Skip to main content
ประชาไททำหน้าที่เป็นเวที เนื้อหาและท่าที ความคิดเห็นของผู้เขียน อาจไม่จำเป็นต้องเหมือนกองบรรณาธิการ
sharethis

 


            ความซับซ้อนและเข้าใจยากของ การเปิดการค้าเสรี FTA ถูกปลุกให้กลายเป็นประเด็นสาธารณะของประเทศไปแล้ว เมื่อกลุ่มผู้คัดค้านฯ ระดมพลนับหมื่นมากดดันการเจรจารอบที่ 6 ที่จังหวัดเชียงใหม่ได้สำเร็จ 


            เป็นความสำเร็จในมุมที่ "พลเมืองเหนือ" มองว่ามิใช่การชนะหรือแพ้ของใคร ที่ทำให้โต๊ะเจรจาไม่ได้ง่ายดายตามตารางที่วางไว้  ต้องหนี ถึงขั้นปลอมตัวระเห็จไป หาที่เจรจาแบบหลบซ่อนปกปิด  ไม่สง่าผ่าเผยอย่างที่การต่อรองระหว่างประเทศควรจะเป็น 


หากแต่ความสำเร็จอยู่ที่ "สาระสำคัญของเนื้อหา" ได้ถูกสังคมไทยเหลือบมองและเริ่มต้นศึกษาในรายละเอียดกันมากที่สุด นับจากไทยได้เจรจาการเปิดการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ มาก่อนหน้านี้  


                                                //////


 


             เพราะ รัฐบาลไทย ไม่ยอมเปิดเผยรายละเอียดของข้อเจรจา นั่นคือปัจจัยประการแรก


 คำให้สัมภาษณ์ของพ...ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และการปฏิเสธนำเรื่องนี้เข้าหารือในสภาผู้แทนราษฎรได้ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัย


          "เราจะเปิดเมื่อถึงเวลา   และถึงแม้ว่าจะเอาเข้าสภา เราก็ไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญอะไร และเรื่องนี้มันไม่มีข้อกฎหมายอะไรมากำหนดว่าต้องเอาเข้าสภา เป็นเรื่องงานของฝ่ายบริหาร ยืนยันว่าเรื่องนี้เราเปิดเผยข้อมูลแน่นอน ไม่เห็นมีอะไรต้องไปปิด ไม่รู้จะไปปิดเพื่ออะไร"


              ข้อที่ระบุว่าในสภาฯ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ ก่อให้เกิดจุดเดือดพอสมควร  ทั้ง ๆ ที่ในสภาเป็นที่รวม ส.. จากทั่วประเทศมาจากหลากหลายอาชีพและความรู้ แต่กลับไม่สามารถพึ่งพาร่วมคิดร่วมทำให้พิจารณาข้อเจรจาระหว่างประเทศได้   ส่วนในประเด็นไม่มีข้อกฎหมายต้องนำเข้าสภา  ก็เกิดคำถามต่อมาตรา 224  ของรัฐธรรมนูญไทยจากนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ วุฒิสภา  และเขาได้นำกรณีนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ


            สาระของปัจจัยนี้ได้คลี่คลายออกมากระทั่ง นายราล์ฟ แอล.บอยซ์ เอกอัคราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย และน..บาร์บารา ไวเซิล หัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายสหรัฐอเมริกา ยกทีมเข้าพูดคุยเปิดอกกับ ที่ ส..และส..ของไทยในกลางสัปดาห์   ส่วนฝ่ายไทยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงยืนกรานให้เป็นหน้าที่ของตัวแทนเจรจา


            "ทีมสหรัฐให้ข้อมูลขั้นตอนต่างๆกับเรามากกว่าฝ่ายไทยเสียด้วยซ้ำ  และที่ผ่านมาก็เป็นเช่นนี้ ผมไม่เข้าใจว่าหากข้อตกลงจะเป็นประโยชน์กับประเทศจริงอย่างที่นายกรัฐมนตรีกล่าวอ้าง ทำไมไม่ออกมาอธิบายสิ่งที่จะนำเข้าเจรจาอย่างสง่าผ่าเผย  แต่กลับปกปิดอะไรอยู่  กระบวนก็แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสหรัฐฯ ที่นำเข้ารับความเห็นจากสภาทุกระดับ" นายไกรศักดิ์ให้สัมภาษณ์พลเมืองเหนือระหว่างมาปราศรัยที่ข่วงประตูท่าแพ


            "ไทยโพสต์" พาดหัวใหญ่การเข้าหารือสภาไทยของทีมสหรัฐนี้ว่าเป็นการ "ฉีกหน้า" ทักษิณด้วยซ้ำ


            ปัจจัยประการถัดมาที่กลุ่มผู้คัดค้านสามารถนำมาเรื่องนี้เข้าเป็นประเด็นสาธารณะ คือสาระของข้อตกลงใกล้ตัวคนไทยทั้งประเทศ  คือเรื่องยา


การเปิดเอฟทีเอกับประเทศอื่นเช่นไทย-จีน ผลกระทบอาจตกอยู่กับคนบางกลุ่ม ที่ชัดเจนเช่นเกษตรกรชาวเหนือ  แต่กับสิ่งที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้ เรื่องยา เป็นเรื่องใหญ่ 


  ครึ่งหนึ่งของผู้ที่คัดค้านที่เชียงใหม่คือเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวีเอดส์ และยังเป็นผู้ว่ายน้ำปิงพยายามบุกเข้าไปในโรงแรมเชอราตัน กระทั่งหัวแตกเลือดอาบมาแล้ว


"ข้อเจรจาจะเพิ่มอายุยา  แต่ลดอายุของผู้ป่วย" ดร.เจตน์ โทณะวณิก คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กล่าวกับผู้ชุมนุมที่ท่าแพ


สาระของประเด็นยา ที่กลุ่มผู้คัดค้านระบุคือ หากมีการตกลง จะส่งผลให้การผูกขาดสิทธิบัตรยาขยายจาก 20 ปี เป็น 25 ปี ส่งผลต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยาในประเทศ ที่ไม่สามารถผลิตยาชื่อสามัญขึ้นมาแข่งขันได้ ยาจะมีราคาแพงขึ้น 


"เขามีสิทธิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่มีสิทธิ์เอาประเทศไทยไปเป็นของตัวเอง" อาจารย์จอน อึ๊งภากรณ์ ส..กทม. ปราศรัยด้วยเสียงแหบแห้งจากภัยมะเร็ง  พร้อมกล่าวว่า  กลุ่มผู้ติดเชื้อที่มารวมตัวครั้งนี้มิใช่ครั้งแรก  เพราะเคยนอนที่สนามหลวง หน้ากระทรวงสาธารณสุข  ต่อสู้เรียกร้องให้ระบบ 30 บาท มียาต้านไวรัส และปีนี้เป็นปีแรกที่ผู้ติดเชื้อได้รับยาต้านไวรัสทุกระบบ 


"ชีวิตของเขาขึ้นอยู่กับการเจรจา เขามีชีวิตที่ได้ได้เพราะมีโอกาสได้รับยาต้านที่องค์กรเภสัชกรรมผลิต  แต่ต่อไปจะดื้อยา ต้องรับยารุ่นต่อไป ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากการทำเอฟทีเอที่สหรัฐเรียกร้องเกินกรอบองค์การการค้าโลกและกระทบราคายาโรคอื่นด้วย" เขาบอกกับคณะเจรจาฝ่ายสหรัฐฯ ด้วย


ปัจจัยอีกประการ คือผลกระทบเชิงลบของเอฟทีเอเริ่มปรากฏให้เห็นกันแล้ว โดยเฉพาะที่ภาคเหนือ  เมื่อสินค้าเกษตรเช่นหอม กระเทียม มีตัวเลขของการขาดดุลยืนยันแล้ว


"เราเปิดเอฟทีเอ สินค้าเกษตรกับจีน 2  ปีมานี้สินค้าจีนทะลัก 280 % ถล่มสินค้าไทยย่อยยับ โครงการพระราชดำริ ช่วยเหลือเกษตรกรนับแสนครอบครัว ได้รับผลกระทบในรูปแบบของราคา  และหากจะรอให้รัฐช่วยเหลือ ที่ผ่านมากลไกรัฐหนุนเกษตรกรแค่ไหน เอาแค่เรื่องของลำไย  ปลูกมาแล้วหายไปไหนก็ไม่รู้" ..ไกรศักดิ์กล่าว


พัด  อภัยมูล  จากเครือข่ายเกษตรกรทางเลือก  ยกกรณีข้าวหอมมะลิเพื่อค้านกรณีสิทธิบัตรพันธ์พืชและสัตว์


"ข้าวหอมมะลิของเราแท้ๆ   อเมริกานำไปพัฒนาพันธุ์แล้วจดสิทธิบัตร  หากเจรจาข้อตกลงนี้แล้ว  แทนที่เราจะพัฒนาทรัพยากรพันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ของเรา  ก็กลายเป็นการเปิดทางให้กับคนที่มีเทคโนโลยีที่สูงกว่ามาผูกขาด ซึ่งก็ต้องเป็นบริษัทใหญ่เท่านั้น  เรายังไม่พร้อมที่จะสู่กับยักษ์ใหญ่เช่นนี้"


ปัจจัยความโปร่งใส วาระซ่อนเร้นผลประโยชน์ของใคร คือสิ่งที่ท้าทายต่อตัวนายกรัฐมนตรีและพวกพ้อง


การเปิดเสรีไทย-จีน และไทย-ออสเตรเลีย มีตัวเลขผลกระทบรวมกันว่าไทยขาดดุลการค้ากว่า 60,000 ล้านบาท ทั้งพืชเกษตรหอม กระเทียม ที่ภาคเหนือ ไปจนถึงกลุ่มโคนมโคเนื้ออาชีพพระราชทาน  แต่อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน ที่รัฐบาลนำไปแลก กลับมียอดส่งออกพุ่งขึ้นถึงร้อยละ 75.7


กลุ่ม FTA WATCH จัดทำตารางใครได้ ใครเสียจากกรณีเอฟทีเอไทย-สหรัฐว่า กลุ่มที่ได้ คือ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ (C.P.) อุตสาหกรรมการส่งออกไก่ กุ้ง และธุรกิจอาหารสัตว์  ธุรกิจสิ่งทอ ธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ กลุ่มทุนขนาดใหญ่ร่วมทุนกับต่างประเทศ   ขณะที่กลุ่มที่สูญเสียคือ เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง   เกษตรกทั่วไปที่ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ต่างประเทศ  ผู้ป่วยซื้อยาแพง ธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่ต้องแข่งขันกับบริษัทสหรัฐ และกลุ่มทุนธนาคาร


ในเอกสารยังระบุ ถึงขั้นว่า  การตกลงประเด็นสิทธิบัตรยา  ทุนที่เป็นเจ้าของโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ซึ่งทำการกว้านซื้อหุ้นไว้แล้วจำนวนมาก หนึ่งนั้นนั้นคือทนายว่าความคดีซุกหุ้นของนายกรัฐมนตรี  นอกจากนั้นยังมีคำถามจากทั้งผู้นำฝ่ายค้าน และส..จอนว่า เหตุใดนายกรัฐมนตรีจึงไม่แตะในประเด็นโทรคมนาคม  ทั้งที่สหรัฐอเมริกาก็มีความต้องการให้ไทยเปิดเรื่องนี้เช่นกัน


นายกทักษิณมองเรื่องของตลาด โดยกล่าวกับนักธุรกิจที่ทำเนียบว่า "ถ้าไม่ทำการค้ากับสหรัฐอเมริกาไทยจะขาดดุลแบบมโหฬารบานเบอะ ความน่าเชื่อถือของประเทศจะลดลง"


แต่ก็ประกาศกับผู้ชุมนุมว่า "สิ่งใดที่ทำให้เสียหายก็จะไม่เจรจา" นั้น


ตราบใดที่ยังคงไม่มีการเปิดเผยสาระของการเจรจาให้โปร่งใส  ไม่ผ่านการพิจารณาเห็นชอบของสภา  ไม่ให้คนที่มีผลกระทบร่วมตัดสินใจ


เอฟทีเอ ย่อมยังตกอยู่ในวงเวียนที่ว่า   เป็นเหมือนกับดักของไทยคน และโอกาสของคนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น !!


 


 


 


             


 


 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net