตำรวจและระบบงานบางส่วนในกระบวนการยุติธรรมบางภารกิจมาขึ้นอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอีกทางออกหนึ่งที่น่าสนใจ ทำอย่างไรให้กระบวนการยุติธรรมเป็นของท้องถิ่น ชาวบ้านคาดหวังได้กับความยุติธรรมที่ไม่รอนานและต้องทนทรมานกว่าจะได้มา

 

การทำให้กระบวนการยุติธรรมกระชับ(ทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมโยง)หรือทำให้ความจริงที่ได้จากการสืบสวนเป็นสำนวนเดินทางสั้นที่สุดก่อนนำสู่การตัดสิน) ย่อมส่งผลดีกว่าการแยกส่วนในงานอำนวยความยุติธรรม ที่ทั้งตำรวจ ราชทัณฑ์ นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์และประชาชนทั่วไป มีระบบที่สามารถร่วมกันพิจารณางานยุติธรรมทั้งกระบวนการในทุกขั้นตอน

 

คำถามที่ควรเป็นของกระบวนการยุติธรรมไทยคือ ทั้งระบบว่ากระบวนการยุติธรรมให้และคุ้มครองความยุติธรรมให้กับทุกคนได้จริงหรือเปล่า แค่ไหนคือสิ่งที่คาดหวังได้กับกระบวนการยุติธรรมไทยจะให้ได้ในบริบทของประเทศปัจจุบันที่มีทั้งความขัดแย้ง แตกต่าง การละเมิดสิทธิและผลจากการใช้วิธีการผิด/นอกกฎหมาย ที่เป็นผลจากรัฐบาลที่แล้วและที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน

 

การทบทวนงานยุติธรรมของประเทศทั้งกระบวนการ ไม่ใช่ความล้มเหลวของระบบยุติธรรมไทย แต่เป็นการแสวงหาวิธีการวางรากฐานใหม่ ด้วยการเรียนรู้อดีต ดำรงข้อดีและแก้ไขข้อเสียในปัจจุบัน และมีความหวังกับความยุติธรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

 

สรุป

อนาคตของประเทศไทยวางอยู่บนหลักคิดของความพอเพียง รู้รักสามัคคี และการเคารพความหลากหลายและที่สำคัญคือความยุติธรรมนี้ จะเป็นหลักการที่สำคัญที่กำหนดอนาคตในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ราชทัณฑ์ ระบบศาลหรือการพิพากษาในกระบวนการยุติธรรมล้วนสำคัญในการนำประเทศไปสู่เป้าหมายข้างต้น

 

ด้วยกับการสร้างสรรค์สังคมไทยในอนาคต ที่มุ่งหวังความเป็นสังคมดำรงคุณธรรมและสร้างความรู้รักสามัคคี ประชาชนอย่างเรา ควรได้ตระหนักได้ว่า "เราไม่มีความปรารถนาที่จะมีอำนาจเหนือคู่กรณีและเจ้าหน้าที่ ที่กำกับดูแลอำนวยความยุติธรรม แต่เราต้องการอยู่กับความยุติธรรมในแบบที่เสมอภาคและสร้างสรรค์ ที่ทำให้ทั้งเรา คู่กรณีและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย สามารถเดินร่วมกันบนท้องถนนได้อย่างมีศักดิ์ศรี 

 

รัฐบาลจึงต้อง "กล้า" ที่จะปรับเปลี่ยนและสร้างสิ่งที่สามารถมี "ความหวัง" ได้จากความยุติธรรม ด้วยชัยชนะของความยุติธรรมที่มีต่อความอยุติธรรม อันได้มาจาก กระบวนการยุติธรรมไทย และจะเป็นชัยชนะที่เป็นคุณประโยชน์สูงสุด นอกจากจะก่อให้เกิดเสถียรภาพของรัฐบาลเองแล้วยังจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อระบบยุติธรรมและดีต่อคนไทยทุกคน แม้ว่าเขาจะเป็นคนเล็กๆที่มีสิทธิแต่เสียงร้องไม่ค่อยดังหรือผู้กำกับดูแลอำนวยความยุติธรรมเองก็ตาม

 

เพราะไม่เฉพาะ "ใครบางคน" เท่านั้นที่รักและแสวงหาสิ่งนี้ มนุษย์ทั่วไปทุกคนล้วนแต่ "รักและแสวงหาความยุติธรรม" เช่นเดียวกัน

 

ชื่อบทความเดิม

เพื่อสร้างสังคมคุณธรรม : ควรปฏิรูปเฉพาะ "ตำรวจ" หรือทั้ง "กระบวนการยุติธรรม"

 

 

โชคชัย  วงษ์ตานี

อาจารย์ประจำสถาบันสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

E-mail : chokchai.w@psu.ac.th

 

ด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ

ขอความสันติสุขสวัสดีจงประสบแก่ทุกท่าน

 

เป็นที่ทราบกันดีว่ารัฐบาลนี้มาจากการปฏิรูปและพร้อมรับฟังการปฏิรูประบบงานด้านต่างๆ ในการบริหารบ้านเมืองให้ดีขึ้น ผลงานการเลิกโฆษณาเหล้าและการทบทวนการขายหวยบนดินที่มอมเมาประชาชนโดยใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐเอง กำลังเป็นที่ประจักษ์ต่อการสร้างสังคมใฝ่คุณธรรมที่ตั้งธงไว้ว่าจะไปให้ถึง ซึ่งไม่มีรัฐบาลใดที่แสดงออกและพยายามเน้นหนักในด้านนี้อย่างเป็นรูปธรรมมาก่อน

 

แม้ว่ารัฐบาลปัจจุบันจะบริหารงานโดยใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการบริหารประเทศ แต่แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ว่าด้วย "การที่รัฐต้องดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน รวมทั้งจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชน" รัฐบาลนี้จึงมีโอกาสดีที่จะใช้ความเป็นรัฐบาลชั่วคราว พิจารณา ทบทวนและปฏิรูประบบงานด้านต่างๆได้อย่างรวดเร็วและคล่องตัว

 

กระบวนการยุติธรรม  หมายถึง กระบวนการพิสูจน์ความจริงให้เกิดความยุติธรรมตามกฎหมาย ซึ่งประกอบด้วย ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ทนายความและคุมประพฤติ และหมายรวมถึง ขั้นตอนการดำเนินงานหรือการบริหารราชการอย่างเป็นระบบของหน่วยงานของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานสังกัดต่างๆข้างต้น ซึ่งการบริหารราชการดังกล่าวต้องเกี่ยวข้องกับการให้ความยุติธรรมและการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน 

 

การปฏิรูปด้านใดก็ตาม นอกจากจะมุ่งหวังการพัฒนาปรับปรุงระบบงานสู่สิ่งที่ดีขึ้น ดีกว่า ทั้งยังจะป้องกันไม่ให้สิ่งนั้นเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง ฉะนั้นเป้าประสงค์คือนำสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี โดยต้องรู้ว่าที่ผ่านมามันไม่ดีอย่างไร

 

ข้อเสนอในบทความนี้มุ่งสะท้อนความคิดเห็นแก่รัฐบาล หน่วยงานรัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องที่พยายามมุ่งพัฒนาสังคมคุณธรรมและสร้างความรู้รักสามัคคีในหมู่ประชาชน ครอบคลุมหลักคิดและวิธีการที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม พร้อมทั้งมุ่งสะท้อนปัญหาขยายมุมมองในการปฏิรูป โดยมองอย่างเชื่อมโยงระหว่างการปฏิรูปเฉพาะงานตำรวจเชื่อมโยงกับกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบที่ประสบ นำสู่การหาทางออกต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย

 

บทความนี้วางฐานคิดอยู่บนประเด็นที่ว่า ไม่ใช่เพียงแค่ "ตำรวจ" ที่ควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขแล้วจะทำให้เกิดความยุติธรรมให้สังคมและประชาชนได้ แต่ควรพิจารณาอย่างเป็นระบบทั้งกระบวนการยุติธรรมด้วย  โดยแยกการวิเคราะห์ถึงงานราชทัณฑ์ ตำรวจและกระบวนการยุติธรรม(ในบางเรื่อง)บางประเด็นที่เชื่อมโยงกัน ซึ่งอาจดูเหมารวมแต่ผู้เขียนทำหน้าที่สะท้อนบางส่วน ของความจริงที่เป็นปรากฏการณ์ ในสิ่งที่เรียกกันว่า "กระบวนการยุติธรรม" ด้วยข้อจำกัดด้านรูปแบบการนำเสนอ คงทำได้เพียงให้ข้อเสนอแนะในบางประเด็นจากสภาพจริงที่ประสบ จากคนนอกที่เฝ้ามองดูการทำงานของกระบวนการยุติธรรมในประเทศนี้

 

งานราชทัณฑ์

การออกมายอมรับโดยอดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์เองว่า ระบบเรือนจำ ระบบการคุมขังในแบบปัจจุบันเองก็ไม่ใช่ระบบที่ดีที่สุดสำหรับเรา แต่เป็นรูปแบบที่เรียกว่า"ถูกบังคับและเอาแบบอย่างจากเขา(ต่างประเทศ)มา โดยไม่ถามถึงความเหมาะสมกับบริบท ภูมิปัญญา และวิธีการจัดการกับผู้กระทำผิดแบบไทยๆ อีกทั้งยังเป็นคำถามต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกระบวนการยุติธรรมไทย ซึ่งส่งผลถึงการขัดเกลาเปลี่ยนแปลงผู้ต้องขัง ผู้กระทำผิดให้กลับมาเป็นคนดี กลับสู่สังคม ซึ่งประเทศไทยเราครั้งอดีตเคยมีภูมิปัญญาในด้านการจัดการด้านความยุติธรรมแบบไทยๆ ที่สามารถกระชับกระบวนการ ในการแก้ไขปรับปรุงคนให้กลับมาเป็นคนดีได้ด้วย "วิธีการแบบไทยๆ"

 

ในอดีตระบบยุติธรรมของไทย เป็นระบบของการใช้อำนาจกำกับ บังคับ ควบคุม โดยเน้นทั้งคุณธรรม ศักดิ์ศรีและการสร้างวิธีการกล้ารับผิด ทั้งยังเน้นความเด็ดขาด ตรงไปตรงมาและส่งเสริมการให้อภัย ลุแก่โทษ โดยจะขึ้นอยู่กับลักษณะความผิด ข้อกล่าวหาและความร้ายแรงที่เป็นผลจากความผิด

 

การที่ผู้ถูกคุมขังสามารถเอาซิมการ์ดและโทรศัพท์มือถือ รวมทั้งยาเสพติดและอาวุธเข้าไปใช้ในเรือนจำได้ (คำถามคือปล่อยให้เอาเขาไปได้อย่างไร?) นับเป็นการสะท้อนความล้มเหลวของกระบวนการยุติธรรมที่มาจากงานราชทัณฑ์ ทั้งยังไม่รวมความไม่เท่าเทียมของผู้ถูกคุมขัง บางคนมีเครื่องใช้ส่วนตัว เช่น โทรทัศน์ โทรศัพท์ ซึ่งสร้างความเหลื่อมล้ำ ในระหว่างผู้ต้องโทษด้วยกัน ปัญหาคือ สิ่งเหล่านี้ผ่านการควบคุมของเจ้าหน้าที่เข้าไปได้อย่างไร หรือการตรวจของของเจ้าหน้าที่เน้นเฉพาะการป้องกันนักโทษหนี แต่ไม่เน้นการป้องกันการนำเข้า กับสิ่งที่ไม่เอื้อต่อการขัดเกลาคนในควบคุม ให้รู้สึกถึงความยุติธรรมและเท่าเทียม

 

ถ้าประเด็นเหล่านี้ควบคุมไม่ได้แล้ว จะหาความยุติธรรมในหมู่ผู้ที่เราคาดหวังว่าพวกเขาจะกลับมาเป็นคนดี และเป็นกลุ่มคนที่มีความจำเป็นที่สุดที่ควรจะได้รับผลดีจากกระบวนการยุติธรรมได้อย่างไร

 

ผลสำเร็จของการจองจำหรือการคุมขังน่าจะเป็นเรื่องของการทำอย่างไรให้ผู้รับโทษ กล้าที่จะยอมรับผิด เสียใจในสิ่งที่ทำ ขอลุแก่โทษ ขออภัยและชดเชยความเสียหายแก่คู่กรณี สำนึกผิด ไม่กลับไปทำอีกและใช้เวลาที่อยู่ในการจองจำ(ที่รับเลี้ยงด้วยภาษีของประชาชน)เพื่อการได้รับโอกาสในการพัฒนาตัวเองทั้งทางด้านทักษะการหาเลี้ยงชีพ การเพิ่มพูนความรู้(ด้วยห้องสมุดราชทัณฑ์หรือวิธีอื่นๆ) และวิธีการปรับตัวเมื่อกลับสู่สังคมใหญ่ เพราะผู้ต้องหาเหล่านั้น ย่อมถูกทดสอบอย่างแน่นอนในการปรับตัวเข้าโลกภายนอกที่มีอิสรภาพแต่ไม่ใช่ทุกคนที่พร้อมที่จะเข้าใจ วางใจและให้โอกาสผู้เคยกระทำผิด

 

และในอีกมุมหนึ่งที่ต้องตั้งคำถามคือ สังคมไทยต้อนรับการกับมาสู่สังคมใหญ่ของผู้ต้องขังนั้นเหล่านั้นอย่างไร

 

ด้วยความรู้ ความดี ความเงียบสงบและศาสนธรรม สิ่งเหล่านี้เท่านั้นที่จะเป็นเครื่องมือ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีกับผู้ทำผิด(พลาด)สามารถผ่านการขัดเกลา สร้างลักษณะนิสัย ปรับจิตใจที่อ่อนโยน ระลึกและสำนึกในความผิด ซึ่งน่าเป็นวิธีการได้ดีกว่า การเบียดเสียด ควบคุมเชิงพื้นที่ การลงโทษ ด่าท่อ การตีตรวนและเฆี่ยนตี เพราะวิธีการอย่างหลังไม่ได้เปลี่ยนแปลงคนในกลับสู่การเป็นคนดีและสำนึกผิดแบบที่ไม่กลับไปทำอีก(หรือนักโทษก็น่าจะมีสิทธิในการเรียกร้องถึงการได้รับการปฏิบัติอย่าง "สันติวิธีและการไม่ใช้ความรุนแรง")

 

ตำรวจ

งานตำรวจ เป็นหน่วยงานที่ต้องยอมรับความจริงว่าสูญเสียความไว้วางใจจากประชาชนเป็นอย่างมาก ด้วยปรากฏการณ์หรือข่าวสารทางสังคมที่ออกมาจนทำให้ตำรวจดีๆหลายคนพลอยรับผลในด้านลบไปด้วย  ภารกิจของตำรวจมีมากครอบคลุมหลายวิธีการทั้งที่เป็นการงานป้องปราม ตรวจสอบ จับกุม สอบสวน กักขัง งานของตำรวจจึงนับได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนเป็นเบื้องต้น ภารกิจหลักของตำรวจเป็นเสมือนด่านแรกและด่านสำคัญของการเข้าสู่การกระบวนยุติธรรม

 

การปราบปราม สืบสวนคดีความต่างๆ บางคดีจบลงด้วยการที่สามารถจับกุมหาตัวคนร้ายมาลงโทษได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ซึ่งนับเป็นศักยภาพสำคัญที่พึ่งรักษาและส่งเสริมให้คงไว้แต่อีกด้านหนึ่ง

 

เรื่องตำรวจกับการกำกับดูแลการจราจร นับเป็นปัญหาที่แก้ไม่หาย ประเด็นที่น่าสนใจ คือ การทำผิดกฎจราจรทำไมต้องปรับเงิน จ่ายค่าปรับแล้วแก้ไขปัญหาจากความผิดเหล่านั้นได้ตรงไหน(เชื่อได้อย่างไรว่าจ่ายสตางค์แล้วจะนำสู่การแก้ไข) จ่ายแล้วทำให้ความผิดกลายเป็นความถูกต้องหรือผ่านพ้นจากความผิดได้จริงหรือ แล้วค่าปรับเหล่านั้นไปไหน นำไปใช้ทำอะไร รัฐคงไม่มุ่งแสวงหารายได้จากส่วนแบ่งเงินค่าปรับ ที่ได้จากความผิดของผู้ขับขี่เช่นนี้แน่

 

ส่วนเรื่องการไต่สวนของตำรวจที่พยายาม อธิบายหรือใช้ข้ออ้างให้เห็นแต่ข้อหาและความผิดมากกว่าจะสร้างทางออกและแก้ไขปัญหา ให้กรณีความผิดต่างๆที่เกิดขึ้นจบลงโดยง่ายและยุติธรรม การตั้งข้อหาความผิดที่ถูกจัดให้ผู้ทำผิดกฎการจราจร เป็นการตั้งข้อหาความผิดให้เหมือน "ยาชุด" เพื่อบอกถึงความรุนแรงของความผิด พร้อมทั้งการตั้งข้อกล่าวหากับผู้กระทำผิดกฎเพื่อจับปรับในราคาที่สูงขึ้น มีอัตราที่ไม่แน่นอน โดยเหลือดุลพินิจให้โต้แย้งและต่อรองได้

 

การจะส่งเสริมให้ผู้ขับขี่เคารพกฎกติกาการจราจรควรแก้ไขด้วยการให้ความรู้ ฝึกระเบียบ รู้หน้าที่ การมีน้ำใจตั้งแต่ก่อนออกใบขับขี่ เพื่อนำสู่การปรับปรุงแก้ไขการใช้รถใช้ถนนร่วมกัน ไม่ใช่เป็นช่องทางแสวงหาประโยชน์จากเปอร์เซ็นต์ค่าปรับที่มาจากการที่ตนมีสิทธิหน้าที่ควบคุมกติกา

 

อีกประเด็นที่อยากตั้งคำถาม คือ "ผู้ต้องสงสัย" ต่างจาก "ผู้ต้องหา" อย่างไร และผู้ต้องสงสัยทำไมต้องใส่กุญแจมือ ทำไมต้องถูกกักขังเพราะว่าแค่ "สงสัย" แต่ทำไมทำเหมือนมีความผิด ทั้งที่อาจจะยังไม่ได้ทำผิด ถามจากเจ้าหน้าที่บางท่านยังตอบไม่ได้เลย รู้เพียงแต่ว่าเขาทำมาอย่างไรก็ทำไปอย่างนั้นโดยไม่ได้ฉุกคิดและตั้งคำถาม หรือการอ้างบอกว่าเกรงว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี

 

ดังนั้น คำถามที่น่าจะนำสู่การปฏิรูปตำรวจควรเป็นอย่างไร

 

ทำอย่างไรให้ตำรวจของประชาชนไทย มีศักดิ์ศรีความภาคภูมิใจในอาชีพ รักษาชื่อเสียง(ไม่กระทำการที่เป็นการทำลายความน่าเชื่อถือ ความเป็นที่ไว้วางใจและความเป็นที่เคารพของอาชีพตน) เป็นที่พึ่งและไว้วางใจต่อประชาชน เป็นเพื่อนที่ประชาชนหรือวัยรุ่นอยากขอคำปรึกษา และอยากช่วยตำรวจในการพิทักษ์ปกป้องซึ่งความดี

 

ทำอย่างไรที่จะพัฒนาตำรวจให้เข้าใจเส้นแบ่งระหว่างการปราบปรามและการป้องปรามรวมทั้งส่งเสริมการไกล่เกลี่ยหาทางออกก่อนการตั้งข้อหาโดยใช้กฎหมาย

 

ทำอย่างไรที่จะทำให้งบประมาณของตำรวจมีสัดส่วนของเงินเดือนที่มีงบเหลือพอที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างพอเพียง ทำอย่างไรให้เงินเดือนตำรวจพอกับการเลี้ยงตนเองและครอบครัว มีรายได้เหมาะสมและเท่าเทียมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นๆในงานกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะเป็นศาล ทนาย หรือผู้พิพากษาเพราะตำรวจก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงความยุติธรรมในชั้นต้น เพราะว่าปลายทางจะดีไม่ได้เลยถ้าต้นทางไม่ดี

 

การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยไม่ใส่ใจหรือไม่เน้นหนักตรงที่เนื้อหารายละเอียด ที่มาจากผลการปฏิบัติงาน สวัสดิการที่พอเพียงและการปฏิสัมพันธ์กับประชาชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในระดับล่าง จะไม่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะการเปลี่ยนแปลงระดับผู้กำกับ ผู้การภาค ผู้บัญชาการ ที่คอยอำนวยงาน ควบคุมดูแลโดยไม่ดูรายละเอียดที่มาจากการปฏิบัติงาน ตามบทบาทหน้าที่ในการบริการของตำรวจ จะไม่ส่งผลทั้งในเชิงภาพลักษณ์และผลการปฏิบัติจริง เพราะประชาชนส่วนมากเห็นตำรวจจากผลการปฏิบัติงาน ที่เห็นตำรวจปฏิบัติต่อเขา โดยมีที่มาจากรายละเอียดมากกว่าจะดูที่โครงสร้างว่าถูกเปลี่ยนแปลงอย่างไร

 

กระบวนการยุติธรรม

งานในระบบการยุติธรรมเป็นกระบวนการที่ยาวและมีขั้นตอนมากมาย กว่าจะทำให้ทุกอย่างจบลง เพราะเป็นกระบวนการที่ครอบคลุมทั้งผู้ใหญ่และเยาวชน ครอบคลุมทุกเพศ ทุกลักษณะความผิด พร้อมทั้งต้องทำงานเชื่อมโยงหน่วยงานที่มีลักษณะงาน เป้าหมายและวิธีการจัดการที่แตกต่างกับ เช่น ตำรวจ อัยการ ศาล ราชทัณฑ์ ทนายความ งานการคุมประพฤติ สถานพินิจฯ และการบังคับคดี เป็นกระบวนการในชนิดทีเรียกว่า ระหว่างทางเข้ากับทางออกของคดีความ ผู้ต้องการความยุติธรรม "ต้องเดินทางไกล"

 

ศาลตัดสินจากสำนวนและคำให้การที่ผ่านช่วงเวลาเกิดเหตุ มาเป็นเวลานานแล้ว โดยเนื้อหาเชื่อได้ว่าความจริงย่อมเปลี่ยนรูปและหดตัว ตามกาลเวลา การพิจารณาคดีให้จบอย่างรวดเร็วและแม่นยำและลงโทษผู้กระทำผิดได้อย่างไม่ผิดตัว เหมาะสมกับระดับความผิดรวมทั้งทำอย่างไรให้คู่กรณีหันมายกโทษ ให้อภัย และนำสู่การสมานฉันท์ สร้างความร่วมมือกันต่อกันได้ ประเด็นเหล่านี้ จึงน่าจะเป็นเป้าหมายของกระบวนการยุติธรรม

 

ในขั้นตอนของการสืบสวน สอบสวนควรจะได้รับการให้ความสำคัญ การคัดสำนวนที่ไม่บิดหรือเปลี่ยนแปลงความหมายของความจริงที่เกิดขึ้น เพราะกระบวนการกว่าจะถึงการที่ศาลพิพากษานั้น ทำให้ความจริงที่ต้องทำให้เกิดความยุติธรรมนั้น "เดินทางไกล" ส่วนนั้นตำรวจทำได้เพียงส่ง "สำนวนการสืบสวนสอบสวน" (ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความจริง ที่หาได้จากคดีความ) แล้วส่งสำนวนนั้นขึ้นสู่ศาล ผ่านทนายความ พยาน ผ่านกระบวนการศาล จนถึงผู้พิพากษา การพิจารณาอย่างแยกส่วนเช่นนี้จะยังคงความยุติธรรมทั้งเนื้อหาและผลการตัดสินอยู่อีกหรือ

 

ในขั้นตอนทางศาลและการพิจารณาคดี ควรคงทนายความที่ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมและความถูกต้อง ไม่ควรส่งเสริมให้มีทนายความที่ต่อสู้เพื่อนักพนัน ธุรกิจที่ขัดกับศีลธรรม ควรยกเลิกระบบทนายที่หากินกับความผิดหรือการต่อสู้ในทางศาลเพียงเพื่อการชนะคดี โดยไม่ใยดีกับความถูกต้อง ไม่ดูที่ผลกระทบว่าชนะคดีแบบอยุติธรรมแล้วส่งผลต่อผู้ที่เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งได้มีคุณค่าเพียงใด เพราะประชาชนบางส่วนที่เคยเข้าสู้คดีในระบบนี้แล้วประสบกับการเสียเงินมากกว่าจะได้รับความยุติธรรม

 

กระบวนการยุติธรรมยุคใหม่ จึงต้องปรับตัวในทันกับยุคสมัยและความรวดเร็วมีกระบวนการที่กระชับและแม่นยำ(ไม่ผิดตัว เหมาะสมกับความผิด)โดยที่ยังดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การส่งเสริมด้านงานยุติธรรมชุมชน การไกล่เกลี่ยโดยชาวบ้านเองด้วยการแยกแยะประเด็นปัญหา ดูเนื้อหาเรื่องคดีความที่แก้ไข ไกล่เกลี่ยนอกศาลได้ โดยลดจำนวนเรื่องเข้าที่จะเข้าสู่การแสวงหาความยุติธรรมโดยเจ้าหน้า ที่ซึ่งเป็นการลดภาระงานและลดคดีที่นำสู่ศาล

 

หรือทางออกเช่น การกระจายอำนาจด้านภารกิจด้านความยุติธรรม โดยให้ทั้งงานตำรวจและระบบงานบางส่วนในกระบวนการยุติธรรมบางภารกิจมาขึ้นอยู่กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอีกทางออกหนึ่งที่น่าสนใจ ทำอย่างไรให้กระบวนการยุติธรรมเป็นของท้องถิ่น ชาวบ้านคาดหวังได้กับความยุติธรรมที่ไม่รอนานและต้องทนทรมานกว่าจะได้มา

 

การทำให้กระบวนการยุติธรรมกระชับ(ทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมโยง)หรือทำให้ความจริงที่ได้จากการสืบสวนเป็นสำนวนเดินทางสั้นที่สุดก่อนนำสู่การตัดสิน) ย่อมส่งผลดีกว่าการแยกส่วนในงานอำนวยความยุติธรรม ที่ทั้งตำรวจ ราชทัณฑ์ นักจิตวิทยาและนักสังคมสงเคราะห์และประชาชนทั่วไป มีระบบที่สามารถร่วมกันพิจารณางานยุติธรรมทั้งกระบวนการในทุกขั้นตอน

 

คำถามที่ควรเป็นของกระบวนการยุติธรรมไทยคือ ทั้งระบบว่ากระบวนการยุติธรรมให้และคุ้มครองความยุติธรรมให้กับทุกคนได้จริงหรือเปล่า แค่ไหนคือสิ่งที่คาดหวังได้กับกระบวนการยุติธรรมไทยจะให้ได้ในบริบทของประเทศปัจจุบันที่มีทั้งความขัดแย้ง แตกต่าง การละเมิดสิทธิและผลจากการใช้วิธีการผิด/นอกกฎหมาย ที่เป็นผลจากรัฐบาลที่แล้วและที่เกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวัน

 

การทบทวนงานยุติธรรมของประเทศทั้งกระบวนการ ไม่ใช่ความล้มเหลวของระบบยุติธรรมไทย แต่เป็นการแสวงหาวิธีการวางรากฐานใหม่ ด้วยการเรียนรู้อดีต ดำรงข้อดีและแก้ไขข้อเสียในปัจจุบัน และมีความหวังกับความยุติธรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคต 

 

สรุป

อนาคตของประเทศไทยวางอยู่บนหลักคิดของความพอเพียง รู้รักสามัคคี และการเคารพความหลากหลายและที่สำคัญคือความยุติธรรมนี้ จะเป็นหลักการที่สำคัญที่กำหนดอนาคตในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เพราะไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ราชทัณฑ์ ระบบศาลหรือการพิพากษาในกระบวนการยุติธรรมล้วนสำคัญในการนำประเทศไปสู่เป้าหมายข้างต้น

 

ด้วยกับการสร้างสรรค์สังคมไทยในอนาคต ที่มุ่งหวังความเป็นสังคมดำรงคุณธรรมและสร้างความรู้รักสามัคคี ประชาชนอย่างเรา ควรได้ตระหนักได้ว่า "เราไม่มีความปรารถนาที่จะมีอำนาจเหนือคู่กรณีและเจ้าหน้าที่ ที่กำกับดูแลอำนวยความยุติธรรม แต่เราต้องการอยู่กับความยุติธรรมในแบบที่เสมอภาคและสร้างสรรค์ ที่ทำให้ทั้งเรา คู่กรณีและเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย สามารถเดินร่วมกันบนท้องถนนได้อย่างมีศักดิ์ศรี 

 

รัฐบาลจึงต้อง "กล้า" ที่จะปรับเปลี่ยนและสร้างสิ่งที่สามารถมี "ความหวัง" ได้จากความยุติธรรม ด้วยชัยชนะของความยุติธรรมที่มีต่อความอยุติธรรม อันได้มาจาก กระบวนการยุติธรรมไทย และจะเป็นชัยชนะที่เป็นคุณประโยชน์สูงสุด นอกจากจะก่อให้เกิดเสถียรภาพของรัฐบาลเองแล้วยังจะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือต่อระบบยุติธรรมและดีต่อคนไทยทุกคน แม้ว่าเขาจะเป็นคนเล็กๆที่มีสิทธิแต่เสียงร้องไม่ค่อยดังหรือผู้กำกับดูแลอำนวยความยุติธรรมเองก็ตาม

 

เพราะไม่เฉพาะ "ใครบางคน" เท่านั้นที่รักและแสวงหาสิ่งนี้ มนุษย์ทั่วไปทุกคนล้วนแต่ "รักและแสวงหาความยุติธรรม" เช่นเดียวกัน

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท