Skip to main content
sharethis

นายแพทย์นิรันดร์   พิทักษ์วัชระ    ประธานมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต    กล่าวในที่ประชุมงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น   จ.อุบลราชธานี    เมื่อวันที่   29  พฤศจิกายน  2549      ห้องไชยบุรี  ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  จ.อุบลราชธานี   ว่า     งานวิจัยท้องถิ่นถือเป็นกลไกลที่สำคัญและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของคนในสังคมไปในทิศทางที่ดีขึ้น   โดยมีเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อส่วนรวมและนำความสุขมาสู่สังคม  หากคนในชุมชนมีความสุข    ชุนชนที่อาศัยอยู่ก็จะเข้มแข็งตามไปด้วย    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการอนุรักษ์ประเพณี - วัฒนธรรมที่ดีงามสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นไว้ 


                


การอนุรักษ์ป่า    การอนุรักษ์น้ำ    รวมทั้งการอนุรักษ์ในสิ่งที่เป็นมรดกตกทอดให้คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไป  เป็นสิ่งที่นักวิจัยท้องถิ่นต้องรวมกันสร้างและร่วมกันปฏิบัติ  เพราะสิ่งเหล่านี้เปรียบเหมือนองค์ความรู้ที่เกิดจากบุคคลในท้องถิ่นพัฒนาป็นภูมิปัญญาชาวบ้านให้เห็นเป็นสิ่งของต่าง    ที่มีคุณค่าและสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้    หากการสืบทอดมีการถ่ายทอดกันอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่นชุมชนก็จะน่าอยู่และเข้มแข็ง    


 


นางมัสยา   คำแหง   ผู้ประสานงานมูลนิธิมูลนิธิพิทักษ์ธรรมชาติเพื่อชีวิต      กล่าวว่า กระบวนการวิจัยเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่นำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่น    และนักวิจัยเองก็เกิดองค์ความรู้ใหม่ตามมา    ขณะเดียวกันก็ต้องอาศัยปัจจัยภายนอกซึ่งก็คือทีมนักวิจัยท้องถิ่นในชุมชนต่าง     และปัจจัยภายในซึ่งก็คือบุคลากรผู้มีความรู้คอยให้คำแนะนำในเรื่องของการอนุรักษ์และวิธีการดูแลรักษาป่าตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญให้คงไว้คู่สังคม


  


โดยพื้นที่การทำงานครอบคลุมในหลายอำเภอในจังหวัดอุบลราชธานี     ซึ่งพื้นที่ในการทำวิจัยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม      โดยเน้นการทำงานเรื่องป่าและน้ำเป็นส่วนสำคัญเพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ชิดมนุษย์และมนุษย์องก็ใช้เป็นอุปโภค - บริโภคอยู่เป็นประจำทุกวัน


 


นายอำนวย   วงละคร     หัวหน้าโครงการศึกษารูปแบบการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชน  บ้านชาด   ต.หนามแท่ง   อ.โขงเจียม   จ.อุบลราชธานี     กล่าวถึงการลงพื้นที่การวิจัยป่าชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากป่า    ว่า     สภาพป่าชุมชนของบ้านชาดในปัจจุบันนี้ถือว่าอยู่ในระดับที่อุดมสมบูรณ์    จากเดิมที่เคยเป็นป่าที่ที่มีกลุ่มนายทุนเข้าไปตัดไม้และแผ้วถางป่าทำให้สภาพป่าเสื่อมโทรม     โดยชุมชนบ้านชาดเองได้มีการรวมตัวเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าดังกล่าวนี้มาตั้งแต่ปี   2541     ประกอบกับมีคณะทำงานซึ่งเป็นทีมวิจัยเรื่องป่าชุมชนลงพื้นที่บ้านชาดทำให้การทำงานด้านการอนุรักษ์ป่าได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายไปพร้อม     กัน   


 


โดยมีการประชาคมหมู่บ้านเพื่อหาทิศทางการทำงานเรื่องป่ากับคนในชุมชนต่าง        ที่มีพื้นที่ติดกับป่าชุมชนมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนทิศทางการทำงาน   รวมทั้งวางแผนการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพภูมิศาสตร์ในพื้นที่   ซึ่งคณะทำงานหลักที่ทำหน้าที่เป็นนักวิจัยไทบ้านในโครงการดังกล่าวมีทั้งหมด   10  คน    มีการออกสำรวจป่าเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าให้คงอยู่คู่กับชุมชนต่อไปในอนาคต


 


" ปัจจุบันป่าชุมชนบ้านชาดมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ   3,000   ไร่   เป็นป่าที่คนในชุมชนใกล้เคียงใช้ประโยชน์ในเรื่องต่าง     อาทิ   ใช้เป็นแหล่งหาอาหาร    ใช้เป็นสถานที่ในการเลี้ยงสัตว์    รวมทั้งเป็นที่อยู่อาศัยให้กับสิ่งมีชีวิตอื่น       นอกจากนี้คนในชุมชนเองยังได้ใช้ประโยชน์จากป่าโดยการนำทรัพยากรจากป่าที่ไม่เป็นการทำลายป่ามาแปรรูปเป็นสินค้าต่าง     จำหน่ายให้แก่คนในชุมชนอีกด้วย   อาทิ    ในเรื่องของยาสมุนไพร      ผลิตภัณฑ์จากป่า    ของใช้ที่ทำมาจากวัสดุธรรมชาติ    ซึ่งสิ่งเหล่านี้เมื่อคนในชุมชนรู้จักอนุรักษ์ไว้ในอนาคตป่าก็จะให้ประโยชน์ตอบกลับมาให้กับคนในชุมชน    ซึ่งทุกวันนี้ทางทีมนักวิจัยร่วมกับคนในชุมชนได้ใช้วีการให้ความรู้เรื่องป่าแก่คนในชุมชนเพื่อจะได้ทราบถึงประโยชน์ที่ป่าได้ให้สิ่งดี    กับมนุษย์  "


 


ด้านนายสงัด    สร้างเสรี     ทีมนักวิจัยท้องถิ่นในโครงการรูปแบบการจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด     กรณีศึกษาบ้านผาชัน    ต.สำโรง   อ.โพธิ์ไทร    จ.อุบลราชธานี      กล่าวถึงสภาพของแหล่งน้ำในชุมชนว่า     จากที่ทีมนักวิจัยท้องถิ่นได้ลงพื้นที่เพื่อสำรวจแหล่งน้ำในชุมชนทำให้ปัจจุบันมีแหล่งน้ำที่สามารถใช้อุปโภค - บริโภค   จำนวน   12  บ่อ      , มีฝ่ายน้ำ      1     ฝาย   และแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์จากธรรมชาติที่คนในชุมชนใช้เป็นสถานที่ในการหาอาหารอีก  1  แห่ง     นอกจากนี้ยังมีบ่อน้ำที่เป็นบ่อสำหรับใช้บริโภคในชุมชนอีก   3  บ่อ    ซึ่งถือว่าชุมชนดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ในเรื่องของน้ำอย่างเพียงพอ   แต่ก็น่าเป็นห่วงในช่วงเดือนพฤศจิกายน  -  เดือนพฤษภาคม  ของทุกปีบ่อน้ำเริ่มแห้งขอดซึ่งชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์น้ำไว้ให้มีใช้ไปตลอดทั้งปี  โดยการใช้น้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างประหยัดและคุ้มค่าให้ได้มากที่สุด  


 


นอกจากนี้ทีมนักวิจัยเองยังได้ออกสำรวจแหล่งน้ำในชุมชนเพิ่มอีกหากมีบางพื้นที่ที่สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำได้ก็จะมีการวางแผนเพื่อศึกษาถึงวีการอนุรักษ์และสร้างแหล่งน้ำแห่งใหม่ขึ้นมาเพิ่มอีก    ขณะเดียวกันก็ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง


 


ทั้งนี้การประชุมของทีมนักวิจัยท้องถิ่นในครั้งนี้มีเครือข่ายทีมนักวิจัยเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้จำนวน   11  โครงการ  ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ทำงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี     นอกจากจะมีการประชุมแล้วยังได้มีการจัดนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องของการอนุรักษ์ป่า   และการจำหน่ายสินค้าที่กลุ่มต่าง    ร่วมกันทำมาจำหน่ายแก่ผู้ที่มาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net