Skip to main content
sharethis


การขายหุ้นชินคอร์ปของครอบครัว พ.ต.ท.ทักษิณให้แก่บรรษัทเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ ในวันที่ 23 มกราคมที่ผ่านมานั้น กลายเป็นประเด็นหลักที่ทำให้คนไทยผู้รู้เรื่องนี้จำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวขับไล่นายกรัฐมนตรีของไทยให้พ้นจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ทำจดหมายเปิดผนึกชี้แจงเรื่องการขายหุ้นชินคอร์ป ถึงสมาชิกพรรคไทยรักไทย และเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เมื่อได้อ่านจดหมายเปิดผนึกของ พ.ต.ท.ทักษิณแล้ว จะเห็นว่าท่านไม่ได้พูดถึงประเด็นที่เป็นปัญหาเท่าที่ควร เราจึงขอ "เก็บตก" จากจดหมายเปิดผนึกฯ ที่นายกฯทักษิณตั้งประเด็นไว้ 5 ข้อ มาเสนอให้ท่านทราบดังนี้

 


1.      ทำไมต้องขายหุ้นชินคอร์ป?


การที่นายกฯ ทักษิณอ้างว่าตนขายหุ้น "เพื่อชาติ" โดยต้องการจะหลีกเลี่ยงการมี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" นั้น ท่านพูดความจริงหรือไม่เราไม่ทราบ เรามีข้อสังเกตดังนี้


 


1.1 จดหมายเปิดผนึกฯ มีข้อความส่อให้เห็นว่า นายกฯทักษิณยังคงยุ่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการบริษัทและการขายหุ้นที่เป็นปัญหาอยู่ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 209


 


1.2 ถ้าท่านนายกฯ ต้องการขายหุ้นเพื่อหลีกเลี่ยงการมี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" ทำไมท่านจึงไม่ขายไปตั้งแต่ก่อนเข้าดำรงตำแหน่ง หรือระยะเริ่มแรกของการดำรงตำแหน่ง แต่รอเนิ่นนานมาจนถึงเวลาที่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาขุดคุ้ย-ประจานพฤติกรรมของนายกฯ


 


1.3 ถ้าการขายหุ้นชินคอร์ปเป็นการขายหุ้นให้คนไทย (ซึ่งคงจะได้กำไรน้อยลง) ท่านนายกฯก็จะปลอดจากข้อกล่าวหาที่ว่าเป็นผู้นำของประเทศ ในการขายสมบัติของไทยให้คนต่างชาติ ละเมิดกฎหมายหลายฉบับ และร่วมมือกับคนต่างชาติทำกลฉ้อฉลตั้งบริษัทหุ่น สัญชาติไทยที่มี "หัวใจสิงคโปร์" ทำบริษัทต่างชาติให้เป็น "บริษัทไทย" เพื่อตบตาคนไทย นายกฯของไทยทำเสียเองในสิ่งที่ควรนำในการปราบปรามพฤติกรรมของพ่อค้าที่สมคบกันหลอกลวงประชาชนที่ยังไม่รู้เดียงสาใช่หรือไม่


 


2.      ขายหุ้นได้กำไร ต้องเสียภาษีหรือไม่?


การขายหุ้น (หลักทรัพย์) ในตลาดหลักทรัพย์ได้รับยกเว้นภาษี ข้อนี้ไม่มีปัญหา ที่นายกฯทักษิณยกตัวอย่างว่าใครต่อใครขายหุ้นกันก็ไม่ต้องเสียภาษีนั้นถูกต้องแล้ว แต่จดหมายเปิดผนึกของนายกฯไม่ได้พูดถึงส่วนอื่นๆ ที่ต้อง/ควรเสียภาษี คือ การซื้อ-ขายหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ต.ล.ท.) และการให้หุ้นโดยเสน่หา ซึ่งดูเหมือนกุนซือด้านภาษีของท่านจะยังปิดช่องโหว่ไม่มิด หรือเลี่ยงภาษีอย่างข้างๆ คูๆ ดังนี้


 


2.1 การซื้อขายหุ้นนอกต.ล.ท. ต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับส่วนต่างระหว่างราคาซื้อขาย (ราคาพาร์) กับราคาตลาด ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 39, 40 (4) (ก), 40(8) แบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้


 


(ก) คำนวณเงินได้พึงประเมินจากส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นที่ต่ำกว่าความจริงกับราคาตลาด ให้คิดภาษีในวันที่ซื้อขายหุ้นโดยไม่ต้องรอการขายหุ้น เพราะเป็นรายได้ตามความเป็นจริงของปีนั้น ส่วนการซื้อขายครั้งต่อไปก็เอารายการที่เสียภาษีไปแล้วเป็นต้นทุน ไปหักออกจากราคาขายในตลาดในวันซื้อขาย ผลออกมาคือฐานในการคำนวณภาษีสำหรับกรณีนั้น  วิธีการคำนวณภาษีอย่างนี้ถูกต้องตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับบทความที่ ผศ.ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ ที่ลงตีพิมพ์ในมติชนรายวัน (1 กุมภาพันธ์ 2549, น. 2) นอกจากนั้น ยังสอดคล้องกับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 28/2538 และการเก็บภาษีส่วนต่างระหว่างราคาพาร์กับราคาตลาดจากผู้ซื้อหุ้น ก.ฟ.ผ. เมื่อปลายปี 2548 ก็ใช้หลักนี้


 


(ข) คำนวณภาษีเงินได้พึงประเมินจากส่วนต่างระหว่างราคาหุ้นที่ต่ำกว่าความจริงกับราคาตลาด โดยรอคิดภาษีเมื่อขายหุ้นแล้ว วิธีนี้เป็นของใหม่ เข้าใจว่าเป็นผลจากความพยายามของผู้มีอำนาจจัดเก็บภาษีจากบุคคลในครอบครัวนายกฯทักษิณ ที่โอนหุ้นกันโดยตรงนอก ต.ล.ท. อันมีมูลค่าครั้งละมากๆ เมื่อซื้อขายหุ้นกันนอก ต.ล.ท. ก็ตกลงกันในราคาพาร์ (เพื่อเลี่ยงภาษี) เมื่อจะขายหุ้นให้เทมาเส็กของสิงคโปร์ ซึ่งต้องทำผ่านต.ล.ท. (ซึ่งต้องซื้อขายกันตามราคาตลาด) ก็โอนหุ้นจากบริษัทของตนในราคาพาร์ให้เป็นของตนเองในฐานะเอกชนเสียก่อน (เลี่ยงภาษีอีกครั้ง) เสร็จแล้วจึงขายให้เทมาเส็กในราคากำไรหุ้นละ 48.25 บาท แล้วอ้างว่าได้รับยกเว้นภาษีเพราะขายใน ต.ล.ท. การตะแบงตีความแบบนี้มีผลทำให้ภาระการเสียภาษีจากกำไรที่ค้างไว้ในการโอนหุ้นครั้งก่อนๆ นอก ต.ล.ท. ระงับไปหมดสิ้น อย่างไรก็ตาม เมื่ออ่านข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีจากการจัดเก็บภาษีกับบุคคลอื่นๆ ก่อนหน้านี้ เช่นของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ซึ่งเป็นกรณีเรื้อรังมานานแล้ว เข้าใจว่ากรมสรรพากรคงจะเก็บภาษีส่วนต่างดังกล่าวของบุคคลอื่นๆ เพราะคำวินิจฉัยนั้นมีข้อความว่าหากขายหุ้นเมื่อไรก็ต้องเสียภาษี คล้ายกับจะอธิบายว่า ถ้าไม่ขายก็ไม่รู้ว่าได้กำไรเท่าไร ฉะนั้น การขายหุ้นประเภทนี้ใน ต.ล.ท. ในราคาตลาดไม่เป็นเหตุให้เสียภาษี แต่เป็นเหตุให้ทราบส่วนกำไรสำหรับนำมาคำนวณภาษี จึงไม่ขัดแย้งกับประกาศกระทรวงการคลังฉบับที่ 126 (23) มิเช่นนั้นทุกคนจะเลี่ยงภาษีแบบบุคคลในครอบครัวนายกฯ ทักษิณ


 


2.2 การให้หุ้นโดยเสน่หาต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากร ในบรรดาหุ้นชินคอร์ปที่นายกฯ ทักษิณและคู่สมรสแจกจ่ายออกไปให้ลูกๆ และน้องๆ นั้น มีรายการเดียวที่ระบุว่าเป็นการโอนให้เปล่า "โดยเสน่หา" คือคุณหญิงพจมานให้แก่นายบรรณพจน์ ดามาพงศ์ จำนวน 45 ล้านหุ้น (ภายหลังแตกหุ้นจาก 10 บาทเป็น 1 บาทแล้ว) ถ้ายอมพูดความจริงกัน การขายหรือให้หุ้นชินคอร์ป
ราคา
พาร์ให้ลูกๆ และน้องๆนั้นคงหนีไม่พ้นการซุกหุ้นซึ่งละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรา 209 และเลี่ยงภาษีตามประมวลรัษฎากร ไม่ใช่เป็นการให้เพื่ออุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา หรือให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีต่างๆ ตามมาตรา 42 (10) หรือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรมสรรพากรยกเว้นภาษีให้นายบรรณพจน์โดยอ้างว่าเป็นการขายหุ้นใน ต.ล.ท. แต่เข้าใจว่าคงจะเรียกเก็บภาษีกับบุคคลอื่นๆ เช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในข้อ 2.1 (ข)


 


ด้วยเหตุผลใดก็ตาม ถ้ากรมสรรพากรจะตะแบงตีความอย่างน่าเกลียดว่าเป็นการให้เปล่า "โดยเสน่หา" ตามมาตรา 42 (10) ก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 126 วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2509 ข้อ 17 ซึ่งให้ยกเว้นภาษีเฉพาะส่วนที่ให้กันภายในวงเงิน 200,000 บาท ตลอดปีภาษีเท่านั้น


 


2.3 แม้ความจริงการซื้อขายหุ้นที่เป็นปัญหาอาจจะเป็นทรัพย์สินของนายกฯทักษิณและคู่สมรสทั้งหมด แต่เมื่อท่านทำหลักฐานไว้ว่าได้โอนให้ลูกๆ และน้องไปแล้ว เราก็คงต้องแกะรอยตามที่ท่านสร้างหลักฐานให้ไว้เท่าที่จะหาได้ เฉพาะข้อมูลที่เรามีอยู่ปัจจุบัน นายพานทองแท้ น.ส.พิณทองทา นายบรรณพจน์ และน.ส.ยิ่งลักษณ์ มีภาระภาษีที่จะต้องเสียเหมือนบุคคลธรรมดาอื่นๆ แบบใดแบบหนึ่ง ดังนี้


 


ภาระการเสียภาษีที่ได้กำไรจากการได้รับหุ้นชินคอร์ปในราคาต่ำกว่าราคาตลาด


แบบ ก. (คำนวณตามเกณฑ์ที่กล่าวไว้ใน 2.1 (ก) และ 2.2)






























































































































































ผู้มีเงินได้


(ผู้รับประโยชน์)


ผู้ให้


(ว.ด.ป.โอนหุ้น)


จำนวนหุ้น


(ล้าน)


กำไร (บาท)


(ราคาตลาด-ราคารับโอน)


อัตราภาษี


ภาษีที่ต้องชำระ


(บาท)


นายพานทองแท้


 


 


 


 


 


พ.ต.ท.ทักษิณ


329.2


17.80-1.00


37%


2,046,307,200


 


(1 ก.ย. 43)


 


 


 


 


 


คุณหญิงพจมาน


424.7


17.80-1.00


37%


2,639,935,200


 


(1 ก.ย. 43)


 


 


 


 


 


แอมเพิลริช


164.6


47.25-17.80


37%


1,793,563,900


 


(20 ม.ค. 49)


 


 


 


 


น.ส.พิณทองทา


 


 


 


 


 


พานทองแท้


367.0


10.20-1.00


37%


1,249,268,000


 


(9 ก.ย. 45)


 


 


 


 


 


แอมเพิลริช


164.6


47.25-1.00


37%


2,816,717,500


 


(20 ม.ค. 49)


 


 


 


 


นายบรรณพจน์


 


 


 


 


 


คุณหญิงพจมาน


45.0


8.80-0.00


37%


146,520,000


 


(7 พ.ย. 40)


 


 


 


 


 


คุณหญิงพจมาน


268.25


17.80-1.00


37%


1,667,442,000


 


(1 ก.ย. 43)


 


 


 


 


น.ส.ยิ่งลักษณ์


 


 


 


 


 


พ.ต.ท.ทักษิณ


20.0


17.80-1.00


37%


124,320,000


 


(1 ก.ย. 43)


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


รวมภาษีที่ต้องชำระ


12,484,073,800


 


แบบ ข. (คำนวณตามเกณฑ์ที่กล่าวไว้ใน 2.1 (ข) และ 2.2)




















































































































ผู้มีเงินได้


(ผู้รับประโยชน์)


ผู้ให้


(ว.ด.ป.โอนหุ้น)


จำนวนหุ้น


(ล้าน)


กำไร (บาท)


(ราคาตลาด-ราคารับโอน)


อัตราภาษี


ภาษีที่ต้องชำระ


(บาท)


นายพานทองแท้


 


 


 


 


 


เหมือนแบบ (ก)


918.5


49.25-1.00


37%


16.397,521,250


 


 


 


 


 


 


น.ส.พิณทองทา


 


 


 


 


 


เหมือนแบบ (ก)


531.6


49.25-1.00


37%


9,490,389,000


 


 


 


 


 


 


นายบรรณพจน์


 


 


 


 


 


คุณหญิงพจมาน


45.0


49.25-0.00


37%


820,012,500


 


(7 พ.ย. 40)


 


 


 


 


 


คุณหญิงพจมาน


268.25


49.25-1.00


37%


4,788,433,125


 


(1 ก.ย. 43)


 


 


 


 


น.ส.ยิ่งลักษณ์


 


 


 


 


 


เหมือนแบบ (ก)


20.0


49.25-1.00


37%


357,050,000


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


 


รวมภาษีที่ต้องชำระ


31,853,905,875


 


2.4 เจ้าพนักงานผู้จัดเก็บภาษีในกรณีนี้คงจะต้องได้รับความไว้วางใจเป็นพิเศษ จะด้วยผลของการวิ่งเต้นของทีมงานที่เข้มแข็งของครอบครัวนายกฯทักษิณ หรือด้วยความเกรงใจ/เกรงกลัวอำนาจก็ตาม การใช้วิชาชีพทำงานเรื่องนี้อย่างเที่ยงธรรมคงทำได้ยาก เมื่อท่านนายกฯทักษิณบอกว่าไม่ต้องเสียภาษี กุนซือที่จงรักภักดีของท่านก็บอกว่าไม่มีภาษีที่จะต้องเสีย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่ใกล้ชิดกับท่านมาเป็นเวลานานก็บอกว่าไม่ต้องเสียภาษี แล้วอธิบดี-รองอธิบดีกรมสรรพากรที่รักตัวกลัวอำนาจที่ไหนจะกล้าออกมาบอกว่าการขายหุ้นชินคอร์ป เงินกองโตที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นของไทยรายนี้ มีใครบ้างที่จะต้องเสียภาษี


 


2.5 ข้าราชการในกรมสรรพากรที่มีอำนาจหน้าที่จัดเก็บภาษีในเรื่องนี้คงจะเสี่ยงต่อการถูกฟ้องศาลตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ หรือโดยทุจริต ซึ่งมีโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี พวกเขาจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการเปลี่ยนเกณฑ์การเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นนอก ต.ล.ท. ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดก็ดี จากการโอนหุ้นให้ "โดยเสน่หา" ก็ดี ซึ่งนำไปสู่การยกเว้นภาษีเพราะนำหุ้นไปซื้อขายกันใน ต.ล.ท. นั้น มีกฎหมายอ้างอิงได้ รัฐไม่เสียหาย และบังคับใช้อย่างเท่าเทียมกัน


 


2.6 ครอบครัวนายกฯ ทักษิณจะเสียภาษีในกรณีนี้หรือไม่ เราคิดว่าไม่ได้อยู่ที่ว่ารัฐเสียรายได้มากน้อยเพียงใดเท่านั้น แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่า และน่าวิตกอย่างยิ่งก็คือ ศักดิ์ศรีและขวัญของข้าราชการในกรมสรรพากร จำนวนมากที่ยังซื่อสัตย์และรักความเป็นธรรม ได้ถูกทำลายย่อยยับโดยอิทธิพลการเมืองและการเงินของคนในครอบครัวที่เป็นหัวหน้ารัฐบาล และพฤติกรรมของผู้มีอำนาจในการจัดเก็บภาษีของรัฐ ที่ยอมสยบต่ออำนาจเบื้องบน ถ้าบุคคลธรรมดาและบริษัทนิติบุคคลพากันเลี่ยงภาษีแบบนี้ รัฐจะเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นจากใคร? ใครเป็นคนทำให้ระบบภาษีของไทยพังพินาศ?


 


3.      ขายชาติใช่ไหม?


นายกฯทักษิณปกป้องสิทธิการขายหุ้นชินคอร์ปให้กับเทมาเส็กของรัฐบาลสิงคโปร์ว่า เป็นธุรกิจธรรมดา ไม่ได้ขายสมบัติของชาติ ไม่ใช่ขายใบอนุญาตการให้บริการสัญญาณดาวเทียมโทรทัศน์ ฯลฯ เทมาเส็กผู้ถือหุ้นใหญ่เพียงแต่เข้ามาบริหาร ประเด็นนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลในการปกปักษ์รักษาอำนาจอธิปไตยของรัฐ อะไรเป็นสมบัติของชาติ และอะไรเป็นของเอกชน


 


3.1 จดหมายเปิดผนึกฯ มีนัยคล้ายๆ กับว่า ถ้าจักรวรรดินิยมต่างชาติจะเข้ามาเป็นรัฐบาลบริหารประเทศไทยก็ไม่เป็นไร เขาเอาแผ่นดินไทยไปไม่ได้ คนไทยก็ยังจะมีสิทธิอยู่ในแผ่นดินนี้แหละ


 


3.2 ท่านนายกฯทักษิณโต้คู่ปรปักษ์ว่า "กรณีตระกูลเบญจรงคกุลขายหุ้นบริษัทยูคอมให้ต่างชาติ 38% เมื่อเดือนตุลาคม 2548 ก่อนครอบครัวผมจะขายหุ้นชินคอร์ป 3 เดือน ทำไมไม่ถูกกล่าวหาว่าขายชาติ หรือขายสมบัติชาติ"


ประเด็นนี้สำคัญ ท่านนายกฯทักษิณยังไม่เข้าใจบทบาทของนายกรัฐมนตรีว่าควรเป็นอย่างไร (1) ตระกูลเบญจรงคกุลไม่ใช่ตระกูลนายกรัฐมนตรี พวกเขาทำการค้าแบบพ่อค้า (2) พ.ต.ท. ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี มีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ เมื่อเห็นคนทำผิดรัฐธรรมนูญ (มาตรา 39) และ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม (มาตรา 8 ซึ่งกฎหมายในขณะนั้นยังไม่ยอมให้คนต่างด้าวถือหุ้นเกิน 25%) ท่านมีอำนาจหน้าที่สั่งการให้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง (3) แทนที่จะปฏิบัติตามหน้าที่ในข้อ (2) แต่ท่านเองกลับทำผิดกฎหมาย และรัฐธรรมนูญเสียเอง (4) ข้อกล่าวหาที่ร้ายแรงที่สุดคือการสมคบกับคนต่างชาติตั้งบริษัท "กุหลาบแก้ว" ขึ้นมาหลอกชาวบ้านว่าเป็นบริษัทสัญชาติไทย (ความจริงแล้วคงมีร่างไทย หัวใจสิงคโปร์ดูได้จากการที่ใครเป็นผู้มีอำนาจทำนิติกรรม) การกระทำเช่นนั้นฝ่าฝืนบทบัญญัติใน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 มาตรา 36 ซึ่งบัญญัติว่า "ผู้มีสัญชาติไทย... ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุน หรือร่วมประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว...หรือถือหุ้นแทนคนต่างด้าวในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจำกัด หรือนิติบุคคลใดๆ เพื่อให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยหลีกเลี่ยงหรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้... ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับ..." ตราบใดที่นายกฯ ทักษิณยังมีอำนาจ ไม่มีใครในกระทรวงพาณิชย์กล้าเอาเรื่องกับบริษัทในเครือชินคอร์ป ซึ่งต่างด้าวถือหุ้นตามความเป็นจริงเกิน 49.9% แต่ถ้านายกฯทักษิณหมดอำนาจ อาจมีคนกล้าเกิดขึ้นก็ได้ เกรงว่าพวกเขาจะถูกฟ้องศาลฐานปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เสียก่อนตามที่กล่าวแล้วในข้อ 2.5


 


3.3   เราเชื่อว่าสิ่งที่บุคคลในครอบครัวนายกฯ ทักษิณขายให้ต่างชาตินั้นมีสมบัติของชาติรวมอยู่ด้วยดังนี้


 


3.3.1          กิจกรรมโทรคมนาคมเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ เป็นสมบัติของชาติ รัฐธรรมนูญ (ม. 39, 40) จึงบังคับให้สงวนไว้ให้คนไทย ทำโดยวิธีการพิเศษเช่นการให้สัมปทาน โดยพิจารณาคุณสมบัติเป็นกรณีๆ ไป


 


3.3.2          วงโคจรดาวเทียมนั้น แต่ละประเทศมีตำแหน่งจำกัด ประเทศใดใช้หมดโควตาที่ได้ ก็ต้องไปเช่าหรือซื้อของประเทศอื่นมา จึงถือว่าเป็นสมบัติของชาติ


 


 


3.3.3          สัญญาณโทรศัพท์มือถือของบริษัท AIS อาจจะถูกรัฐบาลสิงคโปร์ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เอาไปใช้เพื่อส่งเสริมความมั่นคงของสิงคโปร์ในลักษณะที่ขัดต่อความมั่นคงของไทยได้


 


3.3.4          คลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์ของบริษัทไอทีวีจำกัด (มหาชน) รวมทั้งสิทธิในการจัดรายการต่างๆ นั้น ก็ย่อมจะตกไปอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาลสิงคโปร์ด้วย


 


4        แก้กฎหมายโทรคมนาคมเอื้อประโยชน์ชินคอร์ปจริงหรือไม่?


นายกฯ ทักษิณพยายามบอกให้เราเชื่อว่า บริษัทอื่นๆ ที่เป็นคู่แข่งของบริษัทชินคอร์ป ต่างหาก ไม่ใช่คนในครอบครัวของท่านที่พยายามผลักดันการแก้กฎหมายโทรคมนาคมให้ต่างชาติถือหุ้นได้มากขึ้น จากไม่เกิน 25% เป็นไม่เกิน 49% เรามีข้อสังเกตว่าคำชี้แจงนั้นยังไม่ได้สะท้อนความจริงให้ประชาชนเห็นดังนี้


 


4.1 กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดผลักดันอยู่ข้างหลังในการแก้กฎหมายฉบับนี้นั้นไม่ใช่ประเด็นสำคัญ สำคัญอยู่ที่ว่า กฎหมายที่ออกมานั้นเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยรวมหรือไม่ ไม่มีใครเชื่อว่า ถ้านายกฯ ทักษิณไม่เห็นด้วยการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้จะสำเร็จลุล่วงไปได้


 


4.2 ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่าตามร่างกฎหมายที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ส่งต่อมาให้ ก่อนที่ท่านเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้นปี 2544 นั้น ท่านเห็นด้วยที่มิให้ต่างชาติถือหุ้นในธุรกิจโทรคมนาคมเกิน 25% เพราะบริษัทในเครือของท่านเท่านั้นที่มิได้บอบช้ำจากวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะเป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าท่านรู้ข้อมูลจากวงในของรัฐบาลพลเอกชวลิต จึงไหวตัวกู้สถานการณ์ไว้ทันก่อนค่าเงินบาทลอยตัว ท่านกันคู่แข่งมิให้ฟื้นตัวได้สำเร็จอย่างโดดเด่น


 


4.3 เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมแล้ว ท่านก็สามารถระดมเสียงสนับสนุนจากพรรคไทยรักไทยให้ผ่านร่างกฎหมายตามที่ท่านต้องการ คุณเสนาะ เทียนทอง และคุณประมวล รุจนเสรี ซึ่งเคยเป็นสมาชิกระดับแกนนำของพรรคไทยรักไทย ออกรายการให้สัมภาษณ์วิทยุโทรทัศน์หลายครั้งในวาระต่างกันว่า พวก ส.ส.ถูกท่านนายกฯ ใช้ทำงานเพื่อประโยชน์ของคนในครอบครัวเกี่ยวกับเรื่องการแก้กฎหมายโทรคมนาคม ก่อนกฎหมายจะออกมาใช้บังคับ ครอบครัวนายกฯ ทักษิณส่งสายออกเจรจาขายหุ้นให้ต่างชาติ ช่างเหมาะเจาะเหลือเกิน เมื่อกฎหมายออกมาใช้บังคับได้ 1 วันท่านก็ขายหุ้นบริษัทชินคอร์ป 49.595% ของหุ้นทั้งหมดให้เทมาเส็ก ในวันที่ 23 มกราคม 2549  ในการนี้ มีใครบ้างที่ไม่สงสัยว่า ครอบครัวของท่านใช้อภิสิทธิในฐานะผู้บริหารของบริษัท รู้ข้อมูลภายในทั้งหมด ทำการซื้อขายหุ้นพร้อมกับเจรจาจะขายหุ้นให้เทมาเส็ก เมื่อได้หุ้นจำนวนเหมาะเจาะตามที่กฎหมายใหม่ให้อำนาจไว้แล้วก็มาเคาะขายผ่าน ต.ล.ท. 


 


4.4 ในช่วง 5 ปีที่ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี สิ่งที่รัฐบาลทักษิณทำเกี่ยวกับธุรกิจโทรคมนาคมเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ครอบครัวนั้น มิไช่เฉพาะการแก้กฎหมายดังกล่าวเท่านั้น แต่ยังมีมติคณะรัฐมนตรีและการเปลี่ยนกฎเกณฑ์ต่างๆ อีกหลายอย่างซึ่งมีผลทำให้รัฐลดค่าสัมปทานบริษัทไอทีวีมูลค่าถึง 17,200 ล้านบาท ยกเว้นภาษีเงินได้ให้บริษัทชินแซตมากกว่า 16,000 ล้านบาท ธนาคารนำเข้าและส่งออกของรัฐต้องเข้าไปค้ำประกันสินเชื่อที่รัฐบาลพม่าซื้อบริการดาวเทียมของบริษัทชินแซต 4,000 ล้านบาท ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ ภายในระยะเวลา 5 ปีที่ท่านเป็นนายกรัฐมนตรี หุ้นชินคอร์ปขึ้นราคาจากหุ้นละ 21 บาท เป็น 49 บาท หุ้นบริษัทเอไอเอส ขึ้นจาก 44 บาทเป็น 106 บาท ในขณะที่บริษัทคู่แข่งอื่นๆ หุ้นขึ้นราคาไม่เกิน 10 บาท และที่ราคาตกเกิน 10 บาทก็มี อันนี้คงไม่ใช่ฝีมือของผู้บริหารอย่างเดียว อิทธิพลและมาตรการส่งเสริมอย่างเป็นรูปธรรมของรัฐบาลคงมีส่วนช่วยอย่างมาก


 


5. บริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ คืออะไร? แอมเพิลริชเป็นของใคร


จดหมายเปิดผนึกของนายกฯทักษิณ ได้บรรยายไว้ว่าบริติช เวอร์จิน ไอส์แลนด์ เป็นดินแดนที่เอื้ออาทรต่อนักธุรกิจ บริษัทการค้าและธนาคารที่มีชื่อเสียงของโลกและของไทยก็ไปจดทะเบียนกันที่นั่น ท่านนายกฯเองก็ไปจดทะเบียนตั้งบริษัทแอมเพิลริชที่นั่น ท่านไม่ได้บอกเราว่าท่านเล่นตลกอะไรที่ใช้เงินเพียง 1 เหรียญสหรัฐฯ (40 บาท ต่อมาได้แก้เป็น 5 เหรียญสหรัฐฯ) ไปจดทะเบียนบริษัทที่นั่น นอกจากนั้น ท่านยอมรับว่า ท่านได้โอนหุ้นชินคอร์ป 32.94 ล้านหุ้น (ต่อมาแตกพาร์เป็น 329.4 ล้านหุ้นๆละ 1 บาท) ไปให้บริษัทแอมเพิลริชของท่าน แต่ได้โอนให้ลูกไปแล้วก่อนที่จะเข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านยังได้โต้แย้งประเด็นๆ อื่นๆ ที่มีคนกล่าวหาว่าท่านทำไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการขายหุ้นชินคอร์ปและบริษัทแอมเพิลริช อย่างไรก็ตาม เรามีข้อมูลและข้อสังเกตเพิ่มเติมดังนี้


 


5.1 คำพูดของท่านนายกฯ ทักษิณ เกี่ยวกับบริติช เวอร์จิน ไอสแลนด์ในจดหมายเปิดผนึกฯของท่านขัดกับสิ่งที่ท่านพูดถึงมันเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 อย่างขาวกับดำ ในวันนั้น ที่ทำเนียบรัฐบาล ท่านได้พูดจาถากถางนักธุรกิจชาวอเมริกันที่ชอบไปจดทะเบียนตั้งบริษัทหนีภาษีที่เกาะบริติชเวอร์จิน ท่านว่าพวกนั้นเป็นคน "ไม่รักชาติ"


 


ในขณะที่ท่านด่าคนอื่นว่าไม่รักชาตินั้น ท่านคงกำลังจะสร้างภาพให้คนไทยเห็นว่าท่านเป็นคนรักชาติสุดๆ ไม่เหมือนพวกขายชาตินักธุรกิจชาวอเมริกัน มาบัดนี้ ท่านบอกเราในจดหมายเปิดผนึกฯ ว่าท่านได้ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทแอมเพิลริชที่เกาะบริติช เวอร์จิน ตั้งแต่ก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี (ตามหลักฐานที่ ก.ต.ล. พ.ต.ท.ทักษิณได้จดทะเบียนตั้งบริษัทแอมเพิลริชที่เกาะบริติช เวอร์จิน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2542) แน่นอนเหลือเกิน ตอนที่ท่านประณามคนไม่รักชาติที่ไปจดทะเบียนบริษัทที่เกาะสวรรค์ด้านภาษีนั้น ท่านคงนึกไม่ถึงว่า เรื่องที่ท่านไปทำเอาไว้นั้นจะแดงออกมาดังที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน ที่น่ามหัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง คือ ท่านลงทุนด่าคนอื่นที่ประพฤติเหมือนท่านว่าไม่รักชาติเพื่อให้เราที่กินแกลบต่างข้าวเชื่อว่าท่านเป็นคนไม่ขายชาติ


 


5.2 ในทำนองเดียวกัน ท่านนายกฯ ทักษิณบอกเราว่าท่านไม่ได้ซุกหุ้นภาค 2 แต่เราจะเชื่อได้อย่างไรในเมื่อท่านพูดอย่างหนึ่งแต่ทำในสิ่งตรงกันข้าม ถ้าท่านมิได้ซุกหุ้นภาค 2 จริง ท่านก็ควรทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 209 และกฎหมายว่าด้วยป.ช.ช. ที่ให้รัฐมนตรีละเว้นการทำธุรกิจ แต่ท่านไปจัดตั้งบริษัทแอมเพิลริชในแดนสวรรค์หนีภาษี และโอนหุ้นชินคอร์ปจำนวน 329.2 ล้านหุ้นของตนไปให้บริษัทแอมเพิลริชของท่านเอง (เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 42, ก.ต.ล. ยืนยันว่ามีหลักฐานการโอนหุ้น) เรื่องการโอนหุ้นของท่านในบริษัทแอมเพิลริช รวมทั้งโอนบริษัทนั้นให้ลูกชายนายพานทองแท้นั้น ไม่มีหลักฐานที่ ก.ต.ล. ต่อเมื่อการขายหุ้นชินคอร์ปมีปัญหา ดูเหมือน ก.ต.ล. จะเชื่อย้อนหลังว่ามีการโอนกันจริง แต่บกพร่องโดยสุจริตที่มิได้แจ้งให้ ก.ต.ล.ทราบ เราเชื่อว่าที่มิได้แจ้งเพราะไม่มีการโอนกันจริง เพราะในตอนนั้นและอย่างเร็วก็ถึงวันที่ 20 พฤษภาคม 2545 (หลังจากท่านได้เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแล้วประมาณหนึ่งปีสามเดือน) ท่านยังพูดที่ทำเนียบรัฐบาลดังได้กล่าวแล้วในข้อ 5.1 เสมือนหนึ่งว่าท่านไม่ได้ไปทำอะไรไว้ที่เกาะอันน่ารังเกียจนั้น ตอนนั้นท่านคงคิดว่าเรื่องสกปรกเหล่านั้นได้ซุกไว้อย่างมิดชิดแล้ว


 


5.3 ท่านนายกฯ มิได้เอาหุ้นไปซุกไว้เฉยๆ หุ้นที่ "โอน" ให้ลูกๆ และญาติบนแผ่นกระดาษนั้น ยังเคลื่อนไหวอยู่เสมอ คนที่ทำธุรกรรมก็คือเลขานุการส่วนตัว หรือคนสนิทของคุณหญิงพจมาน (ซึ่งต้องห้ามตามกฎหมาย ป.ช.ช. โดยให้มีสถานภาพเดียวกับคู่สมรสที่เป็นนายกรัฐมนตรี)


 


5.4 นักแกะรอยการซื้อขายหุ้นชินคอร์ป (บางคนขุดคุ้ยถึงบริษัทในเครือชินคอร์ป คือ ITV, AIS, Thai Air Asia, SATTEL, CSL ด้วย) ค้นพบชื่อบริษัทที่อ้างว่าได้จดทะเบียนเป็นบริษัทต่างชาติต่างๆ มากมายที่เข้ามาซื้อขายหุ้นชินคอร์ปต่างกรรมต่างวาระกัน นอกจาก Ample Rich Investment Ltd. ที่เกาะบริติชเวอร์จิน แล้ว ยังมีบริษัท Ample Rich ที่อังกฤษ Win Mark, Vickers Ballas, VBS-FIX, UBS-PLG, UBS-P/B, UBS-AG, UBS A/C และอื่นๆ บริษัทเหล่านี้อ้างกันว่าอยู่ที่เกาะบริติชเวอร์จินบ้าง สิงคโปร์บ้าง และมาเลเซียบ้าง หลายบริษัทมีที่อยู่เดียวกัน ผู้นำพรรคประชาธิปัตย์พาคณะไปค้นหาสำนักงานบริษัทบางบริษัทที่มีที่อยู่ในสิงคโปร์ แต่ไม่สามารถค้นพบสำนักงานที่มีตัวตนเลย พวกนี้เป็นคนซื่อที่ถูกคนฉลาดแกมโกงหลอกเล่นอย่างน่าสงสาร


 


เราได้ข้อสรุปว่ามีพวกนักธุรกิจสติเฟื่องกลุ่มหนึ่ง คงจะมีกุนซือมือเซียน ทำการสมคบกันตั้งบริษัทต่างๆ เหล่านั้นขึ้นมาบนแผ่นกระดาษ เป็นบริษัทผี มีที่อยู่หลอกๆ บริษัทผีเครือข่ายเดียวกันนี้แหละ "ซื้อขาย" หุ้น และปั่นหุ้น-ช้อนซื้อหุ้นของบริษัทในเครือชินคอร์ป มีเหยื่อที่เป็นบริษัทต่างชาติตัวจริงและคนไทยที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์เข้าไปซื้อขายหุ้นปะปนอยู่บ้าง บริษัทกระดาษที่อ้างว่าจดทะเบียนต่างชาติทำการซื้อขายหุ้นในกระดานต่างประเทศ คนไม่รู้ก็คิดว่าต่างชาติซื้อขายมาก เงินไหลเข้าออกมาก แต่ที่จริงเงินและหุ้นก็ถ่ายเทกันในบรรดาบริษัทผีที่มี "นายใหญ่" ที่อยู่ในกรุงเทพฯ นี้แหละ


 


5.5 คำกล่าวของนายกฯทักษิณที่ว่าท่านไปจัดตั้งบริษัทแอมเพิลริชที่เกาะบริติช เวอร์จิน เพื่อเตรียมการเอาหุ้นชินคอร์ปไปจดทะเบียนใน NASDAQ ของสหรัฐฯ นั้น เป็นเรื่องที่ตลกสิ้นดี ถ้าบริษัทของท่านมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ NASDAQ กำหนดไว้ก็สามารถนำไปจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้น NASDAQ ในนิวยอร์ค โดยตรงได้เลยโดยไม่ต้องทำอะไรให้ซับซ้อน คนเก่งและฉลาดอย่าง


ดร.ทักษิณ และดร.สุวรรณ วลัยเสถียร ไม่รู้เชียวหรือว่า ตลาดหุ้น NASDAQ ไม่รับจดทะเบียนบริษัทนอมินีอย่างแอมเพิลริช หรือคิดว่าคนไทยโง่เง่าเต่าตุ่น โกหกอย่างไรก็เชื่อกันหมด


                                                                       

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net