Skip to main content
sharethis

ประชาไท—21ต.ค. 2549 วงเสวนา "พรรคหรือเครือข่าย" ในเวทีสมัชชาสังคมไทย ตั้งคำถาม พรรคการเมืองหรือเครือข่ายจะเป็นทางออกทางการเมืองไทยได้มากกว่ากัน โดยไจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุ พรรคการเมืองปัจจุบันหวังไม่ได้เพราะถึงอย่างไรก็เลี่ยงนายทุนไม่พ้น เสนอสร้างพรรคภาคประชาชนให้เข้มแข็ง ขณะที่สุริชัย หวันแก้ว ระบุพรรคอย่างเดียวไม่พอ ต้องมีเครือข่ายประชาชนด้วย


 


เวทีเสวนาสมัชชาสังคมไทย ว่าด้วยประเด็น "พรรคหรือเครือข่าย" วันที่ 21 ต.ค. รศ.ใจ อึ๊งภากรณ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสนอปัญหาประชาธิปไตยไทยไม่ใช่มีเฉพาะในประเทศไทยแต่เป็นปัญหาระดับสากล เนื่องจากช่องว่างระหว่างภาคประชาชนกับการเมือง เสนอทางออกต้องตั้งพรรคภาคประชาชนให้เข้มแข็งเพราะพรรคการเมืองที่มีอยู่ในปัจจุบันหวังพึ่งพิงไม่ได้เนื่องจากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการครอบงำจากทุนใหญ่และนโยบายแบบเสรีนิยม


 


ทั้งนี้นายใจระบุว่าที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า ภาคประชาชนมีข้อเสนอเยอะแยะไปหมด แต่ไม่ค่อยออกมาในลักษณะการเมืองทางการของประเทศ ซึ่งต้องถือว่านี่คือปัญหาใหญ่ เช่น กรณีสมัชชาคนจนซึ่งเป็นขบวนการภาคเกษตร เป็นขบวนการเชิงอุดมคติซึ่งเป็นเครือข่ายที่มีพลังแต่กลับอ่อนแรงลงในช่วงท้ายของรัฐบาลทักษิณ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลทักษิณมีข้อเสนอทีเป็นรูปธรรมกว่า และปัยหาคือการไม่พยายามแย่งชิงมวลชนด้วยนโยบายที่เป็นรูปธรรม


 


"เราต้องชิงแข่งกัน ไม่ใช่ไปยอม และการที่ไทยรักไทยช่วงชิงมวลชนได้ก็เพราะว่าเขามีข้อเสนอทีเป็นรูปธรรม และไม่ใช่การมอมเมา เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค กองทุนหมู่บ้าน ที่แม้จะมีปัญหาแต่ก็มีข้อดีหลายอย่าง


 


"ประการต่อมาไม่มีหลักฐานอะไรทั้งสิ้นที่จะบอกว่า 16 ล้านเสียงไม่เป็นเสียงจริง เราต้องยอมรับว่าคนจนในประเทศไทยเลือกไทยรักไทยและผมเศร้าที่ภาคประชาชนดูถูกคนจนวาโง่ และเข้าไม่ถึงข้อมูลนี่คือปัญหา ที่เราเริ่มร้นด้วยการยืนอยู่ข้างคนจนแล้วจบลงโดยการดูถูกคนจน


 


แล้วถ้าเราบอกว่า ชาวบ้านไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็ตองถามตัวเองว่าแล้วในรอบ 30 ปีทีผ่านมาเราทำอะไรกัน"


 


โดยนายใจกล่าวต่อไปด้วยว่าทางออกที่เป็นไปได้คือ เครือข่ายภาคประชาชนจะต้องรวมตัวกันให้เข้มแข็งขึ้นและพัฒนาไปสู่ควาเมป็นพรรคการเมืองภาคประชาชนเพราะปัจจุบันนี้ เครือข่าภาคประชาชนน้นต่างคนต่างทำงานในประเด็นของตัวเอง อีกทั้งพรคการเมืองที่มีอยู่ก็ไม่สามารถจะเป็นทางเลือกได้ เพราะพรรคการเมืองในปัจจุบันนั้นล้วนแต่ต้องอาศัยทุนใหญ่หนุนหลัง จึงเชิดชูตลาดเสรีนิยมอย่างถึงที่สุดไม่สามารถปฏิเสธแนวทางเสรีนิยมและไม่สามารถจะเสนอทางเลือกใหม่ให้กับประชาชนได้


 


"ดูสิครับเขาแต่งตั้งรัฐมนตรีแบบไหน เขาเอาคนที่คลั่งกลไกตลาดเข้ามา นี่คือเรื่องชนชั้น เพราะเขาถกเถียงสองฝ่ายก็คือเงินภาษีที่พวกเราจ่าย ควรจะอยู่ในมือใคร พวกเสรีนิยมบอกว่ามันต้องอยู่ในมือทุน แต่พวกเราต้องการให้มันอยู่ในมือภาคปะชาชน นี่คือเรื่องสำคัญอย่างยิ่งว่าเราจะเปลี่ยนดุลอำนาจให้คนข้างล่างสามารถปกครองตนเองบางการปกครองของประเทศ


 


สำหรับพรรคที่นายใจกล่าวว่าจะเป็นพรคทางเลือกได้นั้น ควรจะเป็นพรรคที่มีนโยบายเรื่องรัฐสวสดิการ เรียกร้องการเก็บภาษีก้าวหน้าจากคนรวยคัดค้านเอฟทีเอ เป็นสะพานเชื่อมเครือข่ายให้ทำงานเป็นอันเดียวให้ทุกคนเลิกทำงานประเด็นเดียวอย่างเดียว ให้ทุกคนผลักประเด็นของคนอื่นด้วยและต้อไม่เป็นพรรคเจ้านาย อย่างที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเป็น ไม่เป็นพรรคแบบครูบาอาจารย์ไปสอนลูกพรรค แต่ต้องมีการถกเถียงแลกเปลี่ยน


 


"เราไม่จำเป็นต้องรับจดทะเบียนและไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีหัวหน้าพรรค เราไม่จำเป็นต้องอาศัยเศรษฐี เราอาศัยคนจนคนที่เคลื่อนไหว นั่นแหละคือทรัพยาการที่ดีกว่าเศรษฐีหลายเท่า เราต้องสร้างพรรคนั่นแต่เราต้องมีคนที่เคลื่อนไหวที่อิสระไม่อย่างนั้นใครจะไปตรวจสอบพรรคของประชาชนได้ และอย่างน้อยที่สุดต้องมีการสร้างพรรคตั้งแต่วันนี้" นายใจกล่าวในที่สุด


 


ด้านนายกมล อุปแก้ว อดีตเลขาธิการเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์แห่งประเทศไทยกล่าวว่า ปัญหาการเมืองในปัจจุบันนี้ ต้องพยายามหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้ภาคประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางตรงได้โดยไม่ต้องผ่าน ส.ส. หรือ ส.ว. และยังคงให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายภาคประชาชน เพราะ เครือข่ายประชาชนนั้นส่วนใหญ่มาจากประเด็นปัญหาเฉพาะที่ประสบอยู่ ต้องรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของตนเอง และที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีข่ายที่เข้มแข็งก็ต้องมีจุด


 


ด้าน รศ.สุริชัย หวันแก้ว อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกล่าวว่า ปัจจุบันนี้ มีความเชื่อที่อันตรายอยู่ประการหนึ่งว่ากิจกรรมทางการเมืองรูปแบบพรรคนั้นดีกว่ารูปแบบอื่น ซึ่งถือว่าประชาชนถูกบังคับให้เลือกในสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องเลือก


 


"ถึงจุดนี้เราคงต้องสนใจว่าเราจะมีพื้นที่อย่างไรที่มากกว่าพรรค และไม่ใช่เฉพาะอยู่ขอบสนาม ผมคิดว่าปัญหาของเราคือไม่เลือกเอาระหว่างอันใดอันหนึ่งแต่ปัญหาสำคัญคือเราจะสร้างสถานภาพอย่างอื่นที่ไม่ใช่พรรคการเมืองให้ได้รับการยอมรับทางการเมืองได้อย่างไร ทั้งนี้ทั้งนั้นไม่ชาการปฏิเสธพรรคการเมือง


 


"ผมยอมรับว่าพรรคการเมืองต่างๆ ที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันไม่มีความสามารถที่จะทำให้ประเทศเราเป็นประเทศประชาธิปไตยอย่างสมบูรณ์และไม่เห็นวี่แววการปรับตัว ฉะนั้นเรายิ่งต้องสนับสนุนรูปแบบที่หลากหลายของกระบวนการภาคประชาชนและต้องได้รับการสนับสนุนจากสถาบันต่าง โดยเฉพาะจากอำนาจรัฐ"


 


นานสุริชัยกล่าวต่อไปว่าศักยภาพที่จำกัดจำเขี่ยของพรรคการเมืองเห็นได้วิธีการตอบสนองความเดือดร้อนของประชาชน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากงานเครือข่ายภาคประชาชนด้วย

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net