ระเบิดบาหลี: เหตุการณ์ที่ยากจะยุติ-บทวิเคราะห์

วันที่ 1 ตุลาคมที่ผ่านมา มือระระเบิดพลีชีพ 3 คนติดอุปกรณ์ระเบิดไว้กับตัวเดินเข้าไปร้านอาหารที่มีคนแน่นร้าน 3 แห่งบนเกาะบาหลี และได้ระเบิดตัวเองลง หนึ่งในนั้นอยู่กูตะ ซึ่งเป็นเขตนักท่องเที่ยวหลักของบาหลี การโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายในครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 27 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอินโดนีเซีย และ มีผู้บาดเจ็บอีกอย่างน้อย 133 คน

 

การระเบิดในครั้งนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วันก่อนจะครบรอบ 3 ปี ของการระเบิดที่กูตะของบาหลีในครั้งก่อนในปี 2002  ที่ได้มีระเบิดพลีชีพที่ แพดดี้ บาร์ที่ทำให้ผู้ใช้บริการบาร์แห่งนั้นวิ่งออกมาที่ถนนที่มี คาร์บอมบ์ (ระเบิดโดยใช้รถยนต์) ระเบิดอยู่ด้านนอกที่อยู่ใกล้ๆ ซารี คลับ เหตุการณ์นั้นได้มีผู้คนเสียชีวิตไปประมาณ 200 คน

 

การระเบิดในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ดูเหมือนจะสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของบาหลี ซึ่งเป็นรายได้หลักเพื่อใช้การดำรงชีวิตของผู้คนจำนวนไม่น้อยที่อาศัยอยู่บนเกาะ

 

หากจะลองมาตั้งคำถามดูว่า ทำไมคนอินโดนีเซียบางคนถึงได้มีแรงขับที่จะกระทำการแบบสิ้นคิด โหดร้าย เป็นอาชญากรรม และทำลายตัวเองได้นะ เพราะว่า ก่อนปี 2002 นั้น อินโดนีเซียไม่เคยมีประวัติในเรื่องการโจมตีแบบพลีชีพมาก่อน รวมทั้งไม่เคยมีประวัติในการทำร้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ปราศจากอาวุธด้วย  ทว่า การกล่าวถึงเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้เพียงอย่างเดียวอาจจะไม่เกิดประโยชน์อันใด ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมาดูกันถึงรากหรือต้นตอของปัญหา   ซึ่งที่จริงแล้วก็มีการพัฒนาขึ้นมาใหม่ก็ทำให้มีสาเหตุของการกระทำเกิดขึ้นใหม่ด้วย

 

สำหรับคนที่ติดตามหรือเดินทางไปอินโดนีเซียอย่างสม่ำเสมอในรอบ 36 ปี หรือที่อยู่นานกว่านั้น คงไม่ยากที่จะสังเกตเห็นหรือรู้สึกได้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในประเทศนี้

 

เมื่ออินโดนีเซียได้รับเอกราชในปี 1945 ประเทศได้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยความรู้สึกที่เต็มเปลี่ยนไปด้วยความหวัง ด้วยความรู้สึกที่ว่าครั้งหนึ่งได้เป็นอิสระจากการปกครองของเจ้าอาณานิคม เป็นอิสระจากผู้ปกครองเผด็จการดัทช์ และชาติตะวันตกอื่นๆที่เข้ามาแสวงประโยชน์ทางการค้า และคิดว่าเศรษฐกิจจะมีการพัฒนาและสังคมจะเป็นอุดมสมบูรณ์

 

ถึงวันนี้คือหกสิบปีต่อมาจากวันนั้น  ความหวังเหล่านี้ได้หายไปหมดสิ้น 

 

เมื่อปี 1945 ตอนที่เจ้าอาณานิคมชาวตะวันตกได้ออกจากประเทศไปนั้น ไม่ได้ทิ้งระบบการศึกษาที่ดี ไม่มีอุตสาหกรรม  ไม่มีวิทยาศาสตร์ หรือศักยภาพทางเทคโนโลยีเอาไว้ให้เลย ในขณะที่ยุโรป อเมริกาเหนือ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย กำลังนำประเทศไปสู่ความเป็นอุตสาหกรรมและความทันสมัยระหว่างศตวรรษที่ 19 ที่นำความมั่งคั่งต่อมาในศตวรรษที่ 20  อินโดนีเซียก็เหมือนประเทศอาณานิคมตะวันตกอื่นๆที่ถูกใช้เป็นแหล่งทรัพยากรและค่าแรงราคาถูก

 

หกสิบปีให้หลังความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นน้อยมาก นโยบายของประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้วโดยการสนับสนุนของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ธนาคารโลก ยิ่งทำให้อินโดนีเซียไม่เป็นประเทศอุตสาหกรรม มีปัญหาความยากจน และยังคงต้องพึ่งพิงเทคโนโลยีจากที่อื่น 

 

กำลังจากกลุ่มประเทศตะวันตกชุดเดิมยังเข้าเข้ามามีอำนาจเหนือผู้นำเผด็จการทหารซูฮาร์โต ทำให้เกิดสถานการณ์อย่างนี้ขึ้น ระบอบซูฮาร์โต้ขึ้นมามีอำนาจเมื่อ 30 ปีที่แล้วภายใต้การสนับสนุนให้มีการปฎิวัติโดยซีไอเอซึ่งส่งผลให้มีการสังหารหมู่ชาวอินโดนีเซียไปถึง 1 ล้านคน ดังนั้นในปี 2005 ชาวอินโดนีเซียส่วนใหญ่จึงยังคงอยู่กันอย่างแร้นแค้นมีรายได้ต่ำกว่า 1 ดอลลาร์ต่อวัน หนำซ้ำภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันยังมองไม่เห็นโอกาสของการเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศที่ร่ำรวยเพื่อการเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้

 

ในวันเดียวกันกับที่มีระเบิดเกิดขึ้น ประธานาธิบดีซูลิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ของอินโดนีเซีย ได้ปฏิบัติภายใต้การชี้นำของไอเอ็มเอฟและธนาคารโลกขึ้นราคาน้ำมันก๊าดเกือบสามเท่าและขึ้นภาษีน้ำมันดีเซลถึง 2 เท่า ราคาน้ำมันพุ่งขึ้นกว่าร้อยละ 88

 

นี่หมายถึงว่า เป็นการเพิ่มความทุกข็ให้กับชาวอินโดนีเซียเกือบทั่งหมด คนที่อยู่กับรายได้พียงวันละ 1 ดอลลาร์จะต้องจ่ายเงิน ร้อยละ 20 -30 ของรายได้เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางละการขนส่งและค่าน้ำมันก๊าดซึ่งเป็นเป็นเชื้อเพลิงหลักที่ใช้ในการหุงหาอาหาร และต้มน้ำดื่ม

 

อินโดนีเซีย เหมือนกับประเทศที่ถูกเรียกว่าประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย ได้ตกอยู่ในภาวะถูกทำให้ไร้เกียรติและยากจนที่ไร้ความหวังในอนาคต  และเหนือกว่าความไร้เกียติของตนเองที่ได้เห็นผู้ที่ร่ำรวยที่สุดและกองกำลังทหารที่แข็งแกร่งที่สุด นั่นคือ สหรัฐอเมริกา ที่มีการสนับสนุนโดยกลุ่มพันธมิตร อย่างเช่น ออสเตรเลีย ได้มาสร้างความเจ็บปวดและความอับอายให้กับพี่น้องมุสลิมในอิรักและอัฟกานิสถาน

 

มีกี่หมื่นคนที่ต้องตายไปตอนที่สหรัฐฯโจมตี สำหรับมุสลิมจำนวนมากแล้วสงครามอิรักและอัฟกานิสถานที่นำโดยสหรัฐฯนั้นถือเป็นหยามเกียรติ และการกระทำผิดบาปอย่างร้ายแรงที่กลุ่มคนรวย หรือกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่มุสลิมที่มีอำนาจเหนือกว่า ความโกรธและการต่อต้านที่เกิดขึ้นนี้จะนำไปสู่การประท้วงขนาดใหญ่ของมวลชนต่อนโยบายของรัฐบาลที่ถูกบังคับใช้โดยไอเอ็มเอฟและธนาคารโลก

 

ในบางส่วนของโลกอย่างเช่น เวเนซุเอล่า การประท้วงแบบนั้นได้ถึงระดับที่รัฐบาลเองก็ได้เข้ามาร่วมต่อต้านด้วย ซึ่งเป็นการให้ความหวังว่าจะมีความแตกต่างเกิดขึ้นได้ในอนาคต

 

ในอินโดนีเซียนั้นการประท้วงยังไม่ถึงระดับที่รัฐบาลจะไปร่วมต่อต้านด้วยถึงแม้ว่าจะมีการประท้วงเกิดขึ้นในเมืองต่างๆเพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ว่าก็จะยังไม่ถึงขั้นนั้น และยังไม่พร้อมที่จะก้าวไปถึงขั้นนั้น   สำหรับการกระทำอื่นๆคือแรงขับ ที่นำไปสู่ความบ้างคลั่งและการกระทำที่เป็นระดับบุคคลที่ก่อการร้ายต่อสถานที่ที่มีชาวตะวันตกอยู่รวมกันมากๆและสนุกสนานกับทรัพย์สิน วัตถุของพวกเขา

 

การกระทำเช่นนั้นสมควรได้รับการประณามในฐานะของการก่ออาชญากรรม โหดร้าย มัวเมาและความไม่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงชีวิตความเป็นอยู่ของคนในประเทศโลกที่สาม ทว่า พวกก็จะยังคงไม่หยุดยั้ง ตราบเท่าที่ยังคงมีช่องว่างใหญ่แห่งอำนาจและทรัพย์สินระหว่างพวกจักรวรรดินิยมตะวันตกกับประเทศที่ด้อยพัฒนา การแสวงประโยชน์กับประเทศโลกที่สามยังคงดำเนินต่อไป

 

แล้วจะหยุดยั้งการโจมตีเหล่านี้ได้อย่างไร ท้ายที่สุด พวกเขาก็จะหยุดเมื่อขบวนการเพื่อหยุดยั้งความช่องว่างโตขึ้น ทั้งอินโดนีเซียและประเทศพัฒนาแล้ว และจะกลายเป็นกำลังที่นำประชาชนไปสู่การขจัดความเสื่อมเสีย  การกดขี่ข่มเหงประชาชน และแสวงประโยชน์จากประเทศในโลกด้อยพัฒนาที่ประชาชนกำลังเป็นทุกข์อยู่นี้หมดไป

 

ในส่วนของออสเตรเลีย  การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการยึดครองอิรักและอัฟกานิสถานจะต้องขยายตัวขึ้น และกองกำลังของออสเตรเลีย อังกฤษ กองกำลังต่างประเทศชาติต่างๆจะต้องถอนออกจากอิรักและอัฟกานิสถาน การเคลื่อนไหวเพื่อทำให้ "ความยากจนกลายเป็นประวัติศาสตร์" จะต้องเดินต่อไปให้เหนือกว่าเพียงแค่การรณรงค์โฆษณาโดยเหล่าคนดังทั้งหลายให้มาสู่คนในท้องถนนทั่วไป และเรียกร้องให้ยกเลิกหนี้สินให้แก่ประเทศโลกที่สามอย่างสิ้นเชิง

 

นี่จะเป็นทางเดียวที่จะหยุดยั้งการโจมตีของพวกก่อการร้ายอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในบาหลี

--------------------------------------------------------------------------------------

เรียบเรียงจากบทความของ แม๊กซ์ เลน  ผู้ก่อตั้ง Action in Solidarity with Asia and Pacific (ASAP)  เผยแพร่ใน Greenleft online

http://www.greenleft.org.au/back/2005/645/645p1c.htm

 

 

 

 

ร่วมบริจาคเงิน สนับสนุน ประชาไท โอนเงิน กรุงไทย 091-0-10432-8 "มูลนิธิสื่อเพื่อการศึกษาของชุมชน FCEM" หรือ โอนผ่าน PayPal / บัตรเครดิต (รายงานยอดบริจาคสนับสนุน)

ติดตามประชาไทอัพเดท ได้ที่:
Facebook : https://www.facebook.com/prachatai
Twitter : https://twitter.com/prachatai
YouTube : https://www.youtube.com/prachatai
Prachatai Store Shop : https://prachataistore.net
ข่าวรอบวัน
สนับสนุนประชาไท 1,000 บาท รับร่มตาใส + เสื้อโปโล

ประชาไท