Skip to main content
sharethis


 1. คำพิพากษา

            ศาลจังหวัดลำพูน อ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำที่ 1357/2540 แดงที่ 1415/2543 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2547 ระหว่างนางสาวพนรัตน์ แซ่เตียว โจทก์ กับนายสุแก้ว ฟุงฟู กับพวก 10 คน เรื่อง บุกรุก


            "โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 26920.หนองล่อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูนเนื้อที่ 26 ไร่ 3 งาน 47 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางวา (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นกิ่ง..เวียงหนองล่อง) เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2540 เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่อง จำเลยทั้งสิบได้กระทำผิดต่อกฎหมาย โดยเจตนาทุจริตได้เข้าไปในที่ดินเป็นอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ แล้วยึดถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยการสร้างบ้านพัก ไถที่ดิน ปลูกต้นไม้ ล้อมรั้ว จนโจทก์ไม่อาจเข้าทำประโยชน์ อันเป็นการรบกวนการครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปรกติสุข เหตุเกิดที่ ต.หนองล่อง กิ่ง..เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน ขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362,365,83 "


ศาลไต่สวนมูลฟ้องแล้ว มีคำสั่งประทับรับฟ้องไว้พิจารณา


จำเลยทั้งสิบให้การปฏิเสธ


            จำเลยทั้งสิบนำสืบว่า ที่ดินที่พิพาทรวมทั้งที่ดินที่โจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของเครือญาติเป็นที่ดินอยู่ในเขตโครงการจัดสรรที่ดินหนองปลาสวาย ซึ่งมีเนื้อที่จำนวน 15,000 ไร่ อันเป็นการดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2509 แต่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จ เนื่องจากไม่มีการสอบตำแหน่งใบจองและไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าผู้ได้ใบจองนั้นได้ใบจองมาโดยทับที่ของผู้อื่นหรือไม่


จนกระทั่งต่อมาในปี 2533 กรมที่ดินได้รับหนังสือจากจังหวัดลำพูนซึ่งได้ประชุมและมีมติให้ออกใบจองแก่ราษฎรที่ครอบครองที่ดินในพื้นที่ดังหล่าวไปก่อน ส่วนที่ดินที่ไม่มีราษฎรเข้าทำกินให้สงวนไว้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ในปี 2533 และปี 2534 ได้มีการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่อำเภอบ้านโฮ่ง ปรากฎว่าการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินดังกล่าวได้มีการออกโฉนดทับที่ดินโดยมิชอบมีการสร้างหลักฐานเท็จสำหรับที่ดินที่พิพาทซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นเจ้าของนั้น เป็นที่ดินอยู่ในเขตโครงการจัดสรรที่ดินในเขตหนองปลาสวายเช่นกัน ที่ดินดังกล่าวเป็นที่สาธารณประโยชน์ ราษฎรใช้เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย หาเห็ด และหน่อไม้โดยไม่ได้มีการทำประโยชน์อื่นแต่อย่างใด


ต่อมาวันที่ 13 พฤษภาคม 2540 ได้มีเจ้าพนักงานที่ดินจะเจ้ามาทำการรังวัดที่ดินที่พิพาท ราษฎรจึงรวมตัวกันคัดค้านการรังวัด ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้เข้าไปร่วมเจรจาด้วย แต่ไม่ได้เข้าไปทำประโยชน์หรือทำกินในที่ดินที่พิพาทส่วนจำเลยที่ 2 ถึงที่ 10 ไม่ได้อยู่ในที่ดินที่พิพาทแต่อย่างใด และฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2001/2540 และหมายเลขแดงที่ 1214/2540 ของศาลนี้


            คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเป็นประการแรกว่า ฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 2001/2540 และหมายเลขแดงที่ 1210/2540 หรือไม่ พิเคราะห์พยานหลักฐานโจทก์และจำเลย แล้วเห็นว่า ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำกับคดีอาญาเลขแดงที่ 2001/2540 ของศาลนี้ และฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีอาญาเลขแดงที่ 1201/2540


            คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเป็นประการต่อไปว่าจำเลยทั้งสิบกระทำผิดตามที่โจทก์ฟ้องหรือไม่ก่อนวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว เห็นควรวินิจฉัยก่อนว่าโจทก์ครองครองที่ดินพิพาทตามฟ้องหรือไม่


ผู้รับมอบอำนาจโจทก์มาเบิกความว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 26920 เนื้อที่ 26 ไร่ 3 งาน 47 เศษ 3 ส่วน 10 ตารางวา โดยที่ดินดังกล่าวติดกับที่ดินของญาติโจทก์ มีเนื้อที่รวมกันประมาณ 1,000 ไร่ โจทก์และเครือญาติซื้อมาเพื่อทำสวนเกษตรและแบ่งขาย โดยมีพยานเป็นผู้ดูแลที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ปี 2532 โดยให้คนงานปลูกต้นลำไย ต้นมะม่วง ทำถนนเข้าออก ไม่มีผู้ใดโต้แย้งคัดค้าน…


            ...แม้ทางนำสืบของจำเลยปรากฏว่า คณะกรรมการติดตามแก้ไขปัญหากลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือจะมีมติว่า มีการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบ มีการสร้างหลักฐานเท็จก็ตาม แต่โฉนดที่ดินที่โจทก์ได้ดำเนินการออกมา ก็ยังไม่ได้มีการเพิกถอนจากกรมที่ดินแต่อย่างใด ดังนั้นเมื่อกรมที่ดินยังไม่มีคำสั่งเพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 26920 ที่มีชื่อโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ทั้งตามนำสืบของโจทก์ปรากฏว่าโจทก์ยังครอบครองทำประโยชน์ที่ดินดังกล่าวอยู่


ดังนั้นโจทก์จึงยังคงมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามฟ้อง


            คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยเป็นประการต่อไปว่าจำเลยทั้งสิบร่วมกันบุกรุกที่ดินตามโจทก์ฟ้องหรือไม่


            … แม้พยานโจทก์ทั้งสองจะไม่ได้เบิกความยืนยันว่า จำเลยคนใดครอบครองที่บริเวณใดก็ตามก็ไม่เป็นพิรุธ เพราะตามทางนำสืบของโจทก์ ลักษณะการกระทำของจำเลยทั้งสิบกับพวกกระทำการในลักษณะเป็นการใช้กำลังมวลชนเข้ายึดครองทรัพย์สินของบุคคลอื่น…


            … ดังนั้น พยานหลักฐานที่จำเลยทั้งสิบนำสืบมาไม่อาจหักล้างพยานหลักฐานโจทก์ได้ พยานโจทก์นำสืบมีน้ำหนักรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยทั้งสิบกระทำผิดตามโจทก์ฟ้อง พิพากษาว่า จำเลยทั้งสิบมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365(2) ประกอบมาตรา 83 จำคุกคนละ 1 ปี


           


ภาคที่ 2.ความเป็นธรรมที่กระบวนการยุติธรรมมักมองไม่เห็น


ไม่มีใครรู้เลยว่า ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าไม่มีการทำประโยชน์ เมื่อ 37 ปีที่แล้ว ที่ดิน 15,000 ไร่ แปลงนี้ จะนำมาซึ่งการฟ้องร้องคดีความอย่างมากมายและลุกลามไปยังแปลงอื่นๆ นับร้อยคดี และผ่านการแต่งตั้งคณะกรรมการนับหลายสิบคณะ ทั้งระดับชาติ ระดับภาค ระดับจังหวัดและระดับอำเภอ


 


โครงการจัดสรรผืนใหญ่หนองปลาสวาย : ปฐมเหตุแห่งความขัดแย้ง


นับจากการประชุมคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2509 เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2509 ได้มีมติให้กรมที่ดินและจังหวัดลำพูนดำเนินการจัดที่ดินตามโครงการจัดที่ดินผืนใหญ่บ้านโฮ่ง-ป่าซาง จังหวัดลำพูน เนื้อที่ประมาณ 15,000 ไร่ เพื่อจัดสรรที่ดินให้ราษฎรซึ่งไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่พอประกอบอาชีพ


โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดสรรที่ดินให้ราษฎรซึ่งไม่มีที่ดินหรือมีที่ดินไม่พอประกอบอาชีพ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้มีที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นหลักฐานมีฐานะทางเศรษฐกิจแห่งครอบครัวมั่นคง และเพิ่มพูนผลิตผลทางเกษตรกรรม ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ โครงการจัดที่ดินผืนใหญ่บ้านโฮ่ง โดยอธิบดีกรมที่ดินได้อนุมัติเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2509 และระยะเวลาดำเนินการรวม 3 ปีเพื่อจัดสรรที่ดินให้ราษฎร ประมาณ 1,000 ครอบครัวเนื้อที่ประมาณ 10,000 ไร่


 


ผลการดำเนินการ : ปัญหาและความล้มเหลว


            1.กรมที่ดินได้ดำเนินการจัดที่ดินผืนใหญ่ "บ้านหนองปลาสวาย" .บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน เนื้อที่ประมาณ 15,000 ไร่ มีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2509 - 2511 แต่เนื่องจากมีอุปสรรคบางประการ กรมที่ดินจึงได้ขยายเวลาต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2512-2513 เมื่อสิ้นระยะเวลาดำเนินการได้มีการแจกใบจองให้แก่ราษฎรที่ได้รับการจัดสรรทั้งสิ้น 926 ราย แต่ผลการจัดยังไม่เสร็จเรียบร้อย กล่าวคือ การจับสลากคัดเลือกบุคคลยังไม่แล้วเสร็จ ถนนบางสายยังไม่ได้ถมลูกรังและวางท่อ แต่กรมที่ดินถือว่าสิ้นสุดโครงการแล้ว จึงมอบให้จังหวัดดำเนินการดูแลรักษาต่อไป (มีการออกใบจองรวมทั้งสิ้น 1,391 ราย) สำหรับพื้นที่ดำเนินการเป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่าอยู่ในท้องที่ ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่งและ ต.หนองล่อง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน โดยดำเนินการจัดแบ่งที่ดินตามแผนผังโครงการ


            2.ปี พ.. 2520-2522 ได้มีราษฎรมาร้องเรียนกับกรมที่ดินว่ายังไม่ได้รับการชี้แปลงให้เข้าอยู่อาศัย กรมที่ดินจึงได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปดำเนินการชี้แปลงให้


            3.เมื่อ ปี 2523 อำเภอบ้านโฮ่ง ได้ประกาศให้ผู้ถือใบจอง จำนวน 926 ราย ที่ได้รับการจัดที่ดินดังกล่าวไปยื่นคำขอรับรองการทำประโยชน์ มีราษฎรเพียง 9 ราย ไปพบ และให้ทุกคนให้ถ้อยคำว่าไม่ได้เข้าทำประโยชน์ เพราะไม่ทราบแนวเขตที่แน่นอนและบางแปลงมีบุคคลอื่นเข้ามาครอบครองอยู่ก่อนแล้ว


            4.ใน ปี 2524 จังหวัดได้แจ้งกรมที่ดินทราบว่าราษฎรไม่สามารถเข้าไปทำประโยชน์ในที่ดินตามใบจองได้ เนื่องจากว่าไม่ทราบว่า ตนได้รับการจัดสรรที่ดินผังใด แปลงใดบางแปลงมีบุคคลอื่นครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนไม่ยอมออกจากที่ดินจัดสรร ผู้รับใบจองจึงเข้าทำประโยชน์ไม่ได้ และมีการร้องเรียนขึ้น ขอให้ทางราชการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จังหวัดจึงขอให้ส่งตัวเจ้าหน้าที่ส่วนกลางไปสนับสนุนพร้อมงบประมาณ กรมที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปช่วยจังหวัดดำเนินการเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2524 จำนวน 2 คน แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากจัดการที่ดินดังกล่าวมีความผิดพลาดมาก จังหวัดจึงส่งตัวเจ้าพนักงานจำนวน 2 คน กลับต้นสังกัดเดิม และจังหวัดจะพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่อไป


            5. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2527 ผู้อำนวยการกองจัดที่ดิน เจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินอำเภอ ป่าซาง และเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดิน อำเภอบ้านโฮ่ง ได้ลงตรวจสอบข้อเท็จจริงในบริเวณที่ดินจัดสรรแห่งนี้พบว่า ไม่สามารถตรวจสอบตำแหน่งที่ดินตามใบจองที่ถูกต้องได้และในการจัดที่ดินแปลงนี้ มิได้มีการสอบสิทธิในที่ดิน ผู้ได้รับใบจองที่ได้ครอบครองทำประโยชน์อยู่ก่อนแล้ว ก็ทำประโยชน์ในที่ดินแปลงเดิมไม่ตรงตามใบจอง ใครครอบครองอยู่ก่อนแล้ว เพียงใดก็ทำประโยชน์ไปตามนั้น อีกทั้งที่ดินบริเวณนี้อยู่ในโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่ปิง ตามพระราชดำริ ฯ


ซึ่งกรมที่ดินได้ดำเนินการ พิจารณาเพิกถอนและจำหน่ายใบจองที่ออกโดยไม่ชอบฯ และให้มีการเดินสำรวจออก น.. 3. ในพื้นที่จัดที่ดินให้แก่ผู้ที่ครอบครองที่ดินอยู่ในขณะนั้น หากมีพื้นที่ว่างเหลืออยู่ให้นำไปดำเนินการตามที่จะเห็นสมควรต่อไป


6.เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2527 กรมที่ดินได้จัดให้มีการประชุมพิจารณากำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวร่วมกับจังหวัดลำพูนที่ประชุมได้กำหนดขั้นตอนการแก้ไขไว้ 3 ขั้นตอน ดังนี้


                        (1) ให้กองจัดที่ดินร่วมกับจังหวัดลำพูน ดำเนินการสอบสวนผู้ถือใบจองทั้งหมด เพื่อสั่งให้ผู้ถือใบจองดังกล่าวออกไปจากที่ดิน ตามนัยมาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินก่อน


                        (2) เมื่อได้ดำเนินการ (1) แล้ว ให้เจ้าหน้าที่กองจัดที่ดินทำการสอบสวนสิทธิการครอบครองและทำแผนที่พื้นที่ในโครงการทั้งหมด


                        (3) เมื่อได้ดำเนินการตาม (1) และ (2) แล้ว ให้พิจารณาดำเนินการออก น..3. ให้ผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินต่อไป


7.จังหวัดลำพูนได้แจ้งผลการดำเนินการว่า จังหวัดได้ดำเนินการสอบสวนผู้ถือใบจองทั้งเขตอำเภอบ้านโฮ่งและเขตอำเภอป่าซาง จำนวน 1,391 ราย แล้ว สำหรับส่วนที่เหลือ 254 ราย ไม่สามารถติดต่อมาให้ถ้อยคำได้ จึงถือได้ว่าผู้ถือใบจองเหล่านี้ไม่ได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อกำหนดหรือเงื่อนไขของคณะกรรมการการจัดที่ดินแห่งชาติ และต้องดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการการจัดที่ดินแห่งชาติ พ.2498 หมวด 6 และหมวด 7 และระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการเพิกถอนและจำหน่ายใบจอง


            8.กรมที่ดินมีคำสั่งเพิกถอนใบจองดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2528


            9.เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2533 ราษฎรหมู่ที่ 4 ได้ร้องเรียนต่อจังหวัดลำพูน ขอให้ออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินหนองปลาสวาย ซึ่งจังหวัดเห็นว่า ไม่สามารถออกโฉนดในที่ดินได้


10.กรมที่ดิน ได้จัดให้มีการประชุมเพื่อปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในพื้นที่จำแนกและในพื้นที่ที่ราษฎรถือครอง เมื่อพุธวันที่ 11 เมษายน 2533 ที่ห้องประชุม 2 กรมที่ดิน โดยมีอธิบดีกรมที่ดิน (นายทวี ชูทรัพย์) เป็นประธานเพื่อพิจารณา เรื่อง การเรียกร้องเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินของราษฎรบ้านหนองปลาสวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน กรณีการร้องเรียนรายนี้สืบเนื่องมาจาก มีการเพิกถอนใบจอง 1,391 ราย เนื้อที่ประมาณ 12,519 ไร่ ต่อมามีผู้ร้องเรียนหลายกลุ่มขอให้กรมที่ดินออกโฉนดที่ดินให้ กรมที่ดินเคยแจ้งไปยัง จังหวัดลำพูน และผู้ร้องว่า มีโครงการจะเดินสำรวจในปีงบประมาณ 2532 แต่จังหวัดแจ้งว่า การเดินสำรวจน่าจะทำไม่ได้ เพราะผู้ร้องเข้าภายหลังการประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ควรออกใบจองใหม่เสียก่อน"


                        ข้อพิจารณา: ที่ประชุมเห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพื้นที่ที่ร้องเรียนปรากฏว่าบางส่วนมีราษฎรครอบครองทำประโยชน์อยู่อย่างถาวรแล้ว บางส่วนมีนายทุนอยู่เบื้องหลัง และมีราษฎรร้องเรียน ซึ่งโดยแท้จริงแล้วเป็นพื้นที่ส่วนนี้สภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เป็นพื้นที่สูงและไม่มีแหล่งน้ำที่จะทำการเกษตรกรรมได้ จึงไม่มีผู้ใดเข้าครอบครองทำประโยชน์และราษฎรดังกล่าวได้ขอถอนคำร้องเรียนแล้ว จึงเห็นควรสงวนพื้นที่ส่วนนี้ไว้เพื่อประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันในอนาคตจะเหมาะสมกว่า


                        มติที่ประชุม : พื้นที่ส่วนราษฎรครอบครองทำประโยชน์อยู่ให้แจ้งจังหวัดดำเนินการออกใบจองตามประมวลกฏหมายที่ดินต่อไป ส่วนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะทำเกษตรกรรมและไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ ก็ให้ดำเนินการสงวนหวงห้ามเพื่อประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน โดยให้ดำเนินการตามระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติฉบับที่ 9 (..2529)


            11.ต่อมาในปี 2534 จังหวัดลำพูนแจ้งว่า ในการออกโฉนดที่ดินทั้งตำบลในปีงบประมาณ 2534 เจ้าหน้าที่ได้เดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในบริเวณพื้นที่หนองปลาสวาย ซึ่งจังหวัดเห็นว่า ควรดำเนินการเพิกถอนที่ดินทั้งหมด 77 แปลง แต่เจ้าหน้าที่ อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เมื่อที่ดินที่นำสำรวจอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดได้ แต่การสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงยังคลาดเคลื่อน กล่าวคือ ที่ดินบริเวณนี้ครอบครองหลัง พ.2498 ที่ดินเหล่านี้ต้องห้ามโอน 10 ตามมาตรา 58 ทวิแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจังหวัดลำพูนได้มีหนังสือ เรื่อง ร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิในที่ดินลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2534 ว่า ตามที่แจ้งให้ทราบว่า กรมที่ดินได้จัดประชุม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2533 เพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาการจัดสรรที่ดินผืนใหญ่ "หนองปลาสวาย" ที่ราษฎรหมู่ 4 ต.หนองปลาสวาย ได้ร้องเรียนว่า "มีนายทุนเข้าไปแผ้วถางป่า ทุ่งเลี้ยงสัตว์ทำให้ได้รับความเดือดร้อนและที่ประชุมได้มีมติว่าพื้นที่ที่ราษฎรเข้าทำประโยชน์อยู่ ก็ให้แจ้งจังหวัดดำเนินการออกใบจองตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อไป ส่วนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะทำการเกษตรกรรมและไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ก็ให้สงวนหวงห้ามไว้ให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน"


12.กรมที่ดินได้มีหนังสือลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2540 เรื่อง ร้องเรียนเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน อ้างถึงหนังสือจังหวัดลำพูนได้มีหนังสือลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2534 และส่งที่ส่งมาด้วยคือใบไต่สวนฉบับหลวง จำนวน 77 ฉบับ ว่า ตามที่ได้แจ้งว่าในปีงบประมาณ พ..2533 เจ้าหน้าที่ได้ทำการรังวัดเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ในบริเวณที่ดินจัดสรรผืนใหญ่หนองปลาสวาย ซึ่งจังหวัดเห็นว่าควรเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งหมด 77 แปลง แต่เจ้าหน้าที่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ที่ดินที่นำเดินสำรวจอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะออกโฉนดที่ดินได้ และการสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงยังคลาดเคลื่อน กล่าวคือ ที่ดินบริเวณนี้ได้ครอบครองหลังปี พ..2497 ต้องห้ามโอน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ควรแก้ไขจดแจ้งการห้ามโอนให้ปรากฏ จึงหารือว่าความเห็นใดถูกต้อง ชอบด้วยระเบียบและกฎหมายนั้น


กรมที่ดินขอเรียนว่า แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงที่ว่า ที่ดินซึ่งมีการเดินสำรวจในปีงบประมาณ พ.2533 ทั้ง 77 แปลง อยู่ในพื้นที่โครงการที่ดินจัดสรรผืนใหญ่ "บ้านโฮ่ง" ก็ไม่มีกฎหมายหรือระเบียบห้ามมิให้เดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน ตามมาตรา 58,58 ทวิแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้เพราะวัตถุประสงค์ของการเดินสำรวจฯ ก็เพื่อออกเอกสารสิทธิให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยและที่ทำกิน ซึ่งสอดคล้องกับการจัดสรรที่ดินเพื่อประชาชน สำหรับประเด็นที่ว่าโฉนดที่ดินดังกล่าว ตกอยู่ในข้อบังคับห้ามโอน 10 ปี ตามมาตรา 58 ทวิ วรรคสี่หรือไม่นั้น เป็นเรื่องข้อเท็จจริง ซึ่งกรมที่ดินได้วางแนวทางการปฏิบัติเอาไว้แล้ว


ซึ่งผลการสอบสวนของจังหวัดปรากฏว่า ราษฎรดังกล่าวได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินบังคับใช้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด ที่จะพิจารณาสั่งแก้ไขโฉนดที่ดินได้ ตามนัยมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน


13.ต่อมาใน ปี 2538 จังหวัดลำพูนได้มีหนังสือ เรื่อง การเดินสำรวจโฉนดที่ดินในพื้นที่โครงการพระราชดำริฯ พร้อมกับส่งแผ่นที่ภูมิประเทศ 1 ฉบับและบัญชีรายละเอียดโฉนดที่ดิน จำนวน 77 ฉบับ ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2538 ความว่า ตามหนังสือจังหวัดลำพูนได้รายงานผลการตรวจสอบที่ดินของนางแน่งน้อยกับพวก จำนวน 123 แปลงซึ่งกรมที่ดินได้มีหนังสือให้ จ.ลำพูนได้ตรวจสอบการดำเนินการแล้วดังนี้


(1) ได้ส่งบัญชีแสดงผลการตรวจสอบที่ดิน ตามสภาพการทำประโยชน์เป็นรายแปลง แยกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ได้ทำประโยชน์ จำนวน 28 แปลง กลุ่มที่ทำประโยชน์แล้วเป็นบางส่วน จำนวน 12 แปลง และกลุ่มที่ทำประโยชน์เต็มแปลงแล้ว จำนวน 83 แปลง


(2) ตามข้อสังเกตของหัวหน้าสวนป่าโครงการฯ ในเรื่อง สภาพที่ดินไม่ตรงกับข้อเท็จจริง จำนวน 7 แปลง จากการตรวจสอบที่ถูกต้องมีจำนวน 6 แปลง


(3) ที่ดินจำนวน 10 แปลง ที่สงสัยว่าอยู่ในเขตป่าถาวรและเขตป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้แจ้งผลการตรวจสอบ พบว่าพื้นที่ของนางแน่งน้อยกับพวก บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ป่าไม้ถาวร


14.ต่อมากรมที่ดินได้มีหนังสือเรื่อง การเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่โครงการตามพระราชดำริฯ ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2540 อ้างถึง หนังสือจังหวัดลำพูน ลงวันที่ 25 กันยายน 2540 ความว่า ตามที่ได้แจ้งให้ทราบว่า ได้มีราษฎรรวมตัวชุมนุมกันที่ หมู่ 1 ตำบลหนองปลาสวาย อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัด ลำพูน เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2540 เพื่อร้องเรียนและแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินบริเวณใต้อ่างเก็บน้ำหนองสูนซึ่งอยู่ในโครงการพระราชดำริ จำนวน 123 แปลงเนื้อที่ประมาณ 1,129 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ซึ่งมีชื่อนางแน่งน้อยกับพวก เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ โดยผู้ชุมนุมอ้างว่า


"ที่ดินบริเวณดังกล่าวเป็นป่าของส่วนรว บางคนอ้างว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ ไม่เคยรู้จักผู้มีชื่อในโฉนดที่ดินหรือทราบว่าเป็นคนใด" กลุ่มผู้ประท้วงจึงเสนอให้ทางราชการดำเนินการรวม 6 ประการ ความละเอียดแจ้งแล้วนั้นกรมที่ดินพิจารณาแล้วเห็นว่า ที่ดินที่มีปัญหาร้องเรียน ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ตั้งอยู่ในโครงการพัฒนาเบ็ดเสร็จลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำปิงอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ กรมที่ดินมีความเห็นดังนี้


(1) โฉนดที่ดินที่มีหลักฐานเดิมเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (..3 .) ถือเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง และผู้มีสิทธินำเดินสำรวจตามโฉนดที่ดินได้ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ดังนั้น หากไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่า น..3 . ได้ออกโดยความผิดพลาดคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือเป็นที่ดินทอดทิ้ง ไม่ทำประโยชน์จนผู้มีสิทธิครอบครองหมดสิทธิในที่ดิน ตามมาตรา 6 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ในชั้นนี้ต้องถือว่าโฉนดที่ดินดังกล่าวได้อออกไปโดยชอบด้วยกฏหมายแล้ว


            (2) โฉนดที่ดินที่ออกโดยไม่มีหลักฐานการแจ้งการครอบครอง ถ้าผู้นำเดินสำรวจเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฏหมายที่ดินใช้บังคับ หรือเป็นผู้ครอบครองและทำประโยชน์เนื่องมาจากบุคคลดังกล่าว และได้ทำประโยชน์ในที่ดินตามสมควรแก่สภาพของที่ดินในท้องถิ่นตลอดจนสภาพของกิจการที่ทำประโยชน์ ถือว่าโฉนดที่ดินได้ออกโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว แต่หากผู้นำเดินสำรวจครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดิน ภายหลังวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับการออกโฉนดที่ดินดังกล่าวต้องตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับห้ามโอน 10 ปี ตามแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน


            (3) โฉนดที่ดินที่ออกไปโดยไม่มีหลักฐานการครอบครอง ถ้าผู้นำเดินสำรวจฯ ไม่ได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่มีการเดินสำรวจฯ ถือว่าออกไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้จังหวัดพิจารณาดำเนินการเพิกถอนตามมาตรา 81 ตามประมวลกฎหมายที่ดิน


            (4)โฉนดที่ดินที่จังหวัดไม่สามารถตรวจสอบหลักฐานการได้มา จำนวน 4 แปลง ให้จังหวัดตรวจสอบการได้มาจากหลักฐานของราชการที่มีอยู่ ประกอบพยานบุคคล ผลเป็นประการใดให้ดำเนินการไปตามนัย ข้อ 1,2 หรือ 3 แล้วแต่กรณี


(5) โฉนดที่ดินที่ออกล่วงล้ำเขตป่าสงวนแห่งชาติบางส่วนจำนวน 4 แปลง ให้จังหวัดดำเนินการแก้ไข หรือเพิกถอน ตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน


15.เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 รองนายกรัฐมนตรี(พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ) ประธานกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ได้มีลงนามเห็นชอบ ตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการถือครองที่ดินและการเพิกถอนสารสิทธิที่ออกไปไม่ชอบในพื้นที่ออกไปโดยไม่ชิบในพื้นที่บ้านดงขี้เหล็ก หมู่ที่ 5 ตำบลศรีเตี้ย บ้านหนองสูน หมู่ที่ 1 บ้านท่ากอม่วง หมู่ที่ 3 บ้านหนองเขียด หมู่ที่ 4.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้มีการประชุมร่วมกัน 6 ครั้ง เพื่อพิจารณาข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมาย ประกอบกับความเห็นของผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องและราษฎรในพื้นที่ ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันตามประเด็นปัญหาในพื้นที่โครงการจัดที่ดินผืนใหญ่บ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูนและพื้นที่บริเวณที่ร้องเรียนดังนี้


                        1.กรณีการออกเอกสารสิทธิในเขตป่าไม้ กรมที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ร่วมกันตรวจสอบ ขีดเขตและรับรองแนวเขตป่าไม้ถาวารตามมติคณะรัฐมนตรีและแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติ "ป่าบ้านโฮ่ง"ซึ่งต้องดำเนินการเพิกถอนตามมาตรา 61 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินดังนี้ พื้นที่บ้านหนองสูน ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง ตรวจสอบในระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ระวาง 4745IV 6824 มีการออกโฉนดลุกล้ำเข้าไปในเขตป่าไม้ถาวร จำนวนประมาณ 5 แปลง และเขตป่าสงวนแห่งชาติ จำนวนประมาณ 3 แปลง พื้นที่บ้านดงขี้เหล็ก ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ตรวจสอบในระวางแผนที่รูปถ่ายทางอากาศ ระวาง 4745IV 7228 มีการเดินสำรวจออกโฉนดลุกล้ำเข้าไปในเขตป่าไม้ถาวร จำนวนประมาณ 29 แปลง สำหรับการถ่ายทอด และลงนามรับรองแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติในระวางแผนที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินงานของสำนักบริหารจัดการในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช


                        2.กรณีการตรวจสอบข้อเท็จจริงการออกเอกสารสิทธิในที่ดิน เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและรับผิดชอบในการออกเอกสารสิทธิดังกล่าว เห็นว่าการดำเนินการของเจ้าหน้าที่บางส่วนมีเจตนาและพัวพันกับการทุจริตในหน้าที่ มีการจงใจและละเลยไม่ปฏิบัติตามมติที่ประชุมกรมที่ดิน เมื่อวันพุธที่ 11เมษายน 2533 ที่มีมติว่า "พื้นที่ส่วนราษฎรครอบครองทำประโยชน์อยู่ ให้แจ้งจังหวัดออกใบจองตามประมวลกำหมายที่ดินต่อไป ส่วนพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมที่จะทำการเกษตรกรรมและไม่มีผู้ใดครอบครองทำประโยชน์ก็ให้ดำเนินการสงวน หวงห้ามเพื่อประชาชนใช้ร่วมกัน"


แต่ปรากฏว่า ได้มีการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินพื้นที่ดังกล่าวโดยมีกระบวนการสร้างเอกสารอันน่าจะเป็นเท็จ ซึ่งมีกรณีตัวอย่างดังนี้


                        (1) ได้มีการนำ ส.1 ของแปลงอื่นมาออก น..3 ก เลขที่ 2882 และ 3496 ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง ซึ่งได้ตรวจสิบแล้วที่ดินตาม น.. 3 ก กับ ส.1 ไม่ใช่ที่ดินแปลงเดียวกัน


                        (2) โฉนดที่ดิน เลขที่ 10329 หน้าสำรวจ 1572 ตำบลศรีเตี้ย อำเภอบ้านโฮ่ง ออกโฉนดที่ดินเมื่อปี พ.2533 ซึ่งผู้ขอออกโฉนดที่ดินอ้างว่าซื้อมาจาก นาย คำ ต่อมสังข์ มาประมาณ 5 ปี แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ตามมรณะบัตรของนาย คำ ต่อมสังข์ ระบุว่า เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2518 จึงเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยแจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ


                        (3) โฉนดที่ดินเลขที่ 16749 หน้าสำรวจ 590 ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ผู้ขอออกโฉนดที่ดิน อ้างว่าซื้อมาจากนายอินสม โยปันเตี้ย ซึ่งเป็นผู้ครอบครองเดิมได้ครอบครองมาตั้งแต่ปี 2493 แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นายอินสม โยปันเตี้ย เกิดเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2490 จึงเป็นการออกโฉนดที่ดินโดยแจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นเท็จ


                        3.คณะอนุกรรมการฯ มีความเห็นว่ากระบวนการได้มาซึ่งเอกสารสิทธิในที่ดินอันเป็นมูลเหตุกรณีทั้งหมดตามที่ยกมาและกรณีอื่น รวมทั้งการปฏิบัติงานเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ น่าจะมีส่วนพัวพันกับกระบวนการทุจริต คอรัปชั่น


4.ข้อเสนอ : จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น ที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ จึงได้มีมติให้นำประเด็นตามข้อ 3 ส่งให้กรมที่ดินและสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) พิจารณาดำเนินการต่อไป


 


            บทสรุปจากกระบวนการข้างต้น พบว่านโยบายของรัฐในการจัดที่ดินแปลงดังกล่าว ล้มเหลวดังนี้


1.ล้มเหลวในเชิงเป้าหมาย รัฐต้องการจัดสรรที่ดินให้ราษฎรในพื้นที่ ซึ่งไม่มีที่ดิน หรือมีที่ดินไม่พอประกอบอาชีพ เพื่อให้มีที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเป็นหลักฐาน มีฐานะทางเศรษฐกิจแห่งครอบครัวมั่นคง และเพิ่มพูนผลิตผลทางเกษตรกรรม ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ ทั้งนี้เพราะภายหลังจากโครงการจัดที่ดินผืนนี้แล้ว ที่ดินเกือบทั้งหมดตกอยู่ในมือในทุน และที่ดินโดยรวมถูกจำนองจำนำในธนาคารและกลายเป็นหนี้เอ็นพีแอลเกือบทั้งสิ้น


2.ล้มเหลวในเชิงนโยบายการจัดที่ดิน รัฐไม่เพียงแต่ล้มเหลวกับนโยบายการจัดที่ดินผืนใหญ่ให้กับราษฎรเท่านั้น รัฐยังไม่สามารถจัดการกับความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ราชการที่เกี่ยวข้องได้ หากแต่ยังสมคบกับนายทุนโกงที่ดินของชาวบ้านด้วย ดังปรากฏตามหนังสือของจังหวัดลำพูน เมื่อปี 2534 ที่ว่า


"แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินบริเวณที่ร้องเรียนและกรมที่ดินได้มีมติไปเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2533 ให้สงวนหวงห้ามและจัดที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อย กลับปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ของกรมที่ดินได้ฝ่าฝืนเข้าทำการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้เข้าสอบสวนประวัติการได้มาซึ่งที่ดิน เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในหลักเกณฑ์การห้ามโอน ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริง เจ้าหน้าที่น่าจะรู้หรือควรจะรู้ประวัติที่ดินเหล่านี้ดี เพราะเจ้าหน้าที่เคยมีการห้ามไม่ให้มีเข้าทำการรังวัดเดินสำรวจในที่ดินบริเวณนี้"


 จังหวัดเห็นว่า การดำเนินการของเจ้าหน้าที่ทั้งเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสำรวจรังวัดและเจ้าพนักงานที่ดินผู้ลงนามในโฉนดที่ดินไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง กลับดำเนินการไปด้วยความจงใจที่จะฝ่าฝืนมติกรมที่ดินเกี่ยวกับที่ดินบริเวณนี้ ทำให้ออกโฉนดที่ดินแก่ราษฎรไปเป็นการฝ่าฝืนมติกรมที่ดิน ควรดำเนินการเพิกถอนโฉนดที่ดินทั้งหมด แล้วนำมาจัดสรรที่ดินแปลงเล็กแปลงน้อยให้แก่ราษฎรตามที่กรมที่ดินได้มีมติไว้ เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2533 แต่เจ้าหน้าที่อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่า เมื่อที่ดินที่ดินที่สำรวจอยู่ในเกณฑ์ที่จะออกโฉนดได้ แต่การสอบสวนปรากฏข้อเท็จจริงยังคลาดเคลื่อน กล่าวคือ เจ้าหน้าที่จงใจที่จะช่วยเหลือนายทุนผู้นำรังวัดที่ดิน ให้ถ้อยคำว่าได้ครอบครองต่อเนื่องมาประมาณ 40 ปีเศษ เป็นความเท็จ ตามที่ปรากฏในข้อเท็จจริงแล้ว ที่ดินบริเวณนี้ได้ครอบครอง หลัง พ.ศ. 2498 ที่ดินเหล่านี้ต้องห้ามโอน 10 ปี ตามที่กำหนดในมาตรา 58 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ควรแก้ไขจดแจ้งการห้ามโอน


3.ล้มเหลวในเชิงการจัดการความขัดแย้งในพื้นได้ การเรียกร้องของกลุ่มชาวบ้านกรณีความขัดแย้งเรื่องที่ดินในจังหวัดลำพูนหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา มักจะจบลงด้วยความรุนแรง ดังกรณีการสังหารโหดเยาวชน นายสมศักดิ์ เตชะสุรินทร์ ประธานกลุ่มหนุ่มสาวบ้านสันปูเลย หมู่ 2.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ในปี 2532 ที่ลุกขึ้นต่อสู้ปัญหาการถือครองที่ดิน ซึ่งต่อมาอำเภอบ้านโฮ่ง ก็ยอมรับในที่ดินแปลงที่เยาวชนแลกมาด้วยชีวิตให้เป็นที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันจำนวน 3,200 ไร่ เป็นต้น


 


ภาคที่ 3 : ขบวนการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน


นับจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 ที่เปิดโอกาสให้ข้าราชการเจ้าหน้าที่ตำรวจ จับกุมชาวนาอย่างป่าเถื่อนและบ้าคลั่ง จับคนจนยัดเข้าคุก ฝากขังและคัดค้านการประกันตัว เป็นเหตุให้ ชาวนาไร้ที่ดินเช่นพวกเรากว่า 100 คนถูกจับและถูกดำเนินคดีกว่า 1,000 คดี เป็นเวลาเกือบ 4 เดือนแห่งความทุกข์ยากและเป็นการแสดงธาตุแท้ของรัฐบาลทุนนิยมที่กล้าฉีกข้อตกลงคำมั่นสัญญา ที่จะให้มีการปฏิรูปที่ดิน ตามผลการเจรจากับพวกเรา ในนาม "สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ "ว่าจะยุติการจับกุมดำเนินคดีจนกว่าการแก้ไขปัญหาจักแล้วเสร็จ"


ณ วันนี้ สถานที่แห่งนี้ เราขอประกาศว่า ที่ดินคือทุนทางสังคม คือแหล่งผลิตอาหารเลี้ยงปากท้องของพวกเราและชาวโลก ที่ดินอันเหมาะสมต่อทำเกษตรกรรม มิอาจปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าอีกต่อไป


ที่ดินมิอาจปล่อยให้ตกเป็นเครื่องมือ สินค้า การซื้อขายของนายทุนและข้าราชการฉ้อฉลอีกต่อไป


เรามิอาจปล่อยให้รัฐและนายทุนจัดการที่ดิน อันเป็นต้นทุนทางสังคมเพียงฝ่ายเดียวได้อีกต่อไป ณ สถานที่แห่งนี้ เวลานี้ เราขอประกาศว่า การปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน เพื่อปฏิรูปที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าที่ไม่ทำประโยชน์ ที่ดินที่ออกโฉนดโดยมิชอบด้วยกฎหมายจักสามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ โดมือเราเท่านั้น


การจัดสรรที่ดินคืนให้กับชาวนาผู้ยากไร้ที่ทำกิน เกษตรกรรายย่อยที่ถูกปล้นที่ทำกินด้วยกลไกของรัฐและตลาดทุนนิยม สิ่งเหล่านี้เรามิอาจคาดหวังจากกลไกแห่งรัฐในนามนายทุนได้อีกต่อไป


นับตั้งแต่นี้เป็นต้นไป เราขอประกาศว่า การเข้าไปปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน คือคำตอบเดียวที่กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม คืนปัจจัยการผลิตให้ชาวนา เกษตรกร สามารถผลิตอาหารหล่อเลี้ยงชาวโลกอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน การดำเนินการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน จะดำเนินไปอย่างเข้มข้น และไม่มีอำนาจใดๆ จะมาขัดขวางได้ จนกว่าการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนจะสัมฤทธิ์ผลถึงที่สุด


นี่คือ คำประกาศลำพูนเพื่อการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2545 ณ หน้าศาลากลางจังหวัดลำพูนโดยเครือข่ายปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนจังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นการต่อสู้ภายหลังชาวบ้านเข้ามอบตัวเพื่อต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ชุดสุดท้ายระหว่างวันที่ 10-12 กันยายน 2545 รวม 74 คนซึ่งเมื่อรวมกับชาวบ้านชุดที่ถูกจับกุมดำเนินคดีอย่างบ้าคลั่ง ภายหลังรัฐบาลทักษิณมีมติหักหลังข้อตกลงเกษตรกรภาคเหนือเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2545 รวมแล้ว 109 รายกว่า 1,000 ข้อกล่าวหา 1,000 คดีลำพูน


 และไม่เคยมีใครคิดเลยว่าระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน 2545 บนถนนอินทยงยศ หน้าศาลากลางจังหวัดลำพูน กำลังจัดงาน "มนต์เสน่ห์ถนนสายวัฒนธรรมลำพูน สัมผัส 8 มนต์เสน่ห์เมืองหิริภุญไชย"


มนต์ฯ ที่ 1 เรืองพระนามจามเทวี องค์พระธาตุศรีหิริภุญไชย , มนต์ฯ ที่ 2 สืบสานวัฒนธรรม 2 สายหิริภุญไชย - เขลางค์นคร , มนต์ฯ ที่ 3 พระเครื่องลือเลื่องเมืองลำพูน , มนต์ฯ ที่ 4 ชุมนุมศิลปินลุ่มแม่น้ำ 4 สี่สาย ยอง ยาง ลื้อ มอญล้านนา , มนต์ฯ ที่ 5 ลำพูนคือลำไย ลำไยคือลำพูน , มนต์ฯ ที่ 6 เส้นสาย สีสัน ผ้าฝ้าย ผ้าไหมยกดอก ผ้าพื้นเมือง , มนต์ฯ ที่ 7 ลิ้มร้อยรส อาหารร้อยอย่าง ในกาดหมั้วครัวแลง , มนต์ฯ ที่ 8 ลำพูนฐานการผลิตส่งออกโลก


 แต่ดูเหมือนว่าจังหวัดลำพูน ลืมใส่มนต์ฯ ที่ 9 "จับชาวนาคุก-จับคนทุกข์เข้าตะราง"


 


ที่ดินทิ้งร้าง กลไกราชการฉ้อฉล ทุนนิยมฟองสบู่ : จุดกำเนิดขบวนการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชน


            กรณีปัญหาที่ดินในพื้นที่จังหวัดลำพูนนับ 37 ปีที่ผ่านมา สอนให้เรารู้ว่ากระบวนการปั่นที่ดิน คืออะไร ที่ดินจากสภาพที่รกร้างว่างเปล่า และชาวบ้านในพื้นที่สงวนไว้ใช้ร่วมกัน หน้าแล้งไว้เลี้ยงสัตว์ หน้าฝนไว้ปลูกพริก ปลูกข้าว ที่ชาวบ้านเรียกว่า "ป่าแพะ" ถ้าจะปลูกข้าวก็จะต้องรอ "นาน้ำฟ้า" หากแต่กลไกรัฐและนายทุนทั้งในและนอกพื้นที่อาศัยกลไกและช่องว่างทางกฎหมาย หรือแม้กระทั่งเขียนกฎหมายเพื่อให้ได้มาด้วยที่ดินราคาถูก จากนั้นนำโฉนดที่ดินเข้าปั่นราคาในธนาคาร จนกระทั่งเกิดวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่ ที่ดินกว่า 50,000 ไร่ ซึ่งถูกปล่อยให้ทิ้งร้างมานานในพื้นที่ลำพูนก็ถูกประกาศขาย LAND FOR SELL


            ปี 2543 กระบวนการปฏิรูปที่ดินโดยชุมชนได้เกิดขึ้นอีกครั้ง ณ ลำพูน เชียงใหม่ คือสองจังหวัดภาคเหนือตอนบนที่มีการกว้านซื้อที่ดินอย่างกว้างขวางในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่


ดังนั้นจึงมีพื้นที่ออกโฉนดโดยมิชอบด้วยกฎหมาย และที่ดินถูกทิ้งร้างเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำ นี่เป็นภาพสองด้านที่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมาปกป้อง ทวงเอาที่ดินสาธารณะประโยชน์ของชุมชนคืนมา และได้เข้าไปใช้ที่ดินที่รกร้างว่างเปล่าสำหรับทำกิน สามารถสรุปสภาพปัญหาเบื้องต้นได้ดังนี้


1.บ้านศรีเตี้ย ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดทับที่สาธารณะเนื้อที่ 1,200 ไร่


2.บ้านดงขี้เหล็ก ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และพื้นที่โครงการจัดสรรหนองปลาสวายเนื้อที่ 1,000 ไร่


3.บ้านหล่ายแก้ว ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนกว้านซื้อที่ดินทิ้งร้างไว้ เนื้อที่ 50 ไร่


4.บ้านท่ากอม่วง ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนอออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และพื้นที่โครงการจัดสรรหนองปลาสวาย เนื้อที่ 1,000 ไร่


5.บ้านหนองเขียด ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน และพื้นที่โครงการจัดสรรหนองปลาสวาย เนื้อที่ 1,700 ไร่


6.บ้านหนองสูน ต.หนองปลาสวาย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่ป่าสงวนแห่งชาติ ที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน พื้นที่โครงการจัดสรรที่ดินหนองปลาสวาย และโครงการพระราชดำริลุ่มน้ำแม่ปิง รวมเนื้อที่ทั้งหมด 1,700 ไร่


7.บ้านเวียง ต.หนองล่อง กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับหนองน้ำสาธารณประโยชน์ เนื้อที่ 52 ไร่


8.บ้านท่าหลุก ต.หนองล่อง กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน เนื้อที่ 700 ไร่


9.บ้านแพะใต้ ต.หนองล่อง กิ่ง อ.เวียงหนองล่อง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินทับที่สาธารณะประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน เนื้อที่ 600 ไร่


10.บ้านไร่ดง ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนออก น..3. โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยใช้ สค.1 จากพื้นที่อื่นมาสวมออก น..3. รวมเนื้อที่ 426 ไร่


11.บ้านโป่งรู ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ออก ส...4-01 โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (ออกให้กับนายทุน) และทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 303 ไร่


12.บ้านสันห้างเสือ ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้าง เนื้อที่ 325 ไร่


13.บ้านสันป่าฮัก รัฐออก สปก.4-01 โดยมิชอบให้กับนายทุนและทิ้งที่ดินให้รกร้าง เนื้อที่ 40 ไร่


14.บ้านไร่กอค่า ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนออกโฉนดที่ดินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ออกทับที่ดิน ส... ลำห้วย และพื้นทีมีความลาดชันเกิน 35% ทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 180 ไร่


15.บ้านนครเจดีย์ ต.นครเจดีย์ อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนออก น..3.โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ทับที่ดินชลประทาน ทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่


16.บ้านพระบาท ต.มะกอก อ.ป่าซาง จ.ลำพูน นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 330 ไร่


17.บ้านคานาอัน ต.สบเตี้ยะ อ.จอมทอง จ.ลำพูน นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 40 ไร่ และเป็นที่ดินเปล่าไม่มีเอกสารสิทธิเนื้อที่ 60 ไร่


18.บ้านดอยหล่อ ต.ดอยหล่อ กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ นายทุนทิ้งร้างว่างเปล่า  เนื้อที่ 557 ไร่


19.บ้านไร่บน ต.ดอยหล่อ กิ่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ นายทุนร้างว่างเปล่า   เนื้อที่ 350 ไร่


20.บ้านโป่ง ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ นายทุนทิ้งที่ดินให้รกร้างว่างเปล่า เนื้อที่ 500 ไร่


ทั้งนี้ยังมีกรณีที่ดินที่จังหวัดเชียงรายเพิ่มเติมอีก 2 พื้นที่ คือบ้านดงเจริญ ต.หัวง้ม อ.พาน เนื้อที่ 4,000 ไร่ บ้านสันทราย ต.ทรายขาว อ.พาน ประมาณ 13 ไร่ และจังหวัดเชียงใหม่อีก 5 กรณี


 


 


 อำนาจรัฐ : อำนาจแห่งการใช้ความรุนแรง


            การแก้ไขปัญหาของจังหวัดลำพูน     ก่อนปี 2544 ได้ข้อยุติแล้วบางส่วนแต่ไม่ได้ดำเนินการต่อเช่น


1.บ้านศรีเตี้ย เมื่อปี 2540 รัฐมนตรีช่วยกระทรวงมหาดไทย นายไพโรจน์ โล่ห์สุนทร ตรวจสอบสภาพพื้นที่จริงแล้วพบว่ามีโฉนดที่ดินจำนวน 13 แปลง เนื้อที่ 120 ไร่มีความลาดชันเกิน 35 % กรมที่ดินสั่งให้จังหวัดลำพูนเพิกถอน แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดหวัดลำพูนละเลยต่อหน้าที่ ไม่ทำการเพิกถอน


2.บ้านหนองสูน เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2540 นายอำเภอบ้านโฮ่ง มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน แจ้งให้ทราบว่ามีการออกโฉนดที่ดินจำนวน 12 แปลง เนื้อที่ 121 ไร่ อยู่ในเขตป่าไม้ถาวร และอีกจำนวน 6 แปลงไม่ทราบเนื้อที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าบ้านโฮ่ง ซึ่งไม่สามารถนำไปออกโฉนดที่ดินได้ แต่ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนละเลยต่อหน้าที่ ไม่ทำการเพิกถอนตามที่นายอำเภอบ้านโฮ่งเสนอ


3.บ้านหนองเขียด นายอำเภอบ้านโฮ่ง มีหนังสือถึงผู้ใหญ่บ้านหนองเขียดลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2532 แจ้งว่า ไม่สามารถนำที่ดินตามโครงการจัดสรรหนองปลาสวายไปออกเอกสารสิทธิ์ได้ เนื่องจากเป็นที่ดินของรัฐ แต่ปรากฏว่าในปี 2533 - 2534 กลับมีการออกโฉนดที่ดินให้กับนายทุน


4.บ้านเวียง กรณีหนองน้ำบ้านเวียงเนื้อที่ 52 ไร่ กรมที่ดินแจ้งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูนเพิกถอน น.. 3.เนื่องจากออกทับหนองน้ำ แต่จังหวัดไม่ทำการเิกถอน จึงเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่


ต่อมาในปี 2544 - 2545 โดยที่จังหวัดลำพูนเองก็รับรู้ว่าดีอยู่ว่าช่วงที่ผ่านมา มีการออกเอกสารสิทธิโดยมิชอบด้วยกฎหมายและมีการปล่อยที่ดินให้รกร้างว่างเปล่ามากมาย เมื่อชาวบ้านได้เปิดการเจรจากับผู้ว่าราชการจังหวัดอย่างเป็นทางการ จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมแก้ไขปัญหาที่ดินครอบคลุมทุกหมู่บ้านโดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน ที่ดินจังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด ป่าไม้จังหวัด นายอำเภอ และมีชาวบ้านเป็นกรรมการ ในสัดส่วนที่เท่ากัน


คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง รวบรวมข้อมูลสภาพปัญหาเกี่ยวกับการออกเอกสารสิทธิ์ว่าออกโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีการเข้าไปใช้ประโยชน์ หรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่าหรือไม่และพิจารณาหาแนวทางแก้ไขปัญหา โดยในการดำเนินการให้มีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำ และมีอำนาจเรียกเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการ เพื่อใช้ประกอบในการตรวจสอบข้อเท็จจริง และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหา ซึ่งคณะกรรมการได้สรุปความคืบหน้า ได้ดังนี้


1.บ้านไร่ดง ต.น้ำดิบ อ.ป่าซาง คณะกรรมการตรวจสอบแล้วลงมติว่ามีการออก น..3. โดยมิชอบด้วยกฎหมายรวม 31 แปลง เนื้อที่ 300ไร่ และไม่มีเอกสารสิทธิ์ใด ๆ อีก 126 ไร่


2.บ้านดงขี้เหล็ก บ้านท่ากอม่วง บ้านหนองเขียด และบ้านหนองสูน อ.บ้านโฮ่ง  คณะกรรมการเสียงส่วนใหญ่มีความเห็นว่าที่ดินที่ชาวบ้านร้องเรียนเป็นที่สาธารณะประโยชน์


ซึ่งแม้จะปรากฏว่ามีการออกเอกสารสิทธ์โดยมิชอบด้วยกฎหมายในหลายหมู่บ้าน แต่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกลับไม่กระตือรือร้นที่ดำเนินการตรวจสอบต่อไปให้เสร็จสิ้น ตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการให้ลุล่วง การแต่งตั้งคณะกรรมการจึงเป็นเสมือนเพียงการเตะถ่วงเวลาของจังหวัดเท่านั้นเอง


 


มติคณะรัฐมนตรี : คำสัญญาและผลการเจรจาที่ว่างเปล่า


ภายหลังจากสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ได้จัดให้มีการชุมนุมใหญ่ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม - 10 เมษายน 2545 โดยเสนอหลักการและแนวทางการแก้ไขปัญหา ซึ่ง พ...ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ลงมาให้นโยบายหลักการและแนวทางการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2545 ดังนี้


            1.รัฐบาลยืนยันที่จะแก้ไขปัญหาของประชาชนที่เป็นความเดือดร้อนเชิงโครงสร้าง อันเกิดจากนโยบายการพัฒนาของรัฐที่ผิดพลาดในอดีตที่ผ่านมา


            2.เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นสามารถสัมฤทธิ์ผลโดยเร็ว รัฐบาลจะยึดถือแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ถือเอาข้อเท็จจริงและความเดือดร้อนของประชาชนเป็นหลัก จัดปรับกฎหมายและนโยบายให้สอดคล้อง


            3.นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลจะบัญชาการ อำนายการให้รัฐมนตรี และข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาเกษตรกรทั้ง 8 ประเด็นให้ได้ข้อยุติ และจะนำผลการเจรจาเข้าสู่การประชุมพิจารณาของคณะรัฐมนตรีพร้อมกันทั้ง 8 ประเด็น เพื่อเห็นชอบและอนุมัติ


            4.หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ผลการแก้ไขปัญหาตามผลการเจรจาแล้ว ให้แต่งตั้งคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่และองค์ประกอบสามารถสั่งการให้เกิดการแก้ไขปัญหา ตามมติคณะรัฐมนตรีได้ โดยสัดส่วนคณะกรรมการที่ประกอบด้วยรัฐบาลและราชการ กับตัวแทนเกษตรกรในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนการแก้ไขปัญหา แผนงานงบประมาณอย่างรวดเร็วและเป็นจริง


            5.ในระหว่างการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่เป็นข้อขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐจะใช้นโยบายสั่งการไปยังหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ยุติการจับกุมดำเนินคดี จนกว่าการแก้ไขปัญหาจักแล้วเสร็จ


            6.รัฐบาลยืนยันเจตนารมย์ร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชน ตามที่ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรและยินดีให้การสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจนกว่าจะมีการปฏิบัติใช้


 


ผลการเจรจากรณีปัญหาการถือครองที่ดิน


1.ผลการเจรจากับรัฐมนตรีทีเกี่ยวข้องกรณีปัญหาการถือครองที่ดิน เมื่อเดือนมีนาคม 2545 ระหว่างสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ (สกน.) ทำการเจรจากับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการถือครองที่ดินกับตัวแทนรัฐบาล โดย 3 รัฐมนตรี ประกอบด้วย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสมบัติ อุทัยสาง) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร ) มีข้อตกลงที่สำคัญคือ


1.1 ตั้งคณะทำงานศึกษาผลกระทบกฎหมายให้นักลงทุนต่างชาติเช่าที่ดินในระยะยาว


1.2 ตั้งคณะทำงานยกร่างกฎหมายภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้า กฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม และทบทวนกฎหมายปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม


1.3 ตั้งคณะทำงานปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ 23 จุดในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ และลำพูน


2.รัฐบาลได้นำผลการเจรจาทั้ง 8 กรณีปัญหาเข้าสู่การการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี วันที่ 9 เมษายน 2545 เรื่อง การชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือฯ (สกน.) แล้วลงมติว่า


2.1 รับทราบรายงานผลเบื้องต้นของการเจรจากับกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ให้ยึดหลักเมตตาธรรมและนิติธรรมควบคู่กันไป รัฐบาลมีความตั้งใจแก้ไขปัญหาคนจนอย่างแท้จริง แต่ต้องไม่ทำให้กติกาบ้านเมืองเสียหาย ทั้งนี้ เรื่องใดสามารถดำเนินการได้ก็ให้เร่งดำเนินการ เรื่องใดมีปัญหาเรื่องกฎหมายไม่สามารถดำเนินการได้ หรืออาจต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ต้องชี้แจงให้เข้าใจ


2.2 อนุมัติให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหาสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือทั้ง 8 ประเด็น


แต่จนถึงวันนี้( 31 ตุลาคม 2548 )ไม่มีผลทางการปฏิบัติแต่อย่างใด จึงต้องชุมนุมทวงสัญญา ถามหาความยุติธรรม และนโยบายแก้ไขปัญหาที่ดินของรัฐบาลทักษิณ ณ ศาลากลางจังหวัดลำพูน


 


 


สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ(สกน.)

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไท ได้ทุกช่องทาง Facebook, X/Twitter, Instagram, YouTube, TikTok หรือสั่งซื้อสินค้าประชาไท ได้ที่ https://shop.prachataistore.net