Skip to main content
sharethis


โดย พิภพ อุดมอิทธิพงศ์  (ฉบับแก้ไข-เพิ่มเติมข้อมูล)


 


 


ทำไมกลุ่มพันธมิตรจึงเดินขบวนไปที่เอ็มโพเรียมและสยามพารากอน (และประกาศว่าจะค้างคืนที่นี่อีก)


-           ทำไมต้องไปเอ็มโพเรียม เพราะเอ็มโพเรียมเป็นของกลุ่มเดอะมอลล์


-           ทำไมต้องไปสยามพารากอน เพราะกลุ่มเดอะมอลล์เป็นผู้ร่วมลงทุนครึ่งต่อครึ่งกับบริษัทบางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส์ หรือ BIHC  ซึ่งโดยพฤตินัยถือว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นเจ้าของโครงการสยามพารากอน โดยการเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นระยะเวลา 34 ปี (เป็นพื้นที่ของวังสระประทุม)


-           ที่สำคัญควรไปแวะที่เซ็นทรัลเวิร์ลด์ทาวเวอร์ (สี่แยกราชประสงค์) โรงแรมโฟร์ซีซัน และสวนลุมไนท์บาซาร์ สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคอฟเวอร์รี ฯลฯ เพราะเป็นสมบัติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทั้งนั้น


 


ทำไมสถาบันกษัตริย์อาจไม่เลือกใช้มาตรา 7 ตามที่กลุ่มพันธมิตรเสนอ


เพราะหน่วยงานของสถาบันกษัตริย์ได้ประโยชน์จากระบอบเศรษฐกิจที่เป็นอยู่อย่างมาก หุ้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และหน่วยงานมีเอี่ยวด้วยหลายตัวติดอยู่ใน 100 อันดับแรกของ SET Index อาทิ SCB, SCC, SCCC, TPC, SICCO, ฯลฯ (http://www.set.or.th/th/operation/indices/Download_SET100.html) รวมทั้งยังมีทั้งบุคคลและองค์กรที่โยงใยได้ประโยชน์จากการซื้อหุ้นชินคอร์ปครั้งนี้ด้วย


 


- วงเงินกู้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ (ถือหุ้นใหญ่โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) และธนาคารกรุงเทพ ปล่อยให้กับบริษัท ไซแพรส ทั้งหมดจำนวน 30,000 ล้านบาท แบ่งกันในสัดส่วน 50% เพื่อไปปล่อยกู้ให้บริษัท ซีดาร์ โฮลดิ้งส์ ที่มีธนาคารจากสิงคโปร์ค้ำประกันเงินกู้อยู่ ทั้งนี้เพื่อซื้อหุ้นของชินคอร์ป


 


- ม.ล.ชโยทิต กฤดากร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้จัดเตรียมคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (เท็นเดอร์ ออฟเฟอร์) ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ของ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น (SHIN) http://www.scbs.com/th/about/board_director.aspx เป็นหนึ่งในสามกุนซือของดีลประวัติศาสตร์ชินคอร์ป (โปรดดู "คลี่เบื้องหลัง "ปิดดีล...ชินคอร์ป" แกะรอย 3 กุนซือ...ร่วมก่อการ"(http://www.bangkokbizweek.com/20060104/road/index.php?news=column_19736022.html) 


 


- และ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร เป็นบุตรชายของ ม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นรองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) (http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=1997) ส่วนบุตรสาวของม.ร.ว.ยงสวาสดิ์ กฤดากร คือ ม.ล. ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี หรือ คุณต้น ผู้รับบท พระสุริโยไท


 


- และ ม.ล.ชโยทิต กฤดากร ยัง "มีชื่อว่าจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่ พ.ต.ท.ทักษิณเริ่มตั้ง ครม. "ทักษิณ 2" โดยขณะนั้นมีข่าวว่าจะเข้ามาเป็น รมว.คลัง รมว.พาณิชย์ และ รมว.คมนาคม"


(http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=3074&db_file=&PHPSESSID=fe7a31caa3d143378fca9a6f7f72c606)


 


- นายพงส์ สารสิน ประธานชินคอร์ปคนใหม่ เป็นน้องชายของ นายอาสา สารสิน ซึ่งเป็น ราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ ตั้งแต่ 2543  เจ้าของประกาศสำนักราชเลขาธิการอันลือลั่น[i]  (โปรดอ่าน "สารสิน ในชิน-สิงคโปร์" เนชั่น สุดสัปดาห์  ปีที่   15   ฉบับที่  713  วันที่  วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2549 http://www.nationweekend.com/2006/01/26/NW11_118.php)


 


- นายอาสา สารสิน ยังเป็นประธานกรรมการบริษัทไทยเอเชียแปซิฟิคบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์ไฮเนเก้นและไทเกอร์ของสิงคโปร์ (http://www.tapb.co.th/en/index.php)


 


- นายชุมพล ณ ลำเลียง เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งถือได้ว่าเป็นกิจการเรือธงสำหรับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกลุ่มธุรกิจในเครือมีกำไรเติบโตขึ้นมากกว่า 800% ในช่วงไม่ถึง 10 ปีที่ผ่านมา (และนายกฯ ทักษิณยกมาอ้างว่ากำไรเร็วกว่าชินคอร์ปในช่วงเวลาเดียวกันเสียอีก) ตั้งแต่ปี 2545 นายชุมพล ณ ลำเลียง ยังเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทสิงคโปร์ เทเลคอม ในเครือเทมาเส็ก โฮลดิ้ง เชื่อกันว่าเขาเป็นบุคคลสำคัญอยู่เบื้องหลังดีลขายชาติเช่นกันhttp://home.singtel.com/about_singtel/board_n_management/board_of_directors/boardmgmt_boardofdirectors.asp)


 


- นายชุมพล ณ ลำเลียง ยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นที่ปรึกษาการเงินของสถาบันกษัตริย์ จนฝรั่งยกย่องว่าเป็น "The Banker Who Saved The King" (โปรดดู http://www.time.com/time/asia/magazine/99/1206/thai3.moneyman.html) เพราะเขาช่วยกอบกู้กิจการเรือธงของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ทั้งปูนซีเมนต์ไทยและธนาคารไทยพาณิชย์


 


- ที่สำคัญกลุ่มทุนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็มีการร่วมทุนกับกลุ่มทุนของสิงคโปร์หลายโครงการ (อย่างน้อย โปรดดูสัดส่วนการถือหุ้นในกลุ่มธุรกิจในเครือสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ โดยเฉพาะรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) ปูนซีเมนต์ไทย และธนาคารไทยพาณิชย์)


 


- น่าประหลาดที่เครือผู้จัดการที่เป็นกระบอกเสียงของกลุ่มพันธมิตรเพื่อ ต่อต้านทุนจากสิงคโปร์ เพราะนายทุนโฆษณาหลักของเครือผู้จัดการคือบริษัทเบียร์ไทย ของนายนายเจริญ สิริวัฒนภักดี และนายเจริญก็สนิทแนบแน่นกับนายพงส์ สารสิน ประธานชินคอร์ปที่กลุ่มพันธมิตรต่อต้าน (โปรดดูhttp://www.siamrath.co.th/Economic.asp?ReviewID=135023)


 


- และกลุ่มธุรกิจของนายเจริญมีที่ดิน "จำนวนมากทั่วประเทศมูลค่าที่เคยประเมินไว้เมื่อหลายปีก่อนตกประมาณ 5 หมื่นล้าน" และเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 ที่ผ่านมา "นายเจริญและคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ประธานและรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ที.ซี.ซี.แลนด์ จำกัด ในเครือกลุ่ม ที.ซี.ซี. ได้ลงนามในพิธีสัญญาร่วมทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นครั้งแรกกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ บริษัท แคปิตอลแลนด์ (Capital Land) ในเครือบริษัทสิงคโปร์ เทคโนโลยี ภายใต้การดูแลของเทมาเส็ก โฮลดิ้ง (Temasek Holding) ที่รัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่" (โปรดดู ภาคผนวก 2 เปิดขุมข่ายทุนสิงคโปร์ เชื่อมสัมพันธ์ลึกกลุ่มเจ้าสัวไทย ประชาชาติธุรกิจ หน้า 1 วันที่ 15 กันยายน 2546 ปีที่ 27 ฉบับที่ 3514 (2714)


 


- สำหรับเครือผู้จัดการ ไม่เข้าข่ายว่า "เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง" หรือ ????


 


และโปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมด้านล่างครับ


 


ความร่ำรวยของสถาบันกษัตริย์


รายละเอียดเกี่ยวกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อ่านที่นี่ http://www.crownproperty.or.th/


"สำนักงานทรัพย์สินฯ มีผู้เช่าทั่วประเทศประมาณ 36,000 ราย โดยแยกเป็นผู้เช่าในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประมาณ 24,000 ราย ในส่วนภูมิภาคอีกประมาณ 12,000 ราย" http://www.crownproperty.or.th/pro02.htm


จาก Wikipedia ก็น่าสนใจครับ


 


"Crown Property Bureau


The assets of the King and the Thai royal household are managed by the Crown Property Bureau. Estimates of the total wealth of the royal household range from 2 billion to 8 billion USD [http://www.time.com/time/asia/magazine/99/1206/thai3.moneyman.html]. The current Director General of the CPB is Chirayu Issarangkul Na Ayuthaya. Through the CPB, the King owns many properties through-out Thailand and equity in many companies, including Siam Cement (the largest Thai industrial conglomerate) and Siam Commercial Bank (one of the largest banks). About 36,000 of the CPB's properties are leased or rented to third parties [http://www.crownproperty.or.th/pro02.htm]. Properties owned by the CPB include the sites of the Four Seasons Hotel, the Suan Lum Night Bazaar, and Central World Tower."


http://en.wikipedia.org/wiki/Bhumibol_Adulyadej


 


1. ธนาคารไทยพาณิชย์


ตามทะเบียนผู้ถือหุ้น ณ 16 มีนาคม 2548 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นรวม 807,399,258 หุ้น คิดเป็น  23.75 % รองลงมาเป็นกองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่งถือหุ้นรวม 785,798,200 คิดเป็น 23.12 % HSBC (Singapore) Nominees Pte Ltd. ถือหุ้นอยู่ 62,626,663 หุ้น คิดเป็น 1.84 % (ที่มาhttp://www.scb.co.th/html/th/investor_info_structure.shtml) ปี 2547 ธนาคารไทยพาณิชย์ มีกำไรสุทธิรวม 18,488,711,598 บาท (ถ้าคิดตามสัดส่วนการถือหุ้น จะเป็นกำไรของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และกลุ่มประมาณ 4,444.68 ล้านบาท) และจนถึงเดือนกันยายน 2548 มีกำไรสุทธิรวม 5,272 ล้านบาท (ที่มา http://www.scb.co.th/html/th/investor_info_financialsummary.shtml) มีนายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา กรรมการและผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นนายกกรรมการของคณะกรรมการธนาคารไทยพาณิชย์ (http://www.scb.co.th/html/th/investor_info_board.shtml) "เนื่องจากชาวไทยเคารพต่อสถาบันกษัตริย์ ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับพระราชวงศ์ จึงช่วยให้ผู้ฝากเกิดความมั่นใจ" (โปรดดู THE PRESSURE IS ON: Testing times for Thailand's top female banker http://www.pathfinder.com/asiaweek/99/0730/biz4.html)


 


2. บริษัทปูนซีเมนต์ไทย[ii]


สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยถือหุ้นรวม 360,000,000 หุ้น หรือ 30.00% ของหุ้นทั้งหมด, บริษัททุนลดาวัลย์ (ซึ่งถือหุ้นโดยสำนักทรัพย์สินฯ 100%) ถือหุ้น 23,202,000 หุ้น หรือ 1.93%, สำนักงานพระคลังข้างที่ ถือหุ้น 15,473,000 หุ้น หรือ1.29%  HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD ถือหุ้นอยู่ 17,681,514 หุ้น คิดเป็น 1.47 % (http://www.cementhai.co.th/newsite/th/investor_relation/shareholders_structure.asp)


กำไรสุทธิของบริษัทปูนซีเมนต์ไทยจากปี 2544-2548 เรียงตามลำดับ 7,634, 14,604, 19,954, 36,483, 32,236 ล้านบาท


(http://www.cementhai.co.th/newsite/th/investor_relation/financial_statements/financial_statements.asp)


 


ถ้าคิดตามสัดส่วนการถือหุ้น (30.0%) จะเป็นกำไรของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ประมาณ 9670.8 ล้านบาท (สำหรับปี 2548 ที่ผ่านมา)


 


3. บริษัทเทเวศประกันภัย


สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยถือหุ้นรวม 2,999,940 หุ้น หรือ 25% ของหุ้นทั้งหมด รองลงมาคือ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย 2,504,900 หุ้น หรือ 20.87% และธนาคารไทยพานิชย์ 1,895,680 หุ้น หรือ 15.80% (ที่มา : http://www.deves.co.th/shareholders/s-holder.htm)


ปี 2547 บริษัทเทเวศประกันภัยมีกำไรสุทธิรวม 172.13 ล้านบาท (ที่มา : http://www.deves.co.th/shareholders/s-income.htm)


 


เมื่อเดือนมีนาคม 2549 บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทได้มีมติอนุมัติ ให้ขายหุ้นทั้งหมดที่ถืออยู่ในบริษัท เทเวศประกันภัย จำกัด (มหาชน) (DVS) จำนวน 2,504,900 หุ้น คิดเป็น 20.87% ให้แก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (CPB) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท (http://www.bangkokbiznews.com/2006/03/23/f001_88985.php?news_id=88985)


 


4. บริษัททุนลดาวัลย์ "เป็นผู้บริหารจัดการภายใต้การกำกับดูแลและตรวจสอบของคณะกำกับดูแล ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานทรัพย์สินฯ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ โดยจะต้องบริหารงานให้เป็นไปตามนโยบายที่สำนักงานทรัพย์สินฯ กำหนดพร้อมทั้งจะต้องรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการทรัพย์สินฯ อย่างสม่ำเสมอ" (http://www.crownproperty.or.th/pro02.htm)


 


นอกจากนั้น บริษัททุนลดาวัลย์ถือหุ้นในบริษัทไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) (TPC) ซึ่งเป็นผู้ผลิตเม็ดพลาสติก PVC รายใหญ่ที่สุดในไทย (ผู้ถือหุ้นใหญ่คือบริษัทปูนซีเมนต์ไทย 39.61%)


 


5. บริษัทเงินทุนสินอุตสาหกรรม (SICCO) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่จำนวนหุ้น230,883,188 หุ้นหรือคิดเป็น 38.66% (http://www.sicco.co.th/about_shareholders.php) ซึ่งมีรายได้สุทธิของปี 2548 จำนวน 1,623,623,041 บาท  


 


6. บริษัทบางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส์ หรือ BIHC[iii] โดยพฤตินัยถือว่าสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเป็นเจ้าของโครงการสยามพารากอน ร่วมกับกลุ่มเดอะมอลล์ (เจ้าของเดอะมอลล์และเอ็มโพเรียม) ทั้งนี้โดยการเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นระยะเวลา 34 ปี นอกเหนือจากเป็นเจ้าของสยามดิสคัฟเวอรี่และสยาม เซ็นเตอร์อยู่แล้ว


(โปรดอ่านรายละเอียดในบทความ "สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก. ใหญ่ที่สุดกลางกรุงเทพฯ" นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546 ด้านล่าง)


 


7. บริษัทสกายเอเชีย จำกัด (Nok Air) เป็นการร่วมทุนกันระหว่างบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) บริษัททุนลดาวัลย์ จำกัด (สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์) บริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ จำกัด (ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด(มหาชน) บริษัททิพยประกันภัย จำกัด(มหาชน) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนเปิดไทยทวีทุน โดย บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไอเอ็นจี (ประเทศไทย) จำกัด และ ผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ  


 


8. บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) (TIC)[iv]: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระองค์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือกำเนิดขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า สมเด็จย่าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ด้วยทรงเล็งเห็นว่าควรจัดตั้งบริษัทประกันภัยของคนไทยขึ้น เพื่อมิให้สูญเสียเงินตราแก่ต่างประเทศ มีการเพิ่มทุนอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการเจริญเติบโตจนกระทั่งปี พ.ศ. 2519 ได้นำหุ้นสามัญของบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนซื้อขายในตาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยโดยใช้ชื่อย่อ TIC นับเป็นบริษัทประกันภัยบริษัทแรกที่เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536


(http://www.thaiins.com/)


ฯลฯ


 


ภาคผนวก 1


สยามพารากอน ดิเวลลอปเม้นท์, บจก. ใหญ่ที่สุดกลางกรุงเทพฯ


นิตยสารผู้จัดการ มกราคม 2546


Big Idea ของผู้หญิงสองคนคือ ชฎาทิพ จูตระกูล และ ศุภลักษณ์ อัมพุช ที่คิดการใหญ่ ทำโครงการ "Siam Paragon The Pride of Bangkok" บนที่ดินผืนประวัติศาสตร์ 52 ไร่ ใจ กลางกรุงเทพฯ นั้น เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของผู้คนนับตั้งแต่ เปิดตัวโครงการเมื่อต้นปี พ.ศ.2545 ที่ผ่านมา


 


การดำเนินการได้ลุล่วงไปตามกำหนดที่วางไว้ทุกอย่าง โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตอล ที่เคยอยู่เคียงคู่ย่านสยามมานานถึง 36 ปี ถูกรื้อถอนหายลับไปกับสายตาอย่างรวดเร็ว เหลือทิ้งไว้เพียงพื้นที่ว่างเปล่า และต้นไม้ใหญ่อีกไม่กี่ต้น


 


แต่ก่อนที่ได้ฤกษ์ลงเสาเข็มต้นใหญ่ของโครงการใหม่ในปลายเดือนพฤศจิกายน ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นครั้งใหญ่ ในบริษัทบางกอกอินเตอร์คอนติเนนตอลโฮเต็ลส์ (BIHC) ซึ่งเคยมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 4 ราย คือ บริษัท Six Continents Hotels 28.58% กระทรวงการคลัง 21.74% บริษัททุนลดาวัลย์ 11.06% ธนาคารไทยพาณิชย์ 10.08% และกลุ่มผู้ถือหุ้นรายย่อยอื่นๆ อีก 200 กว่าราย


 


โครงการสยามพารากอน เกิดจากการร่วมทุนของบริษัท BIHC กับบริษัทเดอะมอลล์กรุ๊ป จำกัด จัดตั้งเป็นบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์ เพื่อพัฒนาที่ดิน 25 ไร่ด้านหน้าติดกับถนนพระราม 1 เพื่อทำศูนย์การค้า และศูนย์การบันเทิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยบริษัทสยามพารากอน ดีเวลลอปเม้นท์นั้นไม่เกี่ยว ข้องกับการพัฒนาที่ดิน


 


เฟสที่ 2 ซึ่งจะอยู่ด้านหลังโครงการสยามพารากอนและกำลังวางแผนสร้างโรงแรมใหม่พร้อมลักชัวรี่ เซอร์วิสพาร์ตเมนต์


 


การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเมื่อบริษัท Six Continents Hotels ได้ขายหุ้นทั้งหมด เป็นเงินประมาณ 900 ล้านบาท ให้กับบริษัทเอ็มบีเค ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเมื่อรวมกับหุ้นเดิม ที่มีอยู่ ทำให้เอ็มบีเคมีหุ้นทั้งหมดใน BIHC ถึง 30.60 เปอร์เซ็นต์ และได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ไปทันที ในขณะที่สัดส่วนผู้ถือหุ้น รายใหญ่คนอื่นยังคงเดิม


 


เป็นการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นใหญ่ครั้งแรกของ BIHC นับตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทเมื่อปี พ.ศ.2502 และส่งผลให้บริษัทนี้กลายเป็นบริษัทที่มีคนไทยเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้งหมด และนัยที่สำคัญอย่างยิ่งก็คือ การเปลี่ยนคู่แข่งคนสำคัญให้มาเป็นพันธมิตรทางการค้า โดยมีเป้าหมายผนึกกำลังร่วมกัน เพื่อพัฒนาแหล่งชอปปิ้งที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทยให้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น


 


ว่าไปแล้ว ทั้งเอ็มบีเค และ BIHC ก็มีส่วนสัมพันธ์กันพอสมควร เพราะเอ็มบีเค เกิดขึ้นจากการเข้า ไปยึดกิจการมาบุญครองเซ็นเตอร์ จากกลุ่มศิริชัย บูลกุล เจ้าของเดิม ของกลุ่มธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนธนชาติ เมื่อ 10 กว่าปีก่อน ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ และบริษัทเงินทุนธนชาติ ก็มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็นบริษัททุนลดาวัลย์ ตามการปรับโครงสร้างการลงทุนของสำนักงานทรัพย์สินฯ


 


ดังนั้นโครงสร้างการถือหุ้นของมาบุญครอง และ BIHC จึงมีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ลักษณะของโครงการ ที่ดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งกัน เนื่องจากอยู่ในบริเวณเดียวกัน


 


ดีลสำคัญที่เอ็มบีเคได้เข้ามาถือหุ้นใหญ่ ใน BIHC ครั้งนี้เกิดโดยมีการซื้อขายผ่านทางบริษัทโบรกเกอร์อสังหาริมทรัพย์ โจนส์ แลงซาล โดยมีบริษัทหลายแห่งในเมืองไทยซื้อหุ้นตัวนี้ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา BIHC มีตัวเลขการเติบโตของรายได้ ที่น่าสนใจ ช่วง 3 ไตรมาส ในปี 2545 มีรายได้ประมาณ 638.4 ล้านบาท โตขึ้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี พ.ศ.2544


 


ปัจจุบันมาบุญครองเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยาม เซ็นเตอร์ มีทางเดินที่สามารถต่อเชื่อมถึงกันได้หมด รวมทั้งได้วางแผนให้ต่อเชื่อมกับโครงการศูนย์การค้าสยามพารากอนในอนาคต อีกประมาณ 3 ปีข้างหน้าเช่นกัน


 


จะว่าไปแล้วศูนย์การค้าทั้ง 4 แห่งนั้นมีโพสิชั่นนิ่งที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง


 


มาบุญครองจะมีจุดยืนทางการตลาดที่เน้นกลุ่มลูกค้าทุกระดับ


 


สยามเซ็นเตอร์มีเป้าหมายเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น


 


สยามดิสคัฟเวอรี่จะเป็นไลฟ์สไตล์เซ็นเตอร์


 


ส่วนสยามพารากอนก็จะมุ่งไปที่กลุ่มลูกค้าระดับสูงค่อนข้าง high-end เป็นเวิลด์คลาสแบรนด์เนม ที่จับกลุ่มลูกค้ากระเป๋าหนักอย่างเดียวเท่านั้น


 


แต่เมื่อรวมกันทั้งหมด พื้นที่แห่งนี้คือแหล่งชอปปิ้งในเมืองไทย ซึ่งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายครบทุกระดับชั้นทีเดียว


 


หากมองในทางยุทธศาสตร์แล้ว การเข้ามาถือหุ้นใน BIHC เป็นธุรกรรมที่ค่อนข้างมีความหมายต่อเอ็มบีเค พร็อพเพอร์ตี้เพราะสามารถยึดพื้นที่ที่เป็นแหล่งชอปปิ้งสำคัญกลางกรุงเทพฯไว้ได้มากที่สุด ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักชอปหลายระดับ


 


อย่างไรก็ตาม เอ็มบีเค พร็อพเพอร์ตี้ ก็ได้ยืนยันว่าในโครงการสยามพารากอนนั้น จะมีส่วนร่วมในฐานะกรรมการของบริษัทเท่านั้น ส่วนการบริหารกิจการทั้งหมดยังคงอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของทีมงานบริหารชุดเดิม ที่มีชฎาทิพ และ ศุภลักษณ์ รับผิดชอบหลักอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง


 


สำหรับกรรมการชุดใหม่ จากเอ็มบีเค ที่เข้ามาใหม่ 3 คนคือ บันเทิง ตันติวิท ประธานกรรมการบริหารบริษัทเอ็มบีเค ดีเวลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ศุภเดช พูนพิพัฒน์ รองประธาน กรรมการบริหาร และสุเวทย์ ธีรวชิรกุล กรรมการผู้จัดการ


 


กิจกรรมต่างที่จะเกิดขึ้นในย่านปทุมวันในช่วงระยะเวลาต่อไปนั้น แน่นอนว่าแทนที่จะเป็นต่างคนต่างทำ หรือแข่งกันทำ ต้องเปลี่ยนเป็นร่วมมือกันทำเพื่อสร้างความยิ่งใหญ่อย่างแท้จริงให้กับถนนสายชอปปิ้งแห่งนี้ ซึ่งเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญที่สะท้อน ให้เห็นถึงกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ โดยคนในวงการต้องจับตามองด้วยความสนใจอีกครั้งหนึ่ง


 


แต่คนที่จะได้จริงๆ น่าจะเป็นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพราะมีส่วนร่วมถือหุ้นอยู่ในทุกบริษัทที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับพื้นที่นี้ทั้งหมด


http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=4472


 


ภาคผนวก 2


เปิดขุมข่ายทุนสิงคโปร์ เชื่อมสัมพันธ์ลึกกลุ่มเจ้าสัวไทย


ประชาชาติธุรกิจ หน้า 1 วันที่ 15 กันยายน 2546 ปีที่ 27 ฉบับที่ 3514 (2714)


 


เปิดกลุ่มทุนสิงคโปร์กวาดหุ้นบลูชิพ ทั้งกลุ่มสถาบันการเงิน-อสังหาริมทรัพย์-เทเลคอมเรียบ หวังดันไทยเป็นหัวหอก "ผู้นำอาเซียน" เพื่อเพิ่มศักยภาพสร้างwin-win เกมเบื้องลึกถูกระบุว่าเป็นพวก "นอกคอก" จึงต้องผูกมิตรกับไทยล่าสุดเปิดตัวงานช้างยักษ์อสังหาริมทรัพย์ลงขันร่วมทุน "เจริญ สิริวัฒนภักดี" เจ้าพ่อแลนด์แบงก์ตัวจริงของไทย


 


ในช่วงวันที่ 6-7 กันยายน 2546 ที่ผ่านมา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีพร้อมคณะได้เดินทางไปยังสิงคโปร์เพื่อร่วมหารือกับนายโก๊ะ จ๊ก ตง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งการหารือได้ข้อตกลงร่วมกันว่าจะขยายความร่วมมือระดับทวิภาคีให้ลึกซึ้งและกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในครั้งนั้นผู้นำสิงคโปร์ได้ยกย่อง พ.ต.ท.ทักษิณว่าเป็นผู้นำอาเซียนและเป็นบุคคลที่นำความคิดมาแปรสู่การปฏิบัติได้อย่างแท้จริง


 


ทัพนักลงทุนสิงคโปร์บุกไทย


ต้องจารึกภาพเป็นวันประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2546 ที่ผ่านมา คู่สามีภรรยานักธุรกิจชื่อดังของเมืองไทย นายเจริญและคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ประธานและรองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ที.ซี.ซี.แลนด์ จำกัด ในเครือกลุ่ม ที.ซี.ซี. ได้ลงนามในพิธีสัญญาร่วมทุนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เป็นครั้งแรกกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ บริษัท แคปิตอลแลนด์ (Capital Land) ในเครือบริษัทสิงคโปร์ เทคโนโลยี ภายใต้การดูแลของเทมาเส็ก โฮลดิ้ง (Temasek Holding) ที่รัฐบาลสิงคโปร์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่


 


โดยคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี เป็นผู้ลงนามกับนายหลิว มั่น เหลียง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


บริษัทแคปิตอล แลนด์ ซึ่งมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนางโฮ ชิง (Ho Ching) ประธานบริษัทเทมาเส็ก โฮลดิ้ง และในฐานะภรรยานายลี เซียน ลุง (Lee Hsien Loong) รองนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เป็นประธานร่วมในพิธี


 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การลงนามครั้งนี้มีแขกที่ได้รับเชิญมาร่วมเป็นสักขีพยานนั้น ล้วนจัดอยู่ในระดับผู้บริหารองค์กรใหญ่ ฝ่ายไทยประกอบด้วยผู้แทนจากธนาคารไทยพาณิชย์ ดร.วิชิต สุรพงษ์ชัย คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม นายชโยทิต กฤดากร ฯลฯ จากเครือซิเมนต์ไทย นายชุมพล ณ ลำเลียง ที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทสิงคโปร์ เทเลคอม ในเครือเทมาเส็ก โฮลดิ้ง นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการคณะกรรมการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) นายชลกานต์ บุปผเวส กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.ซี.ซี.แลนด์ ที่ดูแลธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของตระกูล "สิริวัฒนภักดี" รวมถึงผู้แทนฝ่ายสิงคโปร์ นายชาน เฮง วิง (Chan Heng Wing) เอกอัครราชทูตสิงคโปร์ประจำประเทศไทย นายคี เต็ก คูน (Kee teck Koon) กรรมการบริหาร กลุ่มแคปิตอล แลนด์ คอมเมอร์เชียล ฯลฯ


 


นายคี เต็ก คูน กรรมการบริหาร บริษัทแคปิตอล แลนด์ คอมเมอร์เชี่ยล และแคปิตอลแลนด์ ไฟแนนเชียล จากสิงคโปร์ ให้สัมภาษณ์ว่า แคปิตอล แลนด์ เป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ติดอันดับสองของสิงคโปร์ งานหลักที่ทำในสิงคโปร์คือ การบริหารทรัพย์สิน (property management) ที่ถือว่าทางกลุ่มมีความชำนาญมาก


 


กับคำถามว่า ใครเป็นผู้ประสานหรือติดต่อทำให้เกิดการร่วมทุนในครั้งนี้ นายคี เต็ก คูน บอกว่า "จุดเริ่มต้นของที่มาเป็นพันธมิตรในวันนี้ เป็นเรื่องบังเอิญ ช่วงต้นปี 2546 ที่ผ่านมา คุณเจริญและคุณหญิงวรรณาได้เดินทางมาสิงคโปร์และเข้าพักที่โรงแรมในเครือของแคปิตอลแลนด์ และได้เจอกับคุณหลิว มั่น เหลียง ทั้งสองฝ่ายจึงได้มีการพูดคุยกัน และชอบพอกันทั้งสองฝ่าย จากนั้นก็ได้มีการเดิน ทางมาพูดคุยกันที่ประเทศไทยอีกครั้ง ซึ่งการตกลงเรื่องสัญญาร่วมทุนใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น"


 


ในเบื้องต้นแคปิตอลแลนด์จะส่งผู้บริหารเข้ามาร่วมงานในบริษัทใหม่ จำนวน 2 คนก่อน แต่จะมารับตำแหน่งไหนยังไม่สามารถบอกได้ในขณะนี้ แต่ที่ผ่านมาทางกลุ่มก็มีธุรกิจในเมืองไทยอยู่แล้ว เป็นโรงแรม 2 แห่ง และโครงการเซอร์วิส อพาร์ตเมนต์อีก 1 แห่งในย่านใจกลางเมืองของกรุงเทพฯ


 


"หลังจากร่วมทุนกับ ที.ซี.ซี. แลนด์ เราจะเน้นไปที่ธุรกิจหลักๆ 3 อย่าง คือ ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน และศูนย์การค้าระดับนานาชาติ หรืออาจมีการผสมผสานทั้ง 3 แบบเข้าด้วยกันในลักษณะการพัฒนาที่ดินแบบครบวงจร


ตอนนี้ก็คิดโครงการไว้บ้างแล้วแต่ยังเปิดเผยไม่ได้"


 


นายคี เต็ก คูน ให้ความเห็นถึงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยว่า เป็นตลาดใหญ่ที่น่าจับตา และหลังผ่านวิกฤตค่าเงิน ธุรกิจนี้มีการเติบโตเร็วมาก โดยส่วนตัวคิดว่าน่าจะโตเร็วที่สุดในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้


 


"กรณีที่เลือกร่วมลงทุนกับ ที.ซี.ซี. แลนด์ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราเห็นว่าเป็นพันธมิตรที่มีฐานธุรกิจอันแข็งแกร่งติดอันดับต้นๆ ในเมืองไทยโดยเฉพาะเจ้าของธุรกิจทั้งสามีภรรยา (คุณเจริญ-คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี) ต้องยอมรับว่าเป็นคนเก่งทั้งคู่ และมีแลนด์แบงก์มหาศาล ยิ่งรัฐบาลไทยให้การสนับสนุนด้านนโยบายอยู่แล้ว เชื่อว่าอีกไม่นานบริษัทร่วมทุนใหม่จะเติบโตขึ้นมาก เพราะได้จุดแข็งทั้งสองฝ่ายมาเสริมซึ่งกันและกัน


 


เทมาเส็ก โฮลดิ้ง ปักหลักที่ไทย


ที่ผ่านมาแคปิตอลแลนด์ได้เข้ามาลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้บริษัท Premas International ของแคปิตอลแลนด์ได้ตั้งบริษัทร่วมทุน "Premas Thailand" ขึ้นมาให้บริการด้านการดูแลจัดการอสังหาริมทรัพย์ไทยแล้ว นอกจากนี้แคปิตอล แลนด์ยังมีบริษัท Raffles Holdings ซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 โดยได้มีการเซ็นสัญญาดูแลโรงแรมเมอร์แชนท์ คอร์ท และเร็วๆ นี้ก็ได้มีการเซ็นสัญญาเข้าไปดูแลโรงแรมนายเลิศ โฮเต็ล และรัฟเฟิ้ล รีสอร์ท ที่ภูเก็ต ทั้งนี้ ปัจจุบันแอสคอร์ท กรุ๊ป ดูแลด้านที่พักอาศัยให้เช่าในกรุงเทพฯกว่า 700 ยูนิต นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 แคปิตอลแลนด์ได้เข้ามาลงทุนในใทยผ่านทาง IP Propery Fund Asia ด้วย ซึ่งแคปิตอลแลนด์เป็นหนึ่งในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ธุรกิจหลักๆ ที่ทำคือ ที่อยู่อาศัย สินทรัพย์ทางการค้าและอุตสาหกรรม (commercial and industrial property) และบริการที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทุนสินทรัพย์ และเรียลเอสเตตไฟแนนเชียล


 


บรรยากาศในวันงานเป็นไปอย่างคึกคักและกระชับ โดยเจ้าภาพฝ่ายไทยได้จัดเลี้ยงอาหารกลางวันพร้อมดื่มแชมเปญฉลองหลังเซ็นสัญญาตามธรรมเนียมสากล ขณะที่มาดามโฮ ซิง เจ้าภาพฝ่ายสิงคโปร์ได้เตรียมขนมหวานไว้รับรองแก่แขกในงานด้วยเป็นการตบท้าย เป็นขนมบัวลอยสีชมพู หรือที่เรียกว่า "อั่งอี๊" ตามประเพณีคนจีนที่เชื่อว่าเมื่อจัดงานมงคลและได้รับประทานขนมชนิดนี้แล้ว ทุกคนจะดำเนินชีวิตและการงานได้อย่างราบรื่นไร้อุปสรรค หรือที่คนจีนมักจะพูดกันว่า


"เซ็งลี้ฮ้อ" ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาพอสมควร เพราะส่วนใหญ่จะไม่รู้จักและไม่เข้าใจว่ามีความหมายอย่างไร


 


เสี่ยเจริญเปิดพอร์ตที่ดิน


นายเจริญ ประธาน บริษัท ที.ซี.ซี. แลนด์ กล่าวว่า แผนระยะสั้นบริษัทร่วมทุนจะเร่งพัฒนาที่ดิน 3 แปลงให้แล้วเสร็จ คือ ที่ดินหลังโรงแรมพลาซ่า แอทธินี ขนาด 7-8 ไร่ ที่ทำค้างอยู่ให้เป็นโครงการเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ และอาคารสำนักงาน มูลค่าลงทุนประมาณ 3,000 ล้านบาท รวมถึงที่ดินขนาด 300 ไร่ย่านถนนเกษตร-นวมินทร์ (เกษตรตัดใหม่)จะพัฒนาใหม่เป็นโครงการศูนย์การค้าและแสดงสินค้านานาชาติ อาจมีที่อยู่อาศัยแบบแนวราบแนวสูงผสมด้วย สุดท้ายเป็นที่ดินย่านเอกมัยที่ดูอยู่ว่าจะพัฒนาเป็นอะไร อนาคตเมื่อบริษัทใหม่ ทีซีซี แคปิตอลแลนด์ ทำธุรกิจจนประสบผลสำเร็จ จะนำบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯต่อไป


 


รายงานข่าวเปิดเผยว่า กลุ่มนายเจริญมีแลนด์แบงก์จำนวนมากทั่วประเทศมูลค่าที่เคยประเมินไว้เมื่อหลายปีก่อนตกประมาณ 5 หมื่นล้าน หากกรมที่ดินมีการประเมินราคาที่ดินใหม่ในปี 2547 คาดว่ามูลค่าที่ดินของกลุ่มนี้จะมีมากขึ้น เนื่องจากที่ดินหลายแปลงจะอยู่ในทำเลที่ดีใจกลางเมือง หรือติดกับโครงข่ายคมนาคมตัดใหม่ อาทิ ถนนเกษตรตัดใหม่ โครงการนอร์ธปาร์ค ริมถนนวิภาวดีรังสิต 200 ไร่ ที่ดินในต่างจังหวัดแถบชายทะเลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งติดชายหาดยาวหลายกิโลเมตร และก่อนหน้านี้กลุ่มนายเจริญได้ดอดซื้อที่ 9 ไร่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านพระราม 3 ไปแล้วจากบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน (บบส.) ราคา ตร.ว.ละ 1 แสนบาท


 


เบื้องลึกการผูกมิตรกับไทย


แหล่งข่าวจากวงการที่ปรึกษาทางการเงิน ให้ความเห็นต่อกรณีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับสิงคโปร์ว่าเนื่องจากประเทศไทยในสายประเทศต่างๆ จะค่อนข้างเป็นที่ยอมรับ ยิ่งทำให้สิงคโปร์ต้องการผูกมิตรกับประเทศไทยเพื่อต้องการให้ไทยเป็นผู้นำอาเซียนในทิศทางที่สิงคโปร์อยากจะให้เป็นไป


 


แหล่งข่าววิเคราะห์ว่า เนื่องจากสิงคโปร์เสมือนเป็นลูกนอกคอกของกลุ่มอาเซียน เพราะสิงคโปร์เป็นประเทศที่แปลกแยกไปจากประเทศอาเซียนอื่นๆ หากเทียบชั้นดูจะเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งสิงคโปร์รู้ดีว่าหากจะเสนออะไรกับกลุ่มอาเซียนส่วนใหญ่จะไม่เอาด้วย แต่ถ้าหากให้ไทยเป็นผู้เสนอจะได้รับการยอมรับมากกว่า


 


"สิงคโปร์เลือกไทยเป็นพันธมิตรเพราะต้องการ win win ทั้งสองฝ่าย หากเปรียบเทียบไทยกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซียแล้ว ไทยน่าจะเวิร์กที่สุด ทั้งในเรื่องการเมือง ภาวะผู้นำ นิสัยคนไทยและความสัมพันธ์ของไทยกับประเทศต่างๆ อาทิ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐ ทุกประเทศแฮปปี้กับไทย ขณะที่ประเทศในอาเซียนอื่นๆ ก็ยังเป็นประเทศที่ด้อยพัฒนา ไม่อยู่ในเรดาร์ จึงมีไทยเท่านั้นที่ดีที่สุดในการเป็นพาร์ตเนอร์ชิปกัน โดยที่สิงคโปร์มีเงินทุนขณะที่ไทยมีทรัพยากร ทำให้ผลประโยชน์ไปด้วยกันได้" แหล่งข่าวให้ความเห็น


 


ลุยเก็บหุ้นทุกกลุ่ม


แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาสิงคโปร์ได้เข้ามาลงทุนในประเทศไทยจำนวนมากมาย โดยเฉพาะในกลุ่มหลักๆ


ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสถาบันการเงิน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มโทรคมนาคม และอื่นๆ การเข้ามาของการมาลงทุนได้เข้ามาทั้งในส่วนของภาครัฐบาลและเอกชน


 


ในส่วนของรัฐบาลในนามของ The Government of Singapore Investment Corporation หรือ GIC ซึ่งเป็นกองทุนของภาครัฐบาลที่เข้าไปลงทุนในกิจการต่างๆ อาทิ การถือหุ้นในบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส, บริษัทแคล-คอมพ์ อิเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บริษัทเดลต้า อิเลคทรอนิกส์ (ประเทศไทย), บริษัทจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่, บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์, บริษัทแม็คโคร, บริษัทควอลิตี้เฮ้าส์, บริษัทไทยยูเนี่ยนโฟรเซ่นฟูดส์ นอกจากนี้ยังเข้าถือหุ้นในสถาบันการเงิน อาทิ ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารกรุงเทพ, บริษัทเงินทุนทิสโก้


 


นอกจากนี้ยังมี Development Bank of Singapore ซึ่งได้มาซื้อกิจการธนาคารไทยทนุในช่วงวิกฤต ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นธนาคารดีบีเอส ไทยทนุ ทั้งนี้ได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ดีบีเอสวิคเกอร์ส (ประเทศไทย) และยังมีธนาคาร United Overseas Bank ได้เข้ามาซื้อกิจการธนาคารรัตนสิน และเปลี่ยนชื่อมาเป็นธนาคารยูโอบี รัตนสิน รวมทั้งการถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ด้วย


 


ทางด้านภาคเอกชนสิงคโปร์ที่เข้ามาลงทุน อาทิ Sing Tel ซึ่งเป็นบริษัทเทเลคอมยักษ์ใหญ่ของสิงคโปร์ ได้เข้ามาถือหุ้นในบริษัทเอไอเอส เป็นต้น หรือกลุ่มเอชเอสบีซี (สิงคโปร์) ลงทุนใน บล.แอสเซทพลัส บริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวง บริษัทชลประทานซีเมนต์ บริษัทจัสมินอินเตอร์เนชั่นแนล บริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น ส่วนบริษัท Raffles ของสิงคโปร์ ถือในบริษัทไอทีวี บริษัทแลนด์ แลนด์ เฮ้าส์ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย เป็นต้น


 


ขณะเดียวกันจากตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงจากสิงคโปร์ในปี 2544


มีจำนวน 1,563 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ปรับตัวลดลงในปี 2545 เหลือ 1,233 ล้านเหรียญสหรัฐ และล่าสุดมกราคม-พฤษภาคม 2546 มีจำนวน 256 ล้านเหรียญสหรัฐ


 


ส่วนข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอได้แจ้งว่า นักลงทุนจากสิงคโปร์ได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งปีแรก 2546 มีทั้งสิ้น 24 โครงการเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2545 คิดเป็น 41.18% แต่จำนวนมูลค่าโครงการลดลง 28.1% (มูลค่าการลงทุนลดลงจาก 6,882.1 ล้านบาท เหลือเพียง 4,950.1 ล้านบาท) โดยจำนวนโครงการที่ได้รับอนุมัติมี 18 โครงการ มูลค่าลงทุน 5,008.9 ล้านบาท


 


 


 






เชิงอรรถ


[i]"ตามที่ปรากฏเป็นข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการอัญเชิญ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ออกมาเผยแพร่นั้น


 


สำนักราชการเลขาธิการขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะทั่วไปอยู่แล้ว และประชาชนก็รับรู้มาโดยตลอดว่า มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 เพราะฉะนั้น การที่หน่วยงานหรือสื่อมวลชนใดจะนำออกมาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเองนั้นก็สามารถกระทำได้


 


แต่สำนักราชเลขาธิการขอปฏิเสธการกล่าวอ้างของบางฝ่ายที่กล่าวถึงสำนักราชเลขาธิการว่า เป็นผู้สั่งการหรือสนับสนุนให้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เผยแพร่พระราชดำรัสดังกล่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2549 จึงขอแถลงข่าวมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน"" (หมายเหตุ ข้อความในย่อหน้าสุดท้ายถูกสั่งให้ตัดออก โปรดดู http://www.thairath.co.th/thairath1/2549/politic/mar/15/scpol.php)



 


[ii][ii] คณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)


เชาวน์ ณศีลวันต์                        ประธานกรรมการ (ตั้งแต่ 2518 องคมนตรี)


กำธน สินธวานนท์                      กรรมการ (ตั้งแต่ 2530 องคมนตรี)


พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา         กรรมการ (ตั้งแต่ 2535 ประธานกรรมการบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)


เสนาะ อูนากูล                            กรรมการ (กรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)


ศิววงศ์ จังคศิริ                           กรรมการ (ตั้งแต่ 2539 ประธานร่วมฝ่ายไทย องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย, 2543-2545 ประธานกรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน))


สุเมธ ตันติเวชกุล                        กรรมการ (ตั้งแต่ 2546 ประธานคณะกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์  จำกัด, ตั้งแต่ 2531 กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา)


ยศ เอื้อชูเกียรติ                          กรรมการ (ตั้งแต่ 2540 ที่ปรึกษาการเงินและการลงทุน  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ตั้งแต่ 2544 ประธานกรรมการ บริษัททุนลดาวัลย์ จำกัด, ตั้งแต่ 2544 ประธานกรรมการ บริษัทวังสินทรัพย์ จำกัด)


ปรีชา อรรถวิภัชน์                      กรรมการ


พนัส สิมะเสถียร                         กรรมการ (กรรมการบริษัท Bangkok Intercontinental Hotels Co, ตั้งแต่ 2537 กรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์,  ตั้งแต่ 2540 รองประธานกรรมการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ตั้งแต่ 2543 กรรมการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ตั้งแต่ 2544 ประธานคณะกรรมการ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ)


อาสา สารสิน                              กรรมการ (ตั้งแต่ 2536 ประธานกรรมการ บริษัทไทยเอเชียแปซิฟิคบริวเวอรี่ จำกัด, ตั้งแต่ 2541 ประธานกรรมการ บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (โปรดพิจารณา กรณีการแพร่ของสารแคดเมียมที่บ้านแม่ตาว อำเภอแม่สอด ตาก), ตั้งแต่ 2542 ประธานกรรมการ บริษัทสยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน), ตั้งแต่ 2543 ราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ,  ตั้งแต่ 2546 กรรมการ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด)


ชุมพล ณ ลำเลียง                       กรรมการผู้จัดการใหญ่


กานต์ ตระกูลฮุน                         รองกรรมการผู้จัดการใหญ่


วรพล เจนนภา                            เลขานุการคณะกรรมการและเลขานุการบริษัท


http://www.cementhai.co.th/newsite/th/about_scg/organization_chart/board_of_director.asp



 


[iii] รายนามคณะกรรมการ Bangkok Intercontinental Hotels Co (BIHC)


Lt. General. Chalermchai Charuvastra, Chairman


Dr. Panas Simasathien


Mr. Charncai Charuvastra


Mrs. Katevalee Phisanbut


Mrs. Chadatip Chutrakul, Managing Director


Ms. Pawinee Sitachitt


Ms. Chintana Kovatana


Mrs. Mayuree Chaipromprasith


 



[iv] รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) (TIC) ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น วันที่ 6 พฤษภาคม 2546


1. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช     1,271,599          17.66%


2. ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)                720,000             10.00% (ทุนสิงคโปร์)


3. บริษัท สนอง ตู้จินดา จำกัด                                 453,780             6.30%


4. นายไพสิฐ ตู้จินดา                                             355,200             4.93%


5. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์      271,720             3.77%


6. ม.ล.พวงแก้ว ณ ระนอง                                                                          167,868             2.33%


7. สำนักงานพระคลังข้างที่ บัญชีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม                                  164,484             2.28%


8. สำนักงานพระคลังข้างที่ บัญชีสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ                         108,000             1.50%


9. บริษัท ศกรกมล จำกัด                                                                           84,204              1.17%


10. บริษัท ทิพยสมบัติ จำกัด                                                                       79,344              1.10%


 


 






เชิงอรรถ


[i]"ตามที่ปรากฏเป็นข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการอัญเชิญ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ออกมาเผยแพร่นั้น


 


สำนักราชการเลขาธิการขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะทั่วไปอยู่แล้ว และประชาชนก็รับรู้มาโดยตลอดว่า มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 เพราะฉะนั้น การที่หน่วยงานหรือสื่อมวลชนใดจะนำออกมาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเองนั้นก็สามารถกระทำได้


 


แต่สำนักราชเลขาธิการขอปฏิเสธการกล่าวอ้างของบางฝ่ายที่กล่าวถึงสำนักราชเลขาธิการว่า เป็นผู้สั่งการหรือสนับสนุนให้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เผยแพร่พระราชดำรัสดังกล่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2549 จึงขอแถลงข่าวมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน"" (หมายเหตุ ข้อความในย่อหน้าสุดท้ายถูกสั่งให้ตัดออก โปรดดู http://www.thairath.co.th/thairath1/2549/politic/mar/15/scpol.php)



 


[ii][ii] คณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)


เชาวน์ ณศีลวันต์                        ประธานกรรมการ (ตั้งแต่ 2518 องคมนตรี)


กำธน สินธวานนท์                      กรรมการ (ตั้งแต่ 2530 องคมนตรี)


พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา         กรรมการ (ตั้งแต่ 2535 ประธานกรรมการบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)


เสนาะ อูนากูล                            กรรมการ (กรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)


ศิววงศ์ จังคศิริ                           กรรมการ (ตั้งแต่ 2539 ประธานร่วมฝ่ายไทย องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย, 2543-2545 ประธานกรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน))


สุเมธ ตันติเวชกุล                        กรรมการ (ตั้งแต่ 2546 ประธานคณะกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์  จำกัด, ตั้งแต่ 2531 กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา)


ยศ เอื้อชูเกียรติ                          กรรมการ (ตั้งแต่ 2540 ที่ปรึกษาการเงินและการลงทุน  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ตั้งแต่ 2544 ประธานกรรมการ บริษัททุนลดาวัลย์ จำกัด, ตั้งแต่ 2544 ประธานกรรมการ บริษัทวังสินทรัพย์ จำกัด)


ปรีชา อรรถวิภัชน์                      กรรมการ


พนัส สิมะเสถียร                         กรรมการ (กรรมการบริษัท Bangkok Intercontinental Hotels Co, ตั้งแต่ 2537 กรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์,  ตั้งแต่ 2540 รองประธานกรรมการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ตั้งแต่ 2543 กรรมการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ตั้งแต่ 2544 ประธานคณะกรรมการ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ)


อาสา สารสิน                              กรรมการ (ตั้งแต่ 2536 ประธานกรรมการ บริษัทไทยเอเชียแปซิฟิคบริวเวอรี่ จำกัด, ตั้งแต่ 2541 ประธานกรรมการ บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (โปรดพิจารณา กรณีการแพร่ของสารแคดเมียมที่บ้านแม่ตาว อำเภอแม่สอด ตาก), ตั้งแต่ 2542 ประธานกรรมการ บริษัทสยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน), ตั้งแต่ 2543 ราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ,  ตั้งแต่ 2546 กรรมการ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด)


ชุมพล ณ ลำเลียง                       กรรมการผู้จัดการใหญ่


กานต์ ตระกูลฮุน                         รองกรรมการผู้จัดการใหญ่


วรพล เจนนภา                            เลขานุการคณะกรรมการและเลขานุการบริษัท


http://www.cementhai.co.th/newsite/th/about_scg/organization_chart/board_of_director.asp



 


[iii] รายนามคณะกรรมการ Bangkok Intercontinental Hotels Co (BIHC)


Lt. General. Chalermchai Charuvastra, Chairman


Dr. Panas Simasathien


Mr. Charncai Charuvastra


Mrs. Katevalee Phisanbut


Mrs. Chadatip Chutrakul, Managing Director


Ms. Pawinee Sitachitt


Ms. Chintana Kovatana


Mrs. Mayuree Chaipromprasith


 



[iv] รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) (TIC) ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น วันที่ 6 พฤษภาคม 2546


1. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช     1,271,599          17.66%


2. ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด (มหาชน)                720,000             10.00% (ทุนสิงคโปร์)


3. บริษัท สนอง ตู้จินดา จำกัด                                 453,780             6.30%


4. นายไพสิฐ ตู้จินดา                                             355,200             4.93%


5. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์     271,720      3.77%


6. ม.ล.พวงแก้ว ณ ระนอง                                                                          167,868      2.33%


7. สำนักงานพระคลังข้างที่ บัญชีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม                                  164,484      2.28%


8. สำนักงานพระคลังข้างที่ บัญชีสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ                         108,000     1.50%


9. บริษัท ศกรกมล จำกัด                                                                           84,204       1.17%


10. บริษัท ทิพยสมบัติ จำกัด                                                                       79,344      1.10%


 



0 0 0


 


เชิงอรรถ


[1]"ตามที่ปรากฏเป็นข่าวของสื่อมวลชนเกี่ยวกับการอัญเชิญ พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 ออกมาเผยแพร่นั้น


 


สำนักราชการเลขาธิการขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า พระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นเป็นข้อมูลข่าวสาร ซึ่งได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณะทั่วไปอยู่แล้ว และประชาชนก็รับรู้มาโดยตลอดว่า มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2535 เพราะฉะนั้น การที่หน่วยงานหรือสื่อมวลชนใดจะนำออกมาเผยแพร่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้ความรับผิดชอบของตนเองนั้นก็สามารถกระทำได้


 


แต่สำนักราชเลขาธิการขอปฏิเสธการกล่าวอ้างของบางฝ่ายที่กล่าวถึงสำนักราชเลขาธิการว่า เป็นผู้สั่งการหรือสนับสนุนให้โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย เผยแพร่พระราชดำรัสดังกล่าวนี้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มีนาคม 2549 จึงขอแถลงข่าวมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน"" (หมายเหตุ ข้อความในย่อหน้าสุดท้ายถูกสั่งให้ตัดออก โปรดดู http://www.thairath.co.th/thairath1/2549/politic/mar/15/scpol.php)


 


[1][1] คณะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)


เชาวน์ ณศีลวันต์                        ประธานกรรมการ (ตั้งแต่ 2518 องคมนตรี)


กำธน สินธวานนท์                      กรรมการ (ตั้งแต่ 2530 องคมนตรี)


พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา         กรรมการ (ตั้งแต่ 2535 ประธานกรรมการบริษัทชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน)


เสนาะ อูนากูล                            กรรมการ (กรรมการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์)


ศิววงศ์ จังคศิริ                           กรรมการ (ตั้งแต่ 2539 ประธานร่วมฝ่ายไทย องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย, 2543-2545 ประธานกรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน))


สุเมธ ตันติเวชกุล                        กรรมการ (ตั้งแต่ 2546 ประธานคณะกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนไทยพาณิชย์  จำกัด, ตั้งแต่ 2531 กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา)


ยศ เอื้อชูเกียรติ                          กรรมการ (ตั้งแต่ 2540 ที่ปรึกษาการเงินและการลงทุน  สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ตั้งแต่ 2544 ประธานกรรมการ บริษัททุนลดาวัลย์ จำกัด, ตั้งแต่ 2544 ประธานกรรมการ บริษัทวังสินทรัพย์ จำกัด)


ปรีชา อรรถวิภัชน์                      กรรมการ


พนัส สิมะเสถียร                         กรรมการ (กรรมการบริษัท Bangkok Intercontinental Hotels Co, ตั้งแต่ 2537 กรรมการ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์,  ตั้งแต่ 2540 รองประธานกรรมการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ตั้งแต่ 2543 กรรมการ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, ตั้งแต่ 2544 ประธานคณะกรรมการ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ)


อาสา สารสิน                              กรรมการ (ตั้งแต่ 2536 ประธานกรรมการ บริษัทไทยเอเชียแปซิฟิคบริวเวอรี่ จำกัด, ตั้งแต่ 2541 ประธานกรรมการ บริษัทผาแดงอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (โปรดพิจารณา กรณีการแพร่ของสารแคดเมียมที่บ้านแม่ตาว อำเภอแม่สอด ตาก), ตั้งแต่ 2542 ประธานกรรมการ บริษัทสยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน), ตั้งแต่ 2543 ราชเลขาธิการ สำนักราชเลขาธิการ,  ตั้งแต่ 2546 กรรมการ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด)


ชุมพล ณ ลำเลียง                       กรรมการผู้จัดการใหญ่


กานต์ ตระกูลฮุน                         รองกรรมการผู้จัดการใหญ่


วรพล เจนนภา                            เลขานุการคณะกรรมการและเลขานุการบริษัท


http://www.cementhai.co.th/newsite/th/about_scg/organization_chart/board_of_director.asp


 


[1] รายนามคณะกรรมการ Bangkok Intercontinental Hotels Co (BIHC)


Lt. General. Chalermchai Charuvastra, Chairman


Dr. Panas Simasathien


Mr. Charncai Charuvastra


Mrs. Katevalee Phisanbut


Mrs. Chadatip Chutrakul, Managing Director


Ms. Pawinee Sitachitt


Ms. Chintana Kovatana


Mrs. Mayuree Chaipromprasith


 


[1] รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่บริษัท ไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) (TIC) ณ วันปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้น วันที่ 6 พฤษภาคม 2546


1. พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช                                      1,271,599    17.66%


2. ธนาคาร ดีบีเอส ไทยทนุ จำกัด(มหาชน)                                                  720,000      10.00% 


                                                                                                                    (ทุนสิงคโปร์)


3. บริษัท สนอง ตู้จินดา จำกัด                                                                   453,780        6.30%


4. นายไพสิฐ ตู้จินดา                                                                                355,200       4.93%


5. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์     271,720      3.77%


6. ม.ล.พวงแก้ว ณ ระนอง                                                                          167,868      2.33%


7. สำนักงานพระคลังข้างที่ บัญชีวัดพระศรีรัตนศาสดาราม                                  164,484      2.28%


8. สำนักงานพระคลังข้างที่ บัญชีสมเด็จเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดาฯ                         108,000      1.50%


9. บริษัท ศกรกมล จำกัด                                                                           84,204        1.17%


10. บริษัท ทิพยสมบัติ จำกัด                                                                       79,344       1.10%


 


ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net