Skip to main content
sharethis


ภายหลังจากที่ ร.ศ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอให้ชูธงสามผืน อันได้แก่ ธงโลกาภิวัตน์ ธงประชาธิปไตย และธงความเป็นธรรมขึ้น โบกสะบัดท่ามกลางสถานการณ์รัฐประหารผ่านบทความ "ธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัฒน์"




ภาพจาก bangkokbiznews.com


 


รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ แห่งคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดียวกัน ได้ออกมาตอบโต้ด้วยเอกสารทางวิชาการอย่างน้อย 6 ชิ้น ในระหว่างการอภิปราย "รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ.2549 กับการปฏฺรูปการเมือง" เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2549  ที่คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าบางที ธงทั้งสามผืน อาจไม่สามารถโบกสะบัดคู่เคียงกันไปอย่างสง่างาม แต่อาจเป็นไปได้มากว่าที่มันจะตีกันยุ่งอีรุงตุงนังเพราะธงโลกาภิวัตน์ที่กำลังแผ่เงาเข้าครอบคลุมทุกผืนธงอยู่ในยามนี้


 


...................................................


 


 


"ความแตกสลายของอุดมการณเดือนตุลาฯ"


 


โดย เกษียร เตชะพีระ


๘ ต.ค. ๒๕๔๙


-เช้านี้ ผมเพิ่งไปไหว้วีรชน ๑๔ ตุลาฯ และ ๖ ตุลาฯ มา


 


-ปกติสัปดาห์สองสัปดาห์ครั้ง จะซื้อพวงมาลัย ๒ พวง ไปไหว้ประติมากรรมอนุสรณ ๑๔ และ ๖ ตุลาฯ ที่หน้าหอใหญมธ. พวงหนึ่งคล้องมือวีรชน ๑๔ ตุลาฯ พนมมือไหวพลางน้อมรําลึกถึง "สิทธิเสรีภาพ" อีกพวงวางบนกลางแท่นหินอ่อน ๖ ตุลาฯ พนมมือไหว้พลางน้อมรําลึกถึง "ความเป็นธรรมทางสังคม" ซึ่งสมัยนั้นตีความว่า = "สังคมนิยม" ก่อนที่วิกฤตทางการเมืองของขบวนการปฏิวัติไทยใตการนํา พคท. และวิกฤตอุดมการณสังคมนิยมสากลจะทําใหการตีความนี้ค่อย ๆ เลือนหายไป


 


-มีความแตกต่าง แต่ก็มีความต่อเนื่องเกี่ยวพันกันระหว่าง ๒ แนวคิดอุดมการณ์ที่แทนตนโดย ๒ เหตุการณ์ปวศ. ๑๔ ตุลาฯ ๑๖ และ ๖ ตุลาฯ ๑๙ อาจกล่าวได้ว่า ด้านหนึ่ง ถ้าไมมีสิทธิเสรีภาพก็ไม่อาจต่อสูแสวงหาความเป็นธรรมทางสังคม, อีกด้านหนึ่ง ถ้าไมมีความเป็นธรรมทางสังคม สิทธิเสรีภาพที่ไดมาก็ไม่มีความหมาย อย่างน้อยก็ไม่มีความหมายต่อสังคม ต่อเพื่อนมนุษย เพื่อนร่วมชาติร่วมทุกขร่วมสุขคนอื่น ๆ แมอาจจะมีความหมายต่อปัจเจกบุคคลก็ตาม แต่นั่นไม่เพียงพอ


 


-การแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมของความแตกต่างทว่าต่อเนื่องเกี่ยวพันดังกล่าวก็คือ [พันธมิตรสามประสาน กรรมกร-ชาวนา-นักศึกษาปัญญาชน] ที่เกิดขึ้นท่ามกลางการต่อสู้อย่างสันติในเมืองและคลี่คลายไปสู่การต่อสูด้วยอาวุธในชนบทต่อมา


 


-ผมอยากเสนอว่า อุดมการณ ๑๔ และ ๖ ตุลาคม หรืออุดมการณเดือนตุลาฯ อันได้แก [สิทธิเสรีภาพ + ความเป็นธรรมทางสังคม] ดังกล่าวมานี้ได "แตกสลายลงแล้ว" ในปัจจุบัน และเหตุการณ์ที่เป็นหลักหมายแห่งความแตกสลายนี้ก็คือการแบ่งแยกแตกข้างของพลังประชาชนในสังคมไทยในความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวเนื่องกับรัฐบาลทักษิณรอบปีที่ผ่านมานั่นเอง


 


-It took the Octobrist ideology 30 years, from 1976 to 2006, to exhaust itself but, finally, exhausted it was.


 


-มันสะท้อนออกใหเห็นไดง่ายผ่านความขัดแย้งในหมูเพื่อนพ้องน้องพี่ "คนเดือนตุลาฯ" ซึ่งต่างแบ่งฝัก


แบ่งฝ่าย แตกข้างแยกค่าย ด่าทอประณามกันเองชุลมุนวุ่นวายจนเละเป็นวุ้นไปหมด ข้างหนึ่งก็


มีหมอพรหมินทร เลิศสุริย์เดช, หมอสุรพงษ สืบวงศ์ลี, ภูมิธรรม เวชยชัย, จาตุรนต ฉายแสง, สุธรรม แสงประทุม, พินิจ จารุสมบัติ, อดิศร เพียงเกษ, เกรียงกมล เลาหไพโรจน, พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ ฯลฯ ส่วนอีกข้างไดแกธีรยุทธ บุญมี, พิภพ ธงไชย, ประสาน มฤคพิทักษ, หมอเหวง โตจิราการ, เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, แก้วสรร อติโพธิ, ชัยวัฒน สุรวิชัย, คํานูณ สิทธิสมาน, ชัชรินทร ไชยวัฒน, ยุค ศรีอาริยะ, สุวินัย ภรณวลัย ฯลฯ


 


-ในประเด็นแหลมคมร้อนแรงต่าง ๆ ที่สืบเนื่องจากนั้นและในหมูนักเคลื่อนไหวปัญญาชนรุ่นถัด ๆ มา


ความขัดแย้งแบ่งฝ่ายก็ดุเดือดไม่แพ้กัน ไม่ว่ากรณีมาตรา ๗ และนายกฯพระราชทาน, กรณีตุลาการภิวัตน์ , และกรณีรัฐประหาร ๑๙ กันยาฯ หรือในหมูอดีตนักเคลื่อนไหวรุ่นพฤษภาประชาธรรม ๒๕๓๕ และรุ่นปฏิรูปการเมืองกับการเมืองภาคประชาชน ความรุนแรงของความขัดแย้งเหล่านี้ถึงขั้นเว็บไซตบางแห่งของเพื่อนพ้องน้องพี่ "คนเดือนตุลาฯ" และอดีตสหายจากป่า "เซ็นเซ่อร" ข้อเขียนของธงชัย วินิจจะกูลที่โพสตมาจากมหาวิทยาลัยลัยวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา และคณะกรรมการสโมสร" ๑๙ ของอดีตสหายอีสานใตถูกเพื่อนสมาชิกวิพากษวิจารณเรื่องการแสดงออกซึ่งท่าทีทางการเมืองอย่างหนักจนต้องประกาศลาออกทั้งชุดกลางคันเพื่อเปิดทางให้เลือกตั้งกันใหม


 


-อย่างไรก็ตาม หลักฐานแห่งความแตกสลายของอุดมการณ์เดือนตุลาฯที่แท้จริงคือการที่พลังประชา


สังคมคนชั้นกลางที่เรียกร้องสิทธิเสรีภาพทางการเมือง-เศรษฐกิจ แตกหักแยกทางกับ พลังเครือข่ายมวลชนรากหญ้าในเมืองและชนบทที่เรียกร้องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคม ฝ่ายแรกตอต้านรัฐบาลทักษิณที่เป็นตัวแทนอํานาจการเมืองของชนชั้นนายทุนใหญในประเทศแล้วหันไปร่วมกับชนชั้นนําตามประเพณีขับโค่นรัฐบาลทักษิณ ในขณะที่ฝ่ายหลังสนับสนุนปกป้องรัฐบาลทักษิณ


 


-มันเป็นตลกร้ายทางประวัติศาสตรที่คนชั้นกลางพากันหวังพึ่งชนชั้นนําทหาร-ข้าราชการ-เทคโนแครต


หรือหากจะเรียกในภาษาเดือนตุลาฯแตเดิมก็คือชนชั้นนํา "ขุนศึกขุนนางศักดินา" ว่าจะนํามาซึ่งสิทธิเสรีภาพแก่ตน ในทางกลับกัน มวลชนรากหญ้าชั้นล่างก็กลับหวังพึ่งชนชั้นนายทุนผูกขาดว่าจะอํานวยความเป็นธรรมแก่ตนเช่นกัน น้อยนักที่เราจะไดเห็น double false consciousness ที่กลับหัวกลับหางอย่างนี้ในสังคมการเมืองเดียว!


 


-และถาหากนโยบายเศรษฐกิจเสรีนิยมใหมอยาง privatization, liberalization, FTAs รวมทั้งกรณีผลประโยชนทับซอนและคอรรัปชั่นทางนโยบายตาง ๆ เปนหลักฐานความหลงผิดของฝายหลังแลว บรรดาประกาศคําสั่งของ คปค. โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ (ชั่วคราว) ฉบับ พ.ศ. ๒๕๔๙ ก็คือหลักฐานความหลงผิดที่ชัดแจงที่สุดของฝายแรกนั่นเอง


 


-แต่สิ่งเหล่านี้ต่างก็มีที่มาของมัน การที่คนชั้นกลางฝากความหวังสิทธิเสรีภาพของตนไวกับชนชั้นนํา


ขุนศึกขุนนางศักดินาแทนที่จะเป็นชนชั้นนายทุนใหญ ก็มิใช่เพราะลักษณะอํานาจนิยม-อาญาสิทธิ์-อัตตาธิปไตยของรัฐบาลนายทุนใหญ่ที่ละเมิดลิดรอนหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญและสิทธิเสรีภาพในชีวิต ร่างกายและทรัพยสินของผู้คนพลเมืองใตการปกครองอย่างกว้างขวางโจ่งแจ้ง ตลอด ๕ ปที่ผ่านมาดอกหรือ? จนในที่สุด รัฐบาลทุนใหญดังกล่าวก็ผลักไสคนชั้นกลางกลุ่มต่าง ๆ ที่ควรเป็นฐานการเมืองของตนไดให้ไปเป็นพันธมิตรของชนชั้นนําขุนศึกขุนนางศักดินาแทน


 


-พูดให้ถึงที่สุด การนําที่ผิดพลาดของทักษิณในฐานะนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคไทยรักไทยนี่แหละที่ผลักการปฏิวัติกระฎุมพีของไทยให้ถอยหลังไปนับสิบป!


 


-ในทางกลับกัน การที่มวลชนรากหญ้าฝากความหวังเรื่องความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจสังคมของตนไว


กับชนชั้นนายทุนใหญผูกขาด ก็เพราะทางเลือกเศรษฐกิจชุมชน-พอเพียงนั้นลําบากยากเข็ญเนิ่นช้ายาวนาน เรียกร้องความปักใจมั่นเสียสละอดทนอดกลั้นอดเปรี้ยวไวกินหวานมองการณ์ไกลสูง, ไม่ใกล้มือไม่จูงใจเท่าทางเลือกประชานิยมเพื่อทุนนิยม+บริโภคนิยม (capitalist &consumerist populism) ของรัฐบาลนายทุนใหญมิใช่หรือ? จนในที่สุด มวลชนรากหญ้าที่เคยเป็นฐานให้ชนชั้นนําขุนศึกขุนนางศักดินาเอาชนะการท้าทายที่ใหญโตที่สุดที่รัฐของพวกเขาเคยเผชิญมาในสงครามประชาชนกับคอมมิวนิสตเมื่อ ๒๐ ปีก่อน ก็กลับกลายเป็นฐานคะแนนเสียงเลือกตั้งและขบวนการเคลื่อนไหวชุมนุมที่กว้างใหญ่ไพศาลและเหนียวแน่นยิ่งของพรรคชนชั้นนายทุนใหญ่แทน


 


-พูดให้ถึงที่สุดการที่มวลชนรากหญ้าส่วนมากหันไปนิยมนโยบายประชานิยมเพื่อทุนนิยม+บริโภคนิยม


ที่รัฐบาลนายทุนใหญหว่านโปรยมาก็สะท้อนขีดจํากัดแห่งพลังฝืนขืนทวนกระแสหลักของแนวทางเศรษฐกิจชุมชน-พอเพียงนั่นเอง


 


-การแสวงหาสิทธิเสรีภาพจากขุนศึกขุนนางศักดินา และการแสวงหาความเป็นธรรมจากนายทุนใหญ


ผูกขาด รังแต่จะนําไปสู่ทางตันเหมือนกัน การหลงทางและป่าวประณามซึ่งกันและกันระหว่างอดีตสหายร่วมขบวนการหรือร่วมอุดมการณสามารถผลิตซ้ําตัวมันเองไปได้ไม่มีที่สิ้นสุดบนพื้นฐานซีกส่วนต่าง ๆ ของอุดมการณเดือนตุลาฯเดียวกันนั้นเอง ไม่มีคําด่าประณามของฝ่ายไหนผิดหมด แต่ก็ไม่มีฝ่ายที่ร้องด่าประณามฝ่ายอื่นคนใดจะถูกถ้วนเลยสักฝ่ายเดียว (แน่นอนคงรวมทั้งผู้เขียนด้วย) เพราะขีดจํากัดที่ยิ่งใหญ่เบื้องหน้าเราเป็นขีดจํากัดแห่งความเป็นจริงของพลังการเมืองและทางเลือกในประวัติศาสตร์ของสังคมไทยเองโดยรวม, เป็นขีดจํากัดของทั้งชนชั้นนําตามประเพณีและของชนชั้นนายทุนใหญผูกขาดที่ขึ้นมาใหม, ของทั้งพลังประชาสังคมของคนชั้นกลางและของพลังเครือข่ายมวลชนรากหญ้าชั้นล่าง


 


-ที่สําคัญมันเป็นขีดจํากัดที่แยกสลายอุดมการณเดือนตุลาฯใหแตกแยกออกเป็นเสี่ยง ๆ อย่างถึงรากถึง


โคนจนยากจะมองเห็นว่ามันจะกลับมาฟื้นฟูเชื่อมประสานเป็นปึกแผ่นเดียวกันอย่างไรต่อไป


ในอนาคต


 


%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%%


 


-วิจารณ์แห่งวิจารณ: ธงชาติไทยสามผืนที่อาจารยพิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์แห่งคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร เรียกร้องใหฝ่ายประชาธิปไตยชูขึ้นหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ อันได้แก ธงประชาธิปไตย, ธงโลกาภิวัฒน (โลกาภิวัตน?) และธงความเป็นธรรมทางสังคมนั้น ("ธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัฒน", ๗ ต.ค. ๒๕๔๙) ด้วยความเคารพเกรงว่ามันจะพัวพันนัวเนียยุ่งอีนุงตุงนังและตีกันเอง


 


-ก่อนอื่น ในความเป็นจริง กระแสความเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า "โลกาภิวัตน" หรือ globalization อัน


เกิดจากเงื่อนไขเทคโนโลยีแห่งการปฏิวัติเทคโนโลยีสารสนเทศ, เงื่อนไขการเมืองแห่งการสิ้นสุดของสงครามเย็นด้วยชัยชนะของค่ายทุนนิยมที่มีอเมริกาเป็นแกนนํา, และเงื่อนไขเศรษฐกิจแห่งการแผ่ขยายครอบโลกของระบบทุนนิยมนั้น เป็นที่รับรู้กันทั่วไปแล้วว่าไม่เป็นเอกพจน หากเป็นพหูพจน (not singular but plural), ไม่ได้กลมกลืนเป็นเอกภาพหรือเป็นเนื้อเดียวกัน หากขัดแย้งกันเอง (not uniform or harmonious but contradictory), อาทิ capitalist/corporate globalization vs. globalization from below/grassroots globalization; US-led global war on terror vs. globalized Islam เป็นต้น


 


-"ธงโลกาภิวัฒน" ที่ชูขึ้นโบกสบัดในมืออาจารย์พิชิตนั้น ได้ถูกนิยามแบบลดทอนความหมายอันหลาก


หลายและขัดแย้งกันเองจนหมดเกลี้ยง เหลือเพียง capitalist/corporate globalization เท่านั้น ทว่า "ธงโลกาภิวัฒน"  ขนาน capitalist/corporate นี้นี่เองที่ในรอบหลายปีหลังนี้ได้ถูกวิเคราะหวิพากษวิจารณโดยนักรัฐศาสตรและเศรษฐศาสตรทั้งไทยและเทศว่าขัดแย้งไปกันไม่ได้กับทั้งประชาธิปไตยและความเป็นธรรมทางสังคม


 


- ๑) เสกสรรค ประเสริฐกุล, การเมืองภาคประชาชนในระบอบประชาธิปไตยไทย (๒๕๔๘) ชี้ว่าโลกา


ภิวัตนแบบ capitalist/corporate à


 


๑) "ประชาธิปไตยที่ไร้อธิปไตย" โดยที่มันตีกรอบจํากัดและกร่อนเซาะ nation-state sovereignty ในการดําเนินนโยบายจัดการบริหารเศรษฐกิจมหภาคและสวัสดิการสังคม, และ


 


๒) "หนึ่งรัฐ สองสังคม" ทําให้เกิดภาวะทวิภาพทางเศรษฐกิจสังคม (economic & social dualism) ที่แตกต่างเหลื่อมล้ําทั้งฐานะ รายได อํานาจ การเข้าถึงทรัพยากร การบริโภค วิถีชีวิต และค่านิยมวัฒนธรรม


 


-๒) Noreena Hertz, The Silent Takeover: Global Capitalism and the Death of Democracy (2001) ผูเขียนเป็นรองผู้อํานวยการ Centre of International Business and Management, Judge Institute, University of Cambridge และจบปริญญาเอกจากที่นั่นเหมือนอาจารย์พิชิต ได้วิเคราะห์วิจารณ corporate power & CEOs ว่าเป็นศูนย์อํานาจและชนชั้นปกครองใหม่ของโลก กํากับควบคุมอยู่เหนือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตยตัวแทนทั้งหลาย และอํานาจต่อต้านถ่วงดุลใหม่ที่ทรงพลังทุกวันนี้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวประชาธิปไตยโดยตรงของประชาชนต่างหาก


 


-๓) Arthur MacEwan, Neo-Liberalism or Democracy? Economic Strategy, Markets and Alternatives for the 21st Century (1999) ผู้เขียนเป็นศาสตราจารย์เศรษฐศาสตร์แห่ง University of Massachusetts Boston เรียนจบ U. of Chicago, Harvard งานเขียนเคยไดรางวัล Wells Prize จาก Harvard University Department of Economics


 


-๔) Benjamin R. Barber, บทความ "Can Democracy Survive Globalization?" (2000) ผูเขียนดังระเบิดจากหนังสือ Jihad vs. McWorld (1995) เป็นผู้อํานวยการ Walt Whitman Center for the Culture and Politics of Democracy และ Whitman Professor of Political Science, Rutgers University, New Jersey ในปาฐกถา Leonard Schapiro Lecture ที่แสดงตอ LSE ป๒๐๐๐ นี้เขาชี้ว่าทุนนิยมตลาดเสรีอยู่กันได้กับประชาธิปไตยโดยถ่วงดุลกันและกันในกรอบรัฐชาติ ทว่าพอทุนนิยมตลาดเสรีข้ามรัฐชาติออกครอบโลกในยุคโลกาภิวัตน์มันก็นําไปสู [Globalization à  Privatization & Commercialization ทางเศรษฐกิจ à Infantilization ทางวัฒนธรรม à Totalization ทางการเมือง] ซึ่งล้วนแต่สวนทวนกระแสประชาธิปไตยทั้งสิ้น


 


-๕) William Greider, One World, Ready or Not? The Manic Logic of Global Capitalism (1997) ชี้ให้เห็นปรากฏการณ"race to the bottom" ที่เกิดขึ้นในรัฐชาติต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องจากแรงกดดันด้วยอํานาจต่อรองเหนือกว่าของ global capitalism ทําใหนานารัฐชาติพากันส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน ควักกระเป๋าหลวงอุดหนุนนักลงทุน ลดทอนบ่อนเบียน กฎเกณฑ์มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม การแพทย์และสาธารณสุข ค่าจ้างแรงงาน เงื่อนไขการทํางาน สิทธิก่อตั้งสหภาพของคนงาน สวัสดิการสังคม ฯลฯ ลงไปต่ำสุด เพื่อแข่งกันเอาใจนักลงทุนต่างชาติ.....ในสภาพเช่นนี้ จะมี "ความเป็นธรรมทางสังคม" ได้อย่างไร?


 


-๖) แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าขบวนการต่อต้านโลกาภิวัตนหรือ anti-globalization movement นักคิดหลายคนในขบวนนี้เช่น Naomi Klein ผู้เขียน No Logo: Taking Aim at the Brand Bullies (2000) อันลือชื่อก็ยืนกรานในระยะหลังไว้ในหนังสือ Fences and Windows: Dispatches from the Front Lines of the Globalization Debate (2002) ว่าพวกเขาไม่ได้ปฏิเสธโลกาภิวัตนอย่างเบ็ดเสร็จ ทว่าคัดค้าน capitalist/corporate globalization ที่กําลัง "ล้อมรั้วประชาธิปไตย" ("Fencing in Democracy") เพราะเห็นว่ามันไม่ใช TINA หากต้องการเสนอ alternative globalization พร้อมทั้งขนานนามขบวนการของตนว่า Global Justice Movement แทนและเห็นว่าขบวนการประชาธิปไตยโดยตรงในรูปแบบต่าง ๆ ของตนต่างหากที่เป็น "หน้าต่างสู่ประชาธิปไตย" ("Windows to Democracy")


 


-ทั้งหมดที่พูดมาคงมีมูลขั้นต้นพอให้สงสัยและลองเริ่มทบทวนตรวจสอบข้อเสนอ "ธงชาติไทยสาม


ผืน" ของอาจารย์พิชิตก่อนที่จะปักใจรับเชื่อโดยสนิทแน่ว่าธงโลกาภิวัฒน์แบบที่อาจารย์พิชิตชูนั้นไปกันได้ออดหลอดปลอดโปร่งกับธงประชาธิปไตยและธงความเป็นธรรมทางสังคม (หรือแม้แต่ธงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย - ดังที่อดีตผู้อํานวยการ WTO เคยปรารภว่า ข้อตกลง WTO นั้นนับเป็นรัฐธรรมนูญแห่งโลกทีเดียว)


 


-กระนั้นแล้วเราจะสมาน "ธงสิทธิเสรีภาพ" แห่ง ๑๔ ตุลาฯ ๑๖ เข้ากับ "ธงความเป็นธรรมทางสังคม"


แห่ง ๖ ตุลาฯ ๑๙ ได้หรือไม? อย่างไร? ผมใคร่เสนอข้อคิดเบื้องต้นว่าอาจเป็นไปได ผ่าน "ธงประชาธิปไตย" ที่ปรับปรุงยกระดับขึ้นใหม่จากอุดมการณ์เดือนตุลาฯ กล่าวคือ: -


 


-ข้ามปริมณฑลทางการเมือง à  ปริมณฑลทางเศรษฐกิจสังคม


 


-ข้ามขอบเขตรัฐชาติเดียว à  ภูมิภาค/ข้ามชาติ เพื่อต่อรองกับ corporate globalization


 


-"socialism in one country" อันเป็นหลักคิดของ Orthodox Marxism ผิดพลาดล้มเหลว เป็นไปไม่ได้ฉันใด, "democracy in one country" ก็เป็นไปไม่ได้แล้วฉันนั้น


 





บทความที่เกี่ยวข้อง


บทความ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ : ธงชาติไทยสามผืนในกระแสโลกาภิวัฒน์

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net